ถึงแม้ Hyper-Converged Infrastructure หรือ HCI นั้นจะได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากภาคธุรกิจองค์กรทั่วโลกด้วยประเด็นด้านความง่ายในการใช้งานและการบริหารจัดการ รวมถึงการรองรับการเพิ่มขยายระบบได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ดีนั้นผลสำรวจจากภาคธุรกิจองค์กรเองนั้นก็ยังชี้ให้เห็นว่าการใช้งาน Converged Infrastructure หรือ CI ที่เน้นเรื่องของประสิทธิภาพเป็นหลักเพื่อรองรับ Business Application สำคัญนั้นก็ยังคงจำเป็นอยู่ HPE จึงได้ทำการพัฒนาโซลูชันที่มีชื่อเรียกว่า dHCI ขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์ทั้งความง่ายดายและประสิทธิภาพของระบบไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้ธุรกิจองค์กรนั้นได้นำจุดโดดเด่นของทั้งสองสถาปัตยกรรมมาใช้งานร่วมกัน และตอบโจทย์การใช้งานในระยะยาวได้อย่างคุ้มค่าสูงสูงสุด
รู้จักกับ CI และ HCI กันก่อน
สำหรับผู้ที่คลุกคลีอยู่ในวงการ Enterprise Data Center มานาน ก็คงจะจำกันได้ดีว่าเทคโนโลยีในฝั่ง Converged Infrastructure หรือ CI นั้นเกิดขึ้นมาได้ระยะใหญ่มากแล้วด้วยแนวทางที่เหล่าผู้พัฒนาเทคโนโลยีนั้นได้จับมือร่วมกันออกแบบ Rack ที่มีการติดตั้งทั้ง Server, Storage, Networking และ Software พร้อมทำการทดสอบความเข้ากันได้ทั้งหมดและทดสอบประสิทธิภาพของระบบให้เรียบร้อย เพื่อให้ธุรกิจองค์กรสามารถเลือกใช้งานระบบที่ผ่านการออกแบบและทดสอบจนมั่นใจมาแล้วไปติดตั้งใช้งานเพื่อให้บริการ Business Application สำหรับธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
อย่างไรก็ดี CI นั้นมีจุดอ่อนใหญ่ที่ประเด็นด้านราคาที่ค่อนข้างสูง และความยากในการเพิ่มขยายหรือปรับแต่งระบบให้นอกเหนือไปจากรูปแบบมาตรฐานที่ผ่านการทดสอบมา ทำให้เกิดการพัฒนา Hyper-Converged Infrastructure หรือ HCI ที่เน้นเรื่องความง่ายในการติดตั้งใช้งานและเพิ่มขยายเข้ามาเป็นหลักในช่วยไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้
HCI นั้นถูกออกแบบโดยอ้างอิงจากแนวคิดของ Data Center ขนาดใหญ่ที่ใช้การทำ Software-Defined Storage ฝังลงไปใน Server เพื่อให้ Local Storage ภายใน Server แต่ละเครื่องถูกผสานเข้าเป็นผืนเดียวกัน ทำงานร่วมกันได้ และทำงานทดแทนกันได้หากมี Server หรือ Disk ชุดใดเสียหายไป ซึ่งด้วยราคาเริ่มต้นที่ถูกกว่าและการเพิ่มขยายที่ง่ายดาย ก็ทำให้ HCI นั้นกลายเป็นที่นิยมของธุรกิจองค์กรอย่างรวดเร็ว
