CDIC 2023

Low-code Development Platform คืออะไร?

Low-code นั้นจะช่วยให้ธุรกิจสามารถพัฒนา Application ใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น  ทดลองใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายด้วยตัวคุณได้ได้ทันทีกับ OutSystems

Low-code นี้คือแนวคิดใหม่ที่จะช่วยให้การออกแบบและพัฒนา Software Application เป็นไปได้อย่างรวดเร็วโดยมีการเขียนโค้ดเองเกิดขึ้นน้อยที่สุด ซึ่งจะทำให้เหล่าผู้ที่มีทักษะความชำนาญในเทคโนโลยีนี้สามารถสร้างคุณค่าใหม่ๆ ให้กับธุรกิจและองค์กรได้อย่างรวดเร็วและมั่นคงยิ่งขึ้น และสามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการของ Business ได้อย่างรวดเร็วกว่าการพัฒนาแบบเดิมอย่างมาก ด้วยระบบหน้าจอการใช้งาน Visual Modeling สำหรับใช้ในการสร้างและกำหนดค่าการทำงานให้กับ Application ก็ทำให้เหล่านักพัฒนาสามารถข้ามขั้นตอนการวางระบบ Infrastructure พื้นฐานและการพัฒนาโมดูลพื้นฐานที่ซ้ำๆ ในแต่ละ Application ลงได้ และนำเวลาที่ได้กลับคืนมานี้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาส่วนสำคัญของ Application ซึ่งเป็นงาน 10% ที่สำคัญที่สุดในแต่ละโครงการพัฒนา Application ได้ทันที

ในโลกของ Software นั้น เรามักต้องอาศัยการใช้งาน Library, API และระบบต่างๆ จากผู้ให้บริการภภายนอกเพื่อให้เราสามารถมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาส่วนที่สำคัญที่ธุรกิจให้เร็วและโดดเด่นซึ่งยังไม่เคยมีมาก่อนได้ แต่แนวทางดังกล่าวนั้นก็ยังไม่เพียงพอและมักทำให้เหล่านักพัฒนาต้องเสียเวลามากอยู่ดีในการพัฒนาแบบเดิมๆ

Low-code นั้นคือกลุ่มของเครื่องมือจำนวนมากที่จะช่วยให้เหล่านักพัฒนาสามารถสร้าง Application ขึ้นมาให้พร้อมใช้งานได้ด้วยหน้าจอการทำงานแบบ Drag-and-Drop ดังนั้นแทนที่เหล่านักพัฒนาจะต้องทำงานกับโค้ดที่มีความซับซ้อนและ Syntax ต่างๆ นับหลายพันบรรทัดในแต่ละงานนั้น Low-code จะช่วยให้นักพัฒนาเหล่านี้สามารถสร้าง Application ที่มีหน้าตาทันสมัย, ทำงานร่วมกับระบบต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย, จัดการกับข้อมูลและลำดับการทำงานของระบบได้อย่างรวดเร็วและมองเห็นผลลัพธ์ของการพัฒนาได้ทันที

โดยทั่วไปแล้ว Low-code Development Platform จะมีคุณลักษณะพื้นฐานดังนี้:

  • ระบบ Visual IDE เพื่อให้นักพัฒนาสามารถกำหนด UI, Workflow และ Data Model ของ Application ได้ รวมถึงยังสามารถแทรกโค้ดที่พัฒนาขึ้นมาเองเข้าไปได้หากต้องการ
  • เชื่อมต่อกับระบบหรือบริการเบื้องหลังได้หลากหลาย โดยจัดการกับ Data Structure, Storage และการรับส่งข้อมูลให้ทั้งหมด
  • สามารถบริหารจัดการ Application Lifecycle ได้ โดยมีเครื่องมือในการ Build, Debug, Deploy และ Maintain ระบบได้โดยอัตโนมัติทั้งในขั้นตอนของการ Test, การขึ้น Staging และการขึ้น Production

นอกเหนือไปจากความสามารถพื้นฐานเหล่านี้แล้ว ระบบ Low-code นั้นก็มักมีความแตกต่างออกไปในหลากหลายประเด็น บางระบบนั้นก็มีความสามารถที่จำกัดและสามารถทำได้เป็นเพียงแค่การนำข้อมูลในฐานข้อมูลออกมาแสดงหรือจัดการเท่านั้น ในขณะที่บางระบบนั้นอาจถูกออกแบบมารองรับธุรกิจเฉพาะทางอย่างเช่นการทำ Case Management ในขณะที่บางระบบนั้นอาจตีความคำว่า Low-code ในฐานะของเครื่องมือที่ถูกสร้างขึ้นมาเฉพาะทางและแทบไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา Application เลยก็เป็นได้

