CDIC 2023

Connected Commerce: ก้าวถัดไปของ Omni-channel ที่ธุรกิจ Banking และ Retail ต้องมุ่งไปในอนาคต

ท่ามกลางยุคสมัยของการทำ Digital Transformation ที่ธุรกิจต่างๆ นั้นต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง ทั้งภาคธนาคารและการเงินต้องเร่งปรับตัวจากความพยายามในการสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ของ Startup มาแข่งขัน และเหล่าธุรกิจค้าปลีกที่ถูกเหล่า Online Commerce รายใหญ่เข้ามาแย่งส่วนแบ่ง ทางทีมงาน TechTalkThai มีโอกาสได้พูดคุยกับคุณชูเกียรติ เจียเจษฎากุล ผู้ดำรงตำแหน่ง Managing Director แห่ง Diebold Nixdorf (Thailand) จึงขอนำเรื่องราวของ Connected Commerce ซึ่งจะเป็นก้าวถัดไปที่ต่อจาก Omni-channel และจะกระทบต่อทั้งสองวงการนี้โดยตรงมาเล่าสู่กันฟังดังนี้ครับ

 

Omni-channel คืออะไร? แล้วทำไมถึงไม่ตอบโจทย์ธุรกิจอีกต่อไปแล้วในยามนี้?

ในมุมมองของ Diebold Nixdorf นั้น Omni-channel คือแนวคิดที่ธุรกิจต่างๆ นั้นมีการขยายช่องทางสำหรับเข้าถึงลูกค้าไปหลากหลาย เพิ่มเติมจากเพียงแค่การมีหน้าร้าน, สาขา, E-Commerce มาสู่การนำช่องทางใหม่ๆ อย่างเช่น Mobile Application, Chat, Kiosk และอื่นๆ เพื่อให้เกิดโอกาสในการปิดการขายมากยิ่งขึ้น และตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เริ่มมีการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาทดแทนการซื้อสินค้าหรือใช้บริการแบบเดิมๆ ในสถานที่จริง ซึ่ง Omni-channel เองก็ได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าเป็นกลยุทธ์ที่ถูกต้องในอดีตที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดี เมื่อเวลาเปลี่ยนไป และผู้คนเริ่มคุ้นเคยกับเทคโนโลยีกันมากขึ้น พฤติกรรมของผู้บริโภคเองนั้นก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอีกครั้ง การซื้อสินค้าหรือบริการหนึ่งๆ นั้นไม่ได้เกิดกับช่องทางการติดต่อรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอีกต่อไป แต่ Customer Journey นั้นเปลี่ยนไปสู่การที่ผู้บริโภคคนหนึ่งๆ จะทำการติดต่อแบรนด์ในหลายๆ ช่องทางเพื่อให้ตนเองมีข้อมูลครบถ้วนพร้อมตัดสินใจ ก่อนที่จะทำการซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการใดๆ ทำให้ระบบ Omni-channel แบบเดิมที่ไม่สามารถระบุตัวตนของผู้บริโภคข้ามช่องทางการสื่อสารได้นั้น ไม่เพียงพอต่อการวางกลยุทธ์ด้านการตลาดและการขายอีกต่อไปแล้ว

 

Credit: Diebold Nixdorf

 

Connected Commerce: รวมทุกช่องทางการสื่อสารของแบรนด์ มาสู่ฐานข้อมูลกลาง พร้อมให้นำไปใช้งานได้ทุกจังหวะการติดต่อสื่อสาร

