Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

[Guest Post] In Case of Emergency, Press Nutanix Xi Frame 5 ขั้นตอนง่ายกับการ “work from everywhere” ในทุกสถานการณ์

เราอาศัยอยู่ในโลกของธุรกิจที่ไม่หยุดนิ่ง และเราก็อาศัยอยู่ในโลกที่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน และเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดไม่ว่าจะเป็น การเมือง, ภัยธรรมชาติ, การระบาดของโรคติดต่อ และเมื่อเหตุการณ์ใดๆเกิดขึ้นก็จะส่งผลกระทบทั้งกับชีวิตส่วนตัว และการทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งประเทศไทยเคยได้ผ่านช่วงเวลาต่างๆเช่นการชุมนุม หรือเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อหลายปีก่อน ซีึ่งส่งผลกระทบกับบางองค์กร และในขณะนี้เราได้เผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ซึ่งสร้างผลกระทบรุนแรง และเป็นวงกว้างกับผู้คน รวมถึงองค์กรมากมายไม่เลือกว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้พนักงานไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ที่ออฟฟิศได้

องค์กรหลายๆแห่งจำเป็นที่จะต้องหันกลับมาพิจารณาเรื่องของ End-user computing เพื่อรับมือกับสถานะการณ์เหล่านี้กันอย่างจริงจังก่อนที่พนักงานของตนเองจะไม่สามารถปฏิบัติงานได้ การมองหาโซลูชั่นที่เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับพนักงานในการปฏิบัติงาน และเข้าระบบสารสนเทศในทุกสถานะการณ์เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และ Desktop-as-a-Service (DaaS) เป็นหนึ่งในโซลูชั่นทางเลือกต้นๆสำหรับพนักงานเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำงานจากที่ใดก็ได้ “work from everywhere” ด้วยการเข้าถึงแอพพลิเคชั่น และข้อมูลขององค์กรที่ปลอดภัย, ไม่ต้องลงทุนครั้งละมากๆ และไม่ยุ่งยากซับซ้อนเหมือนโซลูชั่น Virtual Desktop แบบดั่งเดิม

Nutanix Xi Frame เป็นผู้นำโซลูชั่น Desktop-as-a-Service ที่องค์กรสามารถนำมาใช้ในสถานะการณ์ฉุกเฉินที่กล่าวมา เพื่อให้พนักงานปฏิบัติงานได้จากทุกที่ บนอุปกรณ์ใดๆที่มี Web Browser ก็เพียงพอแล้ว

First : ทำไมต้องเป็น DaaS, ทำไมต้องเป็น Frame?

Nutanix Xi Frame เป็นโซลูชั่น Desktop-as-a-Service (DaaS) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเดสก์ท๊อป หรือแอพพลิเคชั่นได้จากทุกที่ และทุกอุปกรณ์ โดย Frame จะส่งผ่าน Virtual App หรือ Virtual Desktop ให้กับผู้ใช้จากผู้ให้บริการ Cloud เช่น AWS, Azure, Google Cloud หรือองค์กรสามารถติดตั้ง Frame บน Nutanix AHV ได้เช่นกัน และก่อนที่จะพูดถึงขั้นตอนง่ายๆของการเซ็ตอัพ และคอนฟิก Frame นั้น มาดูกันว่าทำไมการนำ DaaS โดยเฉพาะ Frame มาใช้สำหรับองค์กรจึงเหมาะสมกับแนวคิดของการ Work from Home

1. ความง่าย : ทีม IT ไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้, ติดตั้ง และดูแลระบบ VDI ที่ยุ่งยากแบบดั่งเดิม เพราะ Frame เป็นบริการของแพลตฟอร์ม VDI ที่พร้อมใช้ของ Nutanix ที่สามารถเข้าใช้ได้อย่างรวดเร็ว ในช่วงสถานะการณ์เร่งด่วนองค์กร และทีม IT มีเวลาจำกัดที่จะต้องมานั่งจัดซื้อ, ติดตั้ง, ดูแล และสอนการใช้งานกับพนักงานของตนเอง

2. ที่ไหนก็ได้ : ผู้ใช้ Frame ไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟท์แวร์ หรือ Agent ใดๆบนอุปกรณ์ของตัวเอง Frame ต้องการเพียงแค่ Web Browser ที่รองรับ HTML5 เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งาน Windows Application และ แอพพลิเคชั่นที่มีความต้องการด้านการประมวลผลกราฟฟิก รวมถึง Clien-Server Application ใดๆได้อย่างง่ายดาย

