[Guest Post] แนวโน้มของการพัฒนา Software จากภาพความเป็นจริง

Application นั้นได้ส่งผลต่อชีวิตของผู้บริโภคมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และได้เปลี่ยนแปลงการจัดการและวิธีการใช้ชีวิตในแต่ละวันของเรา ตั้งแต่การซื้อสินค้า, การสั่งอาหาร, การเรียกยานพาหนะ ไปจนถึงการทำธุรกรรมกับธนาคาร ประสบการณ์เหล่านี้จะยังคงเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นและใช้งานได้ง่ายดายยิ่งขึ้น เมื่อผู้บริโภคคาดหวังถึง UX และ UI ที่ดียิ่งขึ้นบน Application ที่ตนเองใช้งาน

จากการวิเคราะห์ข้อมูลของ IDC นั้นได้ระบุว่าภายในปี 2024 นักพัฒนา Software กลุ่มใหม่ที่จะทำการสร้าง Application ได้โดยไม่ต้องทำการเขียนโค้ดนั้นจะมีปริมาณมากถึง 20% เมื่อเทียบกับนักพัฒนาทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยนักพัฒนาเหล่านี้จะเป็นตัวเร่งในการทำโครงการด้าน Digital Transformation ในทุกอุตสาหกรรม เพื่อพลิกโฉมการทำงานในแต่ละวงการและการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง Low-Code จะเข้ามาทำให้นักพัฒนากลุ่มนี้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่กระจัดกระจายเข้าด้วยกันได้, ปรับกระบวนการการทำงานให้เป็นมาตรฐานได้ และทำให้ทีมงานสามารถทำงานร่วมกันเพื่อเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจร่วมกัน และยังปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้งานให้ดีขึ้นได้อีกด้วย

ต่อไปนี้คือ 5 แนวโน้มที่เราพบในวงการด้านการพัฒนา Application ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก:

#1: การเร่งสร้างนวัตกรรมใหม่ จะช่วยให้เกิดการใช้งาน Low-Code Platform มากขึ้น

องค์กรนั้นกำลังมองหาหนทางที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรม, กำจัดระบบที่แยกขาดจากกันเป็นเอกเทศ และลดค่าใช้จ่ายลง ซึ่ง Low-Code ก็สามารถตอบโจทย์เหล่านี้ได้ทั้งหมด โดยในการสร้างนวัตกรรมนั้น หลายองค์กรจะใช้งาน Low-Code Platform เพื่อเปลี่ยนจากไอเดียที่มีให้กลายเป็นระบบ Prototype ตามแนวคิด Minimum Viable Product (MVP) ไปจนถึงการต่อยอดจนกลายเป็นระบบ Application ที่สมบูรณ์ การเขียนโค้ดที่มีความซับซ้อนนั้นจะไม่จำเป็นอีกต่อไป

ถ้าองค์กรมีการใช้งาน Low-Code Platform อยู่แล้ว องค์กรเหล่านี้ก็จะสามารถผลักดันให้นักพัฒนาที่มีประสบการณ์ที่แตกต่างกันให้เข้าใจถึงความสามารถของ Low-Code Platform เพื่อเร่งความเร็วในการพัฒนา Software และการตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจให้เร็วขึ้นได้ ระบบ Low-Code Platform ยังสามารถทำให้นักพัฒนาที่เขียนโค้ดไม่ได้นั้นสามารถสร้าง Application ได้ด้วยความสามารถที่ตนเองมีอยู่ และทำให้นักพัฒนาที่มีประสบการณ์สามารถเข้ามาช่วยพิจารณาและปรับปรุงระบบจนสมบูรณ์ได้ ทำให้เกิดการถ่ายงานกันได้อย่างราบรื่น

#2: Low-Code จะถูกมองว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการทำ Digital Transformation ให้เกิดขึ้นจริง

เมื่อ Digital Transformation ได้กลายเป็นวาระหลัก เหล่าธุรกิจองค์กรนั้นต่างก็ถูกบังคับให้ต้องใช้กลยุทธ์ทางด้านเทคโนโลยีและคว้าโอกาสทางด้าน Digital เอาไว้ให้ได้ ซึ่งองค์กรนั้นก็มักจะมีแผนที่จะปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นในทุกแง่มุม ตั้งแต่กระบวนการทำงานทั่วไป ไปจนถึงการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า อย่างไรก็ดี องค์กรนั้นก็ต้องการตัวกลางที่จะช่วยเปลี่ยนไอเดียเหล่านี้ให้กลายเป็นจริงขึ้นมาได้

