Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

TS Molymer กับการ Transform ธุรกิจโรงงานพลาสติกด้วย RPA สู้วิกฤตด้วยการปรับทั้งธุรกิจและกระบวนการ

ถึงแม้จะเป็นที่รู้กันดีว่าการปรับตัวของธุรกิจอย่างรวดเร็วคือสิ่งที่เกิดขึ้นกันทั่วโลก แต่ประเด็นที่น่าสนใจนั้นก็คือการที่แต่ละธุรกิจเองนั้นเลือกกลยุทธ์ในการปรับตัวด้วยวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ทั้งด้วยปัจจัยพื้นฐานทางธุรกิจที่ต่างกัน ไปจนถึงวิสัยทัศน์ที่มองต่ออนาคตนั้นก็มีหลากหลาย

ในครั้งนี้ทีมงาน TechTalkThai ได้รับเกียรติในการสัมภาษณ์พูดคุยกับคุณศุภกิตติ์ ปินะถา Factory Manager แห่ง TS Molymer ผู้นำด้านการฉีดพลาสติกของไทยที่มีลูกค้าทั่วโลก ที่มาแบ่งปันแนวคิดและประสบการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปีที่ผ่านมากับการปรับตัวครั้งใหญ่ของโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของธุรกิจ กระบวนการ และเทคโนโลยีอย่างครบถ้วน เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจไทยรายอื่นๆ ที่กำลังมองหาทิศทางปรับตัวเพื่อเอาตัวรอดและเติบโตต่อไปในอนาคต ซึ่งทางเราก็ขอนำสรุปการสนทนาครั้งนี้เอาไว้ในบทความดังนี้ครับ

TS Molymer ผู้นำด้านการฉีดพลาสติก ผลิตชิ้นส่วนคุณภาพสูงป้อนอุตสาหกรรมหลายหลายทั่วโลก

TS Molymer ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 1993 ในฐานะของโรงงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกด้วยกระบวนการการฉีดพลาสติกเป็นหลัก เพื่อผลิตชิ้นส่วนสำหรับป้อนโรงงานหรืออุตสาหกรรมอื่นไม่ว่าจะเป็นยานยนตร์, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์สำนักงาน รวมถึงยังมีกระบวนการเสริมอื่นๆ เช่น การพ่นสี, การพิมพ์, การประกอบ และอื่นๆ เพื่อให้การผลิตชิ้นส่วนเหล่านี้มีความครบวงจร

ภายใต้ธุรกิจของเครือ TS Molymer มีโรงงานด้วยกัน 5 แห่งอยู่ที่บางปู, ฉะเชิงเทรา และโฮจิมินห์ (เวียดนาม) โดยมีประเทศไทยเป็นสำนักงานใหญ่ และยังมีบริษัทอื่นในเครือเช่น Molymer Polytech ซึ่งทำ Bulk  Molding Compound Material(BMC) แบบ Thermosetting Plastic ผลิต Raw Material ให้กับลูกค้า เน้นงานที่ทนความร้อนสูง อย่างเช่นมอเตอร์ และ Intensive Mold ที่ทำแม่พิมพ์พลาสติกเป็นหลัก

Credit: TS Molymer

การดำเนินธุรกิจของ TS Molymer นั้นจะเป็นในแบบ B2B เชิงที่เป็นพันธมิตรกับลูกค้าแต่ละราย โดยลูกค้าแต่ละรายนั้นก็จะรับบทบาทในการทำ R&D ออกแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ขึ้นมา และส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญอย่าง TS Molymer ทำการผลิตด้วยเทคโนโลยี, เครื่องจักร และองค์ความรู้เฉพาะทางด้านการฉีดพลาสติก ทำให้การทำงานกับลูกค้าแต่ละรายนั้นต้องเป็นไปอย่างใกล้ชิด แทบจะเรียกได้ว่าต้องทำงานเป็นทีมเดียวกันได้เลย

ปัจจุบันธุรกิจของ TS Molymer นี้มีพนักงานรวมกันกว่า 1,400 ราย มียอดขายรวมกันหลักพันล้านบาท โดยมีเครื่องจักรมากกว่า 100 เครื่องที่สามารถรองรับกระบวนการการผลิตได้อย่างหลากหลาย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกันในแต่ละรายให้ได้อย่างครบถ้วน ด้วยการผลิตที่มีคุณภาพ

