Black Hat Asia 2023

[Guest Post] ฮิตาชิ เอเชีย จับมือ เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย เป็นพันธมิตรเพื่อผลักดัน อุตสาหกรรมการผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก้าวไปสู่ยุคดิจิทัล

ฮิตาชิ เอเชีย จับมือ เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย เป็นพันธมิตรเพื่อผลักดัน อุตสาหกรรมการผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก้าวไปสู่ยุคดิจิทัล พร้อมสนับสนุนประเทศไทย 4.0 ผ่านแพลตฟอร์มลูมาด้า (Lumada) และระบบการผลิตแบบลีนออโตเมชัน (Lean Automation) 

 

บริษัท ฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด  (“ฮิตาชิ”) ประกาศจุดเริ่มต้นในความร่วมมือกับบริษัท เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย จำกัด (“เด็นโซ่”) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เป็นระบบดิจิทัลมากขึ้น ผ่านแพลตฟอร์มลูมาด้า (Lumada)[1] ของฮิตาชิ และระบบการผลิตแบบลีนออโตเมชัน (Lean Automation)[2] ของเด็นโซ่ ซึ่งจะจัดแสดงที่บูธของฮิตาชิ ในงาน Metalex 2020[3] วันที่ 18 – 21 พฤศจิกายน 2563 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บูธหมายเลข AC27

ในความร่วมมือครั้งนี้ ทั้งสองบริษัทจะนำเสนอวิธีการรูปแบบใหม่ที่ผสานประสิทธิภาพของแพลตฟอร์มลูมาด้าจากฮิตาชิ เข้ากับเทคโนโลยีการรวบรวมข้อมูล (ORiN Technology)[4] ของเด็นโซ่ เพื่อนำไปปรับปรุงประสิทธิภาพทั้งการผลิตทั่วไปและการผลิตแบบลีนออโตเมชั่น โดยแพลตฟอร์มลูมาด้าของฮิตาชิจะนำเสนอโซลูชันดิจิทัลสำหรับการจัดการโรงงาน ในขณะที่โซลูชันการรวบรวมข้อมูลของเด็นโซ่ผ่านเทคโนโลยี ORiN มีหน้าที่เก็บข้อมูลจากอุปกรณ์อัตโนมัติต่างๆ ในโรงงานได้อย่างสะดวกและง่ายดาย ความร่วมมือในครั้งนี้ ฮิตาชิและเด็นโซ่ มีเป้าหมายเดียวกันที่จะเสริมกำลังให้กับภาคการผลิต ซึ่งวิธีการรูปแบบใหม่นี้สามารถนำไปใช้กับธุรกิจต่างๆ ตั้งแต่องค์กรขนาดย่อมและขนาดกลาง ไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ทั้งนี้ ฮิตาชิได้เปิดศูนย์ลูมาด้าประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[5] เมื่อ พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา เพื่อนำเสนอนวัตกรรมดิจิทัลต่างๆ เช่น โซลูชันไอโอที (IoT) ที่สามารถใช้ออกแบบและปรับเปลี่ยนโซลูชันให้เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจที่มีความหลากหลาย และในปีเดียวกันนั้น บริษัท เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย ได้เปิดตัวโครงการ ลีนออโตเมชัน ซิสเต็ม อินทิเกรเตอร์ (Lean Automation System Integrators: LASI)[6] เพื่อให้การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติแก่บริษัทในประเทศไทยที่ได้ทำการติดตั้งและใช้งานระบบดังกล่าว โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น

ทั้งสองบริษัทมีเป้าหมายที่จะมีส่วนร่วมและเป็นแรงผลักดันนโยบายประเทศไทย 4.0 ผ่านโครงการริเริ่มดังกล่าว และความร่วมมือครั้งใหม่นี้จะมุ่งเป้าไปที่การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การเก็บรวบรวมข้อมูลของเด็นโซ่และโซลูชันสำหรับระบบลีนออโตเมชันอย่างเทคโนโลยี KAIZEN[7] จะเข้ามาช่วยเสริมรากฐานอันแข็งแกร่งของฮิตาชิในด้านโซลูชันดิจิทัล นอกจากนี้ ความเชี่ยวชาญจากทั้งของสองบริษัทยังช่วยสร้างโอกาสในการพัฒนาโซลูชันที่ดีขึ้นเพื่อส่งเสริมภาคการผลิตให้ก้าวหน้าสู่ระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