Connected Commerce คือชื่อของแนวคิดที่เป็นขั้นถัดไปของ Omni-channel ที่ทาง Diebold Nixdorf ตั้งขึ้นมา เพื่อสื่อถึงภาพที่ทุกๆ ช่องทางที่ธุรกิจหรือองค์กรใดๆ ใช้ติดต่อสื่อสารกับลูกค้าของตนนั้นถูกผสานรวมเข้าด้วยกันหมด ตัวอย่างเช่น หากลูกค้าเคยเข้าไปศึกษาข้อมูลของสินค้าใดๆ ในช่องทางใดแล้ว ช่องทางอื่นๆ จะต้องมีข้อมูลตรงนี้และนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้สร้าง Personalization ให้กับเนื้อหาที่นำเสนอในช่องทางอื่นๆ ด้วย โดยคำว่าช่องทางในที่นี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การสื่อสารแบบ Physical หรือ Online เท่านั้น แต่หมายถึงการรวมทั้งสองช่องทางเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งมีการปรับ Workflow ของธุรกิจเพื่อให้ตอบโจทย์ต่อพฤติกรรมแบบใหม่ของลูกค้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นการเปลี่ยน Customer Journey ครั้งใหญ่ของเหล่าธุรกิจการเงินและค้าปลีกนั่นเอง

 

Credit: Diebold Nixdorf

 

หากเปรียบ Omni-channel คือการที่ธุรกิจมีช่องทางการติดต่อสื่อสารให้ลูกค้าเลือกใช้ได้หลายช่องทาง แต่หากมี Transaction เกิดขึ้นในช่องทางใดแล้ว ลูกค้าต้องดำเนิน Transaction ให้จบในช่องทางนั้นเท่านั้น

Connected Commerce ก็คือการที่ธุรกิจมีหลายช่องทาง และลูกค้าสามารถเลือกที่จะเริ่มต้น Transaction ในช่องทางใดๆ ก็ได้ ก่อนที่จะย้ายไปดำเนิน Transaction นั้นๆ ในช่องทางอื่นๆ และจบที่ช่องทางใดๆ ก็ได้เช่นกัน

 

ด้วยมุมมองแบบนี้ ก็เปรียบเสมือนว่าจากเดิมที่ Omni-channel นั้นถูกออกแบบมาจากมุมมองของการสร้าง Channnel ใหม่ๆ ขึ้นมา และออกแบบแต่ละ Channel ให้ตอบโจทย์เฉพาะทางเป็นอย่างๆ ไปนั้น การสร้าง Connected Commerce ก็ต้องออกแบบจากมุมมมองของลูกค้าเป็นหลัก ที่จะต้องติดต่อธุรกิจองค์กรจากช่องทางใดเพื่อทำสิ่งใดๆ ก็ได้อย่างครบถ้วน เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนมุมมองในเชิงของการออกแบบประสบการณ์สำหรับลูกค้าก็คงไม่ผิดนัก

 

Credit: Diebold Nixdorf

 

แน่นอนว่าแนวคิด Connected Commerce นี้ย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่มีสาขาหน้าร้าน หรือธุรกิจที่มีลูกค้าจำนวนมากไม่น้อยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าธุรกิจธนาคารที่เดิมเคยมีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ และมีช่องทางการติดต่อสื่อสารที่หลากหลายทั้งบนระบบโทรศัพท์และ Internet รวมถึงเหล่าธุรกิจค้าปลีกที่มีสาขาและมีระบบ E-Commerce ควบคู่กันไป

 

Credit: Diebold Nixdorf

 

สำหรับตัวอย่างของอนาคตที่เหล่าธุรกิจการเงินและค้าปลีกจะนำแนวคิดของ Connected Commerce ไปใช้ได้นั้นมีดังนี้

ตัวอย่างแรก หากลูกค้าของธุรกิจค้าปลีกรายหนึ่งทำการตรวจสอบราคาสินค้าผ่านระบบ E-Commerce มาแล้ว ก็ควรจะสามารถตรวจสอบได้ด้วยว่าเข้าไปดูสินค้าจริงที่หน้าร้านสาขาใดได้ และหากไปดูสินค้าจริงที่สาขาหน้าร้านแล้วพบว่าสินค้าหน้าร้านมีราคาสูงกว่า E-Commerce ก็ควรจะกดสั่งซื้อสินค้าแบบออนไลน์ผ่านระบบ E-Commerce และแจ้งความประสงค์ว่าต้องการนำสินค้าชิ้นนั้นจากสาขานั้นๆ กลับบ้านได้ทันที ในขณะที่ระบบสะสมคะแนนใน Loyalty Reward Program นั้นก็จะต้องถูกสะสมและนำไปใช้ได้ในทุกๆ ช่องทางที่ลูกค้าต้องการ

