ในช่วงปีที่ผ่านมา ได้เกิดแรงผลักทางด้านดิจิทัลหลายอย่าง โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ โดยเฉพาะความต้องการใช้งานด้าน Edge Technology, Internet of Things (IOT) และ Networking Technology เพื่อมุ่งเน้นการสร้างเทคโนโลยีที่ยั่งยืนและรองรับการเติบโตของธุรกิจ กลายเป็นคีย์หลักของเทรนด์เทคโนโลยีสำหรับปี 2022
สำหรับปีหน้า เทคโนโลยี Edge และ IoT จะเข้ามามีบทบาทในภาคอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการช่วยตอบโจทย์ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังเป็นปัญหาหลักของโลกในปัจจุบัน โดยเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาช่วยดูแลการสร้างคาร์บอนฟุตปริ้นท์ของอุตสาหกรรม และช่วยจัดการทรัพยากรและกระบวนการผลิตทั้งหมดตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ด้าน อินเทอร์เน็ตดาวเทียม (Satellite Internet) จะถูกนำมาใช้มากยิ่งขึ้น เพื่อเข้ามาปิดช่องว่างของการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต พื้นที่ห่างไกลก็สามารถเข้าถึงข้อมูล แหล่งความรู้และข่าวสาร ได้มากขึ้น
และที่สำคัญ Networking Technology เทคโนโลยีเครือข่าย จะถูกพัฒนาขึ้นอีกมาก ทั้ง Ethernet WiFi และล่าสุดมีการนำระบบ 5G มาใช้กับเครือข่าย Networking เพื่อสนับสนุนการสื่อสารข้อมูลขององค์กรให้รวดเร็ว และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยระบบเครือข่ายในอนาคตจะสามารถรองรับอุปกรณ์ที่หลากหลาย และสามารถจัดการการรับส่งข้อมูลที่สร้างจากแหล่งอื่น ๆ เช่น วิดีโอสตรีมแบบสด, ที่เก็บข้อมูลบนเครือข่าย (NAS), Voice over IP (VoIP), การจำลองเสมือน, อุปกรณ์ IoT และระบบคลาวด์ที่สร้างความต้องการแบนด์วิดท์เพิ่มเติมด้วย
มาดูกันว่าเทรนด์ของเทคโนโลยีเครือข่ายที่น่าสนใจในปี 2022 มีอะไรบ้าง?
1.5G and WiFi6 Technology
5G หรือเทคโนโลยีเซลลูลาร์รุ่นที่ 5 ที่จะมาแทนที่ 4G โดยจะตอบสนองและมีความเร็วที่เพิ่มขึ้น รองรับการรับ-ส่งข้อมูลได้มากกว่า 4G มีความหน่วงที่ลดลง และมีความยืดหยุ่นในการใช้งานสำหรับบริการไร้สาย ช่วยให้พนักงานองค์กรสามารถทำงานจากที่ต่าง ๆ ได้ ด้วยระบบอัตโนมัติที่ครอบคลุมกว้างขึ้น รองรับแอปพลิเคชันใหม่ที่ต้องการความเร็วที่เพิ่มขึ้นและการโอนถ่ายข้อมูลปริมาณมาก และปัจจุบันในภาคอุตสาหกรรม ได้นำระบบ 5G มาใช้ในจัดการและเชื่อมโยงโครงข่ายในธุรกิจ พร้อมกับนำมาปรับใช้กับโซลูชันและเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ต่างๆ รวมถึงเชื่อมต่อเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น เพื่อสร้างความพร้อมการใช้งานร่วมกันได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย อาทิ เครือข่าย 5G Private Network ที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้
ส่วน WiFi 6 เหมาะสำหรับอุปกรณ์ไร้สายจำนวนมากเชื่อมต่อในคราวเดียว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้แบนด์วิดท์ให้สูงยิ่งขึ้น และลดระยะเวลาที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลไป-กลับ ระหว่างตัวอุปกรณ์และเราเตอร์ จึงช่วยหนุนธุรกิจในการใช้อุปกรณ์ IoT ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2.Artificial Intelligence (AI) และ Machine Learning (ML)
ปัจจุบันธุรกิจต่างๆ นำความอัจฉริยะของ Artificial Intelligence (AI) และ Machine Learning (ML) มาแก้ปัญหาความซับซ้อนของธุรกิจ โดยประยุกต์ใช้ตั้งแต่ธุรกิจขนาดเล็ก หรือนำระบบ AI เพื่อการรักษาความปลอดภัย ไปจนถึงใช้ในภาคการผลิตของโรงงานขนาดใหญ่เป็นต้น พร้อมกับนำระบบเครือข่าย ML มาคาดการณ์ตามข้อมูลของเครือข่าย ซึ่งข้อมูลของธุรกิจในปัจจุบันนั้นมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัจจุบัน เทคโนโลยี ML ถูกพัฒนาจนสามารถนำมาใช้งานได้ในชีวิตประจำวันและสำหรับองค์กรธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะงานด้านการตลาด อุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ การสรรหาพนักงานอัตโนมัติ การวิเคราะห์ยอดขายล่วงหน้า การตรวจสอบความผิดพลาดของสายการผลิต ระบบการจดจำใบหน้า เป็นต้น
3.Augmented Reality และ Virtual Reality
