DPU จับมือ IBERD จัดเสวนาหัวข้อ“ธุรกิจในยุคดิจิทัลเปลี่ยนโลก”เชิญกูรูด้านพาณิชย์แนะโอกาสทางการค้าในกลุ่มCLMV จีน และอินเดีย พร้อมชี้หากไม่ปรับตัวไปตามยุค Digital ซึ่งกำลังเป็นศูนย์กลางทั้งทางความคิด ความรู้ เศรษฐกิจ สังคมและการศึกษา จะอยู่ยากในโลกอนาคต
เปิดเวทีสร้างแรงบันดาลใจ และสร้างเครือข่ายธุรกิจนวัตกรรมรุ่นใหม่ สู่ตลาดโลก
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนาการเศรษฐกิจการพาณิชย์ (IBERD)จัดงานสัมมนาธุรกิจและเศรษฐกิจออนไลน์ ภายใต้หัวข้อ “Gateway of Digital Disruption on Economic and Business Innovation Transformation in CLMVT + China +India”โดยดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 11 ปีแห่งการก่อตั้ง มูลนิธิฯ IBERD และเพื่อเปิดเวทีรับฟังและแลกเปลี่ยนแนวความคิดจากแขกรับเชิญกิตติมศักดิ์ อันจะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักธุรกิจรุ่นใหม่ รวมถึงสร้างเครือข่ายในภาคธุรกิจและสังคม ในประเทศ CLMVT จีนและอินเดีย
ทั้งนี้ ภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร. สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ สมาชิกวุฒิสภาและประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจการพาณิชย์ (IBERD)กล่าวเปิดงานพร้อมปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “Thailand’s Digital Disruption on Economic and Business Innovation Transformation in Next Decade” โดยมีวิทยากรร่วมในงานเสวนา ประกอบด้วย ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ รองประธานIBERD นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ รองประธานIBERD ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสารกรรมการบริหารIBERD และ ผศ.ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชูรองอธิการบดีสายงานวิชาการ DPUและมีวีณารัตน์ เลาหภคกุล เป็นพิธีกรดำเนินรายการพร้อมด้วยนางนทีชวนสนิท ผู้อำนวยการบริหาร IBERD กล่าวในพิธีปิด ณ ห้องประชุมปรีดี พนมยงค์ อาคารเฉลิมพระเกียรติ อาคาร 7 ชั้น 6 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
IBERD ครบ11 ปี นำเศรษฐศาสตร์ สู่ผลปฏิบัติพาณิชย์ พลิกดิจิทัลเปลี่ยนโลก
ดร. สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ สมาชิกวุฒิสภา และประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจการพาณิชย์ (IBERD) กล่าวถึงแนวคิดสำคัญของการก่อตั้ง IBERDว่า เป็น การนำหลักวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ ไปสู่ผลปฏิบัติในทางพาณิชย์ สำหรับการทำความร่วมมือด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำที่เน้นในเรื่องของธุรกิจ โดยเฉพาะด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการประเภทเริ่มต้น หรือ Start Up และการทำธุรกิจกับต่างประเทศนั้น จะเป็นการสร้างความผสมผสานและบูรณาการระหว่างเศรษฐกิจ การพาณิชย์ และธุรกิจ ที่ไม่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังร่วมมือกันขยายขอบข่ายทางการศึกษาไปยังประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนเหนือ คือ ประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม หรือ กลุ่ม CLMVด้วย
พร้อมกันนี้ ดร. สถิตย์ ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ digital เปลี่ยนแปลงโลก ในการปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “Thailand’s Digital Disruption on Economic and Business Innovation Transformation in Next Decadeไว้ว่า เศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันกำลังอยู่ในยุคการปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่ Digitalจะเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม หรือที่เรียกว่า เศรษฐกิจสังคม digital การส่งเสริมความสำคัญของ Digital ได้เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ เช่น โครงการ One Country One Platform ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะเชื่อมต่อข้อมูล Big Data ซึ่งกันและกันในหนึ่ง Plat form