3. ยืดหยุ่น และควบคุมต้นทุนได้ดีกว่า : ในสภาวะการณ์ที่ความต้องการใช้ VDI ไม่แน่นอน อาจปรับขึ้นลงตามช่วงเวลา การลงทุนติดตั้ง และค่าใช้จ่ายไลเซนส์ของ VDI แบบเดิมล่วงหน้าจะเป็นภาระ และมีค่าใช้จ่ายที่สูง อีกทั้งเมื่อผ่านพ้นวิกฤตแล้วองค์กรอาจไม่มีความจำเป็นต้องใช้อีกต่อไปทำให้การลงทุน VDI รูปแบบเดิมไม่สามารถตอบโจทย์ และอาจได้รับการปฏิเสธจากผู้บริหารเนื่องด้วยเม็ดเงินที่ใช้อาจสูงเกินความจำเป็น Frame DaaS ทำให้องค์กรเร่ิมใช้ VDI กับพนักงานจำนวนน้อยๆได้โดยไม่ต้องลงทุนติดตั้ง Infrastructure หรือซื้อซอฟท์แวร์ VDI มาไว้ล่วงหน้า องค์กรสามารถจ่ายเงินเป็นรายเดือนได้ สามารถปรับจำนวน VDI เพิ่มขึ้น หรือลดลงได้รวดเร็ว

4. ปลอดภัย : ผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดการเข้าถึงFrameของพนักงาน หรือผู้ใช้ในรูปแบบ Role-Based Access แยกระบบการจัดเก็บข้อมูล สามารถทำงานร่วมกับ Multi-Factor Authentication ได้ และที่สำคัญด้วย Frame ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง VPN Client Software บนอุปกรณ์ใดๆ ทำให้ Frame เป็น DaaS ที่ทำให้ผู้ใช้มีความคล่องตัว และปลอดภัย

5 ขั้นตอนง่ายๆ กับการนำ Frame มาใช้งาน

ประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้เป็นเรื่องสำคัญสำหรับ VDI และ Frame ที่อนุญาติให้ผู้ใช้เข้าถึงแอพพลิเคชั่น และเดส์กท๊อปของตนเองผ่าน Web Browser ก็เป็นเรื่องง่ายๆที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของผู้ใช้ออกไปนัก องค์กรสามารถซื้อ Frame ผ่านตัวแทนจำหน่ายของ Nutanix ซึ่งสามารถเริ่มต้นจากจำนวนผู้ใช้น้อยๆ และการจ่ายทั้งที่เป็นแบบรายเดือน หรือรายปีตามความเหมาะสม โดยสามารถเลือกรูปแบบการใช้งานได้ทั้งแบบ Named User หรือ Concurrent User และหลังจากได้สิทธิการใช้มาแล้ว เพียงแค่ Login เข้า my.nutanix.com และเลือกไปที่ Frame และทำตามขั้นตอนง่ายๆ 5 ขั้นตอนนี้

1. เลือก Infrastructure ที่ต้องการ (ใช้เวลาประมาณ 20 นาที)

การใช้งาน Frame เพื่อสร้าง Virtual Application หรือ Desktop ให้กับผู้ใช้จะเริ่มจากการเลือก Cloud Infrastructure ให้กับผู้ใช้ องค์กรสามารถใช้ Account Cloud ที่ตนเองมีอยู่ไม่ว่าจะเป็น AWS, Azure หรือ Google Cloud หรือจะเป็น Private Cloud ที่ทำงานบน Nutanix AHV ตามความเหมาะสมของลักษณะการใช้งานของผู้ใช้

นอกจากนั้นองค์กรที่ยังไม่มี Cloud Infrastructure ของ AWS, Azure หรือ Google Cloud สามารถที่จะทำการซื้อจากทาง Nutanix Frame ได้โดยตรงเช่นเดียวกัน ซึ่งจะเป็นการจ่ายเงินผ่านทางช่องทางเดียวเบ็ดเสร็จทั้ง Cloud Infrastructure และFrame Subscription

โดย Frame จะทำการเชื่อมต่อกับ Cloud Infrastructure ที่เลือกให้อัตโนมัติโดยไม่ต้องเสียเวลาเซ็ตอัพเอง และเมื่อเชื่อมต่อเสร็จแล้วก็จะสามารถสร้าง Frame User Account ขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว

2. เลือก และเชื่อมต่อกับระบบยืนยันตัวตน (Indentity System) (ใช้เวลาประมาณ 10 นาที)

ในขั้นตอนต่อไปเป็นการกำหนดว่าผู้ใช้คนใดสามารถเข้าใช้งาน Virtual Desktop หรือ Virtual Application ผ่านทาง Frame ได้บ้างด้วยการเซ็ตอัพ Indetity ซึ่ง Frame Identity Management Gateway สามารถผสานเข้ากับ Identity Provider ต่างๆเช่น Google IdP ร่วมถึง SAML2-Based Provider เช่น Azure Active Directory, Okta, Ping และ Auth0 เป็นต้น สามารถกำหนดบทบาทของผู้ใช้ และผู้ดูแลระบบ Frame ให้เหมาะสมได้ และแน่นอนว่า ผู้ใช้ Frame สามารถเชื่อมโยงกับ Classic Active Directory ได้เช่นกัน