ถึงแม้เทคโนโลยีฝั่ง CI จะถูกพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาด้านความยากในการเพิ่มขยายไปบ้างแล้ว แต่ในแง่ของราคานั้นก็ยังถือว่าแพงกว่า HCI อยู่ดีเพราะในระบบนั้นจำเป็นต้องมี Storage เฉพาะเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ตลาดของ CI และ HCI นั้นแยกขาดจากกันอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน กล่าวคือ CI นั้นจะรองรับการนำไปใช้งานในรูปแบบเฉพาะทางได้ดี และมีประสิทธิภาพที่สูงมาก ในขณะที่ HCI นั้นจะรองรับการนำไปใช้งานอย่างยืดหยุ่นหลากหลายมากกว่า และมีประสิทธิภาพที่สูงเพียงพอต่อการใช้งานทั่วไป
ถึงแม้ HCI จะใช้งานง่าย แต่ CI ก็ยังคงจำเป็นต่อธุรกิจองค์กร
แม้ว่า HCI จะเข้ามาตีตลาดได้ระยะหนึ่งแล้ว แต่ CI เองนั้นก็ยังมีบทบาทภายในธุรกิจองค์กรเป็นอย่างมาก และเป็นสัดส่วนที่ถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียว โดย Enterprise Strategy Group หรือ ESG นั้นได้ทำการสำรวจธุรกิจองค์กรกว่า 324 แห่ง และพบว่าองค์กรเกินกว่าครึ่งนั้นยังคงมีการใช้งานทั้ง CI และ HCI พร้อมๆ กัน ในขณะที่องค์กรที่ใช้งาน CI เพียงอย่างเดียวนั้นก็ยังคงมีสัดส่วนที่สูงถึง 31% ในขณะที่องค์กรที่เลือกใช้งานเฉพาะ HCI อย่างเดียวนั้นยังคงมีสัดส่วนเพียงแค่ 10%
แน่นอนว่าแนวโน้มในอนาคตนั้น HCI เองก็คงจะได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ตัวเลขสัดส่วนในการสำรวจนี้ก็บอกให้เราได้รู้ว่าไม่ว่า CI หรือ HCI นั้นต่างก็มีความจำเป็นต่อธุรกิจองค์กรทั้งคู่ เพราะโจทย์ที่ทั้งคู่ตอบนั้นคือคนละโจทย์กัน ซึ่งประเด็นนี้เองก็จะกลายเป็นปัญหาของผู้ดูแลระบบ Data Center ที่ท้ายที่สุดแล้วก็ต้องดูแลระบบที่หลากหลายภายใน Data Center ของธุรกิจอยู่ดี
HPE ในฐานะของผู้นำทางด้านเทคโนโลยี Data Center เองก็เล็งเห็นว่าโจทย์นี้ถือเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับธุรกิจองค์กร ซึ่งถึงแม้ HPE จะมีทั้งโซลูชันในส่วนของ CI และ HCI แต่ในระยะยาวแล้ว การออกแบบโซลูชันใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจให้ได้ในขณะที่ระบบยังคงมีความง่ายดายในการดูแลรักษาและเพิ่มขยายสำหรับผู้ดูแลระบบ IT นั้น ก็ย่อมจะส่งผลที่ดีกว่าต่อธุรกิจองค์กรทั่วโลก ทำให้ HPE ได้พัฒนาโซลูชัน dHCI ขึ้นมานั่นเอง
dHCI = Disaggregated HCI
ปัญหาใหญ่ๆ ที่เหล่าธุรกิจองค์กรพบในการใช้งาน HCI นั้น ก็คือการที่ระบบ HCI จะต้องบังคับให้มีการเพิ่มทั้ง Compute และ Storage ไปพร้อมๆ กันในการเพิ่มขยายระบบ เนื่องจากระบบทั้งสองส่วนนี้อยู่บน Hardware ชุดเดียวกัน ทำให้ในการใช้งานจริงนั้นเมื่อทรัพยากรหมดเพียงแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ภาคธุรกิจก็ต้องลงทุนเพิ่มขยายระบบทั้งสองส่วนไปพร้อมๆ กันอย่างไม่มีทางเลือก
