เมื่อโจทย์สำคัญหนึ่งในการทำ Digital Transformation นั้นคือการที่ภาคธุรกิจองค์กรจะต้องสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลขึ้นมาตอบโจทย์ของธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง แต่ในความเป็นจริงแล้วการหา Software Developer ที่มีคุณภาพนั้นถือเป็นเรื่องที่ยาก และการจ้าง Software House ภายนอกให้ทำงานให้นั้นก็ยังไม่มีความคล่องตัวที่เพียงพอ การเลือกใช้ Low-Code Platform ในการพัฒนา Business Application ขึ้นมาเองจึงเริ่มกลายเป็นทางเลือกที่ธุรกิจองค์กรทั่วโลกพิจารณาใช้งานกันมากขึ้นเรื่อยๆ
ในบทความนี้เราจะแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับโซลูชัน Low-Code Platform จาก Mendix ที่มีธุรกิจองค์กรทั่วโลกใช้งานแล้วกว่า 4,000 แห่ง และทำให้การพัฒนา Application มีความรวดเร็วยิ่งกว่าเดิม 6-10 เท่า โดยไม่ต้องอาศัย Software Developer จำนวนมากอีกต่อไป แต่พนักงานในแผนกต่างๆ เองก็สามารถทำการพัฒนา Application เบื้องต้นที่ตนเองต้องการขึ้นมาได้เองโดยไม่ต้องลงมือเขียนโปรแกรมเอง

