Black Hat Asia 2023

บิทคับ อะคาเดมี ร่วมกับ ศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [Guest Post]

เปิดหลักสูตร NFT – A New Approach to Marketing Strategy ต่อยอดองค์ความรู้พัฒนาศักยภาพนักศึกษาและบุคลทั่วไปที่สนใจให้มีความพร้อมเข้าสู่โลกดิจิทัลดิสรัปชั่นอย่างแท้จริง

วันที่ 10 มกราคม 2566 บริษัท บิทคับ แล็บส์ จำกัด หรือที่รู้จักกันในนาม บิทคับ อะคาเดมี ร่วมกับ ศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดหลักสูตร NFT – A New Approach to Marketing Strategy ต่อยอดองค์ความรู้ พัฒนาศักยภาพ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่สนใจ ให้มีความพร้อมเข้าสู่โลกดิจิทัลดิสรัปชั่นอย่างแท้จริง ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ CU Neuron สำหรับนิสิต บุคลากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและบุคคลทั่วไปที่สนใจ จำนวน 5,000 คน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สามารถลงทะเบียนตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 31 พฤษภาคม  2566

หลักสูตร NFT – A New Approach to Marketing Strategy เป็นหลักสูตรระยะสั้น ระยะเวลาเรียนประมาณ 1.30 ชั่วโมง ประกอบไปด้วย 5 บทเรียนสำคัญ ได้แก่ What is NFT?, NFT Universe you should know, Basic NFT Marketing, How NFT can value up branding และ NFT real use cases for branding and marketing ดำเนินการสอนโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจาก บิทคับ อะคาเดมี อาทิ นายปิติภูมิ  รักษ์ชูชี หัวหน้างานพัฒนาธุรกิจ บริษัท บิทคับ แล็บส์ จำกัด และ ดร.ชูศิลป์  เมธีไชยพงศ์ ผู้อํานวยการตลาด บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด และ ผู้อํานวยการบิทคับ อะคาเดมี บริษัท บิทคับ แล็บส์ จำกัด หากเรียนจบหลักสูตรและมีคะแนนการทดสอบหลังเรียน 80% ขึ้นไป ผู้เรียนจะได้รับใบ Certificate ที่ออกโดย Bitkub Academy และ CU Neuron เพื่อนำไปประกอบแฟ้มสะสมผลงานของผู้เรียนต่อไป

นอกเหนือจากการได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์ นิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ลงทะเบียนในหลักสูตรดังกล่าวจะได้รับ Micro-credit เพิ่มเติมอีกด้วย เนื่องจากคอร์สนี้เป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม CUVIP หรือ กิจกรรมเสริมหลักสูตรการศึกษาทั่วไประยะสั้น โดยมีเงื่อนไข คือ ผู้เรียนต้องลงทะเบียนเรียนในรายวิชาศึกษาทั่วไป หมวดสหศาสตร์ 0295103 LRNG LIFE การเรียนรู้เพื่อชีวิต (Learning for Life) เรียนคอร์ส Online ผ่าน CU Neuron ภายใต้หลักสูตร CUVIP 7 คอร์ส และ คอร์ส On-site หรือ Online ผ่านกิจกรรม CUVIP 7 คอร์ส หากทำตามเงื่อนไขที่กำหนดทั้งหมด นิสิตจะได้รับหน่วยกิตจำนวน 3 หน่วยกิต สำหรับรายวิชานี้ นับว่าเป็นการเรียนที่น่าสนใจและผู้เรียนยังได้วางแผนการเรียนตามความสนใจของตนเองอีกด้วย

โดยในวันที่ 10-11 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา บิทคับ อะคาเดมี ได้รับเชิญจาก รองศาสตราจารย์ ดร. สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อไปจัดบูธประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับองค์กรและคอร์ส NFT – A New Approach to Marketing Strategy ที่เปิดตัวภายในงาน GenEd Fair 2023 “Designing Your (University) Life Towards Sustainable Lifelong learning with GenEd” ณ ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับกระแสตอบรับจากนิสิตนักศึกษาที่มาเข้าร่วมงานและบุคลากรภายในอย่างล้นหลาม

นายสุกฤษฏิ์  พุทธวิริยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แล็บส์ จำกัด กล่าวว่า

“ขอขอบคุณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและบุคลทั่วไปในเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ บิทคับ อะคาเดมี เข้าไปจัดกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากคณะอาจารย์และน้อง ๆ นิสิตนักศึกษา พร้อมกันนี้ขอขอบคุณ CU Neuron และ CUVIP ที่ได้เข้ามาร่วมจัดหลักสูตรกับบิทคับ อะคาเดมี เพื่อสรรสร้างคอร์สที่เป็นประโยชน์กับทุกคน

ทั้งนี้ บิทคับ อะคาเดมี มีวิสัยทัศน์และจุดมุ่งหมาย คือ เป็นศูนย์การเรียนรู้สินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชนที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้ามาเรียนรู้ ร่วมสร้างคอมมูนิตี้ และสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน บิทคับ อะคาเดมีและบริษัทในเครือจะเดินหน้าจัดกิจกรรมดี ๆ แบบนี้ต่อไปเพื่อเสริมสร้างอนาคตของคนในประเทศให้แข็งแรง ยั่งยืน และก้าวตามทันยุคเทคโนโลยีดิสรัปชัน”

ผู้ที่สนใจลงทะเบียนเรียนสามารถลงทะเบียนเรียนได้ที่ : https://cuneuron.chula.ac.th/course-detail/160

ติดตามข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์และคอร์สเรียนเพิ่มเติมผ่านทาง : https://bitkubacademy.com/th และ https://www.facebook.com/Bitkubacademy/


About Pawarit Sornin

- จบการศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต - เคยทำงานด้าน Business Development / Project Manager / Product Sales ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Wireless Networking และ Mobility Enterprise ในประเทศ - ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

พลิกมุมคิดการจัดการคลาวด์ไอทีอย่างสมาร์ตฉบับวีเอ็มแวร์ [Guest Post]

แม้คลาวด์จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการพาองค์กรก้าวข้ามวิกฤตไปสู่การสร้างสรรค์โมเดลธุรกิจหรือกลยุทธ์การแข่งขันใหม่ ด้วยคุณลักษณะที่คล่องตัว (Agility) ในการปรับความต้องการใช้งานโดยอัตโนมัติ (Auto-Scaling) ได้ด้วยตัวเอง (Self-Services) ทว่าหลายองค์กรซึ่งเลือกปฏิวัติระบบธุรกิจขึ้นสู่คลาวด์กลับประสบปัญหาการจัดการทรัพยากรที่ยิบย่อยบนคลาวด์ไม่ไหว แถมหัวจะปวดกับภัยคุกคามที่ยุ่งยากในการป้องกัน ด้วยเหตุนี้ ความคาดหวังต่อไอทีคลาวด์ยุคถัดไป คือ การปรับแต่งแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มคลาวด์ไอทีให้ทันสมัยตรงต่อความต้องการทางธุรกิจ ภายใต้ระบบการรักษาความปลอดภัยแบบองค์รวมที่แข็งแกร่ง ทั่วถึง และเป็นอัตโนมัติกว่าเดิม

เสริมแกร่งความมั่นคงปลอดภัยในที่ทำงานด้วยบริการไอทีฉลาดล้ำกว่าเคย

บทความโดย คุณธเนศ อังคศิริสรรพ ผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคอินโดจีน เลอโนโว ด้วยรูปแบบการทำงานแบบไฮบริดและยืดหยุ่นในองค์กรหลายแห่ง บริษัทหลายแห่งต่างกำลังพยายามตอบสนองต่อความคาดหวังและลำดับความสำคัญของพนักงาน ฝั่งทีมไอทีเองก็ต้องรักษามาตรฐานการให้บริการจากทางไกลในระดับสูงเพื่อสนับสนุนให้พนักงานยังคงสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง การทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น บริษัทจะต้องสร้างระบบไอทีที่แข็งแกร่งทนทานยิ่งขึ้นพร้อมกับคงไว้ซึ่งแนวทางใหม่ในการทำงาน  อย่างไรก็ตาม ความท้าทายคือ สภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริดในทุกวันนี้ทำให้การจัดการจากระยะไกลนั้นซับซ้อนยุ่งยาก ระบบการจัดการทรัพยากรรุ่นเก่ายิ่งทำให้ผู้ดูแลระบบไอทีจัดการงานและภัยคุกคามเชิงรุกได้ยากกว่าเดิม …