การปรับธุรกิจสู่การทำงานยุคใหม่ New Normal ที่พนักงานทุกคนจะต้องทำงานได้จากทุกที่ทุกเวลา สามารถเข้าถึงข้อมูล สื่อสารระหว่างกัน และดำเนินกระบวนการทางธุรกิจได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย การมีเครื่องมืออย่างบริการ Cloud ที่พร้อมให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วนั้นถือเป็นตัวช่วยที่ดี และในงาน Japan Recommend IT 2020 ที่กำลังจัดขึ้นที่ https://event-info.com/jrit/ นี้ ก็มีการนำเสนอโซลูชันของ kintone ซึ่งเป็นระบบ Digital Workplace ที่ได้รับความนิยมในธุรกิจญี่ปุ่นมากมายในการทำงานร่วมกันทั้งในเชิงของการแบ่งปันข้อมูลและการจัดการ Workflow ที่ตอบโจทย์การใช้งานและการปรับแต่งสำหรับทุกแผนกได้ในแบบ Low-Code
kintone: ปรับกระบวนการทำงานในธุรกิจสู่ Paperless ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ตอบรับ New Normal
หัวใจสำคัญในการเปิดรับต่อนโยบาย Social Distancing ท่ามกลางวิกฤตโรคระบาดนี้ ก็คือการปรับธุรกิจให้ยังคงดำเนินการทำงานต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าพนักงานจะทำงานจากที่บ้านหรือที่ออฟฟิศก็ตาม เพื่อให้การทำงานเกิดขึ้นได้อย่างไม่สะดุดไม่ว่าภาครัฐจะมีนโยบายหรือขอความร่วมมืออย่างไรก็ตาม

Digital Workplace ถือเป็นเทคโนโลยีที่ถูกใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากในช่วงนี้ ในฐานะของเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยเสริมการทำงานให้เกิดขึ้นได้ด้วยการสร้างพื้นที่ทำงานออนไลน์ขึ้นมา ให้พนักงานสามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานโดยสามารถติดตามผล อนุมัติ ไปจนถึงการตรวจสอบย้อนหลังได้ และ kintone เองก็เป็นหนึ่งในโซลูชัน Digital Workplace ที่มีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก และได้รับความนิยมจากธุรกิจองค์กรญี่ปุ่นเป็นอย่างสูง
แนวคิดของ kintone นั้นคือการเป็นระบบ Cloud Platform กลางที่ธุรกิจองค์กรสามารถเข้ามาใช้เพื่อปรับแต่งระบบให้ตอบโจทย์ต่อการทำงานได้ เช่น การสร้างพื้นที่สำหรับจัดเก็บไฟล์งานและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน, การสร้าง Digital Workflow สำหรับใช้งานในแผนกต่างๆ ของธุรกิจเพื่อให้การอนุมัติหรือการออกเอกสารใดๆ เกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบ และอื่นๆ อีกมากมาย โดยเดิมที kintone นั้นมักจะถูกใช้งานในฐานะของเครื่องมือที่มาช่วยให้การทำงานภายในบริษัทเกิดขึ้นได้อย่างคล่องตัว แต่เมื่อภาวะวิกฤตเกิดขึ้น ธุรกิจองค์กรต่างๆ ก็หันมาใช้ kintone ในฐานะของเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดการทำงานผ่านโลกออนไลน์ได้แบบ 100% แทน
จุดเด่นของ kintone นั้นคือความง่ายดายในการใช้งานและการปรับแต่งที่ไม่ต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้เชิงเทคนิคหรือ IT ในการเขียนโปรแกรมเลย และสามารถเริ่มต้นใช้งานได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ รองรับการใช้งานได้บนทั้ง PC และ Mobile ดังนั้นพนักงานแต่ละแผนกก็สามารถทำการเรียนรู้เบื้องต้นและลงมือสร้าง Digital Workflow ขึ้นมาใช้งานภายในแผนกของตนเองได้ทันที ทำให้ในการปรับนำ kintone ไปใช้งานนั้นเกิดขึ้นได้ในหลากหลายแผนก ดังตัวอย่างต่อไปนี้
-
แผนก HR และ Admin สามารถสร้างฐานข้อมูลพนักงาน, คำถามเบื้องต้นที่พนักงานมักสอบถาม, การประกาศรับสมัครงานและช่องทางการส่งใบสมัคร, การจัดการการขออนุมัติวันลา, การจัดการเวลาเข้าออกงาน, การทำ Inventory Management สำหรับอุปกรณ์สำนักงาน, การจัดการจองห้องประชุมหรือรถของบริษัท และอื่นๆ
-
ฝ่ายขาย สามารถปรับระบบให้กลายเป็น CRM เพื่อสร้างฐานข้อมูลของลูกค้าและคู่ค้าแต่ละราย, การสร้างระบบออกใบเสนอราคา, ระบบสร้างสัญญา, การจัดการค่าใช้จ่ายของพนักงานฝ่ายขาย และอื่นๆ
-
ฝ่าย Production และ QA สามารถสร้างระบบบริหารการผลิต, ระบบรับรองคุณภาพสินค้า, ระบบจัดการวัตถุดิบและคลังสินค้า, ระบบจัดการข้อมูลสินค้า, ระบบฐานข้อมูล Know-How ภายในบริษัท และอื่นๆ
-
แผนกจัดซื้อ สามารถใช้จัดการคลังสินค้า, จัดการการขนส่งสินค้า, สร้างระบบแบบฟอร์มสั่งซื้อวัตถุดิบ, ระบบรวบรวมและจัดการ Invoice และอื่นๆ
