ประเด็นของ Fiber Optic หรือใยแก้วนำแสงนั้นเป็นเรื่องที่ถือว่าเก่ามากแล้วสำหรับปี 2022 แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงหลายองค์กร เราก็ยังเห็นการเดินสายแลนชนิดทองแดงกันอยู่ซึ่งต้องบอกว่าถึงขีดจำกัดแล้ว แม้ว่าในอนาคตจะมีกระบวนการที่ปรับปรุงให้ได้กำลังส่งมากกว่าเดิม แต่สุดท้ายเทคโนโลยีนี้คงไม่สามารถนำเราไปสู่อนาคตได้ เพราะวันนี้ที่ทุกสิ่งเชื่อมต่อผ่านโลกอินเทอร์เน็ต หากต้องการความเร็วแบบไร้ขีดจำกัด เทคโนโลยีการเชื่อมต่อจึงต้องเร็ว แรงและสเถียรยิ่งกว่าที่แล้วมา วันนี้ Furakawa Electric จะมาชวนคิดว่าเหตุใด Fiber Optic จึงต้องเข้ามามีบทบาทในองค์กร ผ่านเทคโนโลยีที่เรียกว่า Passive Optical Network
ข้อจำกัดของสายทองแดง
สายทองแดงเป็นวัสดุที่เราพบเห็นมาในการเดินสายเครือข่ายมาหลายสิบปี เรียกได้ว่าตั้งแต่ยุคแรกของอินเทอร์เน็ตเลยก็ว่าได้ แต่เชื่อหรือไม่ว่าจากวันนั้นถึงวันนี้แม้มีเทคโนโลยีไฟเบอร์เข้ามาแต่หลายองค์กรก็ยังไม่ได้เปลี่ยนจากระบบเก่า ลองมาดูกันซิว่าคุณสมบัติอะไรของสายทองแดงที่ทำให้ไม่สามารถตอบโจทย์โลกอนาคตได้อีกต่อไปแล้ว
1.) ข้อจำกัดด้านประสิทธิภาพในการนำส่งสัญญาณ – เครือข่ายของท่านจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับสายสื่อกลางที่เลือกใช้เป็นหลัก กล่าวคือหากถนนของท่านมีขนาดใหญ่ปริมาณความจุรถก็มากเช่นกัน แต่เมื่อพูดถึงสายทองแดงอย่าง CAT5 อาจจะเริ่มที่เพียง 100 Mbps เท่านั้น หรือต่อมา CAT6 อาจมีการพัฒนาคุณภาพเป็น 1 Gbps หรือ 10 Gbps ซึ่ง CAT5 อาจไม่สามารถรองรับอินเทอร์เน็ตบ้านทุกวันนี้ด้วยซ้ำแต่ก็ยังปรากฏอยู่ในบางส่วนในองค์กร หรือแม้จะเป็น CAT6 ที่เพียงพอแต่จะดีกว่าไหมหากสายใยแก้วเส้นเล็กๆจะพาเราไปสู่ระดับ 100 Gbps หรือ 800 Gbps ในอนาคต
2.) กฏ 100 เมตร – หากใครอยู่ในวงการระบบเครือข่าย ท่านย่อมต้องเคยได้ยินได้ฟังกฏนี้มาบ้าง ว่านี่คือระยะไกลที่สุดที่จะยังรักษาคุณภาพการสัญญานเอาไว้ได้ หากไกลกว่านั้นประสิทธิภาพจะลดลงทำให้มีอัตราการสูญเสียของข้อมูลเพิ่มขึ้นตามลำดับ ในทางกลับกันมาตรฐานของสายใยแก้วเริ่มต้นที่ระดับกิโลเมตรหรือในบางชนิดอาจจะสูงถึง 20 กิโลเมตรหรือมากกว่า ลองคิดดูว่าหากท่านมีโรงงานที่อยู่ห่างกันหลายกิโลเมตร การเดินสายแลนหากันด้วยทองแดงจะสิ้นเปลืองขนาดไหน
3.) อุปกรณ์ต่อขยาย – สืบเนื่องจากข้อจำกัดของกฏ 100 เมตรหรือระยะที่จำกัดให้การเดินสายต้องมีอุปกรณ์เพื่อต่อขยายเป็นช่วงๆด้วย Switch หรือ Hub ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดต้นทุนตามมามหาศาล ทั้งเรื่องของค่าตัวอุปกรณ์ต่อขยายที่ต้องเปลี่ยนทุก 5 – 7 ปีและการต้องมีทีมงานซ่อมบำรุง ต้องจัดเตรียมพื้นที่วางอุปกรณ์วางระบบไฟฟ้า และระบบปรับอากาศ โดยเฉพาะ
4.) สัญญานรบกวน ความปลอดภัย และ ความสิ้นเปลือง – การเดินสายทองแดงยังอาจได้รับการรบกวนจากสัญญานไฟฟ้าภายนอกได้แม้ว่าจะมีการหุ้มฉนวนแต่นี่คือสิ่งที่พิสูจน์ได้และอยู่ในบทเรียนทางทฤษฏีที่เราต่างทราบดีอยู่แล้ว นอกจากสูญเสียเชิงข้อมูลแล้วสายทองแดงยังเปราะบางมากกว่าด้านความมั่นคงปลอดภัยที่ผู้ไม่หวังดีอาจดักจับสัญญาณของเราระหว่างทางได้ อีกเรื่องคือความสิ้นเปลืองเพราะการเชื่อมต่อรูปแบบเก่าถูกกระทำในลักษณะจุดต่อจุด ด้วยเหตุนี้เองจึงมีข้อจำกัดในการลากสายระหว่างอุปกรณ์เป็นจำนวนมาก ลองพิจารณาสถานการณ์ในห้องดาต้าเซนเตอร์รางเดินสายต้องรับน้ำหนักมากขนาดไหนลองเทียบกับจำนวนเท่ากันในสายไฟเบอร์ ท่านจะลดปริมาณวัสดุและขนาดรางเดินสายได้มากกว่า 90%