Augmented Reality (AR) – เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง และ Virtual Reality (VR) เทคโนโลยีจำลองภาพเสมือน จะช่วยพัฒนาประสบการณ์การใช้งานแอปพลิเคชันของลูกค้าให้ดีมากยิ่งขึ้น AR ส่วนใหญ่จะใช้ในสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตเพื่อนำเสนอการออกแบบภายใน (Interior Design) ทำให้เจ้าของร้านสามารถนำเสนอเฟอร์นิเจอร์เสมือนจริงได้ ส่วน VR ก็จะมีการพัฒนาที่เร็วมากขึ้นโดยเฉพาะในธุรกิจประเภท E-Commerce ที่ต้องเห็นภาพของสินค้าเสมือนจริง และโลก VR กำลังเป็นที่จับตามากยิ่งขึ้น เมื่อ Meta กำลังผลักดันให้ Metaverse กลายเป็นจริงให้ได้ในอนาคตอันใกล้
4.Cloud Computing
ในช่วง ปี 2021 คลาวด์มีบทบาทและมีการเติบโตอย่างมาก โดยมีตัวเร่งสำคัญจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั่วโลก ซึ่งทำให้เกิดการปรับตัวกับเทคโนโลยี และหันมาใช้งานคลาวด์มากขึ้น ไม่ว่าจะการดำเนินธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งการทำงาน การเรียน และการดูแลสุขภาพ ต่อเนื่องไปถึงปี 2022 การใช้งานระบบคลาวด์จะนิยมใช้ในรูปแบบมัลติคลาวด์เพิ่มมากขึ้น และนำเทคโนโลยี Cloud-Native Platforms มารองรับการใช้งานระบบคลาวด์ให้ยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น
5.DevOps
DevOps เป็นการผสานการทำงานระหว่างฝ่าย Development และ ฝ่าย Operation เพื่อเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ออกแบบบริการเครือข่ายและวิศวกรให้ทำการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานในบริการได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยองค์กรที่นำโมเดล DevOps มาปรับใช้ สามารถลดปัญหาการทำงานที่ซ้ำซ้อน ลดต้นทุนด้านเวลา และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในระบบได้ ส่งผลให้เกิดความรวดเร็ว และธุรกิจปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้ดียิ่งขึ้น
6.Digital transformation
ปัจจุบัน ธุรกิจต่างปรับตัวด้วยการทำ Digital Transformation ในการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ในการสร้างโอกาสในการเติบโต และให้รอดจากการถูก Digital Disruption อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาประสบการณ์ใหม่ๆ ในการทำงานและการให้บริการของลูกค้า ทั้งนี้การจะปรับใช้เทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจก็ต้องเลือกใช้บริการผู้ให้บริการโครงข่ายที่มีเสถียรภาพและครอบคลุมทุกบริการดิจิทัล และมีโซลูชันที่หลากหลายเพื่อให้ธุรกิจได้เลือกปรับใช้ให้ตรงกับเป้าหมายเป็นหลัก
7.Intent-based Networking (IBN)
ระบบเครือข่ายแห่งอนาคตสำหรับเหล่าองค์กร โดยมีการผสานเทคโนโลยี AI และ Machine Learning เข้าไปภายในระบบเครือข่ายโดยตรง ทำให้สามารถเรียนรู้ได้ถึงความต้องการของผู้ใช้งานในระบบเครือข่าย, เหตุการณ์แปลกปลอมที่เกิดขึ้น และการปรับปรุงที่ควรทำโดยอัตโนมัติทั้งหมด โดยแนวคิดนี้ไม่ได้เจาะจงเฉพาะด้าน Network เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมด้านความปลอดภัยเข้าไปด้วย โดยจะทำงานแบบ Software-define Networking แบบเต็มตัว
8.Internet of Things (IoT)
Internet of things หรือ IoT ได้เข้ามามีบทบาทในทุกภาคส่วนของธุรกิจในปัจจุบัน เพื่อการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และการใช้ IoT Solutions สามารถช่วยลดต้นทุนและลดค่าเสียโอกาสในการผลิต โดยในปี 2022 อุปกรณ์ IoT จะสามารถเข้าถึงง่ายขึ้นเหมือนอุปกรณ์ทั่วไป ในส่วนของโรงงานและภาคการผลิต จะมีการใช้หุ่นยนต์และใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลมากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และในอนาคต IoT จะเป็นรากฐานสำคัญของเทคโนโลยียานยนต์ในอนาคต และจะมาช่วยแก้ปัญหาเรื่องวิกฤติด้านพลังงานซึ่งเป็นปัญหาหลักของโลก
9.Data Security
