ปัจจุบันองค์กรหลายแห่งกำลังปรับใช้กลยุทธ์มัลติคลาวด์เพื่อให้สามารถใช้งานแพลตฟอร์มคลาวด์ได้หลายแพลตฟอร์ม สำหรับรองรับปริมาณงานที่หลากหลายประเภททั้งใน SaaS และในองค์กร ซึ่งแต่ละประเภทงานย่อมต้องการสมรรถนะและระดับบริการที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปนั้น การเชื่อมโยงผู้ใช้งานในสำนักงานสาขาเข้ากับแอปพลิเคชันที่โฮสต์ไว้บนคลาวด์จำเป็นต้องส่งต่อทราฟฟิกไปยัง Data Center ของบริษัทผ่านทางโครงสร้างพื้นฐาน WAN เดิมที่ใช้งานอยู่ ซึ่งประกอบด้วยเราเตอร์ที่ส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย MPLS ส่วนตัวของบริษัท สถาปัตยกรรมที่ใช้เราเตอร์แบบเดิมนี้ด้อยประสิทธิภาพการทำงานและไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของบริษัทสมัยใหม่ในปัจจุบันที่เน้นระบบคลาวด์เป็นหลัก
Read More »SD-WAN มอบประสบการณ์การใช้แอปพลิเคชันบนคลาวด์ให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างไร
การเปลี่ยนรูปแบบระบบดิจิทัลส่งผลต่อเครือข่าย แอปพลิเคชันจำนวนมากกำลังย้ายไปคลาวด์ IDC ได้คาดการณ์ว่าภายในปี 2020 [1] องค์กร 90% จะใช้งานมัลติคลาวด์ นั่นคือ บริการและแพลตฟอร์มคลาวด์แบบสาธารณะและส่วนตัวหลายระบบ เพื่อรองรับความต้องการใช้งานแอปพลิเคชันที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผู้ให้บริการจึงมีโอกาสอันยอดเยี่ยมในการใช้ประโยชน์จากโซลูชัน SD-WAN ที่มีการจัดการประสิทธิภาพสูงเพื่อมอบการเชื่อมต่อคลาวด์ที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ รวมถึง “คุณภาพด้านประสบการณ์การใช้งาน” ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้ระดับองค์กร
Read More »ผู้จัดจำหน่ายระดับโลกรับประกันเวลาอัปไทม์ของเครือข่ายและคุณภาพการให้บริการเสียงด้วยแพลตฟอร์ม SD-WAN เพื่อการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างชาญฉลาด
Westcon-Comstor สามารถเพิ่มจำนวนแบนด์วิดท์ที่มีอยู่เป็นสิบเท่าและเพิ่มประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน ทั้งยังลดการพึ่งพาระบบ MPLS ด้วย Unity EdgeConnect ของ Silver Peak
Read More »เหตุผล 10 ข้อที่ทำให้ SD-WAN เหนือกว่าเราเตอร์สาขา
ในระบบเศรษฐกิจยุคโลกาภิวัฒน์และยุคดิจิทัลที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องทำให้องค์กรต่างๆ ต้องย้ายข้อมูลแอปพลิเคชันไปยังคลาวด์หรือไฮบริดคลาวด์อย่างรวดเร็ว และรองรับระบบเคลื่อนที่ที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย รูปแบบใหม่สำหรับฝ่ายไอทีขององค์กรนี้ได้นำไปสู่การเติบโตที่สำคัญทางด้านความต้องการแบนด์วิดท์สำหรับ WAN และการรับส่งทราฟฟิกจากสำนักงานสาขา/สำนักงานเคลื่อนที่ไปยังแอปพลิเคชันบนคลาวด์โดยตรง