สำหรับผู้ที่สนใจติดต่อทีมงานของ TS Molymer สามารถติดต่อได้ที่โทร (662) 709-4314-6, (662) 323-0937-39, (662) 324-0193-4 หรืออีเมล์ weena@tsmolymer.co.tharai@tsmolymer.co.thk.kanokwan@tsmolymer.co.th และสามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ TS Molymer ได้ที่ http://www.tsmolymer.co.th/

COVID-19 ส่งผลกระทบ ยอดขายลด 70% ต้องปรับตัว และมองหาธุรกิจใหม่ ทั้งรับผลิตสินค้าให้กับลูกค้าเพื่อนำไปติดแบรนด์ที่มีอยู่แล้วของลูกค้า และผลิตอุปกรณ์การแพทย์เพิ่ม และเร่งลดค่าใช้จ่ายไปพร้อมกัน

คุณศุภกิตติ์ได้เล่าย้อนถึงช่วงแรกๆ ที่ COVID-19 เริ่มระบาดในไทยและทั่วโลกในปี 2020 ที่ผ่านมา ว่าในช่วง 3 เดือนแรกที่เกิดวิกฤตนั้น ยอดขายของ TS Molymer นั้นตกลงไปถึง 70% เลยทีเดียว ทำให้องค์กรต้องเร่งปรับตัวให้เดินหน้าต่อไปได้ท่ามกลางวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ที่ยังไม่มีธุรกิจใดเคยต้องเผชิญมาก่อน

Credit: TS Molymer

สิ่งแรกที่ TS Molymer ตัดสินใจทำอย่างเร่งด่วนก่อนเลยนั้นก็คือการลดต้นทุน ทั้งการใช้พนักการในการผลิตให้เหมาะสมกับงานที่มียอดการผลิตลดลง, การลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในการผลิตให้มากที่สุด ด้วยการผลิตที่มีคุณภาพมากขึ้นโดยยังคงใช้วัตถุดิบตรงตามมาตรฐานที่กำหนด, การควบคุมค่าใช้จ่ายในองค์กร และพยายามยืออายุการช้งานอุปกรณ์ให้ได้นานที่สุด

แนวทางหนึ่งที่ TS Molymer เร่งนำมาใช้งานและได้ผลดีนั้นก็คือการนำหลักการ Lean Systems มาใช้ในการผลิต โดยได้รับความร่วมมือจากลูกค้ามาทำการอบรม และปรับปรุงกระบวนการผลิต และติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเริ่มตั้งแต่ กระบวนการวางแผนการผลิต การเตรียมวัตถุดิบ การเตรียมการผลิต กระการขออนุมัติการผลิต การควบคุมการผลิต การจัดเก็บสินค้า จนถึงการส่งมอบ  เพื่อให้การผลิตทุกกระบวนการของ TS Molymer นั้นเป็นไปได้โดยมีคุณภาพสูงสุด และเกิดการสูญเสียในกระบวนการผลิตน้อยที่สุด และต้นทุนต่ำสุด

นอกจากนี้ การปรับนำแนวทาง Continuous Improvement มาใช้งานกันอย่างเข้มข้นภายในองค์กรในทุกระดับชั้น ให้ผู้บริหารระดับสูงลงมาช่วยกันตรวจสอบทุกวัน เพื่อแก้ไขปัญหาหน้างานและหาแนวทางปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในทุกส่วนอย่างละเอียด พร้อมมีการทบทวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้สามารถปรับปรุงการทำงานในส่วนต่างๆ ที่ไม่เคยคาดถึงมาก่อนได้ดี

อีกส่วนที่สำคัญนั้นก็คือการที่ TS Molymer ตัดสินใจมองหากลามธุรกิจและลูกค้ารายใหม่ๆ เพื่อผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ เพิ่มเติมให้ตอบโจทย์ต่อสถานการณ์ตลาดที่เปลี่ยนไป โดยลูกค้ากลุ่มสำคัญที่ TS Molymer ได้มาในช่วงวิกฤตนี้ก็คือ การรับจ้างผลิตและประกอบเป็น OEM เครื่อง Cutting Plotter ซึงเป็นกลุ่มลูกค้ารายใหม่และกระบวนการใหม่สำหรับ TS Molmer และการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ อย่างเช่นชิ้นส่วนสำหรับเครื่องมือแพทย์, ชิ้นส่วนสำหรับเครื่องตรวจ COVID-19 ทำให้ยังคงสามารถสร้างยอดขายได้อย่างต่อเนื่องท่ามกลางวิกฤตในครั้งนี้ที่ลูกค้าในอุตสาหกรรมอื่นๆ นั้นอาจจะมีจำนวนน้อยลง