สายไฟเบอร์ : ทางเลือกใหม่ของเครือข่ายแห่งอนาคต
จากข้อมูลที่ปรากฏด้านบนท่านคงจะทราบแล้วว่าเหตุใดทองแดงจึงไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะสมแล้วกับปัจจุบันที่ใครๆก็ต้องการเข้าถึงข้อมูล ยิ่งเร็วและแรงยิ่งขึ้น อีกทั้งหากมองสภาพความเป็นจริงข้อมูลที่ส่งหากันมีแต่จะเพิ่มมากขึ้นทุกวัน หากเราไม่ทำการวางแผนเสียแต่วันนี้แล้วเมื่อไหร่กันถึงจะเหมาะสมที่จะเปลี่ยน?
Furukwa Electric อยากที่จะแนะนำผู้อ่านทุกท่านให้รู้จักการเชื่อมต่อที่การันตีความเร็วได้ถึงอนาคต (Future Proof) ผ่านโซลูชันที่รูปแบบใหม่ที่ใช้การเชื่อมต่อแบบ Point to Multi-Point กล่าวคือสายไฟเบอร์เพียงเส้นเดียวจากต้นทางสามารถนำข้อมูลส่งหาผู้ใช้ปลายทางได้มากถึง 256 จุด โดยระหว่างสัญญาณจะถูกแบ่งออกด้วยอุปกรณ์ Splitter ที่มีการทำงานแบบ Passive หรือไม่ต้องจ่ายไฟเพื่อให้อุปกรณ์ทำงาน ทั้งหมดนี้ก็คือเทคโนโลยี Passive Optical Network(PON) นั่นเอง ซึ่งเทคโนโลยีนี้ได้มีการนำมาใช้กับบ้านของทุกคนแล้วในบริการ Fiber to the Home(FTTH) และในต่างประเทศ การเชื่อมต่อสำหรับองค์กรก็สามารถนำเทคโนโลยี PON เข้าไปใช้ได้มากกว่า 10 ปีแล้วเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนสร้างความมั่นคงปลอดภัยและรักษ์โลกให้มากกว่าเดิม หรือสิ่งที่ Furukawa เรียกว่า Laserway
เกี่ยวกับ Furukawa Electric
Furukawa Electric มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการประกอบธุรกิจในหลายด้านอาทิเช่น Automotive, Energy, Metal และอื่นๆ โดยมีพนักงานราว 50,000 คน และส่วนธุรกิจกระจายอยู่ในหลายภูมิภาค สำหรับส่วนธุรกิจ Cabling หรือ FCS มีการจัดตั้งโรงงานที่บราซิล ทำให้มีชื่อเสียงและสัดส่วนตลาดกว่า 30% ในแถบลาตินอเมริกา ทั้งนี้มีการให้บริการอย่างครอบคลุมในส่วนของสายส่งและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในดาต้าเซนเตอร์ การใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสำนักงาน ซึ่งสามารถผลิตและจัดหาอุปกรณ์ได้ครบทั้งโซลูชัน ในประเทศไทย FCS มีการจัดตั้งสำนักงานขึ้นที่ประเทศไทย และได้รับรับความไว้วางใจในธุรกิจมากมายทั้งโซลูชันในดาต้าเซนเตอร์ หรือ Laserway ที่นำเสนอไปข้างต้น
สนใจติดต่อทีมงานของ Furukawa Electric เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม หรือปรึกษานำเสนอโซลูชัน สามารถติดต่อได้ที่ https://lin.ee/cARPJtc
ศึกษาบทความเก่าได้ที่
- https://www.techtalkthai.com/furukawa-electric-passive-optical-lan-solution-laserway/
- https://www.techtalkthai.com/data-center-trends-2022-by-furukawa-electric/
- https://www.techtalkthai.com/summary-webinar-future-prooft-network-with-fcs-400g-ready-and-laserway/
- https://www.techtalkthai.com/future-proof-healthcare-network-by-furukawa-electric/
- https://www.techtalkthai.com/furukawa-laserway-use-case-in-maldives/