SD-WAN นั้นกลายเป็นเทคโนโลยีมาแรงที่แทบทุกองค์กรต้องเริ่มใช้งานในปัจจุบันแทนระบบ WAN แบบเดิมๆ กันแล้ว และ NTT Communications ยักษ์ใหญ่ทางด้านระบบเครือข่ายสำหรับองค์กรระดับโลกเอง ก็มีโซลูชัน SD-WAN ของตนเองที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการตอบโจทย์ของธุรกิจขนาดกลางในประเทศไทยที่อาจมีหลายสาขา ไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีสาขาเชื่อมถึงกันทั่วทั้งโลก วันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับแนวคิดของ SD-WAN และโซลูชันจาก NTT Communications ที่พร้อมให้บริการทั่วไทยและทั่วโลกแล้ววันนี้ครับ
การมาของ Cloud ทำให้ WAN ต้องเปลี่ยนไป
จุดพลิกผันของวงการระบบเครือข่ายที่ทำให้เหล่าผู้พัฒนาเทคโนโลยีระบบ WAN ต้องคิดใหม่ทำใหม่เลยนั้นก็คือการเข้ามาของบริการ Cloud ที่ทำให้ระบบ IT เดิมๆ ที่เคยเป็นเรื่องยากนั้นกลายเป็นเรื่องง่าย ซึ่งมุมมองเหล่านี้เองก็ได้ถูกนำไปปรับใช้กับเทคโนโลยีอื่นๆ รวมถึง WAN ด้วย แต่นั่นยังไม่ใช่ทั้งหมดของจุดกำเนิดของ SD-WAN
นอกเหนือไปจากประเด็นเรื่องความง่ายแล้ว บริการ Cloud เองก็ยังทำให้องค์กรต่างๆ นั้นย้ายระบบงานเดิมๆ หรือขึ้นระบบ Application ใหม่ๆ อยู่บน Cloud แทน และทำให้พฤติกรรมการใช้งานระบบเครือข่ายภายในองค์กรนั้นเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากเดิมที่ระบบงานต่างๆ อยู่ภายใน Data Center สาขาต่างๆ ขององค์กรทั้งหมด ระบบเหล่านี้จำนวนมากก็ขึ้นไปอยู่บน Cloud และทำให้การเชื่อมต่อไปยัง Application เหล่านี้ต้องเชื่อมต่อออกไปยังภายนอกองค์กรแทน SD-WAN จึงไม่ได้มีเพียงแค่ความง่ายเท่านั้น แต่การตอบโจทย์ด้านการเชื่อมต่อไปยัง Cloud นั้นก็เป็นอีกโจทย์สำคัญของ SD-WAN ด้วย
NTT Communications ได้สรุปแนวโน้มของระบบ WAN สำหรับใช้งานภายในองค์กรเอาไว้ 5 ประเด็นหลักๆ ด้วยกัน ดังนี้
- 30-50% ของ Traffic จากองค์กรขนาดใหญ่นั้นจะมุ่งไปสู่บริการ Cloud และทำให้ระบบ WAN แบบเดิมไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป (อ้างอิงจาก Gartner)
- 80% ของ Application สมัยใหม่จะถูกติดตั้งใช้งานบน Cloud (อ้างอิงจาก IDC)
- Bandwidth ของระบบ WAN ตามสาขาต่างๆ จะสูงขึ้นปีละ 20% และปริมาณ Traffic โดยรวมทั้งหมดจะสูงขึ้นเป็น 2 เท่าในทุกๆ 3 ปี
- ในปี 2018 40% ของการลงทุนระบบ WAN Edge ใหม่ๆ นั้นเป็นการลงทุนในระบบ vCPE หรือ SD-WAN (อ้างอิงจาก Gartner)
- โซลูชันระบบ WAN แบบเดิมๆ ที่มีราคาแพงและอัปเกรดได้ยากนั้น จะไม่ตอบโจทย์ต่อตลาดอีกต่อไป
SD-WAN ทำทุกสิ่งที่เคยซับซ้อนให้ง่าย เป็นอัตโนมัติ และจัดการได้จากศูนย์กลาง ด้วยการนำความสามารถต่างๆ ที่มีในระบบ WAN นั้นมาพัฒนาเป็นโซลูชันที่พร้อมใช้งานได้โดยไม่ต้องอาศัยความรู้เชิงเทคนิคอย่างในอดีต ที่ผู้ดูแลระบบต้องทำการตั้งค่าระบบเครือข่ายชั้นสูงอย่างซับซ้อน โดยเทคโนโลยี SD-WAN ของ NTT Com นี้ นำความสามารถของ Cloud มาใช้เพื่อให้อุปกรณ์ SD-WAN Edge นั้นสามารถติดตั้งและทำการตั้งค่าจากระยะไกลได้อย่างง่ายดาย ทำให้การกำหนดเส้นทางการเชื่อมต่อและนโยบายต่างๆ เป็นไปได้อย่างรวดเร็วกว่าในอดีตเป็นอย่างมาก ในขณะที่การจัดการด้านการเชื่อมต่อไปยังบริการ Cloud ต่างๆ นั้นก็สามารถทำได้ในตัวทันทีอีกด้วย