เพื่อสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงความพยายามให้สถาบันการศึกษามีการเรียนการสอนที่เน้น Digital และสร้างบัณฑิตในอนาคตให้มีทักษะที่จำเป็น 3 ทักษะ คือ ทักษะด้านภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษและภาษาจีน ทักษะการเงิน การบัญชีและการลงทุนขั้นพื้นฐาน และทักษะ Digitalซึ่งถือเป็นทักษะที่สำคัญที่สุด นอกจากนี้การศึกษายุคนี้ยังต้องตอบสนองโลกของDigital เช่น การเปิดหลักสูตรเรียนฟรี ผ่านระบบออนไลน์ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหนและเวลาใดก็ได้ ดังนั้น หากใครยังไม่ปรับตัวไตามDigital ที่กำลังจะเปลี่ยนโลก Digital ซึ่งกำลังเป็นศูนย์กลางทางความคิด ความรู้ เศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา ก็จะไม่สามารถดำรงคงอยู่ในโลกอนาคตนี้ได้
เทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญ คือCustomer Experience ไทยเป็นGatewayที่มีPlatformรับธุรกิจและลงทุนจากนอก
ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ รองประธานIBERDได้แสดงความคิดเห็นในการเสวนาหัวข้อDigital Disruption: Business Innovation Platforms ว่าแผนยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศไทยที่ตอบรับความเป็น ดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Economy) คือ การจะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศโดยพยายามให้ Technology Digital มีความมั่นคง ประสิทธิภาพสูง ต้นทุนไม่แพง โดยเฉพาะเมื่อจะใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบธุรกิจรวมถึงหากจะให้ประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลาง Digital Hub ก็ควรมีสายเคเบิลใต้น้ำวิ่งไปยังทั่วโลก ขณะนี้ประเทศไทยมีการพัฒนาเชื่อมโยงไปญี่ปุ่น จีน และอินเดีย การปรับปรุงกฎหมายเรื่องของการทำ E-Transaction ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ อาทิ การมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การดูแลปกป้องโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทางด้านสารสนเทศ หรือCritical Information Infrastructureอีกประการที่ควรส่งเสริมคือ การให้Technology Digital เข้าถึงชุมชนที่อยู่ตามชายขอบ ที่ไม่ใช่อยู่เพียงชายขอบประเทศ แต่รวมถึงชายขอบในกรุงเทพ รวมถึงการส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนมีความรู้พื้นฐานทาง Digital เพื่อใช้ประโยชน์จากTechnology Digital ได้อย่างมีคุณค่าและประสิทธิภาพสูง
ทั้งนี้ การทำการค้าการลงทุนกับประเทศใน CLMV อินเดีย จีนนั้น ทั้งอินเดียและจีน ต่างมองอาเซียนว่าเป็นGateway and Partner จึงมีการสร้างทางรถไฟความเร็วสูงที่วิ่งผ่านจากเมืองคุนหมิงมายังลาวไทยก็ควรจะต้องทำขนานไปกับกายภาพคือรถไฟเป็นทางด่วนDigital รวมถึงกลุ่มอาเซียน ควรเริ่มมีกิจกรรมในเชิง Connectivity ให้สูงขึ้น ตัวอย่างเช่น การให้หมายเลขมือถือแต่ละประเทศในอาเซียนสามารถใช้ได้เลย โดยไม่ต้องใช้ระบบ Roaming ที่มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งทำให้การทำธุรกิจมีต้นทุนสูงขึ้นไปด้วย
ถึงแม้ประเทศไทยจะเป็น Gatewayที่มีPlatform สำหรับนักลงทุนต่างชาติเข้ามาก็ไม่ควรมุ่งการแข่งขันกันเองภายในประเทศอย่างเดียวแต่ควรออกไปทำธุรกิจการค้ากับอาเซียน จีน และ อินเดียให้ได้โดยเฉพาะกลุ่มStart Up SME ต้องขายของให้กับชาติต่างๆ ทั้งนี้เนื่องจากเรามีเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญ คือCustomer Experience
ไม่ประมาท CLMV และ รุกStart upสร้างโอกาสธุรกิจกับอินเดียแชมป์UNICORNS
นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ รองประธานIBERDได้แสดงความคิดเห็นในเรื่อง New Normal: New Digital Business Partnerships among CLMVT and Indiaโดยกล่าวถึงความสำคัญและประโยชน์ที่ประเทศไทยทำการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศCLMV ด้วยกัน ว่าเนื่องจากประเทศเหล่านี้มีพรมแดนติดกับประเทศไทย ยกเว้นประเทศเวียดนาม ทำให้การติดต่อค้าขายสะดวก และหากพิจารณาจำนวนประชากรรวมมีจำนวนมากถึง170 ล้านคน GDP รวมมีมากถึง หนึ่งล้านล้านเหรียญสหรัฐ CLMVยังเป็นกลุ่มประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงมาก คือ 7-8% ต่อเนื่องมาโดยตลอดรวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านยังมีอุตสาหกรรมการผลิตด้านอุปโภคบริโภคและการแปรรูปไม่มากและมีความคุ้นชินกับการใช้ของที่ผลิตจากไทย แบรนด์ไทย ปัจจัยเหล่านี้จึงทำให้โอกาสการเติบโตทางการค้าการลงทุนของไทยมีมาก
