Thailand CO Response Team หรือ TCRT บริการที่เกิดจากความร่วมมือของ 3 องค์กรภาคเอกชน เพื่อช่วยเหลือสังคมในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แก่ บริษัท แอท-ยีนส์ จำกัด ผู้ให้บริการการตรวจพันธุกรรมในระดับสูง การวินิจฉัยในระดับยีน และ ดี เอ็น เอ บริษัท พัลซ ไซเอนซ์ จำกัด ผู้นำเข้าและผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ และ บริษัท ทิงค์เน็ต จำกัด ผู้มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการข้อมูลและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางด้านไอที ร่วมกันจัดทำรถตรวจโควิด-19 ชีวนิรภัย (TCRT COVID-19 Biosafety Unit), ตู้ตรวจโควิด -19 ชีวนิรภัย (TCRT COVID-19 Biosafety Booth) และ TCRT เว็บไซต์และแอปพลิเคชัน เพื่อใช้จัดการข้อมูลการตรวจและรายงานผลการตรวจ
ในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงที่สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สร้างผลกระทบไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ทั้ง 3 องค์กร จึงได้จัดประชุมเพื่อร่วมระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือสังคม โดยนำความถนัดของแต่ละองค์กรมาร่วมกันในสถานการณ์นี้ ทีมงานที่รับผิดชอบออกแบบและสร้างรถตรวจโควิด-19 ชีวนิรภัยจะต้องออกแบบรถเพื่อการเก็บตัวอย่างสำหรับการตรวจเชื้อโควิด-19 นอกสถานที่ เพื่อช่วยลดปัญหาความแออัดและโอกาสในการแพร่เชื้อ หรือรับเชื้อจากการเดินทางไปตรวจในสถานพยาบาล และต้องเข้าถึงผู้ที่มีความลำบากในการเดินทางไปสถานพยาบาลได้ เพื่อให้เหมาะแก่การใช้งานและมีความ ปลอดภัยสูง เป็นไปตามมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการในระดับสากล พร้อมกับการพัฒนาเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของผู้เข้ารับการตรวจ และเจ้าหน้าที่ เพื่อใช้ร่วมกับรถตรวจโควิด-19 ชีวนิรภัย เพิ่มความสะดวก ให้กับกระบวนการเก็บตัวอย่าง ด้วยการบันทึกจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ อย่างเป็นระบบเพื่อส่งต่อให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องได้นําไปใช้ประโยชน์ต่อการบริหารจัดการด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยระบบของ TCRT ที่ครบวงจร ซึ่งรถตรวจโควิด-19 ชีวนิรภัย รวมถึงเว็บไซต์และแอปพลิเคชันถูกพัฒนาเสร็จในเดือนเมษายน และในเดือนพฤษภาคม ได้รับการทดสอบการนำไปใช้งานและรับการรับรองและสนับสนุนด้วยดีจาก สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เดือนกรกฎาคม ทีมงาน TCRT ได้ขอพระราชทานน้อมเกล้าถวายรถตรวจโควิด-19 ชีวนิรภัย เป็นรถรุ่นต้นแบบ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้นำรถรุ่นต้นแบบไปพัฒนาต่อยอดมาเป็นรถเก็บตัวอย่าง ชีวนิรภัยพระราชทานจำนวนรวม 13 คัน เพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ซึ่งรถพระราชทานได้ลงพื้นที่เพื่อรับการตรวจหาเชื้อ จากเหตุกรณีทหารต่างชาติที่ติดเชื้อเข้าพักในโรงแรม และเดินห้างสรรพสินค้าใน จ.ระยอง รวมถึงกรณีเด็กหญิงที่เดินทางมากับครอบครัวอุปทูตในคอนโด ย่านสุขุมวิท และปฏิบัติภารกิจเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับประชาชนในระดับพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เช่น ที่จังหวัดจันทบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดนครปฐม จังหวัดนครศรีธรรมราช
รถตรวจโควิด-19 ชีวนิรภัย ผ่านการรับรองในระดับดีเยี่ยมจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