การผนึกกำลังระหว่างโซลูชัน Lumada Manufacturing Insights ของฮิตาชิ และ IoT Data Server ของเด็นโซ่[8] จะช่วยสร้างสรรค์โซลูชันรูปแบบใหม่ๆ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลให้แก่โรงงานต่างๆ นำไปสู่การจัดเก็บ วิเคราะห์ และแสดงภาพแบบดิจิทัลของข้อมูล 4M ในกระบวนการผลิตได้แก่ มนุษย์ (huMan) เครื่องจักร (Machine) วัสดุ (Material) และวิธีการ (Method) อนึ่ง ในอุตสาหกรรมภาคธุรกิจสามารถใช้การวิเคราะห์ดังกล่าวเพื่อรวบรวมชุดข้อมูลแบบบูรณาการจากแหล่งต่างๆ ที่พร้อมใช้งานอย่างสะดวกรวดเร็ว รวมไปถึงอุตสาหกรรมโรงงานต่างๆ ยังสามารถนำแนวคิด Digital Kaizen ไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่องได้อีกด้วย

นายอากิฮิโระ โอฮาชิ กรรมการบริหาร บริษัท ฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “พวกเรารู้สึกตื่นเต้นและมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับเด็นโซ่ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลให้กับอุตสาหกรรมการผลิต โดยเป้าหมายของเราคือการได้ร่วมสนับสนุนนโยบายประเทศไทย 4.0 และความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยสร้างโอกาสอีกมากมาย ด้วยเทคโนโลยีและความสามารถของทั้งสองบริษัท”

ฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) จะขยายความร่วมมือกับเด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลในภาคการผลิต

 

เกี่ยวกับ บริษัท ฮิตาชิ เอเซีย (ประเทศไทย) จำกัด 

บริษัท ฮิตาชิ เอเซีย (ประเทศไทย) จำกัด (HAS-TH) ก่อตั้งขึ้นในปี 2535 และมีความเชี่ยวชาญในการให้บริการด้านโซลูชันเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในประเทศไทย ลาว และกัมพูชา HAS-TH ดูแลด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับภาคอุตสาหกรรมที่หลากหลาย นับตั้งแต่ระบบพลังงานสาธารณูปโภค เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไปจนถึงบริการจัดหาสินค้าและบริการระหว่างประเทศ บริษัทได้ให้บริการสนับสนุนแก่พนักงานมากกว่า 13,000 คน ในบริษัทเครือข่าย 37 แห่งในประเทศไทย และมุ่งมั่นที่จะทำประโยชน์ให้แก่ชุมชนและรับผิดชอบต่อสังคม

 

เกี่ยวกับ บริษัท ฮิตาชิ เอเซีย จำกัด

บริษัท ฮิตาชิ เอเซีย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ บริษัท ฮิตาชิ จำกัด มีสำนักงานใหญ่อยู่ในสิงคโปร์ บริษัทมีสำนักงานกระจายอยู่ในประเทศกลุ่มอาเซียน 7 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม และดำเนินกลุ่มธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ช่วยตอบโจทย์ความท้าทายด้านสังคมต่างๆ  ฮิตาชิ เอเชีย และบริษัทในเครือนำเสนอระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พลังงาน โครงสร้างพื้นฐานทางสังคมและอุตสาหกรรม ระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ เครื่องจักรในการก่อสร้าง รวมทั้งอุปกรณ์และชิ้นส่วนสมรรถนะสูง ระบบยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและอื่นๆ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฮิตาชิ เอเชีย สามารถเข้าชมได้ที่เว็บไซต์ https://www.hitachi.com.sg

 