ขณะนี้ถือว่าไทยยังเป็นศูนย์กลางทางการเงินและเศรษฐกิจของ CLMVT กล่าวคือประเทศไทยมีGDP รวมเกือบ 60 % ของ CLMVTแต่ปัจจุบันประเทศเวียดนามกำลังขยับขึ้นมาแทนที่ โดยหลังจากไทยขึ้นค่าแรงเป็นวันละ 300 บาท นักลงทุนได้ย้ายฐานการผลิตไปประเทศเวียดนามเพื่อลดต้นทุน นอกจากนี้ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย แรงงานหายาก แรงงานเลือกงาน ตรงกันข้ามกับประเทศเวียดนามซึ่งส่วนใหญ่คนอยู่ในวัยทำงาน ทำให้ค่าแรงงานถูก และมีให้เลือก รวมถึงรัฐบาลเวียดนามสนใจเรื่องพัฒนาการศึกษา เพราะฉะนั้นด้วยปัจจัยดังกล่าวเศรษฐกิจระยะยาวของเวียดนามจะไปได้ดีมาก ยิ่งไปกว่านั้นประเทศเวียดนามยังมีข้อตกลงที่เอื้อ ต่อการผลิตและการค้า และการยกเว้นภาษีกับนานาประเทศมากมาย โดยเฉพาะ ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่าง อียู-เวียดนาม และการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับสหราชอาณาจักร หลังจากการเกิด Brexitที่ทำให้ประเทศเวียดนามมีแต้มต่อเหนือกว่าประเทศไทย
ส่วนอินเดียเป็นอีกประเทศที่ไทยไม่ควรมองข้ามในเรื่องโอกาสทางการค้า เนื่องจากประเทศอินเดียมีจำนวนประชากรมากถึง 1,400 ล้านคน และจำนวน 400 ล้านคนเป็นกลุ่มผู้มีกำลังซื้อ นอกจากนี้อินเดียยังสามารถสร้าง Start Up ได้วันละ 1 คน และขณะนี มี Unicorns ถึง 30 คน อันแสดงให้เห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจ และสังคมของอินเดีย ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าที่สำคัญของไทยได้
พัฒนาจีนเน้นวิจัยพื้นฐานและปฏิวัตินวัตกรรมใช้เศรษฐกิจในโตเชื่อมนอก
ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร กรรมการบริหารIBERDได้แสดงความคิดเห็นในเรื่อง New China EconomicPlan, Digital Business in the Next 20 Years โดยได้กล่าวถึง แผนพัฒนา 5 ปี ฉบับที่ 14(2564-2568)ที่สภาประชาชนแห่งชาติจีน(NPC) ได้เผยแพร่เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ว่า เป็นแผนพัฒนาที่มุ่งเน้นการเปิดกว้างและปฏิรูปเชิงลึก โดยเฉพาะการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ แก้ปัญหาหนี้และการผลิตเกินตัว พร้อมสร้างภาคเศรษฐกิจใหม่ โดยการเปิดกว้างของจีน ได้แก่การเพิ่มจำนวนเขตการค้าเสรี (Free Trade Zone) จีนได้ทดลองใช้เขตการค้าเสรีมา 6-7 ปี แล้ว แล้วได้ขยายวงไป จนวันนี้มี 14มณฑลมหานครในเมืองจีน ซึ่งได้เปิดกว้างรองรับการลงทุนของต่างชาติภายใต้ระบบ(Negative list) หรือการประกาศสิ่งที่ห้าม ที่เหลือสามารถลงทุนได้เพื่อรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ๆ แห่งโลกอนาคตยังมีการสร้างความเติบโตแบบยั่งยืน หรือการพัฒนาอย่างสมดุลในเชิงคุณภาพ ในรูปแบบใหม่ที่เรียกกว่า “Dual Circulation”วงจรคู่หรือสองหมุนเวียน โดยเน้นการสร้างความสมดุลของเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในประเทศและระหว่างประเทศ หลักการ Dual Circulation คือการที่จีนจะพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศแบบพึ่งพาตนเองและมีการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น จากการเพิ่มรายได้และความต้องการบริโภคของครัวเรือน รวมถึงจากการให้ความสำคัญกับกลุ่มชนชั้นกลางในจีนมากขึ้นแผนพัฒนาฉบับที่ 14 นี้จีนจะไม่ทิ้งเศรษฐกิจภายนอก หากจะใช้เศรษฐกิจภายในเป็นตัวเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภายนอก
