Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

สรุปงานสัมมนาออนไลน์ VMware vSAN 101: Back to the Future

เมื่อวันศุกร์ที่ 11 กันยายนที่ผ่านทาง VMware ได้จัดสัมมนาออนไลน์ขึ้นในหัวข้อ “VMware vSAN 101: Back to the Future” โดยสำหรับท่านที่พลาดเข้าชมในเวลานั้น ทางทีมงาน TechTalkThai จึงได้สรุปเนื้อหาใจความสำคัญของการสัมมนามาให้ได้ติดตามกันครับ

credit : vmware

ผู้ดูแลระบบไอทีมือเก๋าทุกท่านคงพอนึกภาพได้ว่าระบบไอทีจะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ Compute, Storage และ Network รวมไปถึงอุปกรณ์ด้าน Security อย่างไรก็ดีหากเจาะลึกลงไปถึงส่วนของ Storage อย่าง NAS หรือ SAN จะพบว่าสมัยก่อนนั้น ผู้ดูแลต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ อย่างโชกโชนเช่น

  • Storage แต่ละชุดมีข้อจำกัดจาก Controller เพราะเมื่อใช้ไปเรื่อยๆ CPU/Memory จะเต็ม จนทำให้ต้องมีการอัปเกรตอุปกรณ์
  • หากใช้ดิสก์คนละประเภทกันจะทำให้เกิดปัญหาคอขวดที่ Controller
  • ปัญหาการบริหารจัดการ RAID Type ซึ่งมีขั้นตอนยุ่งยากและใช้เวลานาน
  • ต้องใช้ SAN Switch เพื่อทำการเชื่อมต่อ ซึ่งมีขั้นตอนยุ่งยาก
  • ความไม่เข้ากันของ Storage แต่ละยี่ห้อหรือข้ามรุ่นที่ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้

จากปัญหาเหล่านี้พบว่า Storage ในอดีตไม่มีความยืดหยุ่นเลย เพราะหากต้องการขยายก็ต้องลงทุนสูงมาก รวมถึงยังเป็นภาระให้แก่ทีมไอที ด้วยเหตุนี้จึงเกิดเทคโนโลยีที่ยุบรวมระหว่าง Compute, Storage และ Network เข้าด้วยกัน เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่า Hyper-converge Infrastructure (HCI)

การเปลี่ยนระบบโครงสร้างพื้นฐานครั้งสำคัญนี้ ทำให้ทีมงานไอทีและองค์กรมีความคล่องตัวมากกว่าเดิมอย่างน้อยที่สุดก็คือในเรื่องของขนาดของ Storage ที่เปลี่ยนโฉมใช้พื้นที่แร็กแค่ไม่กี่ยูนิตก็สามารถให้บริการแอปพลิเคชันขนาดใหญ่ได้ รวมถึงสามารถบริหารจัดการทั้ง 3 องค์ประกอบได้ด้วยเครื่องมือชุดเดียวกันลดความยุ่งยากและความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นเพราะมีเครื่องมือหลากหลายเกินไป

อย่างไรก็ดีแม้ภาพรวมของ Hardware จะเปลี่ยนไปแต่ Storage ยังไม่ได้ทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้ VMware ผู้นำตลาดซอฟต์แวร์ด้าน Virtualization จึงได้คิดค้นโซลูชันในการผสานรวม Storage ที่อยู่ใแต่ละเครื่องให้เป็นผืนเดียวกัน ผ่านโซลูชันที่ชื่อว่า vSAN นั่นเอง

การใช้งาน VMware vSAN ดีอย่างไร?

credit : VMware

VMware เป็นผู้นำในด้านของซอฟต์แวร์มานานแล้ว นั่นหมายความว่าผู้ใช้งานจะเลือกใช้ Hardware จาก Vendor รายต่างๆ ได้ เพียงแค่นำซอฟต์แวร์จาก VMware ไปติดตั้งก็สามารถเริ่มโซลูชัน HCI ได้ทันที โดยโซลูชัน VMware บน DELL Technologies จะใช้ชื่อว่า VXRail ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างผู้ผลิตรายใหญ่ทั้งสองค่าย อย่างไรก็ดีสำหรับโซลูชันกับ Vendor รายอื่นๆ ซึ่งมีการรับรองจาก VMware จะใช้ชื่อว่า Ready Node นอกจากเรื่องความอิสระของฮาร์ดแวร์แล้ว vSAN ยังมีประโยชน์อีกหลายประการดังนี้

