5 สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Unlicensed LTE

หลังจากที่เมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน ผมได้นำเสนอเรื่อง LTE-U หรือ Unlicensed LTE ไป พร้อมกับข้อขัดแย้งกับระบบ Wi-Fi บทความนี้จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับ LTE-U มากขึ้น ว่า LTE-U คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ส่งผลดีและผลเสียกับระบบ Wi-Fi อย่างไร

โดยพื้นฐานแล้ว LTE-U เป็นแนวคิดใหม่ที่จะส่งข้อมูล 4G นอกจากบนคลื่นความถี่ของโอเปอเรเตอร์แล้ว ยังส่งข้อมูลไปบนคลื่นความถี่อิสระ (Unlicensed Band) เพื่อเพิ่มอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลอีกด้วย

1. คลื่นความถี่ที่ใช้เป็นคลื่นความถี่อิสระ ไม่ใช่ LTE

คำย่อทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น LTE-U, LAA, MuLTEfire ต่างก็เป็นแนวคิดในการส่งสัญญาณบนคลื่นความถี่ Unlicensed Band ที่อนุญาตให้กระจายสัญญาณได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็น Wi-Fi, Bluetooth หรือเทคโนโลยีอื่นๆ คาดว่าหลายโอเปอเรเตอร์จะเริ่มใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวภายในปี 2016 เนื่องจากไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากหน่วยงานรัฐบาล โดยตอนแรก LTE-U ถือว่าเป็นส่วนต่อขยายของคลื่นความถี่ที่โอเปอเรเตอร์ถืออยู่ เพื่อเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูล หลังจากนั้น LTE-U อาจถูกใช้โดยองค์กรที่ไม่มีคลื่นความถี่เป็นของตนเอง

Credit: TereAnalysis
Credit: TereAnalysis

2. LTE-U ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการโทรศัพท์มือถือ

การเชื่อมต่อกับระบบ 4G นั้นเป็นการแชร์ช่องสัญญาณร่วมกัน ส่งผลให้เมื่อปริมาณผู้ใช้เพิ่มขึ้น ความเร็วในการรับส่งข้อมูลจะลดลง ผู้ใช้บางคนจึงเลือกที่จะเชื่อมต่อกับ Wi-Fi แทนเพื่อให้ได้ความเร็วที่สูงมากขึ้น แต่ถ้าโอเปอเรเตอร์ใช้ LTE-U ผู้ใช้บริการสามารถเชื่อมต่อกับ 2 ช่องสัญญาณ (LTE และ LTE-U) ได้พร้อมกันโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย นอกจากนี้ LTE ยังมีแนวโน้มที่จะให้ประสิทธิภาพสูงกว่า Wi-Fi อีกด้วย

3. บางบริษัททางด้าน Wi-Fi คิดว่า LTE-U จะทำให้ระบบเครือข่ายไร้สายช้าลง

Google, Wi-Fi Alliance และบางบริษัทด้านสายเคเบิลระบุว่า LTE ไม่ได้ใช้คลื่นสเปกตรัมแบบเดียวกับที่ Wi-Fi ใช้ เนื่องจาก LTE ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับคลื่นความถี่แบบ License Band ส่งผลให้ LTE-U อาจไม่แชร์การใช้งานดีๆร่วมกับ Wi-Fi ให้แก่ผู้ใช้ กลายเป็นเกิดการกวนกันของสัญญาณขึ้น นอกจากนี้ ถ้าคลื่นความถี่ Unlicensed Band มีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก ผู้ใช้ LTE สามารถกลับไปใช้คลื่นความถี่ของโอเปอเรเตอร์ได้ ในขณะที่ผู้ใช้ Wi-Fi ไม่มีช่องทางหลบหนีทีไล่ใดๆ ทั้งนี้ บางฝ่ายวิจารณ์ว่า โอเปอเรเตอร์โทรศัพท์มือถืออาจจงใจใช้ LTE-U เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของ Wi-Fi ส่งผลให้ผู้ใช้หันมาใช้บริการของตนเองมากยิ่งขึ้น

Credit: NetworkWorld
Credit: NetworkWorld

4. ผู้เชี่ยวชาญบางรายคิดว่าไม่มีผลใดๆต่อระบบ Wi-Fi

Qualcomm ได้ทำการสาธิตการใช้งาน LTE-U พบว่าไม่ได้ส่งผลกระทบใดๆต่อระบบ Wi-Fi ซึ่งทาง Phil Marshall นักวิเคราะห์จาก Tolaga Research ก็ให้ความเห็นว่า บางทีการที่เทคโนโลยี LTE-U ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบ Wi-Fi อาจไม่ได้มาจากสาเหตุใดๆเลยก็ได้ เป็นเพียงแค่ปัญหาระหว่างทางฝั่งผู้ให้บริการ Wi-Fi กับผู้ให้บริการ LTE ที่ต้องการเหนือกว่าอีกฝ่าย

5. อาจจะแค่รอเวลาให้ทางฝั่ง Wi-Fi และ LTE ตกลงกันได้เท่านั้น

Marshell ระบุว่า แม้จะมีปัญหาขัดแย้งกันระหว่างทั้ง 2 ฝั่ง แต่เรื่องเทคโนโลยี LTE-U นั้นสามารถพูดคุยหารือกันได้ แต่ละฝั่งก็เพียงแค่แบ่งผลประโยชน์กันให้ลงตัวเท่านั้น โอเปอร์เตอร์จะได้เริ่มใช้าน LTE-U ได้โดยที่ไม่มีใครบ่น ทั้งนี้ Wi-Fi Alliance ได้วางแนวทางการใช้งานร่วมกันระหว่าง LTE-U และ Wi-Fi เป็นที่เรียบร้อยแล้วด้วยซ้ำ คาดว่าสักวันหนึ่ง LTE-U จะกลายเป็นอีกหนึ่งระบบเครือข่ายสำคัญที่ใช้เชื่อมต่อผู้คนเข้าด้วยกัน

ที่มา: http://www.networkworld.com/article/3002162/mobile-wireless/five-things-you-should-know-about-unlicensed-lte.html

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Digitech One ร่วมกับ RUCKUS ลงนามสัญญาตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ขับเคลื่อนด้วยเครือข่ายไร้สายเทคโนโลยี AI ยกระดับสู่สากล

บริษัท ดิจิเทควัน จำกัด และ RUCKUS ได้ร่วมลงนามในสัญญาแต่งตั้งตัวแทนจำหน่าย (Distributor Agreement) อย่างเป็นทางการ เพื่อจัดจำหน่ายระบบเครือข่ายไร้สายที่ขับเคลื่อนด้วยโซลูชัน AI อัจฉริยะอย่างเป็นทางการโดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายให้กับภาคธุรกิจไทย พร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดย บริษัท …

AMD เปิดตัวการ์ดเน็ตเวิร์กระดับ 400Gbps ตัวแรกของโลกที่เปิดให้โปรแกรมเองได้

AMD Pollara 400 หรือโซลูชัน NIC ใหม่จาก AMD ซึ่งจุดเด่นคือการเปิดให้มีการโปรแกรมการใช้งานเพิ่มเองได้ และรองรับมาตรฐานจาก Ultra Ethernet Consortium (UEC) ได้ด้วย