แผนพัฒนา 5 ปีฉบับที่ 14 นี้ จะเน้นไปที่การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) และการปฏิวัตินวัตกรรม (Breakthrough) แตกต่างจากเดิมที่จีนเคยเน้นการวิจัยประยุกต์ (Applied Research) และการสร้างนวัตกรรม ต่อยอด จีนย้ำเน้นว่าการวิจัยในอุตสาหกรรมต้องไม่ใช่เพียงการวิจัยประยุกต์หรือการวิจัยต่อยอดบนพื้นฐานของเทคโนโลยีฝรั่ง แต่ต้องเป็นการวิจัยพื้นฐานเพื่อจุดหมายปฏิวัตินวัตกรรม ดังนั้น การส่งออกสินค้าไทยไปจีนยังคงเป็นโอกาสทางการค้าที่ดี เพราะเศรษฐกิจของจีนยังเติบโตได้อีกมาก อุตสาหกรรมจีนยังคงต้องการวัตถุดิบนำเข้าจากไทย คนจีนมีกำลังซื้อที่สูงขึ้น จากการที่จีนกำลังเดินหน้าพัฒนาประเทศให้มีรายได้ต่อหัวสูง การที่เราเห็นจีนจะเติบโตทางเศรษฐกิจอีกมากในอนาคตจึงเป็นสิ่งที่เราควรที่จะเริ่มขยับการค้าการลงทุนไปใกล้จีนให้เพิ่มมากขึ้น ด้วยการมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนกับประเทศจีนการเดินหน้าพัฒนาความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจกับจีน ให้เกิดเป็นรูปธรรมอันนี้สำคัญมา อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของไทยในระยะยาวอาทิไทยควรมุ่งเน้นสร้างความร่วมมือการลงทุนของจีนใน ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ให้มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น
พัฒนาคน Digital Innovation Transformation ด้วยFree Wifi ทุกพื้นที่
ด้าน ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการสายงานวิชาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้แสดงความเห็นในเรื่องProspects for Education in Digital Transformation and Economy ไว้ว่าทุกประเทศมีการระบุนโยบายการพัฒนาการศึกษาในแผนการพัฒนาประเทศ ในประเทศไทย นโยบายด้านการพัฒนาการศึกษาล่าสุดมาพร้อมกับนโยบายด้าน Industry 4.0 และ Digital Transformation ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องมีการพัฒนาในด้านการสร้าง Innovation ที่ใช้ประโยชน์จาก Digital Technology สถาบันการศึกษาต้องพัฒนานักศึกษาให้เป็นแรงงานที่มีคุณภาพและสามารถสร้าง Productivity นอกจากนี้นักศึกษาควรมี Digital Literacy Skills ที่สามารถใช้ประโยชน์จาก Digital Technology ได้ตรงจุด รวมทั้งมีความสามารถคิดวิเคราะห์ ปรับตัวและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ ขณะนี้การเรียนการสอน ระดับมัธยมและระดับอุดมศึกษา ในประเทศไทย ได้บรรจุหลักสูตรที่เรียกว่า STEM Education โดยหลายแห่งมีการเพิ่มในส่วนของ Entrepreneurship หรือทักษะการเป็นผู้ประกอบการเข้าไปด้วย เพื่อสร้างคนให้มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และปรับตัวได้ไว
นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของทุกประเทศจะเชื่อมโยงกับแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพราะถือเป็นเครื่องมือทางกลยุทธ์ที่สำคัญ ดังนั้น อยากให้มองว่าเรามีจุดแข็ง หรือ เก่งด้านใดที่สามารถช่วยให้เราคว้าโอกาสที่มีอยู่ในสังคมและเศรษฐกิจโลก เราจะต้องนำจุดแข็งนั้น มาสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และนำนโยบายดังกล่าว มากำหนดแผนหลักในการพัฒนาคนเพื่อสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับประเทศ
ทั้งนี้ ประเทศไทยจะพัฒนาการศึกษาได้ ต้องเชื่อมโยงกระบวนการพัฒนาความรู้ และ Innovation กับ ประเทศที่โดดเด่นด้านนี้ โดยสามารถสร้างความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยี และนวัตกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยไทยกับมหาวิทยาลัยนานาชาติ เช่น ประเทศจีนและอินเดีย ที่มีความโดดเด่นในด้าน Technology และ Engineering เช่น เรื่องของ Blockchain และ AI โดยผ่านโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรการทำวิจัยและการพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน
ดร.พัทธนันท์ กล่าวในตอนท้ายว่า การพัฒนา IT Infrastructure ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากทุกพื้นที่เข้าถึงอินเทอร์เนตสาธารณะได้ จะช่วยเปิดโอกาสให้คนไทยมีโอกาสค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเองได้มากขึ้น โดยเฉพาะความรู้นอกห้องเรียน และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในปัจจุบันมี Content ออนไลน์มากมายที่เข้าถึงได้ฟรี แต่ Content ส่วนใหญ่ มีเนื้อหาเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้นเพื่อให้สามารถเข้าใจ Content เหล่านั้นได้ การพัฒนาความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่ควรเร่งผลักดันเช่นกัน