[1] สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับลูมาด้า โปรดดูที่เว็บไซต์ https://www.hitachi.co.th/about/hitachi/lumadacenter/index.html

[2] สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับลีนออโตเมชัน โปรดดูที่เว็บไซต์ https://www.denso-wave.com/en/robot/solution/lasi/

[3] โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Metalex 2020 https://www.metalex.co.th/

[4] สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ORiN Technology โปรดดูที่เว็บไซต์ https://www.orin.jp/en/

[5] โปรดดูข่าวประชาสัมพันธ์วันที่ 17 กันยายน 2561 เรื่อง ฮิตาชิเปิดตัวศูนย์ลูมาด้าประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ https://www.hitachi.com.sg/press/press_2018/20180917.html

[6] โปรดดูข่าวประชาสัมพันธ์วันที่ 11 พฤษภาคม 2561 เรื่อง เด็นโซ่และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเปิดการจัดแสดง ITC และ LASI https://www.denso.com/th/en/news/newsroom/2018/20180511-01/

[7] สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูเว็บไซต์ของเด็นโซ่ https://www.denso.com/global/en/business/products-and-services/other-industries/industry/

[8] สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูเว็บไซต์ของเด็นโซ่ https://www.denso-wave.com/en/system/iot/product/server.html


About Maylada

Check Also

พลิกมุมคิดการจัดการคลาวด์ไอทีอย่างสมาร์ตฉบับวีเอ็มแวร์ [Guest Post]

แม้คลาวด์จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการพาองค์กรก้าวข้ามวิกฤตไปสู่การสร้างสรรค์โมเดลธุรกิจหรือกลยุทธ์การแข่งขันใหม่ ด้วยคุณลักษณะที่คล่องตัว (Agility) ในการปรับความต้องการใช้งานโดยอัตโนมัติ (Auto-Scaling) ได้ด้วยตัวเอง (Self-Services) ทว่าหลายองค์กรซึ่งเลือกปฏิวัติระบบธุรกิจขึ้นสู่คลาวด์กลับประสบปัญหาการจัดการทรัพยากรที่ยิบย่อยบนคลาวด์ไม่ไหว แถมหัวจะปวดกับภัยคุกคามที่ยุ่งยากในการป้องกัน ด้วยเหตุนี้ ความคาดหวังต่อไอทีคลาวด์ยุคถัดไป คือ การปรับแต่งแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มคลาวด์ไอทีให้ทันสมัยตรงต่อความต้องการทางธุรกิจ ภายใต้ระบบการรักษาความปลอดภัยแบบองค์รวมที่แข็งแกร่ง ทั่วถึง และเป็นอัตโนมัติกว่าเดิม

เสริมแกร่งความมั่นคงปลอดภัยในที่ทำงานด้วยบริการไอทีฉลาดล้ำกว่าเคย

บทความโดย คุณธเนศ อังคศิริสรรพ ผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคอินโดจีน เลอโนโว ด้วยรูปแบบการทำงานแบบไฮบริดและยืดหยุ่นในองค์กรหลายแห่ง บริษัทหลายแห่งต่างกำลังพยายามตอบสนองต่อความคาดหวังและลำดับความสำคัญของพนักงาน ฝั่งทีมไอทีเองก็ต้องรักษามาตรฐานการให้บริการจากทางไกลในระดับสูงเพื่อสนับสนุนให้พนักงานยังคงสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง การทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น บริษัทจะต้องสร้างระบบไอทีที่แข็งแกร่งทนทานยิ่งขึ้นพร้อมกับคงไว้ซึ่งแนวทางใหม่ในการทำงาน  อย่างไรก็ตาม ความท้าทายคือ สภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริดในทุกวันนี้ทำให้การจัดการจากระยะไกลนั้นซับซ้อนยุ่งยาก ระบบการจัดการทรัพยากรรุ่นเก่ายิ่งทำให้ผู้ดูแลระบบไอทีจัดการงานและภัยคุกคามเชิงรุกได้ยากกว่าเดิม …