Oshinei พร้อมเสิร์ฟอาหารญี่ปุ่นระดับพรีเมี่ยมทั่วประเทศไทย ด้วยการใช้ Cloud HM รองรับระบบบริหารจัดการร้านในทุกสาขาอย่างมั่นใจ

บางครั้งเรื่องของการใช้ Cloud ในภาคธุรกิจอาจฟังดูเป็นเรื่องใกล้ตัว แต่ทุกวันนี้ธุรกิจระดับ SME เองก็มีการใช้ Cloud กันอย่างแพร่หลายแล้ว แม้แต่ Oshinei ภัตตาคารอาหารญี่ปุ่นชื่อดังที่มีสาขาอยู่ในหลายจังหวัดเอง ก็ยังใช้บริการ Cloud จาก Cloud HM เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับธุรกิจ สามารถขยายสาขาใหม่ๆ ได้อย่างคล่องตัวอยู่เสมอ

ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ Oshinei และแง่คิดของการตัดสินใจใช้ Cloud เป็นระบบเบื้องหลังของร้านอาหารในครั้งนี้กันครับ

ปรัชญาของ Oshinei – อาหารญี่ปุ่นที่ดี คนไทยทุกคนต้องเข้าถึงได้

ธุรกิจของ Oshinei นั้นคือการทำให้อาหารญี่ปุ่นที่มีคุณภาพนั้นไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เพียงแค่ในกรุงเทพมหานคร ด้วยการเปิดภัตตาคารอาหารญี่ปุ่นชั้นดีอยู่ในหลากหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย เพื่อให้ทุกคนนั้นสามารถเข้าถึงอาหารญี่ปุ่นที่มีคุณภาพดีในราคาที่คุ้มค่าได้อย่างเท่าเทียม

นับตั้งแต่ปี 2014 มาที่ Oshinei ได้มุ่งมั่นนำเสนอรสชาติของอาหารญี่ปุ่นสู่ทั่วประเทศไทย โดยเริ่มต้นจากการเปิดสาขาแรกที่จังหวัดอุบลราชธานีก่อนจะขยายไปยังอุดรธานีและนครราชสีมา ก่อนจะขยายสาขาไปยังจังหวัดอื่นๆ ปัจจุบันนี้ Oshinei มีสาขาด้วยกันถึง 18 แห่งทั้งในประเทศไทยและในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

เมนูของอาหารในแต่ละร้านนั้นมีมากกว่า 100 รายการ ครอบคลุมทั้งเนื้อวากิว, ปลาฮามาจิ, ปลาไหล, ฟัวกราส์, ไข่ปลาแซลมอน, ไข่หอยเม่น, มันปู, ปลาแซลมอน, หอยนางรม, ซูชิ, ซาชิมิ, โซบะ, อุด้ง, เทมปุระ และอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งในรูปแบบของบุฟเฟต์และ A La Carte โดยสำหรับบุฟเฟต์นั้นจะมีราคา 500++, 700++ และ 999++ ให้เลือกทานได้ตามความต้องการ

ผู้ที่สนใจรายละเอียดของ Oshinei สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://oshinei.co.th/ และสามารถตรวจสอบสาขาต่างๆ ของร้านได้ที่ https://oshinei.co.th/index.php/branches/ รวมถึงถ้าหากต้องการเปิดแฟรนไชส์ ก็สามารถติดต่อทีมงาน Oshinei ได้ทันทีที่ https://oshinei.co.th/index.php/franchise/

ประสบปัญหากับการบริหารจัดการ POS ในร้านอาหารที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ

ปัญหาที่ Oshinei ประสบในช่วงแรกนั้นก็คือการขึ้นระบบ Point-of-Sale หรือ POS สำหรับบริหารจัดการร้านในสาขาต่างๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ เพราะ Oshinei เองนั้นมีธุรกิจหลักคือการบริหารภัตตาคาร ไม่ใช่การดูแลระบบ IT ดังนั้นในทุกๆ การติดตั้งใช้งาน Server และวางระบบ POS ในแต่ละสาขานั้นจึงกลายเป็นเรื่องยากมาโดยตลอด รวมถึงเมื่อเกิดปัญหาที่ร้านในสาขาใด การทำงานในสาขานั้นๆ ก็จะหยุดชะงัก และสร้างประสบการณ์ที่ไม่ดีให้กับลูกค้าโดยทันที

เดิมทีการติดตั้งใช้งานระบบ POS ในแต่ละสาขานั้นเคยต้องใช้เวลานานถึง 3 เดือนในการดำเนินการ ดังนั้นการเปิดร้านสาขาใหม่ๆ จึงเป็นไปได้อย่างล่าช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อธุรกิจมีการขายแฟรนไชส์ การใช้เวลานานถึงขนาดนี้จึงทำให้การเติบโตของธุรกิจเป็นไปได้อย่างยากลำบาก

ด้วยเหตุนี้เอง การตัดสินใจพิจารณาถึงการใช้ Cloud จึงเกิดขึ้นในทีมบริหารของ Oshinei เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ สู่เป้าหมายของการเสิร์ฟอาหารญี่ปุ่นคุณภาพสูงสู่คนไทยทุกจังหวัดให้ได้อยา่งรวดเร็วที่สุด