-
ฝ่าย IT สามารถใช้ในการบริหารจัดการควบคุมโครงการ, การจัดการระบบ Social Network ของบริษัท, การสร้างแบบฟอร์มแจ้งปัญหาหรือแจ้งซ่อม, การจัดการ IT Inventory และอื่นๆ
-
แผนกบริการลูกค้า สามารถใช้เป็นระบบ Support Portal และบริหารจัดการการให้บริการทั้งก่อนและหลังการขายแก่ลูกค้าได้ รวมถึงทำหน้าลงทะเบียนเพื่อให้เข้าร่วมอบรมต่างๆ ได้
-
ฝ่ายวางแผนและการตลาด สามารถใช้ในการบริหารจัดการกิจกรรมทางการตลาด และสร้าง Portal เพื่อรองรับกิจกรรมนั้นๆ ในรูปแบบออนไลน์ได้
-
ฝ่ายกฎหมาย สามารถใช้เพื่อบริหารจัดการและจัดเก็บเอกสารทางกฎหมาย สัญญา และอื่นๆ ได้
สำหรับราคาเริ่มต้นของ kintone นั้นอยู่ที่ 500 บาทต่อผู้ใช้งานต่อเดือน ก็ถือว่ามีราคาที่ค่อนข้างคุ้มทีเดียวเมื่อเทียบกับโซลูชันระบบ Business Application อื่นๆ
ผู้ที่สนใจรายละเอียดของ kintone หรือต้องการทดลองใช้งานฟรี 30 วัน สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมหรือลงทะเบียนได้ที่ https://kintone.asia/lp/whatskintone/th/
รับชมเทคโนโลยีใหม่ๆ และติดต่อกับผู้พัฒนาเทคโนโลยีได้โดยตรงในงาน Japan Recommend IT
ในงาน Japan Recommend IT นี้ได้มีธุรกิจผู้พัฒนาเทคโนโลยีจำนวนมากมาร่วมออกบูธมากมาย ไม่ว่าจะเป็น
-
ISID South East Asia (Thailand) Co., Ltd. ~ อันดับ 1 Smart IoT Solution ทั้งในไทยและญี่ปุ่น
-
Hitachi Asia (Thailand) Co., Ltd. ~เสริมสร้างความอัจฉริยะให้กับการปฏิบัติการด้านไอที (IT Operations)
-
CYBERNET SYSTEMS MALAYSIA SDN.BHD. ~พลังงานสำหรับนวัตกรรมของคุณ
-
HULFT Pte Ltd ~Data logistics,Modernized. ลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาการดำเนินงานและการบำรุงรักษาระบบ IT เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างระบบโรงงานและระบบไอทีได้อย่างปลอดภัยไม่มีสะดุด
-
Cybozu, Inc. ~เปลี่ยนหน้าที่การทำงานทั้งหลายของฝ่ายงานข้อมูลสารสนเทศให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายดายขึ้น และลดชั่วโมงทำงาน ด้วย kintone
-
QUALICA (Thailand) Co., Ltd. ~แก้ไขปัญหาน่าหนักใจของลูกค้าในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย และ ASEAN ด้วยการบริการด้าน IT
-
Studist (Thailand) Co., Ltd. ~ผู้ให้บริการ Teachme Biz – Visual SOP Management Platform ระบบจัดการคู่มือการทำงานออนไลน์ที่จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานทั้งระบบ
-
C’set Co.,Ltd. ~ ผู้ผลิตที่เชี่ยวชาญด้าน 3D viewer
-
WingArc1st Inc. ~แปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถดำเนินการได้ง่าย ได้แก่ การทำให้มองเห็นข้อมูลได้ มี IoT แดชบอร์ด การวิเคราะห์บนคลาวด์ การทำรายงานด้วยการลากและวาง รวมถึงการทำ BI ได้ด้วยตัวเอง
-
Thai NS Solutions Co., Ltd. ~ สนับสนุนการทำให้ระบบ IT ของลูกค้ามีประสิทธิภาพสูง ด้วยเทคโนโลยีที่ใช้ได้จริง และใช้ “ระบบไฮบริด”ที่คนไทย และคนญี่ปุ่นใช้ร่วมกันได้
-
TechMatrix Corporation ~ เปลี่ยนงานบริการลูกค้าในประเทศไทย ด้วยแพคเกจสำหรับศูนย์บริการลูกค้าที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัทของเรา อีกทั้งยังมี ส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 ในประเทศญี่ปุ่น
-
Bigbeat Bangkok Co., Ltd. ~ เรามีบริการครอบคลุม เป็นผู้ช่วยครบวงจร สำหรับการสื่อสารการตลาดในอุตสาหกรรมแบบ B2B
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ https://event-info.com/jrit/ และทำการลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ฟรีทันทีที่ https://event-info.com/jrit/registration/ โดยทีมงานขอความร่วมมือในการกรอกข้อมูลตามความเป็นจริง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการลงทะเบียน และระบบ Online Exhibition นี้จะเปิดให้เข้าชมได้จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2020 นี้เท่านั้น
ติดตามข่าวสารของ Japan Recommend IT ได้ผ่านทาง Facebook Fan Page
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดของงาน Japan Recommend IT และบทสัมภาษณ์ของธุรกิจ IT จากญี่ปุ่นได้ทาง Facebook Fan Page ที่ https://www.facebook.com/JapanRecommendIT/