OutSystems นี้คือระบบ Low-code ที่มีความสามารถเพื่อช่วยให้คุณสร้าง Mobile Application และ Web Application ที่ทันสมัยและรองรับการใช้งานได้บนระบบที่หลากหลายสำหรับองค์กร พร้อมให้นำไปใช้งานได้ในทีมพัฒนาภายในองค์กรที่มีอยู่ได้ทันที โดยสามารถนำ Low-code Platform ไปพัฒนา Application ที่สนับสนุนการทำงานภายในองค์กร หรือ สร้าง Application ที่เชื่อมธุรกิจกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และยังสามารถทำการพัฒนา Application ให้กับระบบสำคัญต่างๆ ได้มากมาย

คุณสามารถทดลองใช้งาน Low-code ได้ด้วยตัวคุณเองกับ OutSystems ทันทีโดยไม่มีค่าจ่าย โดย OutSystems ได้เตรียมระบบ Tutorial สำหรับการพัฒนา Web และ Cross-Platform Mobile Application ที่ใช้เวลาสั้นๆ ในการพัฒนาขึ้นมาเอาไว้ เพื่อให้คุณเข้าใจแนวคิดของ Low-code อย่างชัดเจนและนำไปอธิบายต่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้อีกด้วย

Low-code เหมาะกับงานแบบไหน?

โดยทั่วไปแล้ว การพัฒนา Software แบบ Low-code นี้ก็เหมือนกับการพัฒนา Software ด้วยวิธีการอื่นๆ ยกเว้นว่าคุณจะเป็นคนที่ชอบเขียน Machine Code ขึ้นมาเองเท่านั้น ดังนั้นถ้าคุณไม่ใช่นักพัฒนาสายนั้น คุณก็ต้องเคยใช้สิ่งที่คนอื่นพัฒนาขึ้นมาก่อนเพื่อช่วยให้ทำงานเสร็จเร็วขึ้นมาบ้างอยู่แล้ว

ด้วยการใช้ Low-code นั้น ก็จะมีงานหลายส่วนที่คุณไม่ต้องทำเองเพิ่มขึ้นมามากมาย ตัวอย่างเช่น แทนที่คุณจะต้องพัฒนาระบบ User Management ซึ่งคุณต้องทำในทุกๆ โครงการอยู่แล้ว หรือต้องคอยรับมือกับความเฉพาะทางของ Programming Framework ล่าสุดที่เลือกใช้ทุกครั้ง หรือต้องเขียน Test 10 ชุดสำหรับแต่ละบรรทัดในโค้ดของคุณ คุณก็สามารถข้ามขั้นตอนเหล่านี้และมุ่งพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ที่จะสร้างคุณค่าใหม่ๆ ให้กับธุรกิจ ขึ้นมาได้ทันที ทำไมคุณต้องเขียนโค้ดใหม่ทุกครั้งในเมื่อมันเป็นปัญหาที่เคยมีคนแก้มาก่อนแล้วและมีรูปแบบที่ตายตัวชัดเจนด้วยล่ะ?

มาลองเปรียบเทียบกันดูว่า Application หนึ่งๆ ที่ใช้ Web Framework ทั่วๆ ไปในการพัฒนา กับการใช้ Low-code ในการพัฒนานั้นจะมีขั้นตอนหรือกระบวนการที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

กระบวนการในการพัฒนา Application แบบดั้งเดิม ไม่ว่าคุณจะใช้ .NET MVC, Spring Boot หรือ Ruby on Rails คุณและทีมงานของคุณก็ต้องผ่านขั้นตอนดังนี้:

  1. ทำความเข้าใจกับ Requirement ของระบบ
  2. ออกแบบสถาปัตยกรรมของระบบ
  3. เลือกใช้ Back-end Framework, Library, Data Store และ Third-party API
  4. เลือกใช้ Front-end Framework และหวังว่ามันจะไม่ตกรุ่นจนเลิกสนับสนุนก่อนที่คุณจะพัฒนาเสร็จ
  5. เลือก Deployment Stack, ตั้งระบบ CI และกำหนดแผนการทำงาน
  6. สร้าง Wireframe และ Prototype
  7. เขียนโค้ดในส่วนของ UI ด้วย JavaScript Framwork ที่เลือกมา
  8. เขียน Test จำนวนมหาศาล
  9. กำหนด Model และผูกโมเดลเหล่านั้นเข้ากับ Data Store
  10. กำหนด Business Logic ที่ต้องการและโค้ดมันขึ้นมา
  11. สร้าง View สำหรับให้ส่งและรับข้อมูลแบบ JSON ที่จำเป็นเพื่อเชื่อมต่อกับ Front-end ที่พัฒนาขึ้นมา
  12. พัฒนา Workflow และ UI ที่ต้องการขึ้นมาบน Front-end Framework
  13. ผสานระบบเข้ากับ Third-party API ด้วย Interface ที่มีให้หรือถ้าโชคดีก็อาจมี Library ให้พร้อมใช้ได้ทันทีในภาษาที่คุณเลือกใช้
  14. ทำขั้นตอนเหล่านี้ซ้ำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะ Test ผ่าน
  15. ทำการทดสอบด้านความมั่นคงปลอดภัย, ประสิทธิภาพ, คุณภาพ และทำ User Acceptance
  16. ติดตั้งใช้งาน, อัปเดตแก้ไข, ดูแลรักษา และอัปเดตความสามารถใหม่ๆ จนกระทั่ง Application ถูกสั่งให้เลิกพัฒนา

