ผู้เชี่ยวชาญทางธุรกิจที่ทำงานทางด้านเทคโนโลยีนั้นมักจะหลงลืมไปว่าในบางครั้ง อุตสาหกรรมอื่นนั้นก็อาจมีความก้าวหน้าในการทำ Digital Transformation ที่เหนือกว่าอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีเสียเองด้วยซ้ำ
ตัวอย่างหนึ่งนั้นก็คือในงานด้านวิศวกรรมที่มักถูกมองว่าเป็นพนักงานกลุ่ม “Blue Collar” ซึ่งมักจะทนใช้งานเทคโนโลยีด้าน IT เดิมๆ เป็นเวลานานแม้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้มักจะมีอายุสั้นและมีสิ่งใหม่ๆ ออกมาตลอด อย่างไรก็ดี งานด้านวิศวกรรมและการผลิตนั้นก็ยังนำหน้าอุตสาหกรรมอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบถึงการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยมาใช้งาน อย่างเช่น 5G, AI หรือ IoT เป็นต้น
ในเชิงของการพัฒนา Application ภายในองค์กรเองนั้น ธุรกิจด้านวิศวกรรมเองก็นำหน้าอุตสาหกรรมอื่นๆ อยู่หลายก้าวเช่นกัน
Schneider Electric ถือเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจจากการที่เมื่อเร็วๆ นี้ได้ออกมาประกาศว่ามีการใช้งาน Low-Code Development Framework ในการพัฒนา Application ใหม่ถึง 60 ระบบโดยใช้เวลาน้อยกว่า 40% ของกระบวนการพัฒนาระบบแบบเดิมที่เคยใช้ในอดีต
Application เหล่านี้ได้ถูกใช้งานในหลากหลายแผนกของยักษ์ใหญ่ทางวิศวกรรมนี้ ตั้งแต่แผนก HR ไปจนถึงการเงิน, การบริหารจัดการ Portfolio, การทำนายแนวโน้มการผลิต, การขนส่ง และระบบ Supply Chain ทั้งหมด
ทุกวันนี้เทคโนโลยีทรงพลังมากเสียจนทำให้ตำแหน่งที่เรียกว่า Citizen Developer ที่สามารถทำงานควบคู่ไปกับนักพัฒนาแบบดั้งเดิมในการพัฒนา Application และสร้างบริการใหม่ๆ เพื่อขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงและสร้างคุณค่าทางธุรกิจอย่างมีนัยยะสำคัญได้ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ทุกสิ่งเริ่มต้นจากผู้คน
ผู้บริหารธุรกิจทุกคนย่อมมีมุมมองที่เหมือนกันว่าพนักงานคือทรัพยากรที่สำคัญที่สุด เพราะพนักงานที่มีประสบการณ์นั้นจะเข้าใจงานอย่างทะลุปรุโปร่ง ทั้งกระบวนการ, ความซับซ้อน และแนวทางที่ง่ายดายในการปรับปรุงการทำงานและองค์กร
แทนที่จะต้องแยกส่วนของการพัฒนาระบบออกจากแต่ละส่วนของธุรกิจ สิ่งที่ Low-Code ได้เข้าไปเปลี่ยนแปลงนั้นก็คือทำให้แต่ละแผนกสามารถนำองค์ความรู้เชิงลึกที่ตนเองมีอยู่มาสร้าง Application และบริการต่างๆ ด้วยตนเองได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงลึกต่อการทำงานของทั้งองค์กรได้
ไม่เพียงแต่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการพัฒนา Application ใหม่ๆ แล้ว งานด้านการพัฒนาระบบ Application ที่เคยมีอยู่เดิมก็ได้รับประโยชน์ด้วยเช่นกัน นอกเหนือจากการที่เครื่องมือ Low-Code ได้เข้าไปเป็นเครื่องมือหลักหนึ่งในการทำงานแล้ว (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ Library และส่วนประกอบสำเร็จรูปในการทำงานได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น) ทีมงาน DevOps เองก็สามารถหันไปทำงานที่มีความท้าทายมากยิ่งขึ้นได้ จากความไว้วางใจในระบบ Low-Code ว่าจะทำงานได้อย่างมั่นคงและปลอดภัยภายใต้แนทางการพัฒนาที่ถูกกำหนดเอาไว้ล่วงหน้า
ซึ่งนี่ก็หมายรวมถึงการตรวจสอบด้านการควบคุมการทำงาน, การตรวจสอบประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัย, การตรวจสอบขั้นตอนในการพัฒนาระบบ และการตรวจสอบสถาปัตยกรรมของระบบที่กำลังใช้งานอยู่
นอกจากนี้ พนักงานใหม่ด้านการพัฒนาระบบเพียงอย่างเดียวก็จะสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น, ใช้เวลาในการฝึกอบรมด้านความซับซ้อนเชิงลึกของธุรกิจน้อยลง และสามารถสร้างประสบการณ์สำหรับผู้ใช้งานที่สอดคล้องกันทั้งระบบได้ เพื่อเร่งสร้างคุณค่าทางธุรกิจให้เกิดมากยิ่งขึ้น
เริ่มต้นใช้งานและสร้างผลลัพธ์ได้ทันที