ตัวอย่างที่สอง เมื่อลูกค้าของธนาคารใช้งานระบบ Self-Service ใดๆ ด้วยตัวเอง เช่น การสร้างเมนูลัดจากระบบ Internet Banking เพื่อให้สามารถทำธุรกรรมที่ตนเองต้องการได้ง่ายขึ้นมาใช้ เมื่อลูกค้ารายเดียวกันนี้ไปใช้งานระบบอื่นๆ ของธนาคารเช่น Mobile Banking หรือ ATM นั้น เมนูเดียวกันก็ควรจะแสดงขึ้นมาให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้ง่าย หรือหากลูกค้าเคยตอบรับหรือปฏิเสธบริการใดๆ ในช่องทางใดไปแล้ว ระบบก็ไม่ควรจะแสดงขึ้นมาถามลูกค้าอีก รวมถึงหากลูกค้ารายเดียวกันนี้ไปใช้บริการที่สาขาของธนาคารจริงๆ พนักงานก็ต้องทราบถึงความต้องการและพฤติกรรมเบื้องต้นของลูกค้า เพื่อให้สามารถนำเสนอบริการได้ตรงใจมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างที่สาม เมื่อลูกค้าของธนาคารโทรศัพท์เข้ามาแจ้งปัญหาเกี่ยวกับสินค้าผ่านทางระบบ Call Center แล้ว และลูกค้าจะสามารถนำสินค้าที่มีปัญหานั้นเข้ามาเปลี่ยนที่สาขาขององค์กรเลยก็ได้ หรือแจ้งให้มีการมารับสินค้าไปเปลี่ยนผ่านทางระบบ Call Center หรือ Mobile Application เลยก็ได้ และไม่ว่าลูกค้าจะเลือกทางใด ระบบก็จะต้องสร้าง Ticket ของกรณีนี้ขึ้นมาให้ลูกค้าสามารถติดตามได้ด้วยตนเองจากทุกช่องทาง

 

Credit: Diebold Nixdorf

 

จะเห็นได้ว่าการมาของ Connected Commerce นี้ไม่ใช่แค่เรื่องของเทคโนโลยี แต่ยังเป็นเรื่องของการปรับกระบวนการการติดต่อสื่อสารกันระหว่างองค์กับลูกค้าให้มีการนำข้อมูลมาใช้มากยิ่งขึ้น และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงตามความต้องการมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยทุกๆ ช่องทางการติดต่อสื่อสารนั้นผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและมีความสามารถที่เทียบเท่ากัน เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าไม่ว่าจะติดต่อกับองค์กรผ่านช่องทางใดก็ตาม ก็สามารถสั่งซื้อสินค้าหรือรับบริการได้ตามต้องการต่อเนื่อง ไม่ต้องเดินเรื่องใหม่หรือถามคำถามเดิมๆ ใหม่เหมือนอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

Connected Commerce นี้นอกจากจะช่วยสร้างความรู้สึกที่ดีต่อแบรนด์ให้กับเหล่าลูกค้าขององค์กรได้แล้ว การที่ข้อมูล, ผลิตภัณฑ์ และบริการทั้งหมดเชื่อมต่อเป็นหนึ่งเดียวรวมกันนี้ก็จะช่วยให้การปิดการขายหรือการทำธุรกรรมใดๆ เกิดโอกาสสำเร็จมากขึ้นด้วย และในระยะยาว ประเด็นเหล่านี้เองที่จะกลายเป็นจุดแข่งขันที่สำคัญของเหล่าธุรกิจการเงินและค้าปลีกในอนาคต และแน่นอนว่าในเชิงเทคนิคแล้ว การปรับปรุงระบบ IT ในฝั่ง Backend ของธุรกิจเหล่านี้ก็ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการทำให้ภาพของ Connected Commerce เกิดขึ้นจริงได้ด้วยเช่นกัน

 

 

