ปกติแล้วทาง Nutanix จะมีการจัดงานประจำปีภายใต้ชื่องาน .Next โดยสำหรับในปี 2019 นี้ได้มีการประกาศฟีเจอร์ ความร่วมมือ และบริการใหม่หลายรายการ ซึ่งทางทีมงาน TechTalkThai ได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังอัปเดตจากทาง Nutanix ประเทศไทยเมื่อสัปดาห์ก่อนจึงขออนุญาตสรุปและนำเสนอให้ผู้สนใจได้อ่านกันครับ

1.Nutanix Mine
สำหรับส่วนนี้มี 2 ประเด็นคือ
- Secondary Storage appliance – Mine ก็คือ Box สำหรับสำรองข้อมูลจาก Nutanix เองที่ออกมาเพื่องาน Backup โดยเฉพาะ
- Software Manager via Prism – ในส่วนซอฟต์แวร์ Backup ผู้ใช้งานยังคงต้องใช้ซอฟต์แวร์ Backup จาก Third-party เช่นเคยเพียงแต่ Nutanix ได้จับมือกับ Vendor อย่าง Veritas, Commvault, HYCU, Unitrends และ Veeam ให้สามารถบริหารจัดการได้ภายใต้ Prism นั่นเอง

2.Nutanix Xi Frame และ Xi Beam
สำหรับใครที่ไม่คุ้นเคยกับ Nutanix Xi (ออกเสียว่า ‘ซายน์’) นั้นหมายถึงบริการ Cloud Services ของ Nutanix เองซึ่งมีทั้งส่วน Datacenter ของตัวเองและส่วนที่เป็นพันธมิตรอยู่บน Public Cloud เช่น GCP, Azure และ AWS เป็นต้น อย่างไรก็ตาม Nutanix ไม่ได้ตั้งตัวเองเป็นคู่แข่งในด้าน IaaS โดยเฉพาะแต่จะให้บริการเป็น PaaS หรือ SaaS แทน เช่น Xi IoT หรือ Xi Epoch เป็นต้น (อ่านข่าวเก่าจาก TechTalkThai) นอกจากนี้ Experience การใช้งานของ Xi และ Prism นั้นมีความคล้ายคลึงกันมากซึ่งผู้ใช้ไม่ต้องปรับตัวมากเลย โดยบริการใหม่บน Xi ในงานมีดังนี้
- Xi Frame – เป็น Cloud VDI แต่การใช้งานนั้นสามารถทำได้จาก Web UI นั่นหมายความถึงความเร็วและง่ายต่อการใช้งานไม่ต้องติดตั้ง Agent เพิ่มเติมให้ยุ่งยาก
- Xi BEAM – เป็นบริการ Multi-cloud Management กับ Azure, GCP และ AWS ได้เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถวางแผนค่าใช้จ่าย รวมถึงทำรายงานค่าใช้จ่ายและประเมินความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งานตาม Compliance (ลักษณะคือผู้ให้บริการ Cloud มี API ให้อยู่แล้ว ดังนั้น Beam จะไปใช้ API เช่น เรียกดูว่าถ้าต้องการใช้ Virtual Machine จากค่ายต่างๆ มีราคาเท่าไหร่ พร้อมทั้งทำรายงานเปรียบเทียบกันทั้ง 3 ค่ายหรือหากใช้ Nutanix จะคุ้มกว่าหรือไม่ผ่านหน้าจอ Beam เพียงตัวเดียว)
นอกจากนี้การเป็น Cloud หมายความว่าผู้ใช้งานอาจจะไม่ได้ซื้อ Appliance ของ Nutanix ก็สามารถใช้บริการ Xi อย่างเดียวได้
3.Nutanix Cluster on AWS
Nutanix ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ AWS ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้ EC2 Bare Metal Instance (HW เปล่าแต่ไม่ต้องดูแลเอง) จาก AWS และลง Acropolis OS กับ AHV ตอบโจทย์การใช้งาน Hybrid ได้อย่างแท้จริงที่สามารถบริหารจัดการผ่าน Prism (ภาพประกอบด้านล่าง)

4.Nutanix Cloud Native
Nutanix ยังมีการรองรับกับสภาพแวดล้อมแบบ Cloud native application ด้วยการอำนวยให้สามารถติดตั้งโซลูชันที่จำเป็นสำหรับ DevOps ได้ง่ายขึ้นด้วย PaaS และ IaaS ดังนี้
- Nutanix Karbon – เป็นโมดูลของ Kubernetes ที่มีให้อยู่แล้วเพราะการติดตั้งเองนั้นทำได้ยากหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือมีองค์ประกอบที่จำเป็นในการติดตั้ง Kubernetes ช่วยลดเวลาและลดงานได้อย่างมาก
- Nutanix Bucket (IaaS) – รองรับการใช้งาน Object Storage เช่น ติดต่อกับ S3 ของ AWS ได้ หรือทำ Object Storage ไว้ใช้งานเองภายในองค์กรโดยไม่ต้องซื้อ Storage แยกมาทำ เป็นต้น
- Nutanix ERA – ช่วยทำ Provision และ Deploy Database ได้หลายตัว เช่น Oracle, PostgreSQL, SQL Server และ MySQL เป็นต้น
นอกจาก PaaS และ IaaS แล้ว Nutanix ยังมี SaaS ที่ชื่อ Xi Epoch ที่ช่วยเรื่อง Visibility ในการใช้งานว่าแอปพลิเคชันต่างๆ เชื่อมต่อกันอย่างไรทั้งจาก On-premise และ Cloud ยกตัวอย่างสถานการณ์ เช่น Database อยู่ On-premise, UI อยู่บน GCP และมีการ Analytics จาก Azure จะแสดงภาพกราฟฟิคให้เห็น Flow การทำงานได้ เป็นต้น
5.ความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์
- Nutanix ไม่ได้ผลิตฮาร์ดแวร์เองซึ่งตอนนี้ได้ประกาศให้ HPE มาร่วมผลิตฮาร์ดแวร์ให้ด้วย
- Fujisu Server Primergy ทำการ OEM Nutanix เตรียมจำหน่ายปลายปีนี้
- Nutanix และ Huawei ได้ทำการ Certified ให้ลง Acropolis OS/AHV บนฮาร์ดแวร์ในรุ่นที่ได้รับการรับรองซึ่งจากเดิมมี Lenovo, DellEMC, Cisco และ IBM (เซิร์ฟเวอร์ทั่วไปไม่ใช่ HCI ของเจ้าเหล่านั้น)
สรุป

จะเห็นได้ว่าตอนนี้ Nutanix ไม่ใช่แค่ Vendor HCI เจ้าตลาดอย่างเดียวแล้วนะครับ แต่ยังขยายตลาดครอบคลุมไปในส่วนของ PaaS และ SaaS เพื่อรองรับกับทุกการใช้งานตั้งแต่ Private Cloud, Multi-cloud และ Hybrid-cloud ทั้งนี้ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงประสบการณ์การใช้งานเพราะยังมีพระเอกคนเดิมคือ One OS (AOS) และ One Click (Prism) ตามคอนเซปต์ Nutanix Enterprise Cloud Platform ครับ (Marketing Concept Term)
สำหรับผู้สนใจ Xi Frame, Beam และ Leap สามารถเข้าไปทดลองใช้งานได้ที่ https://www.nutanix.com/nextoffers ครับ