อะไรคือ Low-Code Platform?
Low-Code Platform คือระบบที่จะทำให้ผู้ใช้งานทั่วๆ ไปซึ่งไม่มีความรู้ด้านการพัฒนาโปรแกรม แต่มีไอเดียที่จะสร้างสรรค์ Business Application ขึ้นมาใช้งานและมีความต้องการที่ชัดเจนนั้น สามารถสร้าง Application ขึ้นมาใช้งานได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องลงมือเขียนโปรแกรมเองเลย แต่ทำการใช้ชุดเครื่องมือจากระบบ Low-Code Platform มาผสานรวมกันและกำหนดรูปแบบการทำงานของแต่ละแบบฟอร์ม, แต่ละปุ่ม และการแสดงผลในแต่ละหน้าจอได้ด้วยตนเอง กำหนดทิศทางของ UI และ UX ของระบบได้ด้วยตนเอง โดยเมื่อทำการออกแบบและกำหนดค่าการทำงานแต่ละส่วนของ Application ที่พัฒนาขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถทำการติดตั้งใช้งานได้ทั้งภายในองค์กรและบน Cloud พร้อมเปิดให้ผู้ใช้งานเข้าถึงได้ผ่านทั้ง PC และ Mobile ได้ทันที
จะเห็นได้ว่า Low-Code Platform นี้ได้เข้ามาทดแทนการทำงานของ Software Developer ไปเป็นส่วนมาก ทำให้ผู้ใช้งานสามารถขึ้นโครงของระบบ Business Application ขึ้นมาด้วยตนเองได้เลย โดยหากระบบไม่ได้มีความซับซ้อนมากนักแต่เป็นระบบที่เน้นการจัดการข้อมูลและการแสดงผลเบื้องต้น ผู้ใช้งานก็อาจสร้าง Application ขึ้นมาได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นเลย แต่หากระบบเริ่มมีความซับซ้อนสูงขึ้น เช่น ต้องการเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบ Business Application อื่นที่เคยใช้งานอยู่ หรือต้องการเชื่อมต่อ API กับระบบต่างๆ หรือมีการพัฒนาส่วนที่ซับซ้อนมาก ก็อาจขอความช่วยเหลือฝ่าย IT หรือ Software Developer เฉพาะส่วนนี้ได้ ทำให้การพัฒนา Software ภายในธุรกิจองค์กรโดยรวมเป็นไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น เรียกได้ว่าเป็นการเกิดขึ้นของกลุ่ม Citizen Developer หรือกลุ่มที่เป็นผู้ซึ่งไม่มีประสบการณ์ด้านการเขียนโปรแกรม แต่สามารถสร้าง Application ขึ้นมาได้ด้วยตนเอง
นอกจากนี้ ระบบ Low-Code Platform ส่วนใหญ่นั้นมักถูกออกแบบมาให้เป็นการนำส่วนย่อยๆ ของ Application มาประกอบรวมกัน และส่วนย่อยๆ เหล่านั้นก็ถูกพัฒนขึ้นมาโดยมีการคำนึงถึงประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัยเอาไว้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้ใช้งานนั้นถึงแม้จะไม่มีความรู้ด้าน Cybersecurity มากนัก แต่ก็สามารถพัฒนาระบบ Business Application ที่มีความมั่นคงปลอดภัยเบื้องต้นให้พร้อมใช้งานได้ ในขณะที่ระบบเองก็มีความผิดพลาดหรือบั๊กเกิดขึ้นน้อยลงกว่าในอดีตเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ดี การมาของ Low-Code Platform นี้ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจองค์กรจะไม่มีความจำเป็นต้องมีทีม IT หรือทีม Software Developer อีกแล้ว เพียงแต่บทบทาทของทีม IT และทีม Software Developer นั้นจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก โดยในโครงการพัฒนา Business Application ใดๆ ฝ่าย IT และผู้ใช้งานนั้นจะได้มาทำงานร่วมกันมากขึ้น โดยผู้ใช้งานจะสามารถขึ้นโครงของระบบ Business Application ได้ตามที่ตนเองต้องการ และมี IT และ Software Developer คอยช่วยสนับสนุนในส่วนงานที่ยากเกินความสามารถของผู้ใช้งานทั่วไป เช่น การเชื่อมผสานระบบที่ซับซ้อน การเตรียมระบบ IT Infrastructure หรือ Cloud ให้รองรับ Business Application หรือการตั้งค่าด้านระบบเครือข่ายและ Security เพิ่มเติมเพื่อให้ใช้งาน Business Application เหล่านั้นได้อย่างมั่นใจ รวมถึงการให้ Feedback เพื่อให้ผู้ใช้งานนำไปปรับปรุงระบบ Business Application ของตนเองให้ดียิ่งขึ้นก็ตาม
ในเชิงเทคนิคนั้นก็มีอีกประเด็นที่น่าสนใจ คือการใช้ Low-Code Platform นี้จะทำให้ภาคธุรกิจองค์กรไม่ต้องไล่ตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนัก โดยเฉพาะ Stack ของการพัฒนา Software ที่ทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดและทำให้การดูแลรักษาระบบ Application ที่พัฒนาขึ้นมานั้นต้องมีการอัปเกรดระบบอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทีมพัฒนามีการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ ในแต่ละโครงการแตกต่างกันไป ดังนั้นการใช้ Low-Code Platform นี้จะช่วยลดความซับซ้อนหลากหลายในส่วนนี้ลงไปได้ และทำให้การดูแลรักษาระบบ Business Application ให้ทำงานต่อไปได้ในอนาคตนั้นง่ายดายยิ่งขึ้น และก็ทำให้เหล่า Software Developer จำนวนไม่น้อยเริ่มหันมาพัฒนาโปรแกรมบนระบบ Low-Code Platform ในธุรกิจองค์กรแทนการพัฒนาด้วยตนเองทั้งหมดเช่นกัน
แนวโน้มของ Low-Code Platform นี้กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยนอกจากในภาคธุรกิจแล้ว ในภาคการศึกษาเอง มหาวิทยาลัยกว่า 150 แห่งก็ตัดสินใจใช้ Low-Code Platform ในการสอนนักศึกษาเพื่อให้สามารถพัฒนา Application ขึ้นมาใช้งานเองได้
Mendix Low-Code Platform: ตอบโจทย์การพัฒนา Business Application อย่างรวดเร็ว ง่ายดาย ยืดหยุ่น ตรงความต้องการของธุรกิจ

Mendix คือผู้นำด้านเทคโนโลยี Low-Code Platform ที่มีธุรกิจองค์กรเลือกใช้งานมากกว่า 4,000 แห่งทั่วโลก และถูกจัดให้เป็น Leader ใน Gartner’s Magic Quadrant สำหรับ Low-Code Platform โดยภายใน Platform ของ Mendix มีส่วนประกอบหลักๆ ดังนี้

- เครื่องมือ Visual Modeling และ Building Block สำหรับใช้ในการออกแบบและพัฒนา Application โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม ให้ระบบสามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลต่างๆ และทำงานได้ตามต้องการได้อย่างรวดเร็ว
- เครื่องมือสำหรับใช้ในการสื่อสารร่วมกันระหว่างฝ่ายธุรกิจและฝ่าย IT เพื่อให้เกิดความเข้าใจในความต้องการของระบบ, การอัปเดตและปรับปรุงในแต่ละ Iteration ของการพัฒนา และ Feedback ที่เกิดขึ้น
- มีเครื่องมือสำหรับใช้ในการควบคุมการเข้าถึงและการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ครอบคลุมไปถึงการจัดการตัง้แต่การทำ Automated Testing, Tracking และการทำ Analytics ทั้งกระบวนการการพัฒนาระบบ
โดยในการพัฒนา Application บน Mendix จะแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
1.) Ideate การระดมความคิดเพื่อสรุปความต้องการของระบบ Applicatin ที่จะทำการพัฒนา และนำข้อมูลในส่วนนี้ไปใช้ในการบริหารจัดการโครงการแยกย่อยเป็นฟีเจอร์ต่างๆ และใช้กำหนดแผนการพัฒนาระบบได้ เรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือสำหรับการทำ Project Management ในโครงการพัฒนา Software โดยเฉพาะนั่นเอง

