โดย: แพทริค เคลนแจนส์ ผู้บริหารระดับสูงสุด บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
ตลอดระยะเวลาของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทุกธุรกิจต้องเผชิญหน้ากับความท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแผนกทรัพยากรบุคคล (HR) ตั้งแต่การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการทำงานในสถานที่ต่างๆ เช่น การทำงานจากที่บ้าน (WFH) การเว้นระยะห่างในสถานที่ทำงาน ไปจนถึงปรากฏการณ์ ‘การลาออกครั้งใหญ่ของพนักงาน’ หรือแม้แต่การปรับลดขนาดขององค์กรให้เล็กลง ซึ่งสถานการณ์ที่ซับซ้อนและท้าทายเหล่านี้ได้กลายเป็น ‘ชีวิตวิถีใหม่หรือnew normal’ สำหรับแผนกทรัพยากรบุคคล ในขณะที่แผนกนี้ยังต้องใช้ความพยายามในการรักษาความมั่นคงให้กับพนักงานที่ต้องการความช่วยเหลือทางด้านทรัพยากรบุคคลอีกด้วย
สองปีที่ผ่านมาให้ความรู้สึกที่ยาวนานและไม่มีวันสิ้นสุด แต่สำหรับหลาย ๆ บริษัท สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญด้านความคิดเกี่ยวกับความสำคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วิกฤตครั้งนี้ทำให้ผู้นำระดับสูงมองเห็นคุณค่าของการที่มีบุคลากรที่เหมาะสมเข้ามาทำหน้าที่เมื่อมีความท้าทายเกิดขึ้น และบทบาทของ HR ได้รับการยกระดับและบทบาทที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน
การเคลื่อนย้ายบุคลากรที่มีความสามารถ การสร้างศูนย์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อองค์กร โมเดลทักษะที่จำเป็น การสรรหาบุคลากร และการพัฒนาความเป็นผู้นำ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ประเด็นใหม่แต่ในปัจจุบันสิ่งเหล่านี้มีบทบาทสำคัญมากขึ้น ในฐานะผู้ที่ทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์มืออาชีพ เราจำเป็นต้องพัฒนาวิธีการใหม่เพื่อการจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบทบาทที่ถูกยกระดับขึ้นใหม่นั้นมาพร้อมกับการตรวจสอบที่เพิ่มมากขึ้น และคำถามที่ว่าเราจะสามารถเพิ่มคุณค่าให้กับธุรกิจของเราได้อย่างไรการทบทวนการทำงานของ HR ขององค์กรในรูปแบบใหม่ด้วยแนวคิดดิจิทัลถือเป็นก้าวแรกสู่การเปลี่ยนแปลงที่ประสบความสำเร็จ หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคลจำเป็นจะต้องเริ่มจากแนวคิดที่ว่าแผนกงานนี้สามารถให้บริการได้อย่างมืออาชีพแบบครบวงจร มีทีมที่พร้อมให้คำปรึกษา มีผู้จัดการด้านผลิตภัณฑ์ การส่งมอบงานหรือบริการ ตลอดจนเทคโนโลยีทั้งหมดในแผนกเดียว ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการวิเคราะห์ทักษะและความสามารถของสมาชิกในทีม HR และดูว่าสมาชิกแต่ละคนอยู่ในระดับใดในแง่ของการพัฒนา ซึ่งรวมไปถึง HR business partners รวมถึงผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจทั้งภาพกว้างของงานด้าน HR ที่ปรึกษา นักออกแบบ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และพนักงานทุกคน
ทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณระบุได้ว่าเทคโนโลยีที่นำมาใช้กับงาน HR สามารถทำงานสนับสนุนองค์กรของคุณได้ในส่วนใดบ้าง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปโดยการจัดหาแนวทางที่เหมาะสม เพิ่มระบบอัตโนมัติ (Automation) และปรับปรุงกระบวนการทำงานเดิมให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นก็หมายถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้แก่พนักงาน เพิ่มการทำงานร่วมกันของแต่ละฟังก์ชั่นงาน และเพิ่มข้อมูลเชิงลึกสำหรับการวิเคราะห์นั่นเอง
โดยปกติแล้ว เครื่องมือวิเคราะห์บุคคลากรจะเน้นไปที่งานประเภทต่าง ๆ เช่น การรักษาจำนวนพนักงานและตำแหน่งที่ยังว่างอยู่ แต่บ่อยครั้งมักจะล้มเหลวในการนำมาใช้ที่นอกเหนือไปจากงานธุรการต่างๆ ของแผนก จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะถูกขอให้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของพนักงานมากกว่าที่เคย ซึ่งหมายความว่าพวกเขาจะต้องการระบบที่เป็นเชิงรุกและใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพื่อแสดงข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์และเป็นแนวทางเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคาดการณ์แรงงานในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคลสามารถเตรียมพร้อมเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุก ๆ ด้าน
เครื่องมือวิเคราะห์บุคลากรที่มีประสิทธิภาพจะรวบรวมและแปลงรายละเอียดที่สำคัญทั้งหมดเกี่ยวกับบุคลากรในองค์กร ทีมงาน และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับงาน ให้เป็นข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้ได้จริง ซึ่งจะช่วยปรับปรุงผลลัพธ์และเป้าหมายทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี เมื่อนำมาปรับสร้างอย่างถูกต้องและนำมาใช้กับกระบวนการทำงาน ข้อมูลนี้เหล่าสามารถปฏิวัติวิธีการจัดสร้างหรือสรรหาทีมงาน การจัดการเรื่องค่าตอบแทน ปรับปรุงด้านความหลากหลายและความแตกต่างของพนักงานในองค์กร และอื่น ๆ ได้
จากการสำรวจของ Gartner เมื่อเร็ว ๆ นี้เปิดเผยว่า ผู้นำทางด้าน HR ถูกจัดให้เป็นประเด็นสำคัญอันดับแรกในปี 2565 เพราะถือเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการสร้างทักษะและความสามารถที่สำคัญ เพื่อที่จะสามารถตอบสนองความท้าทายในปัจจุบันและอนาคตขององค์กรได้ และการนำข้อมูลมาใช้นี้จะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของแผนก HR เพื่อเอาชนะความท้าทายนี้
นอกจากนี้ สิ่งที่จำเป็นสำหรับการปรับจุดโฟกัสใหม่เพื่อให้ฝ่ายบริหารระดับสูง (C-suite) เกิดความไว้วางใจในการทำงานของ HR นั่นคือการที่ HR ต้องสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ธุรกิจได้ นี่คือวิธีที่จะสามารถพิสูจน์คุณค่าและแสดงให้เห็นว่างานด้าน HR มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยรวมและสามารถทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้กำลังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานที่ทำงานในทุกด้าน อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการดึงดูดคนที่เหมาะสม (การสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถ) การเพิ่มหรือพัฒนาทักษะให้กับพนักงาน (L&D) และการช่วยให้พนักงานได้มีส่วนร่วมกับบริษัท
การค้นหาแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมและการเปิดใช้ข้อมูลที่ถูกต้องจะช่วยในการปรับปรุงการตัดสินใจในทุกระดับ และการใช้แอปพลิเคชันในการจัดการพนักงานอย่างครอบคลุมจะช่วยปรับปรุงในด้านการมีส่วนร่วมและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ทำให้เกิดความโปร่งใส และให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ดังนั้นจึงง่ายต่อการตัดสินใจทางธุรกิจและปรับปรุงภาพลักษณ์องค์กร
ยุคของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีกำลังจะมาถึงในไม่ช้านี้ ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องทำความเข้าใจและสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นกับองค์กรของเรา