Diebold Nixdorf: ไม่ใช่แค่ผู้ให้บริการตู้ ATM แต่เป็นธุรกิจ IT ที่สร้างเทคโนโลยีใหม่สำหรับตอบโจทย์เรื่องช่องทางการติดต่อค้าขายกับลูกค้า

เมื่ออ่านบทความมาถึงจุดนี้แล้วหลายๆ ท่านอาจจะเกิดความสงสัย เพราะในประเทศไทยนั้นเรามักคุ้นชื่อของ Diebold Nixdorf ในฐานะของผู้ให้บริการตู้ ATM เท่านั้น ซึ่งดูจะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของ Connected Commerce ที่เล่ามาข้างต้นเลย และจุดนี้ทีมงาน TechTalkThai เองก็สงสัยเช่นกันจึงได้ถามถึงประเด็นนี้กับทางทีมงานของ Diebold Nixdorf ตรงๆ และก็ได้คำตอบที่น่าสนใจไม่น้อย ซึ่งสรุปได้ใจความสั้นๆ ว่า “จริงๆ แล้ว Diebold Nixdorf เป็นธุรกิจ IT ที่พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้าง Channel การติดต่อซื้อขายใหม่ๆ สำหรับเหล่าธุรกิจการเงินและค้าปลีกโดยเฉพาะ”

Diebold Nixdorf นี้เกิดจากการควบรวมธุรกิจระหว่าง Diebold และ Wincor Nixdorf จนกลายเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ทางด้านผู้ให้บริการโซลูชัน IT แก่เหล่าธุรกิจการเงินและค้าปลีกทั่วโลก ด้วยสาขาใน 130 ประเทศ มีทีมงานมากกว่า 25,000 คน มีส่วนแบ่งตลาดของตู้ ATM มากถึง 1 ใน 3 ของทั้งโลก โดยรวมแล้วมีจำนวนระบบ ePOS และ ATM ที่ติดตั้งทั่วโลกเกินกว่า 2 ล้านเครื่อง และยังมีรายรับรวมทั่วโลกต่อปีที่สูงถึง 5,200 ล้านเหรียญหรือราวๆ 182,000 ล้านบาทไทยเลยทีเดียว

 

Credit: Diebold Nixdorf

 

สำหรับในประเทศไทย Diebold Nixdorf ที่ได้เข้ามาดำเนินกิจการนานกว่า 18 ปีนี้ก็เป็นผู้ให้บริการระบบตู้ ATM และ CDM รายใหญ่ที่มีการติดตั้งไปทั้งสิ้นมากกว่า 50,000 ตู้ทั่วไทย นับเป็นส่วนแบ่งตลาดที่สูงถึง 71% และยังได้ติดตั้งระบบ ePOS มากถึง 22,000 ชุด นับเป็นส่วนแบ่งตลาด 22.7% โดยมีพนักงานในประเทศไทยด้วยกันทั้งสิ้นมากถึง 661 คน และมีลูกค้าเป็นธนาคารและห้างค้าปลีกชื่อดังที่เราทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่หลายรายเลยทีเดียว

 

Credit: Diebold Nixdorf

 

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ตัวเลขส่วนใหญ่จะสะท้อนถึงความเป็นผู้นำด้านระบบตู้ ATM และ ePOS เป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงธุรกิจของ Diebold Nixdorf นั้นคือการใช้เทคโนโลยีมาช่วยให้ธนาคารและธุรกิจค้าปลีกสามารถขยายสาขาและเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้นต่างหาก ซึ่งในอดีตนั้นการขยายธุรกิจเหล่านี้ก็คือการเปิดสาขาใหม่ๆ ที่ Diebold Nixdorf จะมีบทบาทในส่วนของระบบ IT และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้การเปิดสาขานั้นๆ เป็นจริงขึ้นมาได้ ตั้งแต่ระบบ Hardware ที่จำเป็นสำหรับพนักงานในแต่ละตำแหน่ง, ระบบแคชเชียร์, ระบบเครือข่ายภายในสาขา, เครื่องพิมพ์ และอื่นๆ อีกมากมาย ไปจนถึง Software ที่จะคอยช่วยประสานการทำงานในแต่ละสาขาเข้ามาสู่ระบบศูนย์กลาง

