CDIC 2023

นิสิตจุฬาฯ ปี 1 คว้าอันดับ 4 ของภูมิภาคและอันดับ 12 ของโลกจากการแข่ง IEEEXtreme 10.0

ทีม CUdebuggers จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เข้าร่วมแข่งขัน IEEEXtreme 10.0 งานแข่งเขียนโปรแกรมระดับโลก และคว้าอันดับที่ 4 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และอันดับ 12 ของโลกกลับไทยมาได้ โดยสมาชิกในทีม CUdebuggers ประกอบไปด้วยนิสิต 3 คน ได้แก่

ieeextreme_10_0_banner

  1. พีรสิชฌ์ เจริญจิตเสรีวงศ์ Phirasit Chareonchitseriwong
  2. เมธัส เกียรติชียวัฒน์ Methus Kiatchaiwat
  3. นายอริญชย์ ตรงสันติพงศ์ ArinTrongsantipong

ในการแข่งขันครั้งนี้มีทีมนิสิตนักศึกษาชาวไทยเข้าร่วมด้วยกันทั้งสิ้นถึง 16 ทีม ดังนี้

  • อันดับ 12 ของโลก: CUdebuggers จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อันดับ 25 ของโลก: TeamEZAC จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อันดับ 36 ของโลก: EZIEEE754 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อันดับ 83 ของโลก: FootLongHamChees จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อันดับ 114 ของโลก: CUcpPOKpok จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อันดับ 117 ของโลก: MightyTiti จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อันดับ 170 ของโลก: CUCPFreePizza จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อันดับ 199 ของโลก: MUICTdotArtemis จากมหาวิทยาลัยมหิดล
  • อันดับ 324 ของโลก: MUICTdotApollo จากมหาวิทยาลัยมหิดล
  • อันดับ 405 ของโลก: CMUJubuJubu จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อันดับ 431 ของโลก: Malose จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อันดับ 595 ของโลก: TeamCUARD จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อันดับ 837 ของโลก: CMUCOEiCHI จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อันดับ 947 ของโลก: CMUZzz จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อันดับ 961 ของโลก: MUICTdotViewFind จากมหาวิทยาลัยมหิดล
  • อันดับ 1236 ของโลก: TeamCSBUU จากมหาวิทยาลัยบูรพา

สำหรับผลการแข่งขันฉบับเต็มสามารถตรวจสอบได้ที่ http://sites.ieee.org/xtreme/files/2016/11/overall.pdf

สุดท้ายนี้ทางทีมงาน TechTalkThai ก็ขอแสดงความยินดีกับทุกทีมที่ได้เข้าร่วมงานแข่ง IEEEXtreme 10.0 ในครั้งนี้ และขอเป็นกำลังใจให้ฝึกฝนและพัฒนาฝีมือกันต่อไปนะครับ ส่วนปีหน้านั้นทางทีมงาน TechTalkThai เองก็หวังว่าจะได้เห็นนิสิตและนักศึกษาจากมหหาวิทยาลัยต่างๆ เข้าร่วมแข่งขันกันมากยิ่งขึ้น และหากองค์กรไหนสนใจร่วมผลักดันให้เกิดการแข่งขัน IEEEXtreme กันให้มากขึ้นเพื่อพัฒนาวงการ Developer ในไทย ก็ลองอ่านรายละเอียดที่ https://www.techtalkthai.com/ieee-thailand-calls-for-it-businesses-in-thailand-to-endorse-it-student-in-joining-programming-competition/ ได้เลยนะครับ

ทีมา: https://www.facebook.com/IEEETHAILAND/photos/a.203107866374161.53149.116106518407630/1337983269553276/?type=3&theater


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

ยกระดับบริการขององค์กรอย่างมั่นใจด้วย HPE Aruba Networking SASE โดย ยิบอินซอย

HPE Aruba Networking นำเสนอ Unified SASE ที่รวมเอาความสามารถของเทคโนโลยี SD-WAN และ SSE เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อความง่ายดายในการบริหารจัดการ SD-WAN, Routing, WAN Optimization ตลอดจนการบังคับใช้นโยบายความปลอดภัยได้แบบ end-to-end เพื่อให้การทำงานของแอปพลิเคชันมีประสิทธิภาพสูงขึ้น มั่นคงปลอดภัย ลดต้นทุน และพร้อมให้บริการเสมอ

ตอบโจทย์ “การควบคุมการเข้ารหัส” จากประกาศของ ก.ล.ต. ด้วยโซลูชันจาก Thales

เมื่อไม่นานมานี้ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออกประกาศเกี่ยวกับ “แนวปฏิบัติในการจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ” ซึ่งพูดถึงแนวทางของธุรกิจภายใต้การดูแลของ ก.ล.ต. ว่าต้องมีวิธีการกำกับดูแลระบบไอทีและจัดหาการรักษาความมั่นคงปลอดภัย พร้อมกันนี้ยังต้องตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ แต่ที่น่าสนใจคือหมวดหนึ่งภายใต้ประกาศคือหัวข้อ “การควบคุมการเข้ารหัส” มาถึงตรงนี้คำถามสำคัญคือ แล้วธุรกิจใดที่ถูกควบคุมภายใต้ประกาศของกลต. และท่านจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรต่อไป โดยเฉพาะการควบคุมการเข้ารหัส ต้องมีอุปกรณ์หรือโซลูชันใดที่ถูกนำเข้ามา …