หลังการพูดคุยเกี่ยวกับเทรนด์การทำงานแบบ Hybrid หรือทำงานแบบผสมผสานระหว่างการทำงานที่ออฟฟิศ นอกสถานที่ และที่บ้าน ไปในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทีมงาน TechTalkThai มีโอกาสได้พูดคุยเพิ่มเติมแบบเจาะลึกกับคุณซามีร์ ซายิด กรรมการผู้จัดการ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและเกาหลี แห่ง Poly ถึงแนวทางการปรับตัวและปัญหาที่องค์กรต้องเผชิญในช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุค Hybrid จะมีประเด็นอะไรน่าสนใจบ้างนั้น ตามมาอ่านกันได้ในบทความนี้
Poly ได้คาดการณ์ถึงเทรนด์ของการทำงานในอนาคต ที่จะเข้าสู่รูปแบบของการทำงานแบบ Hybrid ที่พนักงานสามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา โดยพวกเขาได้วิเคราะห์แนวโน้มออกมา 3 ข้อ คือ
- การทำงานแบบ Hybrid และ Productivity ที่คิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา จะเปลี่ยนรูปแบบของการจ้างงาน และโครงสร้างของตัวออฟฟิศหรือสถานที่ทำงาน
- จะมีการใช้ AI และการวิเคราะห์ข้อมูลมาวิเคราะห์พฤติกรรมการทำงานของพนักงาน และปรับปรุงรูปแบบการทำงาน กลยุทธ์ และประสบการณ์ในการทำงานมากขึ้น
- องค์กรจะปรับเปลี่ยนพื้นที่สำนักงานให้รองรับการทำงานแบบ Hybrid และบทบาทของออฟฟิศจะเปลี่ยนไป กลายเป็นสถานที่พบหน้า สังสรรค์ หรือพื้นที่ทำงานสำหรับโปรเจกต์บางอย่าง ซึ่งจะเปลี่ยนผู้ใช้งานไปตามหน้าที่
จาก 3 ข้อดังกล่าว จะเห็นได้ว่า Poly มองอนาคตการทำงานที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงและไม่ยึดติดกับออฟฟิศแบบดั้งเดิมอีกต่อไป คำถามแรกจากเราจึงเป็นคำถามเกี่ยวกับการปรับตัวไปสู่การทำงานแบบ Hybrid ว่า องค์กรจะต้องเผชิญความท้าทายอย่างไรบ้าง?
คุณซามีร์ ซายิด กล่าวว่า Poly นั้นมองเห็นถึงอุปสรรค 3 ข้อหลักที่องค์กรส่วนมากน่าจะต้องเผชิญ ได้แก่
1. การออกแบบสถานที่ทำงานรูปแบบใหม่
เพราะในการทำงานแบบ Hybrid นั้น จะมีทั้งพนักงานที่ทำงานที่ออฟฟิศ ที่บ้าน และทำงานทั้งสองแบบ องค์กรจะต้องทำความเข้าใจการทำงานทุกรูปแบบ และพยายามวางแผนว่าพนักงานคนไหนจะต้องการทรัพยากรอะไรบ้าง โดยอาจตั้งหมวดหมู่ Personas ของพนักงานภายในองค์กรไว้ และจัดพนักงานแต่ละคนลงไปใน Persona ที่ตรง เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจและจัดการ
นอกจากนี้ พื้นที่ภายในสำนักงานก็ควรจะต้องเปลี่ยนไปเช่นกัน เพราะออฟฟิศนั้นจะกลายมาเป็นสถานที่สำหรับประชุม ระดมสมอง ฝึกอบรม และการสนทนากลุ่มเล็กๆในแบบที่ออฟฟิศเดิมอาจไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป องค์กรจะต้องมองความต้องการของพนักงานให้ออก และพยายามจัดสรรทรัพยากรเพื่อส่งเสริมการทำงานให้กับพนักงานทุกคน
2. การสร้างความเท่าเทียมในการทำงาน
การทำงานแบบ Hybrid นั้นเป็นที่แน่นอนว่าเพื่อนร่วมงานจะไม่ได้เห็นหน้าและพูดคุยอยู่ในห้องเดียวกันทุกวัน องค์กรจะทำอย่างไรให้พนักงานสามารถทำงานได้ดี มีประสิทธิภาพทัดเทียมหรือมากกว่าเดิม และในขณะเดียวกันก็ไม่สร้างความรู้สึกแปลกแยกให้กับพนักงานคนใดคนหนึ่งด้วย การสื่อสารระหว่างทีมจึงเป็นเรื่องสำคัญ ว่าต้องชัดเจน เข้าใจตรงกัน และไม่ทิ้งความคิดเห็นของใครไว้ข้างหลัง
การมีอุปกรณ์เครื่องมือที่พร้อม ทั้งอินเทอร์เน็ต กล้อง ไมโครโฟน และหูฟัง ก็จะช่วยสนับสนุนการสื่อสารระหว่างทีมให้ทัดเทียมกันทั้งสำหรับพนักงานที่อยู่ที่ออฟฟิศ ประชุมในห้องประชุม และพนักงานที่ทำงานอยู่ที่บ้าน
3. การปรับตัวเข้าสู่การทำงานแบบ Hybrid ไปพร้อมกันทั้งองค์กร
การทำงานแบบ Hybrid นั้นพึ่งพาการใช้เทคโนโลยีเป็นอย่างมาก และเทคโนโลยีบางอย่างเป็นเรื่องใหม่ที่พนักงานไม่คุ้นเคยนัก และอาจส่งผลให้ประสบการณ์ในการทำงานแย่ไปกว่าการทำงานแบบเดิมๆ เมื่อองค์กรตั้งใจจะเปลี่ยนสู่การทำงานแบบ Hybrid แล้ว ก็ควรดูแลประสบการณ์การทำงานของพนักงานด้วย โดยอาจมีการจัดคอร์สอบรมเกี่ยวกับการตั้งค่าอุปกรณ์ การใช้แอปพลิเคชัน และการทำงานออนไลน์ รวมไปถึงการพิจารณาเลือกใช้โซลูชัน อุปกรณ์ และซอฟต์แวร์ที่เป็นมิตรกับพนักงานในองค์กร เพื่อให้การทำงานแบบ Hybrid นี้ง่ายที่สุด พนักงานไม่รู้สึกว่าเป็นภาระเพิ่มเติม และส่งเสริม Productivity แทนที่จะลด
เมื่อพูดคุยมาถึงตรงนี้ ดูเหมือนว่าอุปกรณ์เป็นปัจจัยหนึ่งที่ค่อนข้างสำคัญสำหรับการทำงานแบบไฮบริด แต่ปัญหาที่มักจะพบคือองค์กรอาจไม่มีงบประมาณมากนักสำหรับอุปกรณ์ ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว ทาง Poly จะแนะนำอย่างไรบ้าง?
