NTT Communications สู่การเป็นผู้ให้บริการ Cloud ของไทยในฐานะ VMware Cloud Provider Partner ด้วยบริการที่แตกต่างพร้อมตอบโจทย์ความต้องการขององค์กร

เราได้มีโอกาสได้พูดคุยกับผู้บริหารระดับสูงจาก NTT Communications ถึงบริการ Cloud บน Data Center ในประเทศไทยในฐานะของ VMware Cloud Provider Partner ซึ่งเป็น Partner ผู้ให้บริการ Cloud ด้วยเทคโนโลยีของ VMware อย่างเป็นทางการ พร้อมแผนการนำเสนอบริการ Cloud ใหม่ๆ อย่าง AI, Container, IoT และ SD-WAN ในอนาคต เพื่อช่วยเหลือให้องค์กรก้าวสู่การทำ Digital Transformation ได้อย่างเต็มตัว เราจึงขอนำสาระสำคัญในการพูดคุยมาสรุปให้ทุกท่านได้อ่านกันดังนี้

 

 

จุดเริ่มต้นของความร่วมมือระหว่าง NTT Communications และ VMware

คุณมาซาโตชิ ซึโบอิ Vice President/COO ฝ่าย Sales Consulting, Product & Service และ Data Center ของ NTT Communications (Thailand) Co.,  Ltd. ได้เริ่มต้นการสัมภาษณ์ด้วยภาพรวมและทิศทางของบริษัทให้เราได้เข้าใจบริบทและที่มาที่ไปของการตัดสินใจเปิดบริการ Cloud ในไทยในครั้งนี้กันก่อน โดยมีคุณมงคลศักดิ์ ธรรมวิมุตติ ผู้อำนวยการ ฝ่าย Sales Consulting ของ NTT Communications (Thailand) Co., Ltd. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในรายละเอียดต่างๆ อย่างครบถ้วน

เดิมที NTT Communications ทำธุรกิจในส่วนของโทรคมนาคมเป็นหลัก โดยเรามักจะเห็นชื่อของ NTT Communications เป็นหนึ่งในผู้ที่ลงทุนวางระบบเครือข่ายเชื่อมต่อระหว่างแต่ละประเทศหรือแต่ละทวีปทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุด NTT Communications เติบโตและมีบริการครอบคลุมไปทั่วโลก NTT Communications ได้ขยายธุรกิจมาทำในส่วนของ ICT เพิ่มเติม เพื่อนำเสนอโซลูชันทางด้าน IT แบบครบวงจรให้กับเหล่าองค์กรที่ต้องการผู้ให้บริการระดับมืออาชีพ

และเมื่อแนวโน้มของ Cloud เริ่มเติบโตขึ้นทั่วโลก ทาง NTT Communications ก็ได้เปิดให้บริการทั้ง Public Cloud และ Private Cloud เพื่อมุ่งเน้นการตอบโจทย์ของตลาดองค์กรเป็นหลักมาตั้งแต่ปี 2012 ด้วยการเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจที่เหล่าผู้ให้บริการ Cloud รายอื่นยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ นั่นคือ การที่ผู้ให้บริการ Cloud เหล่านั้นมีเพียงแผนที่จะลงทุนในประเทศใหญ่ๆ ในแต่ละภูมิภาคเท่านั้น ทำให้องค์กรและหน่วยงานภาครัฐในอีกหลายประเทศที่เหลือทั่วโลกนั้นไม่มี Cloud ที่สามารถเชื่อมต่อใช้งานได้ภายในประเทศของตนเองโดยตรง

ซึ่งช่องว่างทางธุรกิจนี้ถือเป็นประเด็นที่ค่อนข้างใหญ่และตรงกับจุดแข็งของ NTT Communications ที่มีทั้งระบบเครือข่ายและทีมงานให้บริการครบถ้วนในทุกประเทศ ทาง NTT จึงเริ่มต้นเปิดตลาดด้วยการเปิดให้บริการทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ด้วยการลงทุนเปิด Data Center และ Cloud ภายในประเทศกลุ่มภูมิภาคนี้ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน

NTT Communications ในฐานะของผู้ให้บริการด้าน ICT ครบวงจร และมีลูกค้าหลักเป็นบริษัทญี่ปุ่นขนาดใหญ่ที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วโลก โดย NTT Communications มีประสบการณ์กับตลาดองค์กรที่ชัดเจนซึ่งเป็นองค์กรที่ต้องการการบริหารและจัดการระบบที่คมีความซับซ้อน, มีประเด็นด้านกฎหมายและการทำ Compliance เข้ามาเกี่ยวข้องและแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม, รวมถึงมีนโยบายด้าน Security และ Reliability ที่แตกต่างกันไป ดังนั้นการให้บริการเสริมต่างๆ เพื่อตอบโจทย์เหล่านี้ให้กับภาคธุรกิจ และเป็นพันธมิตรเพื่อการเติบโตควบคู่กันไปได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจึงถือเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยสำหรับการตอบโจทย์องค์กร ซึ่งเหล่าผู้ให้บริการ Public Cloud หลายรายก็ยังไม่สามารถให้บริการในส่วนนี้ได้ดีนัก โดยสรุปแล้ว NTT Communications เปิดบริการ Cloud ในส่วนนี้ขึ้นมาก็เพื่อเติมเต็มช่องว่างในตลาด และเป็นตัวกลางในการผสานการให้บริการ Cloud ต่างๆ เข้าด้วยกันกับบริการ Cloud ของ NTT

หนึ่งในโจทย์ที่สำคัญของการเปิดให้บริการ Cloud เพื่อรองรับตลาดองค์กรโดยเฉพาะนั้นก็คือการเลือกใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ, มีความน่าเชื่อถือ, มีความมั่นคงปลอดภัยสูง และมีบริการสนับสนุนจากผู้พัฒนาเทคโนโลยีโดยตรง ซึ่งจุดนี้เองก็ทำให้ NTT Communications เลือกที่จะใช้เทคโนโลยีจาก VMware เพื่อให้มั่นใจได้ว่าหากมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นกับระบบ ก็ยังจะมีบริษัทชั้นนำที่น่าเชื่อถือคอยช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาในเทคโนโลยีเบื้องลึกให้ทั้งหมด อีกทั้ง VMware ก็เป็นเทคโนโลยี Virtualization ที่ปัจจุบันเหล่าองค์กรธุรกิจเลือกใช้งานกันเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว การเจาะตลาดองค์กรด้วยเทคโนโลยีที่หลายองค์กรคุ้นเคยอยู่แล้วจึงถือเป็นทางเลือกที่เหมาะสม

นอกจากนี้ VMware เองก็ยังมี Product Roadmap ที่ชัดเจนมาก ไม่ว่าจะเป็น VMware NSX ซึ่งเป็นระบบ Network Virtualization, VeloCloud ที่ VMware ได้เข้าซื้อกิจการเพื่อมาเสริมทัพด้าน SD-WAN, การเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางด้าน Blockchain และโซลูชันทางด้าน Container เข้ามาตอบโจทย์องค์กรโดยเฉพาะ รวมถึงล่าสุดก็ยังมี Roadmap เกี่ยวกับ Internet of Things (IoT) ออกมาให้เห็นกันอย่างต่อเนื่องอีกด้วย ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้เอง นอกจาก NTT Communications จะนำมาให้บริการลูกค้าในฐานะส่วนหนึ่งของบริการ Cloud แล้ว ทาง NTT เองก็ยังจะมีการนำไปใช้งานเป็นการภายในเพื่อรองรับการทำงานของพนักงานภายในบริษัทจำนวนมากที่อยู่ในทุกๆ สาขาทั่วโลกด้วยเช่นกัน