2.) Develop เครื่องมือสำหรับการพัฒนาระบบโดยอาศัยการลากวางและการกำหนดค่าการทำงานของแต่ละส่วนภายในโปรแกรมให้ตรงกับ Business Logic ที่ต้องการ โดยมี AI Assistant คอยช่วยเหลือให้การพัฒนา Application มีความง่ายดายและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ลดเวลาที่ผู้ใช้งานต้องใช้ในการพัฒนาโปรแกรมและเรียนรู้การใช้เครื่องมือลงเป็นอย่างมาก

3.) Deploy ติดตั้งใช้งานระบบ Application ที่พัฒนาขึ้นมาให้ผู้อื่นเข้ามาใช้งานได้ภายนในการคลิกเพียงครั้งเดียว โดยใน Mendix นั้นมีการใช้สถาปัตยกรรมแบบ Cloud-Native บน Cloud Foundry และมีเครื่องมือ DevOps และ CI/CD Pipeline ให้พร้อมใช้งาน พร้อมเปิดให้เชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ เพื่อทำการ Iterate, Release, Deploy และ Test ได้ตามต้องการ

4.) Operate ติดตามการทำงานและดูแลรักษาระบบได้โดยมี Dashboard และข้อมูลสถิติการใช้งานจริงของระบบทั้งหมด ทำให้ง่ายต่อการจัดการในภาพรวมและการวางแผนปรับปรุงในอนาคต ไปจนถึงการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

ผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Mendix สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.mendix.com/ หรือทดลองใช้งานระบบได้ฟรีๆ ทันทีที่ https://signup.mendix.com/index.html
Siemens รุกตลาด Low-Code Platform เมืองไทย แต่งตั้ง TBN Software เป็นตัวแทนจำหน่าย Mendix
Siemens นั้นได้ทำการเข้าซื้อกิจการของ Mendix มาตั้งแต่ปี 2018 ที่มูลกว่ากว่า 730 ล้านเหรียญหรือราวๆ 23,360 ล้านบาท และสร้างการเติบโตให้กับ Mendix ในตลาดธุรกิจองค์กรทั่วโลกมาอย่างต่อเนื่อง และในปี 2020 นี้เองก็ได้เวลาที่ Mendix จะก้าวมาสู่ตลาดธุรกิจองค์กรในเมืองไทยแล้ว
สำหรับในประเทศไทย ตลาดด้าน Low-Code Platform นั้นยังอยู่ในระยะเริ่มต้น และได้รับความสนใจจากธุรกิจองค์กรมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการที่ธุรกิจองค์กรนั้นถึงแม้จะมีแผนการทำ Digital Transformation ที่ชัดเจน แต่การปรับทีมและจัดจ้างทีมงานฝ่าย IT และทีม Software Developer เข้ามาเสริมให้สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากบุคลากรทางด้าน IT นั้นกลายเป็นที่ต้องการจากทุกธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม และเกิดการแย่งชิงตัวกันมากมาย ในขณะเดียวกัน ธุรกิจองค์กรเองก็ต้องการความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับเปลี่ยนระบบ Business Application ที่ตนเองพัฒนาขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกวันนี้ด้วย
ด้วยเหตุนี้เอง Low-Code Platform ที่ช่วยให้ภาคธุรกิจองค์กรสามารถพัฒนา Business Application ขึ้นมาเองได้โดยไม่ต้องอาศัยทักษะด้านการเขียนโปรแกรมจึงเริ่มได้รับความสนใจจากธุรกิจองค์กรในทุกอุตสาหกรรม และกลายเป็นโอกาสของ Siemens, Mendix และ TBN Software ที่จะได้ก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจไทยได้ปรับเปลี่ยนตัวเองสู่การเป็น Digital Business อย่างเต็มตัว
สนใจโซลูชัน Mendix Low-Code Platform by Siemens ติดต่อ TBN Software ได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจโซลูชัน Mendix Low-Code Platform by Siemens สามารถทำการติดต่อ TBN Software เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม ขอทดสอบระบบ หรือขอใบเสนอราคาได้ทันทีที่อีเมล์ salesadmin@tbn.co.th โทร 022585841 หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ TBN Software ได้ที่ https://tbn.co.th/