CDIC 2023

ตอบโจทย์ Hyper-connected Infrastructure ด้วยเครือข่าย LAN ที่แรงเพียงพอ

การแพร่ระบาดผ่านไปแล้วแต่รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงยังคงอยู่ เราจะเห็นการทำงานผ่านCloud มากขึ้น การสื่อสารผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือหัวใจสำคัญของแนวทางการทำ Digital Transformation ที่องค์กรต้องมี ด้วยเหตุนี้เองการเชื่อมต่อผ่านสาย LANแบบเดิมอาจไม่สามารถตอบโจทย์ต่อไปได้ ไฟเบอร์ออปติกจึงเป็นหลักสำคัญของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

Hyperconnectivity เป็นคำศัพท์ที่อ้างถึงการติดต่อสื่อสารระหว่าง บุคคลถึงบุคคลหลายบุคคล บุคคลถึงอุปกรณ์หลายอุปกรณ์ ที่ก่อรวมกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ โดยศัพท์นี้ถูกคิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ทางสังคมชาวแคนนาดาที่ชื่อ Anabel Quan-Hasse และ Barry Wellman โดยเทอมของศัพท์ได้ถูกนำไปใช้ในหลายบริบทของการเชื่อมต่อเช่น อีเมล, ข้อความโต้ตอบ, โทรศัพท์, การพบปะแบบเห็นหน้า แม้กระทั่งบริการข้อมูล Web-site นอกจากนี้ในมุมของ Computer Networks คำๆนี้ยังเป็นเทรนด์ที่อ้างถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถหรือจำเป็นต้องสื่อสารกันผ่านเครือข่าย ซึ่งหมายถึงการเชื่อมต่อระหว่าง บุคคลสู่บุคคลหลายบุคคล บุคคลสู่เครื่องหลายเครื่อง บุคคลสู่ระบบหลายระบบ และเครื่องสู่เครื่องหลายเครื่อง นำไปสู่ความต้องการ Bandwidth ที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง

ในมุมของ Hyper-connected Infrastructure ก็มีความคล้ายกันมาก กล่าวคือเป็นสภาพแวดล้อมที่ทุกสิ่งทุกอย่างติดต่อกันผ่านเครือข่าย แต่องค์ประกอบภายในมีหลายภาคส่วนทั้งผู้ใช้งาน แอปพลิเคชัน อุปกรณ์ และคลาวด์ที่สร้างให้เกิด โครงสร้างพื้นฐานที่มีทั้งข้อมูลและการเชื่อมต่อขนาดใหญ่มาก

อย่างไรก็ดีเมื่อเจาะจงไปที่ Infrastructure อย่างออฟฟิศสำนักงาน ที่มีการเปลี่ยนแปลงบริบทการทำงานรูปแบบใหม่พบว่า อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นเรื่องจำเป็น เพราะทุกคนต้องมีการเชื่อมต่อระบบคลาวด์ หรือเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งอยูภายนอกองค์กร การประชุมในห้องประชุม กลายเป็นการประชุมด้วยคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คสวนตัว ผ่าน MS-Team หรือ Zoom นั่นหมายถึงเครือข่ายทุกๆส่วนของออฟฟิศจะต้องดีกว่าที่เคยเป็นมา

นอกจากความต้องการเปลี่ยนไปแล้ว องค์กรยังมีข้อมูลที่ไหลเวียนเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นการเชื่อมต่อด้วยระบบสายทองแดงแบบเดิมจึงไม่สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้อีกต่อไปแล้ว สิ่งที่จะเข้ามาช่วยยกระดับขีดจำกัดใหม่ของการเชื่อมต่อก็คือไฟเบอร์ออปติก ซึ่งในอดีตอาจเป็นเรื่องไกลตัว แต่ปัจจุบันเรื่องราวได้เปลี่ยนไปแล้ว

เทคโนโลยี Passive Optical Network สำหรับใช้งานใน Local Area Network (LAN) ภายใต้ชื่อการค้าว่า Laserway ของ Furukawa Electric เป็นสิ่งที่จะช่วยให้องค์กรรองรับกับ Hyperconnected Infrastructure ได้โดยสายไฟเบอร์ออปติก ที่รองรับระยะทางการเดินสายไกลถึง 20 กิโลเมตร กระจายสัญญาณด้วย Splitter ที่เป็น Passive ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าในการทำงาน ไม่จำเป็นต้องกระจายสัญญาณไฟฟ้าซ้ำด้วย Switch เหมือนสายทองแดงที่มีข้อจำกัดเพียง 100 เมตร ปลายทางของ Laserway จะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า ONT เพือให้สามารถใช้สายแลนสั้นๆต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ตามปกติ เหมือนกับบริการอินเทอร์เน็ตบ้าน(FTTX) ต่างตรงที่ ONT ของ Laserway ใช้ chipset ระดับ enterprise ที่มีความทนทานสูงและสามารถจัดการ Vlan ได้