ด้วยเหตุนี้เอง ความเร็วในการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งสำคัญ และองค์กรก็ควรจะพิจารณาการใช้งานระบบ Low-Code Platform ที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถพัฒนา Application ได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับแต่ละโครงการนั้นมีความรู้สึกร่วมในการเป็นเจ้าของผลงานอย่างเต็มที่ ระบบเหล่านี้จะกำจัดงานด้านการเขียนโปรแกรมเชิงลึกออกไป รวมถึงยังลดปัญหาด้านความเข้ากันได้ของอุปกรณ์, การเพิ่มขยายระบบ และงานอื่นๆ ที่ต้องใช้เวลามากซึ่งเคยต้องเผชิญในการพัฒนา Software แบบเดิม ทั้งหมดนี้ทำให้องค์กรมีเวลาและมีทรัพยากรในการสร้างสรรค์นวัตกรรมมากขึ้น และทำให้การทำ Digital Transformation เป็นไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น

#3: AI จะช่วยเสริมศักยภาพให้กับนักพัฒนาทั้งกลุ่มที่เขียนโค้ดและไม่เขียนโค้ด

AI นั้นกลายเป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่างในการแข่งขันของธุรกิจในทุกวันนี้ รวมถึงในระบบ Low-Code ที่ AI สามารถช่วยในกระบวนการการพัฒนา Software ได้ด้วยเช่นกัน โดย AI นั้นจะช่วยให้นักพัฒนาทั้งแบบดั้งเดิมและแบบที่ไม่เขียนโปรแกรมสามารถเสริม AI เข้าไปในระบบ Application ได้อย่างมั่นใจ และไม่ต้องมีประสบการณ์ทางด้าน Data Science มาก่อน อีกทั้งยังทำให้นักพัฒนาแบบดั้งเดิมได้รับทราบความคิดเห็นและมุมมองทางด้านปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายในระบบ Application ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเชิงประสิทธิภาพและข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงที สำหรับนักพัฒนาที่ไม่สามารถเขียนโปรแกรมได้นั้น AI จะช่วยแนะนำโดยการวิเคราะห์และนำเสนอแนวทางในระหว่างที่ทำการพัฒนาโปรแกรม นอกจากนี้ AI ยังสามารถช่วยให้องค์กรทำงานแบบอัตโนมัติด้วยการสร้างระบบ Self-Service ที่ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบได้ด้วยข้อความหรือเสียงได้ ทำให้การให้บริการลูกค้าและการนำเสนอรบริการอื่นๆ ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น Chatbot ของธนาคารที่ถูกใช้ในการป้อนข้อมูลของลูกค้าโดยอัตโนมัติ เป็นต้น

#4: กลยุทธ์ด้าน Low-Code ในระดับองค์กรและระดับของฝ่าย IT จะเกิดขึ้น

ที่ผ่านมา การใช้งาน Low-Code นั้นมักเป็นไปในเชิงยุทธวิธี โดยแต่ละฝ่ายในธุรกิจนั้นอาจหันมาใช้ Low-Code Platform เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะทางบางประการ แต่เมื่อความต้องการนั้นมีความซับซ้อนมากขึ้น ธุรกิจองค์กรเหล่านี้ก็จะพบว่าระบบนั้นมีข้อจำกัดและไม่สามารถตอบสนองต่อทุกความต้องการของธุรกิจองค์กรได้

การนำกลยุทธ์ทางด้าน Low-Code มาใช้งานในระดับองค์กรนั้นจะเกิดขึ้นมาเพื่อให้การสร้างนวัตกรรมเป็นไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นในขณะที่ยังคงรักษามาตรฐานด้านคุณภาพ, ความมั่นคงปลอดภัย และการทำ Compliance ในระดับธุรกิจองค์กรได้อย่างครบถ้วน อย่างไรก็ดี องค์กรควรจะต้องระมัดระวังว่าจะเริ่มต้นใช้กลยุทธ์ทางด้าน Low-Code อย่างไร และต้องรับรู้อยู่เสมอด้วยว่ารากฐานที่มั่นคงปลอดภัยที่สุดก็คือระบบ Low-Code Platform ที่ถูกออกแบบมาสำหรับรองรับงานในระดับธุรกิจองค์กร ที่สามารถเพิ่มขยายและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงขององค์กรได้อยู่เสมอ