ทั้งนี้การจัดการ Traffic ของระบบ SD-WAN นั้นจะยากง่ายแค่ไหน หรือสามารถจัดการตั้งค่าในเชิงลึกได้มากเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่นำมาใช้ NTT Communications นั้นต้องการตอบโจทย์สำหรับเหล่าธุรกิจองค์กร จึงได้เลือกสรรเทคโนโลยีต่างๆ และทำการทดสอบมาเป็นอย่างดี เพื่อให้โซลูชัน NTT SD-WAN Platform นี้สามารถตอบโจทย์ของธุรกิจได้อย่างดีที่สุดนั่นเอง
NTT SD-WAN Platform: เชื่อมต่อทุกสิ่งที่จำเป็นต่อการทำงานเข้าด้วยกันอย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าที่เคย
ในมุมของธุรกิจองค์กรนั้น ความคุ้มค่าในการลงทุนถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ใช้ตัดสินใจในการลงทุนระบบ IT ใดๆ มาตั้งแต่อดีตอย่างยาวนาน และการอัปเกรดจากระบบ WAN ไปสู่ SD-WAN นั้น ความคุ้มค่าต้องเป็นสิ่งที่จับต้องได้ และ NTT Communications ก็ตอบโจทย์นี้ได้เป็นอย่างดีใน NTT SD-WAN Platform
เทคโนโลยี NTT SD-WAN Platform นี้สามารถติดตั้งใช้งานได้ง่าย ทำให้องค์กรใช้เวลาเพียงเล็กน้อยก็สามารถเริ่มต้นใช้ระบบ SD-WAN ได้ ส่งผลให้การลงทุนนั้นได้รับความคุ้มค่าตั้งแต่เริ่มลงทุน ในขณะที่ตัว NTT SD-WAN Platform เองก็ยังมีความสามารถในการปรับแต่งประสิทธิภาพและคุณภาพของการใช้งานระบบเครือข่ายให้ดีขึ้นได้ในตัว ทำให้ในปริมาณ Bandwidth ที่ลงทุนเท่ากันนั้น องค์กรสามารถใช้งาน Bandwidth เหล่านั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น ในขณะที่การทำงานร่วมกันระหว่าง Link หลายๆ เส้นก็สามารถทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มทั้งประสิทธิภาพ, คุณภาพ และความทนทานได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ทำให้ภาพรวมของการลงทุน Link ขนาดและปริมาณที่เท่าเดิม องค์กรจะได้รับ Link เชื่อมต่อที่มีคุณภาพสูงขึ้น และทำให้บางองค์กรอาจตัดสินใจลดปริมาณ Link ที่ใช้เชื่อมต่อให้น้อยลง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายโดยรวมลงได้อีกด้วย
โดยสรุปแล้ว ความสามารถที่โดดเด่นของ NTT SD-WAN Platform มีด้วยกัน 6 ประการ ดังนี้
1. Zero Touch Deployment ติดตั้งที่สาขาได้อย่างง่ายดาย
แต่เดิมนั้นการติดตั้ง Router ตามสาขาอาจต้องส่งวิศวกรที่มีความรู้ด้านระบบเครือข่ายไปประจำที่สาขานั้นๆ เพื่อทำการเชื่อมต่อเครือข่ายและแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ก็ถือเป็นขั้นตอนที่กินเวลาและใช้ทรัพยากรบุคคลของแผนก IT เป็นอย่างมาก
ด้วยเหตุนี้ NTT SD-WAN Device จึงมาพร้อมกับความสามารถในการทำ Zero Touch Deployment เพื่อให้การติดตั้งอุปกรณ์ Edge Device สามารถทำงานได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่นำอุปกรณ์ไปเชื่อมต่อที่สาขา และทำการใส่ Activation Key ให้ถูกต้อง ระบบก็จะทำการเชื่อมต่อเข้ามายัง SD-WAN และโหลดค่า Configuration ต่างๆ โดยอัตโนมัติ พร้อมให้บริหารจัดการได้จากศูนย์กลางทันที