ใช้ Cloud HM รองรับระบบบริหารจัดการร้านหลังบ้าน ช่วยให้ขยายสาขาไปแต่ละจังหวัดได้อย่างรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้าน IT ลงได้ 35%

ในการพิจารณาครั้งนี้ ทีมงาน Oshinei ได้ตัดสินใจเลือกใช้บริการ Cloud และ Managed Services จาก Cloud HM ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ VMware Cloud ที่ได้รับ VMware Cloud Verified ในประเทศไทยเป็น 1 ใน 2 ราย โดย Cloud HM นั้นสามารถให้บริการได้ทั้งในส่วนของ Systems Integration, Cloud, Network และ Security อย่างครบวงจร

การตัดสินใจครั้งนี้ ทำให้ Oshinei สามารถยกระบบ POS ที่เคยกระจัดกระจายตามสาขาต่างๆ ขึ้นไปรวมศูนย์อยู่บนบริการ Cloud ได้ทั้งหมด ทำให้ในแต่ละสาขานั้นเหลือเพียงแค่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อ Internet ขึ้นมายัง Cloud เท่านั้น ทำให้ Oshinei สามารถลดภาระด้านการดูแลรักษาระบบ IT ในแต่ละสาขาลงไปได้อย่างมหาศาล

ในแง่ของการเปิดสาขาใหม่ จากเดิมที่เคยต้องใช้เวลาวางระบบ POS นานถึง 3 เดือน การใช้ Cloud HM ในครั้งนี้ทำให้การติดตั้งระบบ POS ลดเวลาเหลือเพียงแค่ 2 วันเท่านั้น โดยทีมงาน Cloud HM นั้นจะเข้ามาทำการเตรียมระบบให้ทั้งหมด ทำให้ทีมงานของ Oshinei ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับประเด็นทางด้านเทคนิคแต่อย่างใด อีกทั้งยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนและดูแลรักษาระบบ IT โดยรวมลงได้ถึง 35%

หลังจากใช้บริการของ Cloud HM แล้ว ธุรกิจของ Oshinei ก็มีความคล่องตัวในการดำเนินการสูงขึ้นเป็นอย่างมาก และทำให้การเปิดสาขาใหม่ๆ เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะในประเทศไทยหรือในต่างประเทศก็ตาม

สนใจใช้งาน ติดต่อ Cloud HM ได้ทันที

Webhttps://www.cloudhm.co.th

Line: @cloudhmco

Email: sales@cloudhm.co.th

Tel: 02-119-7300

FBhttps://www.facebook.com/messages/t/cloudhmco

เกี่ยวกับ VMware Cloud Provider Program (VCPP)

โครงการ VCPP นี้คือโครงการที่ได้ผสานรวมเอาบริการ VMware Software-as-a-Service เข้ากับเหล่าผู้ให้ริการ VMware Service Provider Partners ทั่วโลก เพื่อให้ธุรกิจองค์กรต่างๆ สามารถใช้งานบริการ Cloud ที่มีเทคโนโลยีของ VMware เป็นเบื้องหลังได้ผ่านทางผู้ให้บริการที่มีมาตรฐาน

ปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้ให้บริการด้าน IT ที่ได้เข้าร่วมโครงการ VCPP มากกว่า 20 รายแล้ว ดังนั้นธุรกิจไทยจึงสามารถเลือกใช้งานบริการ Cloud ภายในประเทศที่ให้บริการเทคโนโลยีของ VMware และเชื่อมต่อระบบ Data Center ภายในธุรกิจองค์กรเข้ากับบริการ Cloud เหล่านี้สู่ภาพของ Hybrid Cloud หรือทำ Disaster Recovery ได้ทันที โดยมีทีมงานคนไทยคอยให้บริการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างใกล้ชิด

ผู้ที่สนใจใช้บริการ VMware ในรูปแบบของการคิดค่าใช้จ่ายตามจริง สามารถติดต่อทีมงานของ VMware ประจำประเทศไทย หรือสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ VCPP ได้ที่ https://www.vmware.com/partners/service-provider.html และสามารถตรวจสอบสถานะของบริษัทต่างๆ ที่เป็น VCPP ได้ที่ https://cloud.vmware.com/providers/

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

สิริซอฟต์ คว้ารางวัลระดับอาเซียน “Top Systems Integration Partner” ในงาน 2025 Elastic ASEAN Partner Awards [PR]

สิริซอฟต์ (Sirisoft) ผู้ให้คำปรึกษาและบริการโซลูชันเทคโนโลยีชั้นนำของประเทศไทยที่เชี่ยวชาญด้านการเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Optimization) ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) และการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล (Digital Transformation) ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านที่ปรึกษาไอทีที่ครบวงจรของไทย คว้ารางวัลระดับอาเซียน “Top Systems Integration Partner” ในงาน 2025 Elastic ASEAN Partner Awards

Goodfire ระดมทุน 50 ล้านดอลลาร์ ช่วยนักพัฒนาเข้าใจ AI มากขึ้น

Goodfire AI ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถเข้าใจวิธีการทำงานของโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) ระดมทุนได้จำนวน 50 ล้านดอลลาร์ในรอบ Series A ที่นำโดย Menlo Ventures เพื่อสนับสนุนโครงการวิจัยต่าง ๆ