เมื่อเทคโนโลยีมีความล้ำหน้ามากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าภัยคุกคามทางโลกออนไลน์ก็ถูกพัฒนาให้รุดหน้าเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นไวรัส แรนซัมแวร์ และฟิชชิ่ง ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ระบบเครือข่ายของธุรกิจปลอดภัยจากการถูกคุกคาม คือการมองหาระบบ Data Security หรือระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล มาช่วยซัพพอร์ตให้ระบบเครือข่ายมีประสิทธิภาพ และเพิ่มความสามารถในการป้องกันภัยคุกคาม
10.SD-WAN
เมื่อเทคโนโลยีทางดิจิทัลขยายตัวอย่างก้าวกระโดด พฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ก็เปลี่ยนไป โดยมีความต้องการเข้าถึงข้อมูลในโลก Internet มากยิ่งขึ้น เช่น การเข้าถึง Web Based Application, การเชื่อมต่อไปหา Cloud Platform รวมถึงการใช้งาน Application อื่นๆ เช่น Microsoft Office 365 หรือ VDO Conference ระหว่างทำงานนอกสถานที่ ส่งผลให้มี Bandwidth จำนวนมากต้องการออกไปสู่โลกของ Internet ประกอบกับ ระบบแบบเดิมๆ ที่มีข้อจำกัดไม่เอื้อต่อการใช้งาน, การออก Internet ที่สำนักงานใหญ่ที่ไม่ยืดหยุ่นและการบริหารจัดการระบบที่ยุ่งยาก หรือมีราคาที่ต้องจ่ายเพิ่มมากขึ้นถ้าหากจะต้องขยับขยาย Bandwidth ให้เพียงพอต่อผู้ใช้งาน เมื่อยุคเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีมาถึง SD-WAN จึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อจะเข้ามาตอบโจทย์ปัญหาเหล่านี้ จะดีกว่าไหม! ถ้าผู้ใช้งานสามารถออก Internet เองได้จากสาขาและยังคงมีความปลอดภัยของระบบอยู่
ด้วยเทคโนโลยี Software-Defined Wide-Area Network ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นำเทคโนโลยีต่างๆ ในอดีตที่ซับซ้อนมาบูรณาการรวมกันเป็นระบบเดียว การจัดการระบบทั้งหมดจะถูกจัดการแบบรวมศูนย์ผ่าน Software โดยอัตโนมัติ เหมาะสมต่อการใช้งานกับองค์กรที่ต้องการความยืดหยุ่นในการปรับลดหรือขยายขนาดขององค์กรอย่างรวดเร็ว และถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการเข้าถึง Application ที่สำคัญทางธุรกิจให้ปลอดภัยและมีเสถียรภาพในการใช้งานมากยิ่งขึ้น โดย SD-WAN นั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือส่วนของ Hardware ที่จะต้องมีการติดตั้งใช้งานที่สำนักงานใหญ่ และตามสาขาต่างๆ ขององค์กร กับส่วนของ Software ที่อยู่บน Cloud สำหรับทำหน้าที่บริหารจัดการควบคุมระบบ
สำหรับข้อดีของ SD-WAN นั้นจะสะดวกและง่าย ตั้งแต่ขั้นตอนการติดตั้ง Zero Touch Provisioning เพราะเป็นการตั้งค่าเพียงครั้งเดียว และนำค่า Config ไปใช้งานกับสาขาอื่นๆ ได้, Centralized Management สามารถจัดการระบบต่าง ๆ ได้จากส่วนกลาง, Multi WAN Support เชื่อมต่อได้หลาย WAN ทำงานพร้อมกันแบบ Active/Active และสามารถเป็น Backup ซึ่งกันและกันได้, Cost Saving มีความยืดหยุ่นและลดค่าใช้จ่ายจากการเลือกใช้งานบริการอินเทอร์เน็ตให้เหมาะสมในแต่ละสาขาได้, Data Analytics ระบบสามารถวิเคราะห์ข้อมูลการใช้งานของแต่ละสาขาได้ รวมทั้งยังสามารถ Monitor ปริมาณ Traffic หรือคุณภาพของลิงก์ที่ใช้งานได้แบบเรียลไทม์ SD-WAN จะเข้ามาช่วยลดข้อจำกัดทางเทคโนโลยีแบบเดิมๆ ลง และมอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้งานให้ใช้งานได้เสมือนไร้รอยต่อทางเทคโนโลยี
และหากนำเทคโนโลยี SD-WAN มาใช้งานร่วมกับเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพของ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ซึ่งมีให้เลือกใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Private network, Corporate Internet, Internet Broadband หรือ 3G/4G ก็จะยิ่งช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจได้ครบวงจรในที่เดียว
อัปเดตเทรนด์การดำเนินธุรกิจให้ก้าวทันทุกเทรนด์เทคโนโลยีดิจิทัล ด้วย NT Network Solutions จาก บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT โดยลูกค้าสามารถปรับใช้ระบบเครือข่ายและโซลูชันต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ ภายใต้คำแนะนำและการดูแลระบบจากทีมผู้เชี่ยวชาญของ NT สอบถามและติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : Website: www.ntplc.co.th
Facebook: NTNetworkSolutions
Contact Center: 1888
Government Solutions: Tel.02 104 1111
Business Solutions: Tel.02 104 5555
Operator Solutions: Tel.02 104 8888