Credit: TS Molymer

เริ่มศึกษาและทดลองใช้ RPA เพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างคนเพิ่ม ไม่ต้องปลดคนออก

เมื่อ TS Molymer มองว่าการเพิ่มประสิทธิภาพและการลดต้นทุนนั้นกลายเป็นกิจกรรมที่สำคัญอันดับต้นๆ ขององค์กร การศึกษาเพื่อมองหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะมาตอบโจทย์นี้ได้เก็เกิดขึ้นในองค์กร จนกระทั่ง TS Molymer ได้ตัดสินใจที่จะเริ่มนำ Robotic Process Automation หรือ RPA มาเริ่มใช้งาน

คุณศุภกิตติ์เล่าว่าการตัดสินใจใช้ RPA ในครั้งนี้เริ่มต้นมาจากการที่ผู้บริหารได้ลงไปจัดการปรับปรุงกระบวนการต่างๆ ภายในโรงงาน และพบว่ามีงานรูทีนด้านการจัดการเอกสารและข้อมูลนั้นมีปริมาณมากและยังคงเป็นแบบ Manual อยู่ ทำให้พนักงานจำนวนมากต้องเสียเวลาทำงานไปอย่างมหาศาลกับการจัดการเอกสารเหล่านี้ อีกทั้งการจัดการกับข้อมูลในเอกสารเหล่านี้ก็ยังมีความผิดพลาดเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ ทำให้เกิดความสูญเสียในการทำงานมาโดยตลอด

คุณศุภกิตติ์ได้ยกตัวอย่างของกระบวนการส่วนหนึ่งอย่างเช่นการรับคำสั่งการผลิตจากลูกค้าแต่ละราย ที่ลูกค้าแต่ละรายนั้นก็มีกระบวนการในการจัดการเอกสารและข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน ส่งแบบฟอร์มคำสั่งซื้อที่แตกต่างกันมาให้และมีเงื่อนไขในการทำเอกสารที่เฉพาะตัว ซึ่งตรงนี้นอกจากจะเสียเวลาในการจัดการกับเอกสารแล้ว ก็ยังมีโอกาสผิดพลาดเกิดขึ้นได้สูงจากกระบวนการการทำงานที่ซับซ้อนและแตกต่างกันไปในลูกค้าแต่ละราย

เมื่อทิศทางชัดเจนแล้ว ทาง TS Polymer ก็ได้เริ่มนำ RPA มาใช้งานกับพนักงานที่ดูแลลูกค้าแต่ละรายเพื่อช่วยจัดการกับกระบวนการเหล่านี้โดยอัตโนมัติ ซึ่งเมื่อเริ่มใช้งานจริงแล้วก็พบว่ามีผลลัพธ์ที่ดี พนักงานเริ่มได้เรียนรู้กระบวนการในการสร้าง Bot ใหม่ๆ บน RPA ว่าควรมีวิธีการคิดหรือให้ข้อมูลอย่างไรเพื่อให้ทีมพัฒนาสร้าง Bot ที่ตอบโจทย์การใช้งานมาให้ ลดขั้นตอนการทำงาน Manual ลงไปได้จริง

ในการลงทุนครั้งนี้ คุณศุภกิตติ์ได้เล่าภาพรวมว่า Bot ตัวแรกนั้นใช้เวลาเพียงแค่ 3 เดือนก็สามารถเริ่มใช้งานได้แล้ว ซึ่ง Bot ตัวนี้สามารถช่วยงานพนักงานได้มากถึง 6 คน ประหยัดเวลาการทำงานลงไปได้อย่างมหาศาล โดยคุณศุภกิตติ์ประเมินว่าด้วยการลดเวลาที่พนักงานต้องใช้ทำงานเหล่านี้ลงไปได้นี้ เพียงแค่ 2-3 เดือนการลงทุนครั้งนี้ก็สามารถคืนทุนได้แล้ว

คุณศุภกิตติ์ระบุว่าในอนาคต TS Molymer จะมีการใช้ RPA ในกระบวนการส่วนอื่นๆ เพิ่มเติมต่อยอดไปจากการรับคำสั่งซื้ออีก เช่น การนำข้อมูลสั่งผลิตไปใช้ในการวางแผนการผลิต, การใช้ Bot ในกระบวนการการจัดซื้อ, การขนส่ง และการจัดการเอกสารด้านบัญชี ซึ่งคุณศุภกิตติ์เชื่อว่าในอนาคต TS Molymer จะสามารถลดงานแบบ Manual เหล่านี้ลงไปได้กว่า 95% และทำให้พนักงานสามารถมุ่งเน้นไปที่การทำงานส่วนอื่นๆ ได้ดียิ่งขึ้น โดยไม่มีการปลดหรือลดจำนวนพนักงานแต่อย่างใด

