สรุปงานสัมมนา The Upside of of Multi-cloud : Building the Future of IT Enterprise

นโยบาย Cloud-first ของหลายองค์กรยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง อย่างไรก็ดีในเวลาหลายปีที่ผ่านมา ความต้องการนั้นได้ตกตะกอนกลายเป็น Multi-Cloud มากขึ้น ด้วยเหตุผลทางด้านความยืนหยุ่น ค่าใช้จ่าย สเถียรภาพในการให้บริการ ด้วยเหตุนี้เอง VMware จึงได้จัดงานสัมมนาออนไลน์ขึ้นในหัวข้อ “The Upside of Multi-cloud: Building the Future of IT Enterprise” เพื่อให้ความรู้ว่าโซลูชันของ VMware จะสามารถช่วยให้องค์กรก้าวข้ามความท้าทายที่จะเกิดขึ้น และตอบโจทย์ขององค์กรได้อย่างไร

ความท้าทายของการขึ้นคลาวด์

1.) Skill – แต่ละผู้ให้บริการคลาวด์มีเครื่องมือในการบริหารจัดการของตัวเอง ด้วยเหตุนี้ยิ่งองค์กรใช้ผู้ให้บริการรายต่างมาก ทีมงานก็ยิ่งต้องศึกษาเครื่องมือมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งสิ่งที่ตามมาก็คือโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดจากการขาดทักษะ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการให้บริการทางธุรกิจ

2.) Security – นอกจากเครื่องมือจะแตกต่างกันแล้ว ระดับของความสามารถทาง Security ยังไม่เท่าเทียมกัน ในแต่ละผู้ให้บริการย่อมมีจุดแข็งแตกต่างกัน ดังนั้นความท้าทายคือจะสร้าง Security Baseline ระหว่างความแตกต่างของแพลตฟอร์มได้อย่างไร

3.) SLA – อีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงก็คือข้อตกลงในการให้บริการ ซึ่งในแต่ละผู้ให้บริการนำเสนอตัวเลขเหล่านี้ได้ต่างกัน ซึ่งผู้ใช้งานไม่สามารถกำหนดเองได้อีกด้วย ดังนั้นภาระอีกข้อคือองค์กรต้องพิจารณาความเสี่ยงของแต่ละบริการที่ขึ้นไปใช้งานอย่างจริงจัง

4.) Format – ปัญหาในเชิงเทคนิคก็คือรูปแบบของ Workload นั้นแตกต่างกัน จากที่อยู่บน On-premise เป็น Format หนึ่ง แต่พอขึ้นคลาวด์แล้วต้องแปลงเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ทำให้การบริหารจัดการมีความซับซ้อน

อย่างไรก็ดีหลายองค์กรที่คาดหวังว่าเมื่อขึ้นคลาวด์ไปได้แล้ว จะสร้างความรวดเร็วให้แก่องค์กร แต่จากรายงานพบว่าเวลาที่ใช้ย้ายแอปพลิเคชันขึ้นคลาวด์จริงๆ นั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด อาจใช้เวลานานนับหลายปีกว่าที่จะย้ายแอปทั้งองค์กรขึ้นคลาวด์ไปได้ทั้งหมด หรืออาจต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นที่ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน

กลยุทธ์ในการย้ายแอปพลิเคชันขึ้นคลาวด์

  • Maintain – หากพิจารณาแล้วว่าไม่แอปนั้นไม่มีความจำเป็นต้องขึ้นคลาวด์ ก็เพียงคงสภาพเดิมเอาไว้
  • Replatform –  ย้ายแพลตฟอร์มเพื่อให้สอดคล้องกับการขึ้นคลาวด์
  • Hybrid – ทำให้แอปพลิเคชันสามารถรันได้บนทั้งคลาวด์และ On-premise เช่น Kubernetes เป็นต้น
  • Refactor – เปลี่ยนโครงสร้างการทำงานให้เป็น Modern Application ก่อนค่อยขึ้นคลาวด์
  • Dev on Cloud – ย้ายไปสร้างแอปพลิเคชันบนคลาวด์
  • Replace – ย้ายไปใช้งาน SaaS เช่น อีเมลบน Gmail หรือ Office365 เป็นต้น

จบปัญหาด้วย VMware Cloud on ‘Any Cloud’

ที่ผ่านมา VMware ทราบดีถึงปัญหาความยุ่งยากที่เกิดขึ้นเหล่านี้ของลูกค้า และมีความกระตือรือล้นเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ทุกองค์กรสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดนี้ไปได้ ด้วยเหตุนี้เองจึงเกิดเป็นโซลูชัน VMware Cloud Foundation (VCF) ที่นำไปวางอยู่บนผู้ให้บริการเจ้าต่างๆ อาทิเช่น VMware Cloud on AWS และ Azure หรือ Google Cloud