ปัญหานี้ทำให้ในการใช้งาน HCI ในช่วง 3-5 ปีแรกนั้นมีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินกว่าที่จำเป็นเป็นอย่างมาก แนวคิดของการทำ Disaggregated HCI หรือ dHCI นี้จึงเกิดขึ้นมาในฐานะของ 2nd Generation HCI นั่นเอง โดยทำการแยกชั้นของ Compute และ Storage ออกจากกัน โดยที่ระบบทั้ง 2 ยังคงสามารถทำงานร่วมกันและเชื่อมต่อกันได้อย่างอัตโนมัติ และเพิ่มขยายแบบ Scale-Out เป็นส่วนๆ ได้ ทำให้ในระยะยาวแล้ว ธุรกิจสามารถลงทุนขยายเฉพาะส่วนที่ตนเองต้องการได้อย่างคุ้มค่าสูงสุด
HPE Nimble Storage dHCI ผสานความง่ายของ HCI เข้ากับประสิทธิภาพของ CI ตอบโจทย์ความคล่องตัวและความคุ้มค่าที่เหนือกว่า
แนวทางของ HPE ในการริเริ่มโซลูชัน dHCI นั้นเกิดขึ้นโดยมุ่งเน้นที่จะผสาน CI เข้ากับ HCI และแก้โจทย์ดังต่อไปนี้ของทั้งสองสถาปัตยกรรม
- นำข้อดีด้านความง่ายในการบริหารจัดการ, ดูแลรักษา และเพิ่มขยายของ HCI มาใช้
- นำข้อดีด้านประสิทธิภาพ และการเลือกเพิ่มขยายเฉพาะส่วนของ Compute หรือ Storage จาก CI มาใช้
- ยังคงรองรับการให้บริการ VM ได้อย่างยืดหยุ่น และดูแลรักษาระบบในภาพรวมจากศูนย์กลางได้ง่ายดาย
- มีความทนทานของระบบที่สูง ตอบโจทย์ Business Application ของธุรกิจองค์กรได้เป็นอย่างดี
HPE นั้นได้เลือกที่จะพัฒนาโซลูชัน dHCI โดยต่อยอดจากแนวคิดของ CI ที่นำ Server และ Storage มาทำงานร่วมกันเป็นหลัก โดยทำการเพิ่มความสามารถด้านการบริหารจัดการ, ดูแลรักษา และเพิ่มขยายระบบอย่างง่ายดายของ HCI เข้ามาใช้ โดยโซลูชันดังกล่าวนี้จะใช้ HPE Nimble Storage เป็นระบบ Storage หลักร่วมกับ HPE ProLiant สำหรับทำหน้าที่ Compute และมี HPE InfoSight ช่วยในการดูแลรักษาระบบด้วย AI พร้อมทั้งทำการตั้งชื่อให้กับโซลูชันนี้ว่า HPE Nimble Storage dHCI
ความสามารถหลักๆ ของ HPE Nimble Storage dHCI มีดังนี้
- ติดตั้งใช้งานได้ภายในเวลาเพียง 15 นาที
- ใช้ VMware vSphere เป็นระบบ Hypervisor มั่นใจได้ในความสามารถและความมั่นคงทนทาน
- เห็นภาพรวมได้อย่างครบถ้วนทุกมุมมอง ด้วย HPE InfoSight ที่มาพร้อมกับการทำ Predictive Analytics, Performance/Resource Optimization ทำให้การดูแลรักษาระบบเป็นไปได้อย่างง่ายดาย ลด Downtime ลงไปได้อย่างมหาศาล และทำให้การตัดสินใจต่างๆ สามารถเกิดขึ้นได้อย่างอัตโนมัติ
- บริหารจัดการระบบได้ในรูปแบบเดียวกับ HCI โดยยุบรวมชั้นของ Compute และ Storage เข้าด้วยกัน แล้วบริหารจัดการได้จากศูนย์กลางในรูปแบบของ Policy-Driven Automation ในระดับของ VM ทำให้ไม่ต้องมีการตั้งค่าระบบ Storage อย่างยากเย็นอีกต่อไป จัดการทุกอย่างได้ผ่าน vCenter โดยตรง
- สามารถเพิ่มขยายระบบแบบแยกเฉพาะส่วนของ Compute หรือ Storage ได้ โดยขั้นตอนการเพิ่มทรัพยากรเข้าไปใน Cluster นั้นสามารถทำได้อย่างง่ายดายและอัตโนมัติ