3. ติดตั้ง, คอนฟิก และอัพเดทแอพลิเคชั่นขึ้นบน Frame (เวลาที่ใช้ขึ้นอยู่กับจำนวนแอพพลิเคชั่น)

ในขั้นตอนนี้จะเป็นการติดตั้ง และคอนฟิกแอพพลเคชั่นเพื่อให้พนักงานเข้าใช้งานผ่าน Web Browser ของตนเอง ซึ่งอาจจะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ไปจนถึงหลักชั่วโมงขึ้นอยู่กับจำนวนแอพพลิเคชั่นขององค์กรนั้นๆ นอกจากนั้นผู้ดูแลระบบสามารถ Import แอพพลิเคชั่นของตนเองจาก Windows OS image ที่มีอยู่ได้เช่นกัน

ในขณะที่ติดตั้งแอพพลิเคชั่น Frame Guest Agent จะตรวจสอบแอพพลิเคชั่นที่ติดตั้งเสร็จสมบูรณ์ และทำการนำแอพพลิเคชั่นนั้นเข้าสู่ Sandbox ของ Frame ให้แบบอัตโนมัติ

4. เชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บข้อมูล (ใช้เวลาประมาณ 5 นาที)

ผู้ใช้สามารถ Upload หรือ Download File จากเครื่องของตนเองเข้าสู่ Virtual Desktop หรือ Virtual App ได้ นอกจากนั้น Frame ยังสามารถเชื่อมต่อกับ Cloud Storage Providerชั้นนำอย่างเช่น Microsoft OneDrive, GDrive, Box หรือ Dropbox ได้

ผู้ใช้สามารถเข้าถึง Network ขององค์กรในการใช้ Files Servers, Nutanix Files หรือ Distributed File Service เช่น Azure Files ในการเข้าถึง และจัดเก็บข้อมูล

ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องมีการเชื่อมต่อเพื่อใช้งาน Back-End Services เช่น File Servers, Print Servers, Web Server, Database หรือ Classic Active Directory ผู้ดูแลระบบสามารถเชื่อมต่อ Frame กับโซลูชั่น Network เช่น VPN Gateway, Direct Connect/E
press Route หรือ VNET/VPC ได้ นอกจากนั้นยังมี Option Frame Utility Servers เพื่อเชื่อมต่อกับ Back-End Services โดยการบริหารจัดการ Utility Servers จะทำผ่านหน้าจอของ Frame Admin

5. สร้าง Launchpads, กำหนดนโยบาย และจำนวน Virtual Machine (ใช้เวลาประมาณ 10-20 นาที)

เมื่อติดตั้งแอพพลิเคชั่นต่างๆเรียบร้อยแล้ว เราสามารถสร้าง Launchpads ซึ่งเป็น web interface สำหรับผู้ใช้ในการเข้าถึง และเรียกใช้ Application และ Desktop ของตนเอง ผู้ใช้สามารถ Login ผ่านทาง Web Browser ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์พิเศษ, ไม่ต้องลง Agent หรือ Plugin ใดๆในการเข้าถึง Virtual App และ Desktop บน Frame

ผู้ดูแลระบบสามารถสร้าง Launchpads ที่หลากหลายให้กับผู้ใช้ ตามแต่ Usecases ที่เหมาะสม และผู้ใช้สามารถเข้าถึง และเรียกใช้ Launchpads ที่เหมาะสมกับสถานะการณ์ และงานที่ต้องทำในเวลานั้นๆได้อย่างรวดเร็ว

ผู้ที่สนใจโซลูชันของ Nutanix สามารถติดต่อทีมงาน Nutanix ประจำประเทศไทยได้ที่อีเมล์ thailand@nutanix.com หรือ LINE @nutanixthailand หรือกรอกแบบฟอร์มพร้อมระบุรายละเอียดที่ https://forms.gle/wm8Ve5XmBTy8zFN46 ได้ทันที

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เอชพี เปิดตัวพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ AI PCs [PR]

เอชพี เปิดตัวพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ AI PCs ขับเคลื่อน ด้วยขุมพลัง AI ยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน การสร้างสรรค์ และประสบการณ์ของผู้ใช้ในสภาพแวดล้อม การทำงานแบบไฮบริด

Microsoft ยกเลิกการใช้ 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว

Microsoft ประกาศยกเลิกการใช้กุญแจเข้ารหัส 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว เปลี่ยนไปใช้กุญแจเข้ารหัสความยาว 2048-bit เป็นอย่างน้อย