หลังจากที่ก่อนหน้านี้ทีมงาน TechTalkThai ได้เคยมาเขียนสรุปแนะนำบริการ Microsoft Azure Stack Cloud ของ Atcetera ไปแล้ว ทางทีมงาน Atcetera ก็ได้ส่ง Account สำหรับทดสอบใช้งานมาให้ได้ทดลองกัน ซึ่งผลการทดลองใช้งานก็ถือว่าน่าประทับใจทีเดียวครับ เหมือนยก Microsoft Azure ฉบับย่อมมาให้เราได้เล่นกัน แต่ Compute และ Storage ทั้งหมดอยู่ที่เมืองไทยจึงทำให้การตอบสนองนั้นรวดเร็วทันใจดีทีเดียว ดังนั้นในบทความนี้เราจึงขอนำเสนอผลสรุปของการทดสอบใช้งานบริการนี้มาให้ทุกท่านได้อ่านเพื่อพิจารณากันนะครับ
สำหรับบทความก่อนที่เป็นการแนะนำบริการ Microsoft Azure Stack โดย Atcetera สามารถอ่านได้ที่ https://www.techtalkthai.com/microsoft-azure-stack-cloud-service-by-atcetera/
เริ่ม Login ครั้งแรก
หลังจากที่ได้รับ URL ของหน้า Portal และ Username/Password จากทีมงาน Atcetera เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถคลิกตามลิงค์และกรอกข้อมูลลงไปเพื่อเริ่มต้นใช้งานได้ทันที

จากนั้นเราจะพบกับหน้า Dashboard ของ Microsoft Azure Stack ที่ถือว่าสวยและเรียบง่าย โดยในแรกเริ่มอาจจะดูสับสนเล็กน้อยเพราะมีเมนูต่างๆ ไม่น้อยทีเดียว แต่พอไล่สายตาไปซักพักก็จะเริ่มชิน และยังมีลิงค์ไปยัง Tutorial เบื้องต้นให้ทำการคลิกเข้าไปศึกษากันได้ โดยใครที่สนใจเข้าไปลองอ่านดูเล่นๆ ก่อนก็ลองอ่านได้ที่ https://docs.microsoft.com/en-us/azure-stack/user/azure-stack-considerations?view=azs-1910 ครับ

หน้า Dashboard นี้สามารถปรับแต่งให้แสดงผลได้ตามต้องการ ดังนั้นในอนาคตเมื่อมีการสร้าง Service หรือการ Monitor ใดๆ ขึ้นมาใช้งาน ก็สามารถนำลิงค์ที่เกี่ยวข้องหรือผลการทำงานต่างๆ มาแสดงบนหน้า Dashboard ให้เหมาะกับความต้องการของเราเองได้ทันที

จากนั้นหากลองคลิกที่ All Services เพื่อดูว่าบน Microsoft Azure Stack ของ Atcetera นี้จะมีบริการอะไรให้ใช้บ้าง ก็ต้องตกใจครับ เพราะว่า Service ที่มีให้พร้อมใช้นั้นมีเยอะมาก ลองสังเกตดูด้านขวาจะเห็นว่ายัง Scroll Down ต่อไปได้อีก คือเรียกว่ามีครบจริงๆ ทั้ง Compute, Storage, Network, Monitoring แถมยังมีส่วนของ App, Container, Function ให้ใช้อีกด้วย พูดง่ายๆ คือความสามารถหลักๆ ของ Azure นั้นมาครบหมด ที่ยังไม่เห็นบนนี้ก็จะมีส่วนของ AI, Machine Learning และ Data Analytics ครับ