- มีความทนทานที่สูงระดับ 99.9999% โดยไม่มี Single Point of Failure ในระบบ รวมถึงมีการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความทนทานให้กับข้อมูลทั้งหมดที่จัดเก็บอยู่ในระบบที่ระดับของ Software
- มีประสิทธิภาพที่สูงอยู่เสมอในด้วย Latency ต่ำกว่าระดับ 200 Microsecond อยู่เสมอ พร้อมทำ QoS ให้กับการเข้าถึงข้อมูลได้
- มีเทคโนโลยีการลดขนาดของข้อมูลที่สามารถลดขนาดของข้อมูลได้สูงสุดถึง 21 เท่า ทำให้การใช้งานระบบมีความคุ้มค่าอย่างเต็มที่
- มีระบบสำรองข้อมูลให้พร้อมใช้งาน และสามารถทำงานร่วมกับโซลูชันสำรองข้อมูลชั้นนำอย่าง Veeam หรือ HPE Recovery Manager Central ได้
- สามารถทำงานร่วมกับบริการ Cloud เพื่อก้าวสู่การทำ Hybrid Cloud ได้ทันที รองรับทั้ง HPE Cloud Volumes และ Anthos ของ Google Cloud
สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ HPE Nimble Storage dHCI สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.hpe.com/emea_europe/en/storage/nimble-storage-dhci.html
ESG เผยผลการทดสอบ HPE Nimble Storage dHCI: ติดตั้งพร้อมใช้งานได้ในเวลาเพียงไม่นาน จัดการได้ง่ายดายผ่านระบบ GUI และ Automation
นอกเหนือไปจากการสำรวจภาพรวมของตลาดแล้ว ESG เองก็ยังได้ทำการทดสอบการใช้งาน HPE Nimble Storage dHCI และได้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจดังนี้
- การเริ่มต้นติดตั้ง HPE Nimble Storage นั้นสามารถทำการตั้งค่าแรกเริ่มให้พร้อมเริ่มต้นใช้งานได้ในเวลาเพียงแค่ 60 วินาทีเท่านั้น
- สำหรับการตั้งค่า HPE Nimble Storage ให้เป็น dHCI นั้น ก็มีรายละเอียดบอกอย่างครบถ้วน เริ่มต้นตั้งแต่การตั้งค่า vCenter ที่มี OVA ให้พร้อมนำไปใช้งานได้ใน HPE Mimble Storage เลย, การเริ่มต้นสร้าง Cluster บน vCenter และการติดตั้ง Plugin ต่างๆ
- การติดตั้ง HPE Nimble Storage dHCI นี้สามารถทำจนเสร็จเริ่มต้นใช้งานจริงได้ในเวลาเพียง 12 นาทีเท่านั้น จากนั้นก็สามารถสร้าง VM แรกผ่านทาง vSphere Plugin ได้ทันที
- การเพิ่ม Physical Server ใหม่เข้าไปใน Cluster นั้นก็สามารถทำได้อย่างง่ายดายภายในการคลิกเพียงแค่ 6 ครั้ง และใช้เวลาเพียงไม่ถึง 3 นาที
- ภายใน HPE Nimble Storage dHCI นี้ ข้อมูลของ VM ทั้งหมดจะถูกจัดเก็บอยู่ภายใน Datastore และ VMware Virtual Volumes เป็นหลัก
- ระบบสามารถมี Snapshot ย้อนหลังได้หลายพันชุด และสามารถ Clone ระบบขึ้นมาจาก Snapshot ได้ อีกทั้งยังสามารถทำ Snapshot กับระบบที่กำลังใช้งานอยู่ได้โดยไม่มีปัญหาด้านประสิทธิภาพ