ไม่เพียงเท่านั้นระบบการรับประกันของ Furukawa ยังยาวนานนับสิบปี ทำให้ท่านไม่จำเป็นต้องไปหา Supplier รายใหม่บ่อยครั้งเหมือนที่แล้วมา  นอกเหนือจากนั้นตัว Fiber เองยังเป็นเทคโนโลยีที่รองรับอนาคต เพราะรองรับ Bandwidth ได้สูงถึงหลักร้อย Gbps ดังนั้นเมื่อ Core Network มีคุณภาพดีเพียงพอ Hyperconnected Infrastructure จึงขับเคลื่อนต่อไปได้อย่างแท้จริง

เกี่ยวกับ Furukawa Electric

Furukawa Electric มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการประกอบธุรกิจในหลายด้านอาทิเช่น Automotive, Energy, Metal และอื่นๆ โดยมีพนักงานราว 50,000 คน และส่วนธุรกิจกระจายอยู่ในหลายภูมิภาค สำหรับส่วนธุรกิจ Cabling หรือ FCS มีการจัดตั้งโรงงานที่บราซิล ทำให้มีชื่อเสียงและสัดส่วนตลาดกว่า 30% ในแถบลาตินอเมริกา ทั้งนี้มีการให้บริการอย่างครอบคลุมในส่วนของสายส่งและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในดาต้าเซนเตอร์ การใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสำนักงาน ซึ่งสามารถผลิตและจัดหาอุปกรณ์ได้ครบทั้งโซลูชัน ในประเทศไทย FCS มีการจัดตั้งสำนักงานขึ้นที่ประเทศไทย และได้รับรับความไว้วางใจในธุรกิจมากมายทั้งโซลูชันในดาต้าเซนเตอร์ หรือ Laserway ที่นำเสนอไปข้างต้น

สนใจติดต่อทีมงานของ Furukawa Electric Communications Southeast Asia เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม หรือปรึกษานำเสนอโซลูชัน สามารถติดต่อได้ที่

Line:@furukawa_th หรือ link: https://lin.ee/cARPJtc

ศึกษาบทความเก่าได้ที่

  1. https://www.techtalkthai.com/furukawa-electric-passive-optical-lan-solution-laserway/
  2. https://www.techtalkthai.com/data-center-trends-2022-by-furukawa-electric/
  3. https://www.techtalkthai.com/summary-webinar-future-prooft-network-with-fcs-400g-ready-and-laserway/
  4. https://www.techtalkthai.com/future-proof-healthcare-network-by-furukawa-electric/
  5. https://www.techtalkthai.com/furukawa-laserway-use-case-in-maldives/

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

[โปรพิเศษรอบ Early Bird] คอร์สเรียน ‘Threat Hunting’ จาก Sosecure เรียนออนไลน์ เน้นลงมือจริง 3 วันเต็ม

การต่อกรกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นฝ่ายตั้งรับเท่านั้น และหากทำได้ดีเราก็สามารถลงมือตอบสนองก่อนเกิดเหตุได้เช่นกัน ยิ่งทำได้เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี ซึ่งทีม Threat Hunting มีบทบาทอย่างมากในการทำงานร่วมกับระบบ SoC ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลภัยคุกคามจากทั่วทุกมุมโลกมาช่วยตรวจจับการโจมตีที่เกิดขึ้นได้  คำถามคือแล้วในงานเหล่านี้ควรมีทักษะเกี่ยวข้องในด้านไหนบ้าง Sosecure ขอชวนผู้สนใจในสายงานด้าน Cybersecurity ที่ต้องการรู้ลึก ทำได้จริง …

[โปรพิเศษรอบ Early Bird] คอร์สเรียน ‘Cybersecurity Analyst’ จาก Sosecure เรียนออนไลน์ เน้นลงมือจริง 3 วันเต็ม

อาชีพด้าน Cybersecurity กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดอีกมากมาย หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มองหาช่องทางใหม่ๆในสายอาชีพด้าน Cybersecurity หรือปฏิบัติงานอยู่แล้ว แต่อยากยกระดับตัวเองมากขึ้น วันนี้เราขอแนะนำคอร์สเรียนออนไลน์ ‘Cybersecurity Analyst’ โดย Sosecure ผู้เชี่ยวชาญแถวหน้าของเมืองไทย โปรโมชันพิเศษรอบ Early …