โดย นายโลเรนซ์ อึง รองประธาน ฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น แอสเพ็น เทคโนโลยี อิงค์ และนายดเวนน์ พลอช ผู้จัดการ ฝ่ายผลิตภัณฑ์ แอสเพ็น เทคโนโลยี อิงค์
องค์กรทุกองค์กรล้วนจำเป็นต้องหากลยุทธ์ในการสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถรุ่นใหม่ๆ และรักษาบุคลากรปัจจุบันที่มีความเชี่ยวชาญสูงไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่อาศัยเม็ดเงินสูงทุนและพึ่งพากระบวนการผลิต อันรวมถึงอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซซึ่งมีการแข่งขันหาแรงงานคุณภาพมาโดยตลอด องค์กรที่ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น AI และ ML เท่านั้นจะสามารถดึงดูดพนักงานใหม่ที่มีความสามารถมากที่สุด ให้ช่วยผลักดันองค์กรให้ยืนในระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรม และช่วยสร้างประสิทธิผลที่รวดเร็วและดีขึ้น
องค์กรอุตสาหกรรมที่กำลังปรับตนเองเข้าสูยุค Industry 4.0 อันเป็นยุคสมัยใหม่ของการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เน้นการเชื่อมต่อระหว่างกันของเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญ เช่น IoT, Could Computing, AI, ML และ Digital Twin เพื่อใช้เทคโนโลยีต่างๆ สร้างกระบวนการผลิตอัจฉริยะนั้น ยังต้องเผชิญกับความต้องการของตลาดที่มีความผันผวน การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ และปัญหาในการจัดการปริมาณข้อมูลในธุรกิจที่เพิ่มขึ้นมากมายอีกด้วย ทั้งนี้ หลังวิกฤตการระบาดของโควิด-19 องค์กรในทุกอุตสาหกรรมเผชิญกับวิกฤตด้านแรงงานที่รุนแรงขึ้นทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่ใช้เงินทุนสูงเนื่องจากมีพนักงานเกษียณอายุจำนวนมากขึ้นและมีพนักงานเข้าใหม่จำนวนมากขึ้นเช่นกัน อันที่จริงแล้ว กลับเป็นโอกาสที่ดีในการปรับเปลี่ยนแบบเร่งด่วนในการฟูมฟักบุคลากรด้านไอทีรูปแบบใหม่ โดยสร้างขึ้นมาจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในแขนงต่างๆ และนักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูลอุตสาหกรรมรุ่นใหม่ (Industrial data scientists)
แนวโน้มของแรงงานในอุตสาหกรรม
องค์กรต่างๆ จะพัฒนาพนักงานไอทีอุตสาหกรรมเน็กซ์เจนเนอเรชันรุ่นใหม่ (Next-Generation of industrial IT workers) อย่างไร? ปัจจัยสำคัญคือการสรรหาและรักษาบุคลากร Industrial data scientists เป็นจำนวนมากขึ้น ซึ่งจัดเป็นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูลผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกระบวนการผลิตขององค์กร
องค์กรต่างๆ ได้หาวิธีแก้ไขสถานการณ์การขาดแคลนแรงงานเพื่อให้สามารถเป็นผู้ชนะในเวทีการแข่งขันในตลาดมาโดยตลอด หลังการลาออกครั้งใหญ่ของมนุษย์เงินเดือนที่เรียกว่า The Great Resignation ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากผลกระทบที่พนักงานได้รับจากการทำงานในระหว่างการระบาดของโควิด-19 ส่งให้บุคลากรด้านไอทีขาดแคลนในตลาดแรงงานเป็นเวลาหลายปี จากการสำรวจโดยศูนย์สถิติวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมแห่งชาติ (National Center for Science and Engineering Statistics: NECES) ในสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่าจำนวนนักศึกษาที่จบด้านคอมพิวเตอร์จะเพิ่มขึ้น 98% ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่อุปทานนั้นยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดได้ เนื่องจากธุรกิจในปัจจุบันได้ผลิตข้อมูลในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นและใช้กลยุทธ์เปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น หมายความว่าองค์กรต่างๆ พยายามจ้างนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data scientists) ใหม่ที่มีทักษะในการจัดการปริมาณงานเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม มีนักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูลและวิศวกรน้อยเกินไปที่จะตอบสนองความต้องการได้เพียงพอ อีกทั้งองค์กรต่างๆ ยังแข่งขันแย่งตัวผู้ที่มีศักยภาพสูงกันอย่างดุเดือด