เลือกทีม ZyGen วางระบบ RPA ด้วยประสบการณ์ของทีมงานและความสามารถในการสื่อสารเทคโนโลยีให้เข้าใจง่าย

ในโครงการวางระบบ RPA ครั้งนี้ ปัจจัยสำคัญนอกเหนือจากความตั้งใจของผู้บริหารและทีมงานแล้ว ก็คือการคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม และผู้ให้บริการที่เข้าใจในธุรกิจของ TS Molymer ซึ่งสุดท้าย TS Molymer ก็ตัดสินใจเลือกใช้โซลูชัน RPA จาก Blue Prism โดยมี ZyGen เข้ามาช่วย Consult และ Implement ระบบให้

Credit: Blue Prism

คุณศุภกิตติ์เล่าว่าในช่วงนั้น TS Molymer ได้ทำการศึกษาและคัดเลือกเทคโนโลยี RPA ที่หลากหลาย จนสุดท้ายตัดสินใจเลือกใช้ Blue Prism ด้วยความสามารถของระบบที่ครอบคลุมทั้งการทำงานได้แบบอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง และการใส่เงื่อนไขตัดสินใจต่างๆ ทางธุรกิจลงไปได้โดยตรง ทำให้สามารถสร้าง Bot ที่ตอบสนองกับลูกค้าโดยอัตโนมัติได้

ในขณะเดียวกัน ทีมงานของ ZyGen ที่นำเสนอ Blue Prism เองก็มีความเป็นมืออาชีพ ด้วยประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยี RPA ที่สูง รวมถึงสามารถอธิบายสื่อสารประเด็นทางด้านเทคนิค ข้อแนะนำ และข้อจำกัดต่างๆ ได้อย่างชัดเจนให้แก่ทีมผู้บริหารของ TS Molymer พร้อมมีการวางแผนประสานงานอบรมพัฒนาระบบอย่างครบถ้วนให้ TS Molymer เห็นภาพอย่างชัดเจน จึงตัดสินใจร่วมงานกับทีมงานของ ZyGen

ส่วนในการทำงานจริง ทีมงาน ZyGen ก็สามารถส่งมอบงานได้อย่างรวดเร็วตรงตามแผนการที่วางเอาไว้ ช่วยให้การนำ RPA มาใช้งานในธุรกิจเกิดขึ้นได้ในเวลาอันสั้น และช่วยให้เกิดการคืนทุนที่รวดเร็วยิ่งขึ้น

คุณศุภกิตติ์ได้เล่าถึงข้อดีของการลงทุนในระบบ RPA หนึ่งที่น่าสนใจว่า โซลูชันลักษณะนี้สามารถเริ่มต้นจากระบบขนาดเล็กที่มี Bot จำนวนไม่กี่ชุดก่อนได้ ทำให้ในมุมของธุรกิจนั้นไม่ต้องเริ่มต้นลงทุนก้อนใหญ่ตั้งแต่แรก และเมื่อเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนแล้วก็ค่อยลงทุนต่อไปเป็น Phase ได้ ทำให้ง่ายต่อการเริ่มต้น

อนาคตเร่งเพิ่มประสิทธิภาพ ผสานใช้ทั้งหลักการและเทคโนโลยีเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

คุณศุภกิตติ์ได้เล่าถึงแผนการในอนาคตของ TS Molymer ที่จะยังคงมุ่งเน้นเรื่องของการปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุนต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนในการปรับตัวดังนี้

  1. เตรียมศึกษาและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้งานให้มากขึ้น และนำข้อมูลทางธุรกิจมาใช้วิเคราะห์เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ได้อย่างแม่นยำควบคู่ไปกับการ Lean ระบบโดยรวม
  2. นำ Lean มาใช้งานให้มากขึ้นใน Supply Chain ให้ครบถ้วนทุกกระบวนการมากยิ่งขึ้นตั้งแต่การจัดการคลัง, การผลิต, การลดการเสียเวลา และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการทำงาน
  3. เปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์และสินค้าที่ผลิตให้ตรงตามเทรนด์ตลาดที่เปลี่ยนไปจากการมาของโรคระบาดและสภาวะโลกร้อนให้มากขึ้น
  4. สร้างความแตกต่างของธุรกิจจากคู่แข่งให้มากขึ้น โดยจะมีการนำเทคโนโลยีการผลิตรูปแบบใหม่ๆ หรือมองหาตลาดใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการผลิตหรือบริการที่มีกำไรสูงขึ้นเข้ามาหล่อเลี้ยงธุรกิจมากขึ้น
  5. มีการพัฒนา Business Plan ใหม่ๆ ร่วมกับลูกค้า มองหาตลาดใหม่ๆ สำหรับ 5-10 ปีร่วมหน้าและเติบโตร่วมกันไป

ปัจจุบันนี้ TS Molymer ก็ยังคงมีแผนการขยายโรงงานอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมรับมือกับอนาคตที่ธุรกิจต้องมีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่

แนะนำเพื่อนร่วมวงการ ต้องเร่งปรับตัว สร้างฐาน R&D เตรียมแข่งขันกับคู่แข่งระดับโลกให้ทัน

คุณศุภกิตติ์ได้ทิ้งท้ายถึงข้อคิดสำหรับเพื่อนร่วมวงการผลิตพลาสติกในไทยด้วยกัน ว่าช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงที่มีความกดดันสูง และต้องเร่งขยับตัว เพราะเดิมทีธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้เป็นธุรกิจที่มีกำไรต่ำ ดังนั้นถ้าหากยังคงใช้การผลิตแบบเดิมๆ ที่ไม่มีการปรับปรุงก็จะไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งระดับโลกที่ขยับตัวอยู่ตลอดเวลาได้

นอกจากนี้ การนำเทคโนโลยีมาใช้เสริมการผลิตก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นก้าวที่คู่แข่งจากต่างชาติให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจในไทยเองก็ต้องเร่งปรับตัวให้ทัน

ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้นี้ก็คือการทำ Digital Transformation ที่ผสานทั้งเทคโนโลยีเข้ากับกระบวนการ รวมถึงการเปิดกว้างในการทำธุรกิจในตลาดใหม่ๆ รวมถึงต้องริเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ อย่างเช่นการทำ R&D ด้วยตนเองให้มากขึ้น

ผู้บริหารระดับสูงต้องยอมเปลี่ยนวิสัยทัศน์ไปสู่โลกยุคใหม่ เพราะถ้าผู้นำยังไม่กล้าคิดตัดสินใจที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กร ก็คงยากที่จะอยู่รอดได้ และถึงแม้จะต้องมีการลงทุนบ้างในสภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้ แต่ในอนาคตการลงทุนนี้ก็จะคุ้มค่าอย่างแน่นอน” คุณศุภกิตติ์กล่าวสรุปทิ้งท้าย

สนใจโซลูชัน Blue Prism ติดต่อทีมงาน ZyGen ได้ทันที

สำหรับธุรกิจองค์กรใดที่สนใจปรับกระบวนการทำงานในองค์กรเป็นด้วยอัตโนมัติด้วยการใช้ RPA จาก Blue Prism สามารถติดต่อทีมงาน ZyGen ได้ทันทีที่

บริษัท ไซเจ็น จำกัด

65/60 อาคารชำนาญเพ็ญชาติ บิสเนส เซนเตอร์, ชั้น 6, ถนนพระราม 9, ห้วยขวาง, กทม., 10310

Website : www.zygencenter.com

Line : @zygen

Facebook : https://www.facebook.com/Zygen/

Youtube : https://www.youtube.com/user/ZyGenCenter

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

ผสาน Automation และ Intelligence เข้าไปยังความสามารถของงานด้านการผลิต โดย Infor

การนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้งานในธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และแต่ละอุตสาหกรรมก็มีความท้าทายเฉพาะตัวที่ต้องเผชิญหน้า ในอุตสาหกรรมการผลิตเองก็เช่นกันที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ความต้องการของลูกค้า Supply Chain และอื่นๆ 

Cisco ปิดดีลเข้าซื้อ Splunk มูลค่า 1 ล้านล้านบาท

หลังจากผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มข้นจนได้รับอนุมัติเรียบร้อย ล่าสุดทาง Cisco ได้ประกาศถึงความสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการของ Splunk ที่มูลค่า 28,000 ล้านเหรียญหรือราวๆ 1 ล้านล้านบาทอย่างเป็นทางการแล้ว