#5: ธุรกิจจะเริ่มวางใจใช้ Low-Code ในการสร้างระบบ Application สำคัญทางธุรกิจมากขึ้น

องค์กรจำนวนไม่น้อยได้เริ่มใช้ Low-Code Platform ในการสร้าง Application หลากหลายรูปแบบ แต่บางองค์กรก็ยังไม่กล้าที่จะใช้ Low-Code สำหรับระบบ Application สำคัญของธุรกิจองค์กรจากปัจจัยที่หลากหลาย เช่น ความสามารถในการเพิ่มขยาย, การบริหารจัดการงานต่างๆ และความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัย, การทำ Compliance และการรองรับธุรกรรมปริมาณมหาศาล

เราเข้าใจว่าการนำโซลูชันด้าน Low-Code มาใช้งานนั้นอาจน่ากลัวได้ในบางครั้ง อย่างไรก็ดี องค์กรควรจะต้องถามว่าระบบ Low-Code Platform ที่มีแผนในการนำมาใช้งานนั้นจะสามารถรองรับสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ โดยต้องมีการตรวจสอบความสำเร็จของลูกค้าที่ผ่านมาในแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่กังวลและการยืนยันให้ชัดเจนถึงความสามารถของระบบเพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบจะสามารถตอบรับต่อความต้องการขององค์กรได้เป็นอย่างดี

โดยสรุปแล้ว Low-Code สามารถช่วยให้ธุรกิจองค์กรตอบรับต่อความต้องการในการเขียนโปรแกรมและการพัฒนา Software ได้อย่างรวดเร็ว และยังช่วยลดภาระอันใหญ่หลวงที่มักจะมาพร้อมกับการพัฒนาโปรแกรมเองทั้งหมดตั้งแต่เริ่ม ทำให้การพัฒนา Software นั้นกลายเป็นงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ความสามารถเหล่านี้เองที่ทำให้ Low-Code Platform กลายเป็นระบบที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนา Application เมื่อธุรกิจองค์กรนั้นเติบโตต่อไปอย่างต่อเนื่อง

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดรายงาน InfoBrief ฉบับเต็ม สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานฉบับนี้หรือ OutSystems กรุณาติดต่อคุณ Penny ที่ปรึกษาของเราได้ที่ penny.khaonongbua@outsystems.com, Mobile/Line: 0896626597 หรือติดต่อผ่านพันธมิตรทางธุรกิจของเราในประเทศไทยได้ที่ https://www.outsystems.com/partners/list/

นอกจากนี้ เรายังเปิดรับพันธมิตรใหม่ในโครงการ OutSystems Partner Program เพื่อร่วมกันสร้างระบบนิเวศด้าน Low-Code ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศไทยอีกด้วย

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Google Willow ชิปควอนตัมใหม่ล่าสุด ที่เอาชนะ Supercomputer แบบไม่เห็นฝุ่น และแสงสว่างสู่การใช้จริง

Google ได้อวดผลงานใหม่ล่าสุดกับงานวิจัยด้าน Quantum Computing กับชิปควอนตัมที่ชื่อว่า ‘Willow’ โดยใช้เวลาประมวลผลเพียง 5 นาทีแก้ปัญหาได้เท่ากับ Supercomputer ที่ต้องใช้เวลาที่เรียกได้ว่าตลอดกาล นอกจากนี้ทีมงาน Google ยังได้เพิ่มศักยภาพในการแก้ไขข้อผิดพลาดได้เจ๋งที่สุดตั้งแต่ทฤษฎีที่นำเสนอมาแล้วกว่า 30 …

Cohesity ประกาศควบรวมกิจการกับ Veritas สำเร็จ ก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านซอฟต์แวร์ป้องกันข้อมูลระดับโลก

Cohesity ประกาศควบรวมกิจการกับ Veritas สำเร็จ ก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านซอฟต์แวร์ป้องกันข้อมูลระดับโลก ครอบคลุมผู้ใช้งานกว่า 12,000 ราย พร้อมนำ AI มาเสริมประสิทธิภาพการป้องกันข้อมูล