LTE-U vs. Wi-Fi

กลายเป็นประเด็นร้อนในปัจจุบันที่เทคโนโลยีใหม่อย่าง LTE-U (LTE Unlicensed) จะมาร่วมใช้งานบนย่านความถี่ 5 GHz ร่วมกับเทคโนโลยี Wi-Fi ก่อให้เกิดความเห็นที่แตกต่างระหว่างผู้ที่สนับสนุนให้ใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อให้ระบบ LTE สามารถใช้งานได้ด้วยความเร็วที่สูงขึ้น กับผู้ที่เห็นต่างเนื่องจาก LTE-U จะเข้ามาเบียดเบียนแบนวิธด์ของการใช้ Wi-Fi

Credit: NetworkWorld
Credit: NetworkWorld

Unlicensed Band คืออะไร

ทำความรู้จักกันก่อน การใช้งานย่านความถี่ในปัจจุบันจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ย่านหลักๆ คือ Licensed Band และ Unlicensed Band ย่านความถี่แบบ Licensed Band เป็นย่านความถี่ที่หน่วยงานรัฐเป็นเจ้าของ จำเป็นต้องมีการประมูลและขออนุญาตใช้งานจาก กสทช. ในขณะที่ Unlicensed Band เป็นย่านความถี่อิสระที่อนุญาตให้ใครมาใช้งานก็ได้ เพียงแค่ปฏิบัติตามกฏให้ถูกต้องเท่านั้น ถ้ายกตัวอย่างให้ชัดเจน ระบบโทรศัพท์มือถือและระบบ Wi-Fi 802.11n/ac ต่างเป็นเทคโนโลยียอดนิยมที่ใช้ย่านความถี่แบบ Licensed และ Unlicensed Band ตามลำดับ

LTE-U เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มช่องทางและความเร็วในการรับส่ง Data

เนื่องจากการใช้งาน Data บนโทรศัพท์มือถือมีปริมาณสูงขึ้นเรื่อยๆและการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อเพิ่มช่องทางให้แก่ 3G/4G เป็นเรื่องที่กระทำการได้ช้า LTE-U (หรือ LAA: License Assisted Access) จึงเป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ช่วยเพิ่มช่องทางและความเร็วในการรับส่งสัญญาณผ่านทาง Unlicensed Band โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากหน่วยงานรัฐบาล เรียกว่าเป็นช่องทางเสริมที่เพิ่มขึ้นมาจากการใช้ระบบ LTE เดิมเพียงอย่างเดียว (ไม่ได้นำมาแทนที่ระบบเดิม) ผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อทั้งระบบ LTE และ LTE-U ได้พร้อมกัน ส่งผลให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วที่สูงขึ้น

Credit: TereAnalysis
Credit: TereAnalysis

คุณสมบัติสำคัญของ LTE-U

  • อุปกรณ์ที่รองรับระบบ LTE-U จะใช้ข้อบังคับเรื่องกำลังส่งเช่นเดียวกับอุปกรณ์​ Wi-Fi ในปัจจุบัน
  • LTE-U ไมไ่ด้ใช้เสา Macro Cell ในการบรอดแคสต์สัญญาณเหมือน LTE แต่จะใช้ Small Cell แทน ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานในโรงพยาบาล ศูนย์การค้า มหาวิทยาลัย โรงแรม และสนามกีฬา เป็นต้น
  • LTE มีประสิทธิภาพด้านสเปกตรัมที่ดีกว่า Wi-Fi กล่าวคือ LTE สามารถส่งสัญญาณได้ไกลกว่า Wi-Fi ถึง 2 เท่าในกรณีที่ใช้กำลังส่งเท่ากัน