แต่เมื่อธุรกิจเปลี่ยนไป E-Commerce และ Mobile Application เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อการทำธุรกรรมในรูปแบบต่างๆ Diebold Nixdorf นั้นก็หันมาพัฒนา Web Application และ Mobile Application เพิ่มเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทั่วโลก ด้วยมุมมองที่ว่า Internet และ Mobile นั้นได้กลายเป็นสาขาใหม่ๆ ของธุรกิจไปแล้ว ดังนั้นแม้ว่าธุรกิจเหล่านี้จะเริ่มเข้าสู่สภาวะการลดจำนวนสาขาลง ธุรกิจของ Diebold Nixdorf ก็ยังคงเติบโตต่อไปได้ เพราะเทคโนโลยีที่มาทดแทนสาขาที่หายไปนั้น ก็ได้กลายมาเป็นธุรกิจของ Diebold Nixdorf ไปด้วยแล้ว

ส่วนตู้ ATM ที่นับวันนั้นจะเริ่มถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยีอื่นๆ ทั้ง Internet Banking และ Mobile Banking ไปจนถึงทิศทางการก้าวไปสู่ Cashless Society ตามโครงการ National e-Payment และโครงการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศทั่วโลกเพื่อกำจัดเงินสดออกไปจากระบบและลดต้นทุนของธุรกิจการเงินนั้น ทาง Diebold Nixdorf ก็มองว่าท้ายที่สุดแล้วตู้ ATM จะกลายเป็นสาขาใหม่ของธุรกิจการเงิน ที่สามารถทำธุรกรรมได้หลากหลายรูปแบบแทนสาขาจริงของธนาคาร ทำให้สาขาของธนาคารนั้นสามารถลดขนาดลงได้อย่างมหาศาล เพราะการให้บริการส่วนใหญ่สามารถเกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติบนตู้ ATM นั่นเอง

 

Credit: Diebold Nixdorf

 

แน่นอนว่าสำหรับธุรกิจค้าปลีก ทาง Diebold Nixdorf ก็ได้เริ่มมองถึงการนำเทคโนโลยีมาช่วยให้ธุรกิจค้าปลีกเหล่านี้สามารถมีสาขาใหม่ๆ ได้โดยไม่ต้องมีพนักงานเก็บเงินเหมือนกับที่เราได้เห็นกรณีศึกษาจากต่างประเทศกันมาบ้างแล้วก่อนหน้านี้ เพื่อให้ธุรกิจค้าปลีกแบรนด์ต่างๆ ทั่วโลกสามารถแข่งขันกับธุรกิจ Startup รายใหญ่ๆ ที่เริ่มนำเทคโนโลยีต่างๆ มาสร้างร้านค้าที่ไม่ต้องมีมนุษย์ให้ได้ในอนาคต

อีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ด้วยความแข็งแกร่งทางด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยีสำหรับการสร้าง Channel สำหรับค้าขายหรือให้บริการต่างๆ เหล่านี้ของ Diebold Nixdorf ก็ส่งผลให้ไม่เพียงแต่เหล่าธุรกิจค้าปลีกแบบเดิมๆ ที่ต้องการก้าวเข้าสู่โลกของ E-Commerce แต่ต่อยอดจนกลายเป็น Connected Commerce เท่านั้นที่มาเป็นลูกค้าของ Diebold Nixdorf แต่เหล่าธุรกิจ E-Commerce ที่เกิดขึ้นมาบนโลกออนไลน์ตั้งแต่แรกเริ่มและไม่มีสาขาจริงเลย ก็สามารถทำงานร่วมกับ Diebold Nixdorf เพื่อก้าวเข้าสู่โลกของ Online & Offline ได้ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ในส่วนของธุรกิจค้าปลีก เทคโนโลยีของ Diebold Nixdorf นี้จะเหมาะกับธุรกิจที่เริ่มมีสาขาจำนวนมากๆ จนต้องเริ่มมองหาระบบบริหารจัดการร้านค้าจำนวนมากเหล่านั้นให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหากมีสาขาตั้งแต่ 30 – 40 สาขาขึ้นไป Diebold Nixdorf ก็จะเริ่มช่วยตอบโจทย์ได้ดีขึ้นแล้ว ในขณะที่สำหรับธุรกิจการเงินนั้น ธนาคารส่วนมากก็เป็นลูกค้าของ Diebold Nixdorf อยู่แล้ว