สร้าง VM แรกกันก่อน ตั้ง Web Server ได้เสร็จในเวลา 10 นาที
ยอมรับว่าตอนแรกไม่แน่ใจว่าควรจะเริ่มต้นสร้าง VM อย่างไรเพราะไม่มั่นใจว่าต้องไปสร้าง Service หรือจอง Resource อะไรขึ้นมาก่อนหรือเปล่า แต่ด้วยสไตล์ของ TechTalkThai ที่ไม่อยากอ่านคู่มือก่อนลองเพราะจะได้รู้ว่าหากเจอปัญหาด้วยตัวเองแล้วจะแก้ไขได้ยากง่ายเพียงใด เราก็มาลองสร้าง VM กันดูเลยครับ

พอคลิกเข้าไปเพื่อจะสร้าง VM ก็พบว่าจะต้องเลือกกันก่อนว่าจะใช้ระบบปฏิบัติการอะไร



พอเลือกเสร็จ ก็จะเป็นการใส่รายละเอียดของ VM นั้นๆ ครับ โดยจะแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนหลักๆ ได้แก่การกำหนดค่าพื้นฐาน, การกำหนดขนาดของ Resource ที่จะใช้, การตั้งค่าเสริม และสรุปสุดท้ายก่อนจะสร้างเครื่องขึ้นมา โดยถึงแม้ว่าจะมีสิ่งที่ยังไม่เคยสร้างขึ้นมาก่อนอย่าง Resource Group, Availability Set, Virtual Network หรืออื่นๆ แต่สุดท้ายระบบก็จะสร้างให้เราโดยอัตโนมัติถ้าเรายังไม่เคยสร้างมาก่อน ทำให้การทดลองใช้งานครั้งแรกนั้นเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากกว่าที่คิด สมกับการที่ระบบ Cloud ต้องมีการทำ Automation ให้ดีครับ

สำหรับขนาดของเครื่องนั้น เราสามารถเลือกได้ตาม Package ที่ Atcetera สร้างขึ้นมาให้ ซึ่งก็มีให้เลือกใช้ได้หลากหลายมากครับ

ในระหว่างสร้างมีอีกส่วนที่น่าสนใจก็คือ Extension ที่เป็นส่วนเสริมซึ่งเราเลือกติดตั้งลงไปบน VM ที่สร้างขึ้นมาได้ ซึ่งก็มีทั้งเรื่องของการ Monitor, การอัปเดต Patch, ระบบจัดการ Security, ตัวช่วยทางด้าน Linux ไปจนถึง Docker ครับ

พอตั้งค่าทุกอย่างเสร็จ ระบบก็จะสรุปคำสั่งการสร้างของเรา พร้อมแล้วก็กดสร้างกันได้เลยครับ

พอกดสร้างเสร็จแล้ว Notification ก็จะแจ้งว่ามีการสร้าง VM อยู่ ส่วนใน Log ก็จะมีกิจกรรมต่างๆ เริ่มแสดงผลขึ้นมาครับว่าระบบมีการจัดเตรียม Resource ต่างๆ เพื่อสร้าง VM แล้ว


พอสร้าง VM เสร็จ เราก็จะเห็นว่ามี Resource ต่างๆ ถูกสร้างขึ้นมาให้ในระบบโดยอัตโนมัติมากมาย และ VM ก็พร้อมให้ใช้งานได้แล้วครับ


คราวนี้เพื่อทดสอบว่า VM จะใช้งานได้จริง ก็ต้อง SSH เข้าไปลองใช้งานกันดูหน่อย แต่เนื่องจากว่าตอนแรกที่สร้างขึ้นมานั้นยังไม่แน่ใจว่าจะเข้าไปจัดการเครื่องได้อย่างไรบ้างก็เลยไม่ได้เปิด Firewall Rule ให้พอร์ต 22 เอาไว้ ก็เข้าไปแก้ค่าชั่วคราวเพื่อให้ SSH เข้าไปได้กันแบบง่ายๆ ได้เองเลยครับ จากนั้นก็ SSH เข้าไปได้สำเร็จด้วยดี และติดตั้ง nginx จนใช้งานออกพอร์ต 80 ได้