ใช้ย่านความถี่ 5 GHz เช่นเดียวกับ Wi-Fi

อย่างไรก็ตาม LTE-U ที่กำลังทดสอบในปัจจุบันนั้นใช้งานบนย่านความถี่ 5 GHz เช่นเดียวกับ Wi-Fi ส่งผลให้อุตสาหกรรมไอทีออกมาคัดค้านไม่เห็นด้วย เนื่องจาก LTE-U จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการใช้งาน Wi-Fi ในขณะที่ฝั่งโทรคมนาคมหรือ ISP ต่างออกมาสนับสนุนเนื่องจากย่านความถี่ 5 GHz เป็นย่านสาธารณะที่ทุกคนสามารถใช้งานได้ เช่นเดียวกับย่านความถี่ 2.4 GHz ที่มีการใช้งานทั้ง Wi-Fi, Bluetooth, Cordless Phone ซึ่งก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรมากนัก

ผลกระทบของ LTE-U ต่อ Wi-Fi

แน่นอนว่าการใช้งานบนคลื่นความถี่เดียวกันกับ Wi-Fi จะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่เป็นประเด็นสำคัญคือ โปรโตคอลของ Wi-Fi ถูกออกแบบมาให้ใช้งานคลื่นความถี่ร่วมกับผู้อื่นในขณะที่ LTE ถูกออกแบบมาให้ใช้งานเพียงคนเดียว กล่าวคือ LTE จะอนุญาตให้รับส่งข้อมูลได้ทันทีโดยไม่สนใจว่ามีผู้อื่นใช้งานอยู่หรือไม่ ส่งผลให้ถ้าใช้งาน LTE ร่วมกับ Wi-Fi จะทำให้สัญญาณ Wi-Fi ถูกรบกวนอย่างรุนแรงจนไม่สามารถใช้งานได้ จึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนโปรโตคอลของ LTE-U ให้สามารถใช้งานร่วมกับคลื่นสัญญาณอื่นได้ก่อนใช้งานจริง

ผลกระทบต่อผู้ใช้งาน

ไม่มี การดีเบตระหว่างการใช้งาน LTE-U และ Wi-Fi นับว่าเป็นเรื่องดี เนื่องจากเป็นการผลักดันเทคโนโลยีใหม่ๆให้เกิดขึ้นและสามารถใช้งานได้จริง ไม่ว่า LTE-U จะออกมาในรูปแบบไหน ผลสุดท้ายผู้ใช้งานก็ได้รับผลประโยชน์ต่อความเร็วในการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอยู่ดี เพียงแค่อาจจำเป็นต้องพิจารณาถึงโปรโมชันในการใช้งานโทรศัพท์มือถือผ่าน 3G/4G + LTE-U ให้มากขึ้นกว่าเดิม

ที่มา:

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เชิญร่วมงานสัมมนา “Copilot is Here!! Your Everyday AI Companion” ในวันที่ 25 กันยายน 2567 เวลา 9.00 – 12.00 น. ณ Eastin Grand Hotel Phayathai Bangkok

ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ได้กลายเป็นส่วนสำคัญที่เข้ามาปฏิวัติวิธีการทำงานและการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ AI ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความผิดพลาด และนำเสนอวิธีการใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหา ทำให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในประโยชน์ที่สำคัญของ AI คือการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลจำนวนมากในเวลาอันสั้น และลดภาระงานที่ไม่จำเป็นและช่วยให้พนักงานมีเวลามากขึ้นในการทำงานที่มีความคิดสร้างสรรค์

Telehouse กับบริการ Cross Connect ตัวช่วยธุรกิจเสริมแกร่งด้านการเชื่อมต่อ [PR]

Cross Connect คือการเชื่อมต่อสายสัญญาณโดยตรงระหว่างอุปกรณ์ของลูกค้าภายในดาต้าเซ็นเตอร์ เช่น การเชื่อมต่อผู้ให้บริการด้านคอนเทนต์และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เข้าด้วยกัน การเชื่อมต่อโดยตรงนี้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าการแลกเปลี่ยนข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจที่ต้องการการตอบสนองทันที เช่น  บริการคลาวด์ แอปพลิเคชันทางการเงิน และการสตรีมมิ่ง