Black Hat Asia 2023

[Guest Post] COVID-19 : ถึงเวลาของการ Work From Home ?

เนื่องจากปัญหา COVID-19 ในในประเทศไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ได้ร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อโปรโมทแนวทางให้พนักงานทำงานที่บ้าน (Work From Home) โดยเชื่อว่าเป็นวิธีดำเนินธุรกิจที่เหมาะสมท่ามกลางการระบาดของ Covid-19 ขณะนี้

จากงานวิจัยที่เผยแพร่ในปี 2018 แสดงให้เห็นว่าพนักงานในสหรัฐอเมริกา 70% มีประสบการณ์การทำงานระยะไกล ผลสำรวจความคิดเห็นของพนักงานยังพบว่า Cloud-based software เอื้อต่อพนักงานในการทำงานจากที่ใดก็ได้ และช่วยลดปัญหาอื่นๆ เช่น ลดเวลาการเดินทาง และปัญหาครอบครัว ผลสำรวจความคิดเห็นของของธุรกิจชี้ว่า การใช้งาน Network Attach Storage (NAS) ใน IT infrastructure ที่มีอยู่เพิ่มความมั่นใจและความสะดวกสบายในการแชร์และซิงค์ไฟล์จากภายนอก ความเป็นเจ้าของข้อมูลและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ยกระดับการสื่อสารและการทำงานเป็นทีม รวมไปถึงส่งเสริม Productivity การทำงานระยะยาวได้ดียิ่งขึ้น

ไฟล์เซิร์ฟเวอร์แบบดั้งเดิมที่ใช้ โปรโตคอล Windows SMB มีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลระยะไกล (Remote access) ส่งผลให้ธุรกิจไม่พร้อมรับมือกับแนวโน้มการทำงานระยะไกลที่เพิ่มขึ้น เพราะต้องอาศัยความไดนามิคในการทำงานร่วมกันของทีมที่ทำงานระยะไกล และการแชร์ไฟล์ ซึ่งไฟล์เซิร์ฟเวอร์แบบเดิมยังมีข้อจำกัดอยู่ ในทางกลับกันโมเดล SaaS ที่ทำงานบนคลาวด์แม้จะข้ามข้อจำกัดที่กล่าวมาได้ แต่กลับเผชิญกับความท้าทายอื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการใช้งานที่ต้องจ่ายเรื่อยๆ การรั่วไหลของข้อมูลและความปลอดภัยของข้อมูล และอีกปัจจัยคือ Ransomware ที่คุกคามข้อมูลของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อและบล็อกการเข้าถึงผ่านโปรโตคอล Windows SMB ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบไอทีทั้งของรัฐบาลและองค์กรต่างๆทั่วโลก ดังนั้นโซลูชั่นที่ยืดหยุ่นและไดนามิคที่สามารถผนวกจุดดีของการใช้งานทั้งไฟล์เซิร์ฟเวอร์แบบดั้งเดิมและโมเดล SaaS มาใช้อย่าง Network Attach Storage (NAS) จึงอาจเป็นตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้าม

เซิร์ฟเวอร์ไฟล์ยุคใหม่ในอุดมคติ นอกจากสามารถเข้าถึง File service จากระยะไกล หรือ มีเครื่องมือช่วยเสริมการทำงานร่วมกันของทีมแบบไดนามิกแล้ว ควรมีความสามารถในการซิงโครไนซ์ข้ามออฟฟิศ, ไอทีแบบบริการตนเอง และเข้ากันได้กับอุปกรณ์ต่างๆ เมื่อบริษัทเติบโตไปพร้อมกับแนวโน้ม BYOD (Bring Your OWn Device) และ Enterprise mobility ที่เป็นที่นิยมมากขึ้น รวมไปถึงเมื่อสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันและภัยพิบัติต่างๆอุบัติขึ้น น้อยบริษัทที่จะเตรียมทรัพยากรไอที และสภาพแวดล้อมด้านไอทีให้พร้อมรับกับความยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้นนี้

โซลูชันที่เหมาะสมควรช่วยให้พนักงานรับมือปัญหาต่างๆจากการจัดเก็บข้อมูลได้เองอย่างปลอดภัย เช่น การเปลี่ยนรหัสผ่านหรือกู้คืนไฟล์ที่สูญหายผ่านข้อูลที่ backupไว้ เข้าถึงไฟล์ที่ซิงค์จากออฟฟิศจากทั่วทุกมุมโลกและให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงไฟล์จากที่ใดหรือจากอุปกรณ์ใดก็ได้ ด้วยวิธีนี้พนักงานสามารถเข้าถึงหรือแชร์ไฟล์จากนอกออฟฟิศได้อย่างง่ายดายและยังช่วยป้องกันข้อมูลที่สำคัญในอุปกรณ์ของบริษัท โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาบุคลากรด้านไอทีอย่างเดียว

แม้จะเสี่ยงต่อความปลอดภัยของข้อมูลและกระทบกับประสิทธิภาพการทำงานในระยะยาว ธุรกิจจำนวนมากยังลังเลที่จะปรับปรุงไฟล์เซิร์ฟเวอร์แบบดั้งเดิมที่ใช้อยู่ แต่ด้วยภัยคุกคามทั่วโลกขณะนี้ การหันมาปรับใช้โครงสร้างพื้นฐานไฟล์เซิร์ฟเวอร์ยุคใหม่ที่มีไดนามิคมากขึ้นแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น และสร้างกฎการจัดการไฟล์และการทำงานร่วมกันที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างไม่สะดุดและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ทันเวลา


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

MFEC: พลิกโฉมการจัดการ Infrastructure ตอบโจทย์ Modernize Application ด้วย VMware Tanzu

แนวคิดการยกเครื่องแอปพลิเคชันเดิมสู่บริบทของการทำงานสมัยใหม่หรือที่เรียกว่า Modernization นั้นเริ่มกลายเป็นนโยบายหลักขององค์กร เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมาการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยี Container นั้นได้สนับสนุนให้แนวคิดนี้ทำได้สะดวกขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้แอปพลิเคชันสามารถนำพลังจากเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ดูแลระบบไอทีขององค์กรกลับกำลังเผชิญกับความท้าทายมากมาย ซึ่ง VMware Tanzu คือแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายของการทำ Modernization ประสบความสำเร็จได้ โดยที่ยังรักษาระบบการทำงานแบบเดิม …

บริหารจัดการ Multi-Cloud ครบวงจรอย่างมั่นใจ ด้วย VMware Aria จาก Fujitsu

แม้ Multi-Cloud จะไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับธุรกิจองค์กรแล้วในทุกวันนี้ แต่การบริหารจัดการ Multi-Cloud ให้มีประสิทธิภาพได้อย่างรอบด้านนั้นก็ยังคงเป็นความท้าทายของผู้บริหารฝ่าย IT ในหลายองค์กร เพราะ Cloud แต่ละระบบนั้นต่างก็มีความแตกต่างในเชิงรายละเอียด และยากต่อการรวบรวมข้อมูลการใช้งานมาวิเคราะห์แบบรวมศูนย์