ทั้งหมดนี้เหมือนจะยืดยาว แต่จริงๆ ใช้เวลารวมกันไม่ถึง 10 นาที โดยเป็นการรอ VM สร้างเสร็จไปราวๆ 7 นาที ซึ่งพอเข้าไปดูใน Log ก็เข้าใจได้ว่าต้องมีการทำ Automation และเตรียมทรัพยากรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้มากแค่ไหน แถมยังต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการอีก ส่วนขั้นตอนที่เหลือเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและราบรื่นมากครับ ประทับใจดีทีเดียว
มาลองเล่นอย่างอื่นกันบ้าง
เนื่องจากใน Microsoft Azure Stack ของ Atcetera นี้มีบริการข้างในเยอะมาก คงเอามารีวิวให้ดูได้ไม่หมด แต่ก็จะขอหยิบยกส่วนที่น่าสนใจและได้ทดลองใช้ได้สำเร็จขึ้นมาเล่าสู่กันฟังดังนี้ครับ
ความสามารถแรกที่อยากจะพูดถึงเลยก็คือ Availability Sets ที่แนวคิดคล้ายๆ กับ Availability Zone บน Microsoft Azure แต่มีสโคปที่เล็กกว่า คือการกำหนดให้ VM หรือ App ของเราทำงานอยู่บน Physical Server คนละเครื่องกัน ลดโอกาสที่ระบบใน Cluster ของ App นั้นๆ จะล่มไปพร้อมๆ กันจาก Single Point of Failure ที่มีร่วมกัน โดยเราสามารถกำหนดรายละเอียดด้านความทนทานที่ต้องการได้เองด้วยครับ

ถัดมาก็คือ Function App ที่เป็นบริการ Serverless ที่มีให้ใช้ได้บน Azure Stack ซึ่งการสร้างก็ง่ายๆ เช่นกัน ส่วนการ Deploy ต้องอ้างอิงวิธีการจาก https://docs.microsoft.com/en-us/azure/azure-functions/functions-create-first-function-vs-code?pivots=programming-language-javascript ซึ่งก็ต้องโหลดเครื่องมือที่จำเป็นมาให้ Compatible กับ Azure Stack ที่เราใช้งานด้วยครับ

ส่วนการสร้าง Load Balancer เองก็ไม่ยาก กดคลิกๆ ไม่กี่ครั้งก็พร้อมใช้งาน เข้าไปตั้งค่า Policy การ Load Balance และ Resource เบื้องหลังได้เลยครับ

ส่วน Database ก็มีให้เลือกใช้ได้หลากหลายครับ ทั้ง MySQL, Microsoft SQL Server, PostgreSQL, Storage Account ประเภทต่างๆ