ข้อดีประการแรกก็คือโซลูชันจาก VMware ได้ช่วยทลายทุกข้อจำกัดทางความหลายหลายไม่ว่าจะเป็น Security, SLA และ Skill ซึ่งองค์กรยังสามารถใช้เครื่องมือที่คุ้นเคยอย่าง vCenter ในการบริหารจัดการ Workload ข้ามระหว่างคลาวด์เจ้าต่างๆและ On-premise แบบเดิมได้ ประการที่สองจะทำให้นโยบายขึ้นคลาวด์นั้นเกิดขึ้นได้ทันทีเพราะเป็นสิ่งที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว และประการสุดท้ายยังสามารถลดค่าใช้จ่ายแฝงของการเคลื่อนย้ายข้อมูลได้อีกด้วย ซึ่งจะอธิบายเพิ่มเติมในหัวข้อถัดไป

จาก On-premise สู่ VMware Cloud on Any Cloud

มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะเกิดคำถามแล้วว่าจะเชื่อมต่อโครงสร้างจาก On-premise กับ VMware Cloud ได้อย่างไร ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วเป็นไปได้ 2 วิธีคือ

1.) Site to Site VPN – เป็นท่ามาตรฐานที่รองรับได้กับทุกผู้ให้บริการ รองรับทั้ง Route-based และ Policy-based ในฝั่งของภาครับทราฟฟิคจะเข้าไปที่ Virtual Router ที่จะถูกแบ่งออกเป็นส่วนของ Management Gateway (ส่วนควบคุมของ vCenter และ NSX) และ Customer gateway (Computer หรือ Resource ของลูกค้า)

2.) ลิงก์ความเร็วสูง – ในแต่ละผู้ให้บริการคลาวด์มักจะนำเสนอโซลูชันลิงก์พิเศษ ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเพราะเป็นท่อตรงสู่คลาวด์เช่น Direct Connect (AWS) หรือ Express Route (Azure) ในท่านี้ทาง VMware ก็รองรับการเชื่อมต่อเช่นกัน จากภาพประกอบจะเห็นได้ว่า องค์ประกอบภายในยังคงเหมือนเดิมคือสิ้นสุดที่ Virtual Router อย่างไรก็ดีในรูปแบบของ AWS ยังมีการเชื่อมต่อพิเศษอย่าง VMware Transit Connect ที่เหมาะกับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีหลาย SDDC เพราะมี Virtual Gateway เป็นท่อตรงระหว่างกันใน AWS

กรณีศึกษา : ค่าใช้จ่ายแฝงบน AWS

อันที่จริงแล้วเบื้องลึกของแต่ละผู้ให้บริการอาจจะมีค่าใช้จ่ายแฝงที่หลายองค์กรคาดไม่ถึง เช่นเดียวกันในกรณีของ AWS ผู้ใช้บริการจะถูกคิด Data Transfer ค่าออก หมายถึงถ้ามีการนำข้อมูลออกเป็นปริมาณมากค่าใช้จ่ายตรงนนี้อาจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ดีสิทธิพิเศษของ VMware Cloud on AWS นั่นก็คือจะลดค่าใช้จ่ายลงในกรณีของ การเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตค่า Data Transfer ขาออกจะอยู่ที่ 0.05 เหรียญต่อ GB และ Direct Connect จะอยู่ที่ 0.02 เหรียญต่อ GB เท่านั้น

อย่างที่กล่าวไปแล้วเรื่อง Data Transfer ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่หลายองค์กรอาจติดกับได้ง่าย กรณีที่ไม่ทราบมาก่อนแต่แรก และหลวมตัวย้าย Workload ขนาดใหญ่ขึ้นไปโดยมิได้ตระหนักนั่นเอง ดังนั้นค่าใช้จ่ายแฝงก็คือสิ่งที่ต้องศึกษากันอย่างรอบด้าน

สรุป

โดยสรุปแล้วสิ่งที่ VMware ทำก็คือการนำโซลูชันของตนเอง ไปวางไว้บน Infrastructure ของผู้ให้บริการเจ้าต่างๆ ที่มีความร่วมมือระหว่างกันไม่ว่าจะเป็น Azure, AWS, Oracle, Google Cloud และอื่นๆ ซึ่งลูกค้าของ VMware ยังได้สิทธิพิเศษเรื่องการเชื่อมต่อมากกว่าปกติ ในการเข้าถึงบริการของผู้ให้บริการคลาวด์ นอกจากนี้ยังสามารถตอบโจทย์ขององค์กรเรื่อง Hybrid, Multi-cloud ได้ โดยใช้เครื่องมือที่คุ้นมือกันดีอยู่แล้ว

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Synology เผย 4 โซลูชัน สำหรับองค์กรในงาน Synology Solution Day 2024

ในงาน Synology Solution Day 2024 ได้มีการประกาศอัปเดตความสามารถใหม่หลายรายการ โดยเนื้อหาแบ่งออกเป็นหัวข้อหลัก 4 เรื่องคือ NAS Storage, Security, Collaboration & Performance …

Broadcom เปิดตัว VMware Cloud Foundation 9 ที่งาน VMware Explore 2024 [PR]

Broadcom เปิดตัว VMware Cloud Foundation 9 (VCF 9) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคตของ VMware Cloud Foundation ที่จะเร่งการเปลี่ยนผ่านจากสถาปัตยกรรมไอทีแบบ Silo ไปสู่แพลตฟอร์ม …