1.) ติดตั้งง่าย

สำหรับผู้สนใจใช้งาน vSAN สามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ โดยมีความต้องการเบื้องต้นดังนี้

  • ใช้ฮาร์ดแวร์ที่ได้การรับรองจาก VMware ซึ่งมีอยู่อย่างมากมาย โดยสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่นี่ 
  • มีโฮสต์อย่างน้อย 3 เครื่อง
  • ติดตั้ง vSphere เวอร์ชัน 6.0 ขึ้นไปจากนั้นเข้าไปเปิดฟีเจอร์ vSAN

ซึ่งทีมงาน VMware ได้สาธิตให้ผู้ชมทุกคนเห็นว่าสามารถเปิดฟีเจอร์ vSAN ทำได้ภายในเวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น ก็พร้อมใช้งานแล้ว

2.) ทำ RAID ระดับ VM ได้

ด้วยความสามารถของซอฟต์แวร์ผู้ใช้งาน vSAN จะสามารถกำหนด RAID Policy และบังคับใช้ที่ระดับ VM ได้  ซึ่งมีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการอย่างมากตัวอย่างเช่น เราสามารถทำ RAID 1 ให้กับไดร์ฟ D และทำ RAID 5 ให้ไดร์ฟ C เพราะมีความสำคัญของข้อมูลไม่เท่ากันได้

3.) รองรับการทำ Scale up และ Scale Out

จากเดิมที่องค์กรจะประสบปัญหาข้อจำกัดของ Traditional Storage ซึ่งขยายทรัพยากรได้ยาก แต่ด้วยความสามารถของ vSAN ผู้ใช้งานจะสามารถทลายข้อจำกัดของดิสก์ต่างยี่ห้อกัน ซึ่ง 1 Cluster ของ vSAN สามารถเพิ่มได้ถึง 64 โหนด รวมถึงสามารถใส่ดิสก์ที่มีความจุต่างกันได้ด้วย

4.) พร้อมต่อยอดไป Hybrid หรือ Multi-Cloud

VMware มียังมีโซลูชันที่ชื่อว่า VMware Cloud Foundation (VCF) ซึ่งมีส่วนประกอบที่สามารถตอบโจทย์การทำงานกับ Containerized ที่ชื่อว่า Tanzu แถมยังมีความร่วมมือกับผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่โดยการนำ VCF ไปติดตั้งเพื่อให้บริการบน AWS, Google และ Microsoft Azure ทำให้องค์กรสามารถจัดการ Workload ได้ข้ามทุกคลาวด์ด้วยเครื่องมือเดิมอย่างไร้รอยต่อ

5.) ให้บริการ File Share และ Cloud Native Storage

ผู้ใช้งาน vSAN สามารถเปิดให้บริการ File Share ได้ทันที โดยรองรับโปรโตคอล NFS 4.1 และ 3 นอกจากนี้ยังสามารถบริหารจัดการการทำ ACL, Quota และมีระบบ HA ด้วย ด้วยเหตุนี้องค์กรไม่ต้องไปแสวงหาต่อ External Storage มาให้ยุ่งยากอีกต่อไป ไม่เพียงเท่านั้นvSAN ยังสนับสนุนการใช้งานเป็น Persistent Volume ให้กับ Kubernetes Cluster บน VMware ได้ด้วย จึงทำให้องค์กรสามารถให้บริการแอปพลิเคชันแบบดั้งเดิมและแอปพลิเคชันแบบ Cloud Native ได้

อันที่จริงแล้ว VMware ยังมีโซลูชันต่อยอดอื่นๆ ที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างครอบคลุมทั้งในแง่ของ Security ด้วย NSX หรือติดตามประสิทธิภาพของระบบด้วย vRealize ซึ่งทั้งหมดร้อยเรียงกันด้วยเทคโนโลยี Software-defined data center นั่นเอง ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ VMware vSAN

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Microsoft ยกเลิกการใช้ 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว

Microsoft ประกาศยกเลิกการใช้กุญแจเข้ารหัส 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว เปลี่ยนไปใช้กุญแจเข้ารหัสความยาว 2048-bit เป็นอย่างน้อย

NVIDIA เปิดตัว Blackwell B200 GPU และ GB200 Superchip

NVIDIA ประกาศเปิดตัว Blackwell B200 GPU และ GB200 Superchip ชิปประมวลผล AI รุ่นใหม่