นอกนั้นก็มี Service อื่นๆ ที่น่าสนใจดังนี้ครับ



โดยรวมแล้วถือว่าใช้งานได้ค่อนข้างสนุกดีทีเดียวครับ เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องใส่ค่า Parameter ในการสร้างที่ซับซ้อนมาก ถ้าเป็นสิ่งที่ต้องสร้าง Resource ใหม่ก็สามารถกดสร้างขึ้นมาได้เลยทำให้สามารถลองผิดลองถูกกันได้ง่าย แต่สำหรับบาง Service ที่ซับซ้อนหน่อยอย่างเช่น Kubernetes ก็อาจต้องใส่ค่าจาก Azure AD หรือ ADFS เข้ามาด้วย ดังนั้นก็ต้องมีพื้นฐานเรื่องพวกนี้มาบ้างเหมือนกันครับ
อีกจุดที่น่าสนใจคือด้วยการที่ Azure Stack นี้ถูกออกแบบมาให้มีความสามารถที่เทียบเคียงได้กับ Microsoft Azure โดยตรง ดังนั้นในกระบวนการการพัฒนา Software หรือการทำ DevOps นั้น ก็สามารถใช้ทั้ง Microsoft Azure และ Microsoft Azure Stack ร่วมกันได้ โดยนอกจากจะใช้เครื่องมือในการทำงานที่คล้ายๆ กันแล้ว ก็ยังสามารถ Deploy ระบบไปยังทั้งสองที่ได้ง่ายด้วยครับ
สรุปข้อดีข้อเสีย
ข้อดี
- ความสามารถให้เลือกใช้งานเยอะ ฟังก์ชันพื้นฐานของ Azure มีให้พร้อมใช้ได้ครบ สามารถนำส่วนต่างๆ มาผสมกันให้เหมาะกับงานได้
- ตอนแรกรู้สึกว่าเหมือนจะซับซ้อน แต่จริงๆ พอลองกดใช้งานไปเรื่อยๆ ก็พบว่าแทบทุกอย่างระบบสามารถสร้างให้ได้อัตโนมัติหมด ทำให้เริ่มต้นได้ง่าย
- ตั้งค่าต่างๆ ได้ง่าย เริ่มลองใช้อะไรใหม่ๆ ได้เร็ว ใช้งานสนุกดี
- คู่มือดี ละเอียด มีสอนให้ลองทำตามได้ง่าย บางคู่มือก็อ้างอิงหน้าเดียวกับ Microsoft Azure เลย
- ปรับแต่งหน้าจอ Dashboard และตำแหน่งของเมนูหรือปุ่มต่างๆ เองได้อิสระ ปรับให้เหมาะกับงานของแต่ละคนได้ดี
ข้อเสีย
- ถ้าหากไม่คุ้นเคยกับ Azure มาก่อนเชื่อว่า Learning Curve จะเยอะหน่อย เพราะด้วยความที่องค์ประกอบมีเยอะจึงอาจทำให้สับสนได้ แต่ถ้ากล้าลองกดๆ ไปซักสองสามครั้งก็จะเริ่มชินมากขึ้น
- ต้องเข้าใจแนวคิด Resource และ Group ให้ดี จะได้วางแผนให้เหมาะต่อการจัดการระบบให้เป็นระเบียบได้ในระยะยาว
- ไม่มีข้อมูลระบุว่า Physical Resource ที่ถูกจองไว้ให้ใช้ได้มีเท่าไหร่ ทำให้ประเมินยากว่าตอนนี้ใช้ทรัพยากรไปจนใกล้จะหมดหรือยัง
- สร้างหรือลบ VM รอนานนิดหน่อย แต่การสร้างอย่างอื่นเร็วมาก ซึ่งจริงๆ ถ้าคิดว่า VM สร้างช้าหน่อยแต่แลกกับการที่เราไม่ต้องลงไปติดตั้งหรือกำหนดค่าอะไรบน OS เองเลย ก็ถือว่าไม่มีปัญหา
- เวลามีอะไร Fail บางกรณีแก้เองไม่ได้ แต่ประเด็นนี้ก็เป็นปกติของการใช้ Cloud อยู่แล้ว
ทดลองใช้งาน Microsoft Azure Stack ฟรีกับ Atcetera
สำหรับผู้ที่อยากทดลองใช้งาน Microsoft Azure Stack สามารถทำการทดลองใช้งานได้ฟรีๆ ด้วยการกรอกแบบฟอร์มที่ https://www.atcetera.co.th/azure-stack/ จากนั้นทีมงาน Atcetera จะทำการติดต่อกลับไปเพื่อสอบถามข้อมูลสำหรับเตรียมระบบทดสอบให้
สนใจ Microsoft Azure Stack และโซลูชันอื่นของ Microsoft ติดต่อ Atcetera ได้ทันที

ผู้ที่สนใจโซลูชัน Microsoft Azure Stack หรือโซลูชันอื่น ๆ จาก Microsoft ที่ต้องการความช่วยเหลือเชิงเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญ สามารถติดต่อทีมงาน Atcetera ได้ทันทีที่ โทร 093-124-1305 หรืออีเมล์ info@atcetera.co.th หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ Atcetera ได้ที่ https://www.atcetera.co.th/