Read More »ก้าวข้ามการพึ่งพาเราเตอร์สำหรับสำนักงานสาขา (ตอนที่ 2)
แต่เดิมนั้น สถาปัตยกรรม WAN ของสำนักงานสาขามีศูนย์กลางอยู่ที่เราเตอร์และขับเคลื่อนด้วยเครือข่าย ซึ่งรูปแบบดังกล่าวถูกนำมาใช้ในช่วงที่แอปพลิเคชันมีการโฮสต์ไว้ในศูนย์ข้อมูลเท่านั้น อย่างไรก็ตาม สถาปัตยกรรมที่ขาดความยืดหยุ่นนี้ทำให้การกำหนดค่าเครือข่ายสำหรับแอปพลิเคชันใหม่ๆ หรือการกำหนดนโยบายใหม่ๆ เป็นงานที่ยากและสิ้นเปลืองด้านแรงงาน
Read More »เทคโนโลยี SD-WAN จะเข้ามาแทนที่เราเตอร์แบบเดิม
เทคโนโลยี SD-WAN กำลังจะกลายเป็นเทคโนโลยีหลักจากการที่บรรดาองค์กรต่างๆ ซึ่งมีสำนักงานสาขาได้รับประโยชน์จากแบนด์วิธอินเทอร์เน็ตปริมาณสูง การจัดลำดับการเข้าถึงแอปพลิเคชันที่สำคัญและการบริหารจัดการแบบรวมศูนย์ที่สะดวกง่ายดาย
Read More »การสร้างเทคโนโลยี WAN เพื่ออนาคตของวันนี้
ในอดีตนั้น อินเทอร์เน็ตเป็นผลงานอันเกิดจากการทุ่มเทความพยายามขั้นสูงสุดในด้านเครือข่าย ที่ไม่มีความมั่นคงปลอดภัยและความน่าเชื่อถือในระดับที่มากพอสำหรับแอปพลิเคชันทางธุรกิจที่ต้องการ Bandwidth สูง อย่างไรก็ดี ข้อจำกัดดังกล่าวนี้ได้เปลี่ยนไปแล้วเมื่อมีการใช้งาน Cloud Computing ในวงกว้าง แต่กระนั้น WAN ที่ใช้บริการเครือข่ายที่มีระบบบริหารงานแบบเดิมอย่าง Multiprotocol Label Switching (MPLS) ได้ถูกออกแบบมาเพื่อจัดเส้นทางทราฟฟิกจากสำนักงานสาขาไปยังสำนักงานใหญ่และไม่ได้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เน้นการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตอยู่เป็นประจำ ต่างจากเทคโนโลยี SD-WAN ที่ใช้หลักของการซ้อนทับของ WAN เสมือนจริง (Virtual WAN Overlay)
Read More »สถาปัตยกรรมคลาวด์ใหม่: ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงระบบเครือข่าย WAN
บริการคลาวด์คือหัวใจสำคัญของการเติบโตสำหรับองค์กรหลายๆ แห่ง ทั้งนี้ ข้อมูลของ IDC ระบุว่า ในปัจจุบัน ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทสหรัฐฯ กำลังพิจารณานำคลาวด์ส่วนตัวหรือ คลาวด์สาธารณะมาใช้ ขณะที่อีกหลายๆ บริษัทกำลังสร้างกลยุทธ์ไฮบริดคลาวด์อย่างเร่งด่วน 1 ปริมาณการใช้คลาวด์ที่เพิ่มขึ้นนี้กำลังสร้างผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงแผนทรัพยากรไอที ผลการสำรวจล่าสุดโดย IDC เปิดเผยว่างบประมาณด้านไอทีจะถูกจัดสรรตามช่วงเวลาอย่างไร ในขณะที่ทำการสำรวจ ผู้ตอบกล่าวว่าบริษัทใช้งบ 58 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณด้านไอทีไปกับสถาปัตยกรรมที่ไม่ใช่ระบบคลาวด์ และใช้ 42 เปอร์เซ็นต์ไปกับระบบคลาวด์ ทั้งนี้พวกเขาคาดการณ์ว่า จะมีการเปลี่ยนไปใช้ระบบคลาวด์มากขึ้นเป็น 56 เปอร์เซ็นต์ในอีก 24 เดือนข้างหน้า
Read More »