เนื่องจากระบบ Low-Code มีเครื่องมือที่ผู้ใช้งานทุกคนต้องการในการสร้าง Application ได้อย่างรวดเร็วด้วยตนเอง ธุรกิจจึงสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นจาก Applicationใหม่ที่ถูกสร้างขึ้น หรือบริการใหม่นี้สามารถถูกนำเสนอและเริ่มต้นใช้งานได้รวดเร็วกว่าเดิมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะสำหรับพนักงานคนที่ต้องไปพบลูกค้า หรือทำงานภายในเพื่อช่วยให้การทำงานร่วมกันเป็นทีมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ด้วยการทำงานแบบ Drag-and-Drop และการแสดงผลแบบกราฟฟิกเป็นหลักของ OutSystems ซึ่งเป็นระบบ Low-Code นี้ ก็ทำให้กระบวนการการพัฒนาระบบเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าเดิมเมื่อเทียบกับทีมงานที่ต้องพัฒนาระบบด้วยการเขียนโปรแกรมเองทั้งหมดตั้งแต่เริ่ม โดยระบบนี้สามารถถูกสร้างขึ้นได้จากส่วนประกอบต่างๆ ที่เคยมีอยู่เดิม และนำมารวมเข้ากับ Business Logic ที่เกิดขึ้นจาก Citizen Developer และสนับสนุนโดยความรู้ในเชิงลึกถึงความเป็นไปได้เชิงเทคโนโลยีของแผนก IT
การพัฒนาระบบแบบ Waterfall ที่เคยใช้งานในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้สามารถถูกทดแทนได้ด้วยวิธีการพัฒนาที่มุ่งเน้นถึงผลลัพธ์ในการแก้ปัญหาต่าๆ เป็นหลักที่พนักงานและลูกค้าต้องเผชิญอยู่ทุกวัน เรียกได้ว่าเป็นการแก้ไขปัญหาด้วยเทคโนโลยีโดยทีมงานที่มีเครื่องมือที่เหมาะสมและมีความรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงให้สิ่งต่างๆ เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง
ทำงานร่วมกับระบบเดิมและเติมเต็มนวัตกรรมใหม่
ความสามารถในการเชื่อมโยงระบบของระบบ Low-Code ที่เยี่ยมยอดที่สุดนี้ทำให้ธุรกิจสามารถเพิ่มและต่อยอดความสามารถให้กับระบบที่มีอยู่เดิมได้ โดยไม่ต้องจ้างนักพัฒนาเฉพาะทางหรือคู่สัญญาที่มีราคาสูงอีกต่อไป
ความสามารถนี้ทำให้ผู้ใช้งาน OutSystems สามารถเพิ่มความคุ้มค่าในการลงทุนให้กับระบบเดิมที่มีอยู่ได้ และยืดอายุการใช้งานรวมถึงเกิดประโยชน์ใหม่ในการใช้งานระบบเดิมที่มีอยู่ พนักงานที่ใช้งานระบบเดิมอยู่และพนักงานที่ต้องพบปะกับลูกค้าในแต่ละวันนั้นสามารถทำงานร่วมกันเพื่อสร้าง Application ใหม่ที่ใช้งานร่วมกันได้, มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน, ปลอดภัย และมั่นคงทนทานได้ตามกระบวนการทางธุรกิจที่ต้องการได้
ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถให้กับเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมเพียงอย่างเดียว Low-Code ก็ได้สร้างคุณค่าอย่างมีนัยยะให้กับโครงการด้านการทำ Digital Transformation อย่างชัดเจนแล้ว และเมื่อนำประเด็นนี้มารวมกับแนวทางการทำงานมีเต็มเปี่ยมไปด้วยนวัตกรรมและความสร้างสรรค์ องค์กรที่ใช้ระบบ Low-Code ของ OutSystsems ก็จะมีความสามารถในการปลดล็อคศักยภาพที่มีอยู่ได้โดยไม่ต้องลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานหรือโซลูชันใหม่ทั้งหมดอีกต่อไป
ก้าวถัดไป
คำแนะนำสำหรับธุรกิจที่สนใจก็คือการเริ่มต้นกับระบบที่มีอยู่ในแผนกใดแผนกหนึ่งเสียก่อนเพื่อพิสูจน์คุณค่าของระบบ Low-Code ซึ่งระบบเหล่านี้ก็มักเป็นระบบ Application ที่มีอยู่ดั้งเดิมนั่นเอง
วิธีการนี้จะทำให้ทุกคนสามารถเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในโครงการริเริ่มนี้ได้ และเห็นภาพตรงกันว่าระบบของ OutSystems จะสามารถทำสิ่งใดได้บ้าง
ข้อได้เปรียบของการใช้ Low-Code นี้ก็คือการที่ระบบเดิมที่มีอยู่จะสามารถถูกเพิ่มเติมต่อยอดหรืออาจถูกทดแทนได้เลยในบางกรณี โดยมีธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม (ซึ่งบางอุตสาหกรรมนั้นก็อาจดูเหมือนว่าไม่เข้ากับการใช้เทคโนโลยีเสียเท่าไหร่) มีการเริ่มต้นใช้งานระบบและสร้าง Application ใหม่ๆ เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้เดินไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่อง
ผู้ที่สนใจสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับ Low-Code และคุณค่าทางธุรกิจได้ด้วยตนเอง โดยสามารถเริ่มต้นจาก eBook (ที่รวบรวมคำแนะนำที่น่าสนใจในการเริ่มต้นได้อย่างรวดเร็ว) และก้าวสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจแต่ละอุตสาหกรรมได้ และถ้าหากต้องการคำแนะนำใดๆ ก็สามารถติดต่อตัวแทนจาก OutSystems หรือพันธมิตรของ OutSystems เพื่อรับชมการสาธิตเทคโนโลยีได้ทันที