ด้วยเหตุเหล่านี้ เมื่อ NTT Communications ตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีของ VMware เป็นหลักแล้ว ขั้นตอนถัดมาของ NTT Communications ก็คือการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ VMware Cloud Provider Partner ซึ่งเป็นโครงการสำหรับ VMware Partner ที่ต้องการมุ่งสู่การเป็นธุรกิจ Cloud Service Provider (CSP) โดยตรง เพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีสำหรับการให้บริการ Cloud จาก VMware และทำให้สามารถเปิดให้บริการต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ ไม่ว่าจะเป็น Infrastructure-as-a-Service (IaaS), Disaster Recovery-as-a-Service (DRaaS) หรือ Desktop-as-a-Service (DaaS) ก็ตาม

 

จุดเด่นของบริการ Cloud จาก NTT Communications: สร้างความแตกต่างด้วยบริการและเทคโนโลยีแห่งอนาคต

สิ่งที่เหล่าผู้ให้บริการ Cloud ต้องตีโจทย์ให้แตกนั้นก็คือความแตกต่างในการให้บริการ ไม่เช่นนั้นก็จะต้องตกสู่กับดักของการแข่งขันด้วยราคา ซึ่งทาง NTT Communications ได้เข้าใจถึงความสำคัญในจุดนี้จึงได้ทำการศึกษามาเป็นอยางดี และสร้างความแตกต่างให้กับบริการ Cloud ของตนเองหลายแง่มุม ดังนี้

  • การเสริมบริการ Managed Service เพื่อช่วยดูแลระบบ IT ต่างๆ ขององค์กรที่นำมาติดตั้งใช้งานบนบริการ Cloud แบบ 24×7
  • การเสริมบริการ Network Service เชื่อมต่อระบบเครือข่ายจากศูนย์ข้อมูลขององค์กรมายังบริการ Cloud ของ NTT Communications
  • การเสริมบริการ Cloud Connectivity เชื่อมต่อระบบเครือข่ายขององค์กรไปยังบริการ Public Cloud ในประเทศต่างๆ ได้ด้วยความเร็วสูง ตอบโจทย์การทำ Hybrid Cloud และการย้ายข้อมูลข้ามระบบ Cloud ได้เป็นอย่างดี
  • การเสริมบริการ SD-WAN เพื่อให้การบริหารจัดการและการใช้งานระบบเครือข่ายระหว่างสาขาขององค์กรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
  • การเสริมบริการ Managed Security เพื่อช่วยบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยบน Cloud
  • การเสริมบริการ Backup-as-a-Service เพื่อปกป้องระบบงานและข้อมูลสำคัญจากการสูญหายด้วยเหตุต่างๆ รวมถึง Ransomware
  • การเสริมบริการเชื่อมต่อ API ของ VMware เข้ากับผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้การทำ Automation เป็นไปได้อย่างครบวงจร โดยองค์กรไม่ต้องเผชิญกับ Learning Curve ด้วยตัวเอง
  • การพัฒนาเทคโนโลยีทางด้าน Artificial Intelligence หรือ AI เพื่อเปิดให้บริการบน Cloud ทำให้องค์กรมีพลังประมวลผลสูงสำหรับรองรับงานทางด้าน AI ได้โดยไม่ต้องลงทุนในระบบ IT Infrastructure เองทั้งหมด
  • การนำผลิตภัณฑ์ชั้นนำกว่า 30 รายการเพื่อตอบโจทย์ต่างๆ ขององค์กรมานำเสนอในรูปแบบของ Cloud เพื่อให้องค์กรสามารถเปลี่ยนจากการลงทุนแบบ CapEx มาสู่ OpEx ได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น
  • การได้รับมาตรฐาน ISO 27001 และ PCI-DSS เพื่อตอบโจทย์สำหรับองค์กรที่ต้องมีการทำ Compliance โดยเฉพาะ
  • มีทีมงาน Pre-sales ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าองค์กรก่อนตัดสินใจซื้อ และยังมีทีมงานสนับสนุนการให้บริการ Cloud อีกจำนวนมากพร้อมมีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ที่ทำงานทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง คอยดูแลระบบต่างๆ ให้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์อยู่เสมอ