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการขาดแคลนพนักงานที่มีความสามารถอันเป็นสถานการณ์ช่องว่างด้านทักษะอีกด้วย นอกเหนือจากการสรรหาและการรักษาบุคลากรที่ดีแล้ว พนักงานในอุตสาหกรรมที่มากด้วยประสบการณ์กำลังเข้าสู่วัยเกษียณ ทำให้ความรู้ด้านอุตสาหกรรมในอดีตและความเชี่ยวชาญเฉพาะที่สะสมมาเป็นเวลาหลายทศวรรษมลายหายไปจากองค์กรอีกด้วย จึงยิ่งเกิดช่องว่างของความรู้ในภาคอุตสาหกรรมกว้างมากขึ้น ดังนั้น สิ่งสำคัญคือการรับสมัครพนักงานใหม่จะต้องสามารถสร้างความสำเร็จให้องค์กรในทันที ซึ่งหมายถึงเป็นการเชื่อมช่องว่างระหว่างทักษะและความรู้ที่องค์กรมีและสร้างทักษะที่จำเป็นเพื่อให้บุคลากรใหม่สามารถทำงานให้สำเร็จอีกด้วย
ข้อสุดท้าย นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลรุ่นเน็กซ์เจนเนอเรชันเหล่านี้มักคาดหวังสูงว่าจะเห็นนายจ้างใช้เทคโนโลยีและโซลูชันดิจิทัลใหม่ๆ ในองค์กร ซึ่งหากองค์กรอุตสาหกรรมใดยังมีความล้าหลังในด้านการใช้งาน AI, ระบบ Automation และเทคโนโลยีสำหรับ Industry 4.0 ต่างๆ ที่มักจะทำให้งานง่ายขึ้นและช่วยเพิ่มมูลค่าแล้ว จะให้ผู้สมัครงานที่มีศักยภาพมองหาองค์กรอื่นแทน อันที่จริงแล้ว ความท้าทายที่กล่าวข้างต้นสามารถแก้ไขได้โดยการปฏิรูปทางดิจิทัลและพัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการให้ทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องนำวิธีการใหม่ๆ ในการจัดการ ประมวลผล และดำเนินการกับข้อมูลอุตสาหกรรมปริมาณมหาศาลมาใช้เพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวนั้นจะช่วยองค์กรได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งยังไม่สามารถอุดช่องว่างด้านความสามารถและตอบสนองความคาดหวังของบุคลากรในอุตสาหกรรมและนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลรุ่นใหม่ได้
จึงต้องสร้างบุคลากรประเภทเน็กซ์เจนเนอร์เรชัน
นอกจากการปฏิรูปทางดิจิทัลที่กล่าวข้างต้นแล้ว องค์กรจำเป็นต้องพัฒนาวิธีการทำงานใหม่ๆ ที่มุ่งส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างแผนกทั่วทั้งองค์กร พัฒนาโครงสร้างองค์กรในรูปแบบใหม่ และตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลมากขึ้น ทั้งนี้ ในการทำงานร่วมกันที่เพิ่มขึ้นและกำจัดการทำงานแบบไซโล องค์กรสามารถนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ซอฟต์แวร์ประเภท Next generation data historians ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงสมัยใหม่เข้ามาช่วยสร้างมาตรฐานของการจัดรูปแบบและการบริหารการเข้าถึงข้อมูลที่ใช้ในอุตสาหกรรมได้ทั่วทั้งองค์กร ซึ่งจะเข้ามาแทนที่การทำงานแบบไซโลโดยบุคคลหรือทีม จะช่วยประสานการทำงานร่วมกันระหว่างทีมและขจัดอุปสรรคที่ทำให้บุคคลแยกออกจากกัน องค์กรจึงควรมุ่งมั่นสร้างพนักงานไอทีอุตสาหกรรมรุ่นใหม่ขององค์กรร่วมกันเป็นทีมเดียว ไม่ใช่กลุ่มบุคคลที่แยกส่วนกัน
สถานการณ์ที่สำคัญอีกประการที่องค์กรควรตระหนักถึงคือ จำเป็นต้องรักษาวิธีการทำงานแบบไฮบริดและการทำงานจากทางไกลต่อไปในอนาคต เนื่องจากการระบาดของไวรัสโควิดครั้งใหญ่ได้กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วโลกไปสู่วิธีการทำงานจากทางไกลและในรูปแบบไฮบริด และจะเป็นในรูปแบบนี้อีกต่อไป
กระบวนการสรรหาและรักษาบุคลากรจึงควรใช้กลยุทธ์ด้านนี้ด้วยเช่นกัน องค์กรที่ไม่จัดรูปแบบการทำงานจากทางไกลจะสูญเสียพนักงานปัจจุบันและพนักงานใหม่ที่กำลังสมัครงานให้กับคู่แข่งที่มีรูปแบบการทำงานดังกล่าวอย่างแน่นอน ยิ่งไปกว่านั้น การงานจากทางไกลและแบบไฮบริดจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญของพลวัตของการปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมใหม่นี้ วิธีการทำงานจากทางไกลไม่เพียงแต่ช่วยให้ทีมทำงานในลักษณะที่กระจายตัวมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างโครงสร้างองค์กรที่คล่องตัวมากขึ้นซึ่งเหมาะสมกับการทำงานระหว่างสายงาน
ในช่วงเวลาที่ผันผวนนี้ ผู้นำในอุตสาหกรรมสามารถยืนเป็นผู้นำเทรนด์ หรือสูญเสียจุดยืนของตนเองได้ ทั้งนี้ ด้วยการสร้างบทบาทเฉพาะทางสำหรับนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลอุตสาหกรรมและวิศวกร ขจัดระบบที่ขัดขวางการทำงานร่วมกัน และพัฒนาการทำงานแบบไฮบริดและจากทางไกลให้เป็นวัฒนธรรมการทำงานในระยะยาว (รวมถึงพัฒนากลยุทธ์การสรรหาและการรักษาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ) องค์กรอุตสาหกรรมสามารถนำพาองค์กรก้าวยืนในระดับแนวหน้าได้ ด้วยการปิดช่องว่างทักษะและการปลูกฝังบุคลากรไอทีอุตสาหกรรมรุ่นเน็กซ์เจนเนอร์เรชันแห่งอนาคตให้มีประสิทธิภาพ