- มีระบบสำหรับตรวจสอบ Configuration ของระบบว่าถูกต้องหรือไม่ โดยจะทำการตรวจสอบตามกฎด้วยกันทั้งสิ้น 54 ข้อม และแสดงข้อมูลให้เห็นชัดเจนว่าการตั้งค่าใดที่มีปัญหาบ้าง เพื่อให้สามารถทำการแก้ไขได้โดยง่าย
ผลการทดสอบนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความง่ายในการตั้งค่าเริ่มต้นและการใช้งานเบื้องต้นของ HPE Nimble Storage dHCI ซึ่งผู้ใช้งานนั้นหากคุ้นเคยกับการใช้งาน VMware vSphere และ VMware vCenter อยู่แล้ว ก็จะสามารถใช้งานและดูแลรักษาระบบดังกล่าวได้อย่างง่ายดายบนเครื่องมือที่คุ้นเคย
เอกสารฉบับเต็มของรายงานนี้อยู่ที่ https://www.hpe.com/emea_europe/en/pdfViewer.html?resource=/content/hpe/country/emea_europe/en/resources/storage/White-paper/a00075391enw&parentPage=/emea_europe/en/products/storage/nimble-storage-dhci ครับ ผู้ที่สนใจสามารถนำไปศึกษาได้ทันที
ดูแลรักษาและบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย AI จาก HPE InfoSight
ด้วย HPE InfoSight ซึ่งเป็นเทคโนโลยี AI สำหรับตรวจสอบและแก้ไขปัญหาต่างๆ ภายใน Data Center โดยเฉพาะของ HPE ซึ่งทำงานอยู่บน Cloud และรวบรวมประมวลผลข้อมูลจากระบบต่างๆ ของ HPE ทั่วโลกนั้น ก็ทำให้ HPE InfoSight มีข้อมูลรูปแบบของปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นอย่างครบถ้วนอยู่แล้วในตัว ทำให้ในการใช้งานจริงนั้นมีข้อมูลสถิติว่ากว่า 86% ของปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบนี้ สามารถถูกแก้ไขได้โดยอัตโนมัติด้วยความสามารถของ HPE InfoSight เลยทีเดียว
HPE InfoSight นั้นได้รวบรวมเอาทั้งข้อมูลจาก HPE ProLiant, HPE Nimble Storage, Network ภายในระบบ ไปจนถึงข้อมูลระดับของ Virtualization และ Application ต่างๆ ภายใน HPE Nimble Storage dHCI ไปประมวลผล ทำให้ไม่ว่าปัญหานั้นๆ จะเกิดขึ้นที่ระดับใด HPE InfoSight ก็สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นและมีคำตอบให้ได้อยู่เสมอ
นอกจากในแง่มุมของการแก้ไขปัญหาแล้ว HPE InfoSightl เองก็ยังสามารถช่วยทำนายแนวโน้มการใช้ทรัพยากรหรือประสิทธิภาพในส่วนต่างๆ เพื่อให้ผู้ดูแลระบบมีข้อมูลสำหรับนำไปวางแผนเพิ่มขยายทรัพยากรได้ตามแนวโน้มที่เกิดขึ้นจากการใช้งานจริง และสามารถทำนายล่วงหน้าได้ด้วยว่าระบบใดมีแนวโน้มที่จะมีปัญหา เพื่อให้ผู้ดูแลระบบสามารถทำการป้องกันล่วงหน้าได้ทันท่วงที ลดความเสี่ยงที่จะเกิด Downtime ภายในระบบลงได้เป็นอย่างดี
ติดต่อทีมงาน Metro Connect ได้ทันที
ผู้ที่สนใจโซลูชันของ HPE สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอทดสอบใช้งานระบบได้ทันทีที่ทีมงาน Metro Connect คุณโยธิน หงส์พันธุ์ (Mr.Yothin Hongphan) yothinhon@metroconnect.co.th 02-089-4343