จะเห็นได้ว่าบริการต่างๆ ที่มีเสริมเพิ่มเติมขึ้นมานี้ เป็นการเสริมศักยภาพและทำให้ภาพรวมบริการ Cloud ของ NTT Communications ดูมีความเป็น Total Solution มากกว่าการเป็นแค่การเช่าใช้งานทรัพยากรเท่านั้น ซึ่งภาพรวมการบริการนี้คือเป็นภาพที่เหล่าองค์กรธุรกิจต่างๆ กำลังมองหาอยู่ในปัจจุบัน

สำหรับในอนาคต ทาง NTT Communications เองก็ยังมีการทดสอบเทคโนโลยีต่างๆ ดังนี้

  • AI: นำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเข้ามาให้บริการแก่องค์กรไทย เช่น ระบบ AI สำหรับทำหน้าที่แทน Reception หรือ Call Center ที่สามารถเข้าใจได้หลากหลายภาษา รวมถึงภาษาอังกฤษ, ญี่ปุ่น และไทย โดยที่ญี่ปุ่นเอง NTT ก็มีการพัฒนาโซลูชันใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น ระบบ AI สำหรับเสริมการตรวจจับสิ่งต่างๆ ในระบบ Video Surveillance เป็นต้น
  • Blockchain: เตรียมเปิดให้บริการระบบ Blockchain บน Cloud ในไทย พร้อมจับมือกับเหล่าผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้าน Blockchain ในไทยสำหรับการนำมาใช้ตอบโจทย์ธุรกิจต่างๆ
  • Container: เริ่มมีการศึกษาเพื่อรองรับความต้องการขององค์กรที่ต้องการสร้างระบบ DevOps และพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และยังเป็นเทคโนโลยีหัวใจสำคัญสำหรับการตอบโจทย์ด้าน Multi-Cloud ด้วย
  • IoT: เริ่มมีการทำโครงการด้าน IoT ให้กับหลายๆ ธุรกิจและภาครัฐในแถบเอเชียแปซิฟิก เช่น การทำ IoT เพื่อเชื่อมต่อระบบ SCADA เข้ากับ Cloud, การทำโครงการ Smart City และการร่วมมือกับบริษัท Toray เพื่อพัฒนาเสื้อ IoT ที่ติดตามข้อมูลสุขภาพของผู้สวมใส่ และนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งในงานด้านสาธารณสุข, โรงงาน และอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานและการให้บริการ

 

ตัวอย่างกลุ่มลูกค้าคลาวด์ของ NTT Communications

สำหรับบริการ Cloud ของ NTT Communications นี้ปัจจุบันมีลูกค้าในประเทศไทยไว้วางใจใช้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยทางผู้บริหารของ NTT Communications ก็ขออนุญาตเล่าถึงกรณีการใช้งานคร่าวๆ เอาไว้ให้พอได้เห็นภาพกัน ดังนี้

  • การใช้งาน Cloud ในธุรกิจ Retail เพื่อรองรับการเพิ่มขยายระบบชั่วคราวสำหรับกรณีที่มีโปรโมชันต่างๆ และมีลูกค้าเข้ามาใช้งานบริการเป็นจำนวนมาก ความสามารถในการเพิ่มหรือลดขนาดระบบได้อย่างทันท่วงทีนี้ช่วยให้ระบบ E-Commerce หรือ Retail สามารถคุ้มทุนได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกว่ามากเมื่อเทียบกับเมื่อก่อนหน้านี้
  • การให้บริการ Graphical 3D VDI-as-a-Service ในธุรกิจยานยนต์ เพื่อใช้ในการออกแบบงาน 3 มิติและ Simulate ประสิทธิภาพสูงโดยที่องค์กรไม่ต้องลงทุนใน GPU Hardware ราคาสูงด้วยตัวเองอีกต่อไป อีกทั้ง บริการนี้ยังทำให้พนักงานขององค์การสามารถเข้าถึงข้อมูลการออกแบบได้จากทุกที่ทุกเวลา และนำเสนอหรือประชุมงานได้อย่างคล่องตัว
  • การให้บริการด้าน Security ควบคู่กับบริการ Cloud เพื่อสร้างความมั่นใจให้กลุ่มลูกค้าในการป้องกันภัยคุกคามทาง Cyber จากทั้งภายในและภายนอกองค์กร ด้วยบริการ NGFW, DDoS, WAF, IPS/IDS และ Managed Security เป็นต้น