คุณซามีร์ตอบว่าการลงทุนในอุปกรณ์การสื่อสารการทำงานที่ดีนั้น องค์กรไม่จำเป็นจะต้องเริ่มจากรุ่นที่ราคาแพงเสมอไป แบรนด์ทั่วไปในตลาดรวมถึง Poly มีอุปกรณ์การสื่อสารระดับพื้นฐาน เช่น Studio P15, Studio USB, Studio X และ Trio C60 ที่ให้ภาพวิดีโอและเสียงที่ดีสำหรับห้องขนาดเล็กถึงขนาดกลางและเหมาะกับการทำงานที่บ้าน หรือสำหรับผู้บริหารหรือพนักงานที่เดินทางอยู่เสมอ ก็อาจจะเลือกรุ่นที่มีฟังก์ชันตัดเสียงรบกวน และมีขนาดกะทัดรัด เช่น ลำโพงพกพา Sync 20 และชุดหูฟังรุ่น Voyager และ Blackwire เป็นต้น
ฝ่ายบริหารจะต้องทำความเข้าใจพฤติกรรมการทำงานของพนักงานภายในองค์กร และตอบคำถามให้ได้ว่าพวกเขาต้องการอะไร และอุปกรณ์แบบไหนที่เหมาะกับพวกเขา เมื่อทราบแล้วก็จะสามารถประเมินและจัดอุปกรณ์ที่เหมาะสมให้กับพนักงานแต่ละคน โดยเมื่อจัดสรรได้เหมาะสม อุปกรณ์เหล่านั้นก็จะมีการใช้งานจริง ไม่เสียเปล่า และช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น ซึ่งเป็นผลดีกับบริษัท
สำหรับ Poly เอง ก็มีประสบการณ์ในการทำงานกับลูกค้าเพื่อวิเคราะห์พนักงานในองค์กรและให้คำปรึกษาว่าอุปกรณ์ใดที่จำเป็นและเหมาะสมภายในงบประมาณและข้อจำกัดขององค์กร องค์กรอาจขอความช่วยเหลือจากแบรนด์ผู้จำหน่ายอุปกรณ์การทำงานแบบไฮบริดในลักษณะนี้
นอกจากนี้ คุณซามีร์ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเลือกอุปกรณ์หรือแอปพลิเคชันที่สามารถทำงานร่วมกับระบบที่มีใช้งานอยู่แล้วในองค์กร เพื่อป้องกันการรื้อระบบและเสียงบประมาณเพิ่มจนบานปลาย
Poly ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อการทำงานแบบ Hybrid มั่นใจในประสิทธิภาพและความคุ้มค่า
ก่อนจบการพูดคุย ทีมงานได้ถามถึงความแตกต่างระหว่างอุปกรณ์จากแบรนด์ Poly และแบรนด์อื่นๆในตลาดที่มีให้เลือกซื้อกันอยู่ทั่วไป ซึ่งคุณซามีร์ก็ได้เล่าถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ของ Poly ที่คำนึงถึงการทำงานในสถานการณ์ต่างๆมาเป็นอย่างดี
อุปกรณ์ของ Poly นั้นมีทั้งอุปกรณ์สำหรับผู้ที่ทำงานนอกสถานที่ เช่น การทำงานระหว่างการเดินทาง หรือในร้านกาแฟ ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีในการตัดเสียงรบกวนและกล้องที่โฟกัสที่ใบหน้าอย่างแม่นยำ หรือการทำงานจากที่บ้าน ซึ่งความเร็วอินเทอร์เน็ตเป็นประเด็นสำคัญ และอุปกรณ์สำหรับการประชุมและสื่อสารภายในสำนักงาน เช่น ระบบกล้องสำหรับห้องประชุม ที่สามารถเลื่อนโฟกัสไปที่ผู้ที่กำลังพูดอยู่ ระบบไมโครโฟนที่รองรับผู้พูดในจุดต่างๆ หรืออุปกรณ์ขนาดเล็กลงมาสำหรับห้องประชุมเล็กที่เป็นส่วนตัวมากขึ้น
ผลิตภัณฑ์ของ Poly มีความแข็งแรง ทนทาน และรองรับแพลตฟอร์มการประชุมออนไลน์ เช่น Microsoft Teams, Zoom และอื่นๆได้เป็นอย่างดี โดย Poly เชื่อว่าด้วยความสามารถของอุปกรณ์แล้ว องค์กรที่ลงทุนกับอุปกรณ์ของ Poly จะได้รับความคุ้มค่า และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับประสบการณ์ในการทำงานให้กับพนักงานได้อย่างแน่นอน
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Poly และผลิตภัณฑ์ได้ที่ https://www.poly.com