รถตรวจโควิด-19 ชีวนิรภัย ออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่และผู้เข้ารับการตรวจ โดยภายในรถได้ดัดแปลงเป็นห้องชีวนิรภัยแรงดันบวกตามมาตรฐานเดียวกันกับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การทำงานของเจ้าหน้าที่จะไม่สัมผัสกับผู้เข้ารับการตรวจโดยตรง โดยเจ้าหน้าที่สามารถสื่อสารกับผู้รับ การตรวจผ่านระบบกระจายเสียง ส่วนภายนอกรถมีการติดตั้งระบบฆ่าเชื้อเพื่อความปลอดภัยของผู้เข้ารับการตรวจ ซึ่งจะทำการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้งหลังการตรวจหนึ่งคน ภายในตัวรถยังสามารถฆ่าเชื้อโรคด้วยระบบโอโซน ที่จะทำงานก่อนและหลังการปฏิบัติงาน
จัดการข้อมูลและรายงานผลการตรวจด้วย TCRT เว็บไซต์และแอปพลิเคชัน
การออกตรวจหาเชื้อโควิด-19 นั้นต้องมีการตรวจในหลายพื้นที่ ทำให้มีข้อมูลของผู้เข้ารับการตรวจเป็น จำนวนมาก TCRT จึงนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสร้างสะดวกในการเก็บข้อมูล ลดขั้นตอนเอกสาร และจัดการ ข้อมูลอย่างเป็นระบบ ด้วย TCRT โดยอยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ซึ่งให้บริการทั้งผู้รับการตรวจ และเจ้าหน้าที่ เพื่อเก็บข้อมูล สื่อสารและติดตามผู้เข้ารับการตรวจ รวมทั้งรายงานผลการตรวจด้วย
การใช้งานแอปฯ และเว็บไซต์สำหรับผู้เข้ารับการตรวจ
- กรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อยืนยันตัวตน
- เข้ารับการตรวจโดยใช้ QR Code ที่ได้จาก Application ให้เจ้าหน้าที่สแกน
- รับรายงานผลการตรวจผ่านแอปฯ และเว็บไซต์
นอกจากนี้มีระบบ Tracking สำหรับเก็บข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้ Application ทำให้ทราบการเดินทางของ ผู้เข้ารับการตรวจ เพื่อการติดตามหาผู้มีโอกาสสัมผัสโรคต่อไปในอนาคต
การใช้งานของแอปฯ และเว็บไซต์ Back Office สำหรับเจ้าหน้าที่
- บันทึกและเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วย
- เชื่อมข้อมูลของผู้รับการตรวจกับชุดตรวจ
- แจ้งความคืบหน้าและรายงานผลตรวจ
- ส่ง SMS แจ้งผู้รับการตรวจ เมื่อเจ้าหน้าที่มีการรายงานผลตรวจผ่านระบบ
การใช้งาน Back Office ของเจ้าหน้าที่จะใช้สำหรับการจัดการข้อมูล ทั้งของผู้เข้ารับการตรวจและข้อมูล เจ้าหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นสถิติการตรวจ แสดงเส้นทางการเดินทางของผู้เข้ารับการตรวจ หรือสถานะต่าง ๆ เป็นต้น
Thailand CO Response Team (TCRT) ได้ทำการออกตรวจไปแล้วทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยมีผู้เข้ารับการตรวจทั้งสิ้น 60,326 คน ผู้ที่เคยใช้บริการเข้ารับการตรวจ เช่น นักกีฬาวอลเลย์บอลทีมสโมสร วอลเลย์บอลเจนเนอราลี่ สุพรีม ชลบุรี-อี.เทค สโมสรไดมอนด์ ฟู้ด วอลเลย์บอล คลับ และ สโมสรวอลเลย์บอล แอร์ฟอร์ซ เพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19 ตามมาตรการของ ศบค. และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ก่อนลงทำการแข่งขันวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีก ครั้งที่ 15 ฤดูกาล 2020 รอบ THE FINALS 4
ล่าสุด ทีมงาน TCRT ได้เข้าตรวจนักกีฬาที่เข้าแข่งขันทั้ง 4 ทีม กรรมการตัดสิน และเจ้าหน้าที่ ฟุตบอลไทยลีก เพื่อสร้างความมั่นใจก่อนการแข่งขันใน รายการพิเศษ “NEW NORMAL” DEMONSTRATION MATCH : RAYONG KICK OFF! การแข่งขันระหว่าง ทีม VVIP รัฐบาล กับ ทีมรวมดารา Star Rider และทีมระยอง เอฟซี กับ ชลบุรี เอฟซี
TCRT ยังคงเดินหน้าตรวจเชิงรุกในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับผู้ที่สนใจเข้ารับการบริการติดต่อได้ที่: 061-016-7461 และติดตามข่าวสาร ได้ที่เว็บไซต์ www.tcrt.in.th
One comment
Pingback: [Guest Post] TCRT รถตรวจโควิด-19 ชีวนิรภัย และแอปฯ เพื่อการบริการ จัดการ นวัตกรรมช่วยเหลือสังคมจาก 3 บริ