 

มองอนาคตตลาด Cloudในประเทศไทย

คุณมาซาโตชิ ซึโบอิ ได้ทิ้งท้ายเอาไว้ว่าเขาเชื่อว่าตลาด Cloud ในไทยนั้นจะยังคงเติบโตไปอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้วันนี้อาจจะยังมีการใช้งานน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน แต่ภายในอีก 5 ปีถัดจากนี้ Workload ต่างๆ ของแต่ละธุรกิจองค์กรในไทยจะอยู่บน Cloud มากถึง 50% และด้วยการมาของเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง AI, Blockchain, Container, IoT และ Multi-Cloud การเลือกใช้งานบริการ Cloud ของ NTT Communications ก็จะยิ่งเติบโตมากขึ้น

ด้วยเหตุนี้เองทางทีมงานของ NTT Communications จึงไม่หยุดนิ่ง และยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อแข่งขันต่อไปในสนามของบริการ Cloud ด้วยการพัฒนาบริการเดิมที่มีอยู่ให้ดีขึ้นและตอบโจทย์ขององค์กรมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการทำความรู้จัก, ทดสอบ และปรับแต่งเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้สามารถนำเสนอได้บน Cloud เพื่อให้เหล่าองค์กรสามารถเปิดรับเทคโนโลยีเหล่านั้นไปใช้ได้อย่างง่ายดาย เพื่อสนับสนุนให้การทำ Digital Transformation เป็นไปได้อย่างรวดเร็วสูงสุด

 

เกี่ยวกับ NTT Communications

เอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นส์ ให้บริการคำปรึกษา สถาปัตยกรรม ความปลอดภัยของข้อมูล และบริการคลาวด์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ขององค์กรธุรกิจ บริการเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงสร้างพื้นฐานของเอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นส์ที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งรวมไปถึงเครือข่าย IP Network ระดับ Tier-1 และ Arcstar Universal OneTM VPN ซึ่งครอบคลุมถึง 196 ประเทศ/ดินแดน และศูนย์ข้อมูล(Data Center) ที่ปลอดภัย 140 แห่งทั่วโลก โซลูชันของ เอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นส์ โดยการผนึกกำลังของกลุ่มบริษัท เอ็นทีที ทั่วโลก ซึ่งรวมถึง Dimension Data, NTT DOCOMO และ NTT DATA

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ NTT Communications ได้ที่ www.th.ntt.com หรือติดต่อทีมงาน NTT Communications โดยตรงได้ทันทีที่โทร 02-236-7227 ext 1161, 1168, 1169  หรืออีเมล์ info@ntt.co.th

สำหรับผู้ที่อยากรู้จักกับโครงการ VMware Hybrid Cloud เพิ่มเติม สามารถศึกษาข้อมูลได้ที่ http://www.vmwarehybridcloud.com/

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Anthropic เพิ่มความสามารถ Web Search ให้ Claude AI ยกระดับการตอบคำถามด้วยข้อมูลล่าสุด

Anthropic ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ค้นหาเว็บ (Web Search) ให้กับ AI Assistant Claude ช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลปัจจุบันบนอินเทอร์เน็ตได้ พร้อมแสดงแหล่งอ้างอิงให้ผู้ใช้งานตรวจสอบความถูกต้องได้ทันที

OpenAI เปิดตัวโมเดล Audio รุ่นใหม่สำหรับพัฒนา Voice Agent อัจฉริยะ

OpenAI ประกาศเปิดตัวโมเดล Audio รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงทั้ง Speech-to-Text และ Text-to-Speech พร้อมให้นักพัฒนาทั่วโลกใช้งานผ่าน API เพื่อสร้าง Voice Agent ที่มีความสามารถในการโต้ตอบอย่างเป็นธรรมชาติ