กระบวนการในการพัฒนาแบ Low-code ด้วยระบบ Low-code ขั้นตอนในการพัฒนาจะเป็นดังนี้:

  1. พิจารณาความต้องการของระบบ
  2. เลือก Third-party API ที่ต้องการใช้งาน
  3. วาด Workflow, Data Model และ User Interface ด้วยระบบ Visual IDE
  4. เชื่อมต่อ API ซึ่งโดยมากมักจะมาพร้อมกับการค้นหาความสามารถของ API โดยอัตโนมัติ
  5. ถ้าต้องการ ก็สามารถเพิ่มโค้ดที่พัฒนาขึ้นเองเข้าไปยัง Front-End หรือจัดการแก้ไข SQL Query ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยอัตโนมัติเองได้
  6. ทดสอบ User Acceptance
  7. ติดตั้งใช้งานระบบ และทำการอัปเดตใหม่ๆ ด้วยการคลืกเพียงครั้งเดียว

จะเห็นได้ว่าขั้นตอนในการพัฒนาด้วย Low-code นั้นเหลือเพียงแค่ 7 ขั้นตอนเท่านั้นจากเดิมที่มีมากถึง 16 ขั้นตอน

ระบบ Low-code นั้นเข้าใจเป็นอย่างดีว่าเวลาส่วนใหญ่ที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับ Web และ Mobile Application นั้นก็มักเป็นการแก้ไขโจทย์เดิมซ้ำๆ ซึ่งคุณก็ไม่จำเป็นที่จะต้องแก้โจทย์เดิมๆ ทุกครั้งที่เริ่มต้นโครงการใหม่ๆ เนื่องจาก Low-code นั้นจะช่วยให้เราสร้าง Application ขึ้นมาได้อย่างง่ายดายด้วยระบบพื้นฐานที่ผ่านการทดสอบมาแล้วเป็นอย่างดี และทำให้เราโฟกัสไปกับการสร้างคุณค่าใหม่ๆ ให้กับโลกใบนี้ได้แทน

Low-code จะช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในปลายทางแล้ว Low-code นั้นคือแนวทางที่จะทำให้นักพัฒนาสามารถทำงานได้มากขึ้น ด้วยระบบ Low-code คุณสามารถใช้เวลาในการสร้างและทำงานซ้ำๆ ได้โดยใช้เวลาน้อยลง ซึ่งถึงจะเป็นที่รู้กันดีว่าการได้เรียนรู้ JavaScript Framework ล่าสุดหรือการได้ใช้ NoSQL ล่าสุดนั้นเป็นเรื่องที่สนุก แต่ในระหว่างที่คุณต้องใช้เวลาในการแก้ไขบั๊กบนโค้ดที่คุณไม่คุ้นเคยอยู่นั้น คู่แข่งของคุณก็อาจแย่งลูกค้าของคุณไปแล้วก็เป็นได้

Low-code นั้นไม่ได้ทำให้คุณค่าของเหล่านักพัฒนาลดน้อยลงแต่อย่างใด แต่ Low-code นั้นจะช่วยให้ทีมของเหล่านักพัฒนาสามารถสร้างคุณค่าใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม ในขณะที่ยังคงสามารถสร้างสรรค์ Web และ Mobile Application ใหม่ๆ ที่มีคุณภาพสูงขึ้นมาได้ด้วย

ผู้ที่สนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Low-code และ OutSystems สามารถติดต่อที่ปรึกษาของ Outsystems ในประเทศไทยได้ที่คุณ Penny penny.khaonongbua@outsystems.com, Mobile/Line: 0896626597 หรือ Certified Partner ในประเทศไทยทั้งหกรายประกอบด้วย SSC Integration Co., Ltd., G-ABLE Co., Ltd., Virtual Link Solutions (VLink), Datapro Computer Systems Co.Ltd., CTC Global (Thailand) Ltd., Stream I.T. Consulting Ltd. หรือ ทดลองใช้งาน OutSystems ด้วยตัวคุณเองได้ฟรีๆ


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Intel ออกบริการ Trust-as-a-Service ภายใต้โปรเจ็ค ‘Amber’

Project Amber ถูกวางตัวให้เป็นบริการ SaaS ที่จะช่วยเรื่องของการตรวจสอบว่าสภาพแวดล้อมนั้นๆมีความถูกต้องน่าเชื่อถือหรือไม่ โดยเป็นบริการแรกในส่วนของ Trust Authority ที่ถูกเปิดตัวออกมา

Microsoft ประกาศเพิ่ม Copilot ลงใน Windows 11

Microsoft ได้ประกาศเพิ่ม Copilot ระบบ AI Chatbot ลงใน Windows 11