NetApp เปิดตัว Memory Accelerated FlexPod เสริม MAX Data และ Intel Optane DC Persistent Memory เร่งความเร็วให้สูงยิ่งขึ้น

NetApp ได้ออกมาประกาศเปิดตัวโซลูชันใหม่ล่าสุดสำหรับ Converged Infrastructure (CI) ภายใต้ชื่อ NetApp Memory Accelerated FlexPod ที่ได้ผสานนวัตกรรมใหม่อย่าง NetApp MAX Data และ Intel Optane DC Persistent Memory เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบโดยรวมให้สูงยิ่งขึ้น โดยมีจุดเด่นที่น่าสนใจดังนี้

Credit: NetApp
  • ใช้ Intel Optane DC Persistent Memory ทำงานร่วมกับ NetApp AFF ในรูปแบบ Tiered Filesystem ด้วย NetApp MAX Data
  • เสริมการทำ Integrated Data Protection และ Cross-Server Replication ลดโอกาสที่ข้อมูลจะเสียหาย
  • ลด Latency จาก 1 Millisecond เหลือประมาณ 10 Microsecond
  • ทำงานร่วมกับ ONTAP เพื่อทำ Snapshot ได้อย่างรวดเร็ว
  • กู้คืนข้อมูลใน Intel Optane DC Persistent Memory ได้ด้วย MAX Recovery ผ่านการทำ Mirror และ Snapshot
  • รองรับ VM ได้มากกว่าเดิม 2 เท่า
  • มี Throughput ของระบบสูงขึ้น 2.4 เท่า
  • มี IOPS สูงขึ้น 5 เท่า
  • มี Latency ต่ำกว่าเดิม 25 เท่า

ผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ FlexPod ได้ที่ http://www.flexpod.com/

ที่มา: https://blog.netapp.com/introducing-a-max-data-powered-memory-accelerated-flexpod/


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เปิดตัว Panduit TX6A Vari-Matrix HD สาย Cat 6A UTP ขนาดเล็กที่สุดในโลก รองรับ 1-10GbE และ PoE++ ป้องกันสัญญาณรบกวนได้เหนือกว่ามาตรฐาน

ในปี 2023 นี้ถือเป็นปีที่น่าสนใจสำหรับวงการสายสัญญาณเครือข่าย เพราะผู้ผลิตทุกรายต่างเร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาแข่งขันกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็วของ Ethernet ที่เพิ่มขึ้น, การรองรับอุปกรณ์ IoT ให้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไปจนถึงการตอบรับต่อประเด็นด้านความยั่งยืนหรือ Sustainability

ผลกระทบจากควอนตัมต่อระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ประเทศไทยต้องเร่งเดินหน้าแผนรับมือ [Press Release]

การคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing)  การแข่งขันด้านเทคโนโลยีการคำนวณแบบใหม่ที่กำลังร้อนแรง และเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงไทยก็เกาะติดกระแสอย่างใกล้ชิด แต่นักวิจัยและนักเทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์กำลังกังวลกับข้อดีข้อเสียของการคำนวณเชิงควอนตัม แม้ประโยชน์จะมีมากมาย ตั้งแต่เรื่องแมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยทางการแพทย์ ไปจนถึงวิทยาการรหัสลับและระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ แต่เทคโนโลยีเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงและช่องโหว่ใหม่โดยเฉพาะความสามารถในทะลุทะลวงการเข้ารหัสยุคใหม่ซึ่งถือเป็นรากฐานของอินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และอีคอมเมิร์ซ ที่เชื่อมผสานสังคมของเราเข้าด้วยกัน