 

ตอบโจทย์ Connected Commerce ด้วย Diebold Nixdorf Vynamic

Diebold Nixdorf Vynamic นี้เป็น Software สำหรับตอบโจทย์ด้าน Channel ที่จะช่วยทำให้เหล่าองค์กรก้าวมาสู่ภาพของการทำ Connected Commerce ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในหลายแง่มุม โดยภายในโซลูชัน Vynamic นี้จะประกอบไปด้วยโซลูชันย่อยภายใน 6 ส่วนด้วยกัน ดังนี้

  1. Vynamic Connection Points ระบบ Application กลุ่ม Self-service ให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเอง
  2. Vynamic Transation Engine ระบบกลางสำหรับการเชื่อมการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นบน Channel ต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน
  3. Vynamic Management & Security ระบบสำหรับจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบ ทั้งในเชิงของ IT และการเงิน
  4. Vynamic Engagement ระบบสำหรับการทำการตลาดและโครงการ Loyalty Program สำหรับทุกๆ Channel ขององค์กร
  5. Vynamic Analytics ระบบวิเคราะห์ข้อมูลกลางเพื่อการตรวจสอบประเด็นต่างๆ, การทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค และการปรับปรุงแคมเปญการตลาดต่างๆ
  6. Vynamic Digital ระบบ Mobile Application สำหรับการนำไปพัฒนาต่อยอดเป็น Mobile Banking และ Mobile Retail

ในภาพรวมนั้น Diebold Nixdorf Vynamic นี้ก็คือเทคโนโลยีที่จะเข้ามาแปลงทุกๆ Transaction และการติดต่อกับลูกค้าให้อยู่ในรูปของ Digital และนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้าและสร้าง Connected Commerce ให้กับทางภาคธุรกิจ พร้อมให้องค์กรก้าวสู่การทำงานแบบ Data-driven แบบเต็มตัวได้ และนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของลูกค้าได้ง่ายขึ้นเป็นหลัก

 

 

ติดต่อ Diebold Nixdorf ได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Diebold Nixdorf สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ทันทีที่ https://www.dieboldnixdorf.com และหากต้องการติดต่อเจ้าหน้าที่ในประเทศไทย ก็สามารถติดต่อได้ทันทีที่โทร 02-832-4600


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

IBM เสริมแกร่งฟีเจอร์ AI ใหม่ ให้ IBM Z, z/OS และ Cloud Paks

สำหรับการแข่งขันในตลาดด้าน AI ที่ร้อนแรง IBM ได้เพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้งานเมนเฟรมของตน โดยความคืบหน้าครั้งนี้มีประเด็นสำคัญ 4 เรื่องคือ

ก้าวสู่ธุรกิจขนส่งแห่งอนาคตในแบบ Smart Transportation & Smart Logistics ด้วย 5G, AI และ IoT ไปกับ AIS Business

การขนส่งและโลจิสติกส์นั้นถือเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจองค์กรและอุตสาหกรรมโรงงานและการผลิตสามารถดำเนินธุรกิจและเติบโตได้อย่างมั่นคง อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินการเพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานและลดค่าใช้จ่ายได้อย่างชัดเจน ส่งผลให้ภาคขนส่งและโลจิสติกส์นั้นกลายเป็นส่วนแรกๆ ในหลายธุรกิจที่มีเป้าหมายในการทำ Digital Transformation ที่มีผลลัพธ์เด่นชัด AIS Business ในฐานะของ Digital Enabler สำหรับธุรกิจองค์กรไทย จึงได้ร่วมมือกับหลายภาคส่วนในการพัฒนาโซลูชันด้าน Smart …