Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

[Guest Post] ติดตั้ง Nutanix CE กันเถอะ

บทความพิเศษจากผู้อ่าน โดยคุณชานนท์ รวงผึ้งหลวง วิศกรผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี Enterprise IT หลายแขนง กับการติดตั้ง Nutanix Community Edition (CE) ซึ่งเป็น Nutanix รุ่นฟรีสำหรับทดสอบใช้งานครับ ใครที่สนใจลองทำตามได้เลยครับ จะได้มี Nutanix ส่วนตัวเอาไว้ลองเล่นกันได้

 

Step 0 : เตรียมพร้อม

  1. สมัคร community portal ที่ https://www.nutanix.com/products/community-edition/
  2. download image file ที่ http://next.nutanix.com/t5/Discussion-Forum/Download-Nutanix-CE-Docs-and-Guides/m-p/3188#U3188
  3. download disk descriptor ที่ https://www.virtuallifestyle.nl/wp-content/uploads/2014/09/ce.txt
  4. ติดตั้ง VMWare Workstation (ในบทความใช้ ver.12)
  5. ใช้ PC spec
    1. CPU intel i7 2.4GHz
    2. Memory DDR4 64GB (อย่างน้อย 32GB)
    3. HDD 200GB หรือมากกว่า

 

Step 1 : เตรียม VM Disk ให้พร้อม

1.1 หลังจาก download image file มาแล้วให้เราทำการ extract ออกมาจะได้ file ce-2017.01.10-stable.img

1.2 เปลี่ยนชื่อจาก ce-2017.01.10-stable.img เป็น ce-flat.vmdk

1.3 download disk descriptor จาก https://www.virtuallifestyle.nl/wp-content/uploads/2014/09/ce.txt
แล้วทำการ save file เป็น ce.vmdk

 

Step 2 : ทำการสร้าง Virtual Machine ตามขั้นตอน

2.1 สร้าง VM โดยใช้ ce.vmdk

browse ไปที่ ce.vmdk

*หลังจากได้ VM มาหนึ่งเครื่องแล้วให้เรา add disk เพิ่ม* 

โดยไปที่ VM ที่เราสร้างคลิกขวาและ setting

หลังจากนั้นให้เรา add hard disk เพิ่มอีก 1 ลูก (ทำซ้ำตาม step แต่ชื่อ disk file อาจเปลี่ยนตามด้านล่าง)

หลังจากที่เรา add hard disk ครบจะได้ configuration ตามด้านล่าง

 

Step 3 : เริ่มติดตั้ง

Power On เครื่อง VM
แล้ว login ด้วย
U : root
P : nutanix/4u
จากนั้นให้เราใช้ vi ไปที่ /home/install/phx_iso/phoenix/sysUtil.py

กด i (เพื่อ insert) และแก้ไข minimum resource require ตามด้านล่าง

จากนั้น save file โดย กด : และ wq

ทีนี้เราพร้อมที่จะติดตั้งแล้ว ให้พิมพ์ exit และ ออกไปที่หน้า login prompt

พิมพ์คำว่า install

 

Step 4 : ทำการ configuration ค่าต่างๆ ตามขั้นตอน

เลือก keyboard layout

confirm ตัว harddisk resources

ทำการ configure IP ของตัว CVM, Host
ให้เลือกเป็น create single-node cluster แล้วทำการ configure DNS (require)

ใช้ระยะเวลาในการติดตั้งประมาณ 15-30 นาที แล้วแต่ resource ของเครื่อง

 

Step 5 : เริ่มต้นใช้งาน

ไปที่ CVM’s IP ในตัวอย่างคือ https://192.168.1.125:9440
ทำการ login ด้วย
U: admin
P: admin
จากนั้นให้เปลี่ยน password ตามต้องการ แล้วทำการ login ด้วย CE portal credential ที่เราสมัครไว้ตอนแรก

ใช้งานให้สนุกนะคร้าบ 🙂

 


สุดท้ายนี้ทางทีมงาน TechTalkThai ขอขอบคุณคุณชานนท์ รวงผึ้งหลวง สำหรับการแบ่งปันครั้งนี้เป็นอย่างมากเลยนะครับ

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

ผสาน Automation และ Intelligence เข้าไปยังความสามารถของงานด้านการผลิต โดย Infor

การนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้งานในธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และแต่ละอุตสาหกรรมก็มีความท้าทายเฉพาะตัวที่ต้องเผชิญหน้า ในอุตสาหกรรมการผลิตเองก็เช่นกันที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ความต้องการของลูกค้า Supply Chain และอื่นๆ 

Cisco ปิดดีลเข้าซื้อ Splunk มูลค่า 1 ล้านล้านบาท

หลังจากผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มข้นจนได้รับอนุมัติเรียบร้อย ล่าสุดทาง Cisco ได้ประกาศถึงความสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการของ Splunk ที่มูลค่า 28,000 ล้านเหรียญหรือราวๆ 1 ล้านล้านบาทอย่างเป็นทางการแล้ว