2. TCP Flow Optimization เครือข่ายทำงานได้ด้วยประสิทธิภาพสูงขึ้น 20 เท่า เมื่อเกิด Packet Loss
โดยปกติแล้วเมื่อ Link ที่เชื่อมต่อใดๆ นั้นเกิดปัญหา Packet Loss หรือการเชื่อมต่อที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ ทำให้ข้อมูลเกิดการสูญหาย ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลจะลดต่ำลงเป็นอย่างมาก โดยหากปริมาณการเกิด Packet Loss นั้นอยู่ที่ 1% ปริมาณ TCP Throughput ที่จะใช้งานได้จริงนั้นก็อาจลดลงเข้าใกล้ 0% เลยทีเดียว
เทคโนโลยี TCP Flow Optimization และ Forward Error Correction (FEC) ของ NTT SD-WAN Platform นี้จะช่วยจัดการ TCP Flow ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในภาวะที่มี Packet Loss เกิดขึ้น โดยเมื่อเทียบกันที่กรณี Packet Loss 1% แล้ว Traffic ที่ทำ TCP Flow Optimization นี้จะยังคงมีประสิทธิภาพสูงกว่า Link ทั่วๆ ไปได้ถึง 20 เท่า และระบบเครือข่ายยังคงพอใช้งานได้อยู่บ้างแม้ปริมาณการเกิด Packet Loss จะสูงไปจนถึง 7% ก็ตาม
3. Real-time Traffic Optimization ปรับแต่ง Traffic ให้มีคุณภาพอยู่เสมอ ใช้งาน VoIP ได้อย่างไม่ติดขัด
Traffic ที่มีการรับส่งแบบ Real-time นั้นคือ Traffic กลุ่มที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงเมื่อ Link เกิดปัญหาทางด้านประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น Packet Loss หรือ Jitter หรือค่าความ delay ที่ไม่คงที่ ก็ตาม ดังนั้นระบบ Voice-over-IP หรือ VoIP ที่เหล่าองค์กรต้องใช้งานนั้นก็จะต้องคำนึงถึงคุณภาพของ Link มากเป็นพิเศษ โดยคุณภาพของเสียงที่ใช้ในการสื่อสารผ่านระบบ VoIP นี้จะเรียกค่าว่า Mean Opinion Score (MOS) ซึ่งค่าที่ผู้ใช้งานจะพึงพอใจโดยทั่วไปนั้นจะมีคะแนนสูงกว่า 3.1 ขึ้นไป
ในภาวะการเกิด Packet Loss หรือ Jitter จนทำให้ MOS ของ VoIP เหลือเพียง 2.1 – 3.3 คะแนนนั้น เมื่อมีการเปิดใช้งานความสามารถ Real-time Traffic Optimization FEC ของ NTT SD-WAN Platform แล้ว ค่าคะแนนดังกล่าวก็จะสูงขึ้นเป็น 4.1 – 4.2 คะแนนเลยทีเดียว เรียกได้ว่าคุณภาพในการพูดคุยผ่านระบบ VoIP ในยามที่ระบบเครือข่ายมีปัญหานั้นก็ยังคงคมชัดดี เสมือนไม่มีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นเลย
4. Dynamic Multi-Path Optimization เลือกเส้นทางที่ดีที่สุดให้ทุกการเชื่อมต่อไม่ต้องสะดุดอีกต่อไป
ระบบ WAN แบบเดิมๆ นั้นการตั้งค่าเรื่องการเลือกใช้ Link นั้นอาจเป็นการตั้งค่าตามนโยบายที่กำหนดเอาไว้ ทำให้ในหลายๆ ครั้งการเลือกใช้ Link ตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้นั้นก็ไม่ได้สะท้อนถึงคุณภาพในการเชื่อมต่อจริงๆ
NTT SD-WAN Platform ได้ทำการตอบโจทย์นี้ ด้วยการทำให้ระบบมีการประเมินประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อไปยังปลายทางด้วยเส้นทางต่างๆ อยู่เสมอ ทำให้ระบบรับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละเส้นทางได้อยู่ตลอด และเลือกใช้เส้นทางในการรับส่งข้อมูลที่ดีที่สุดในแต่ละการเชื่อมต่อได้ ไม่มีการติดขัดใดๆ เกิดขึ้นอย่างที่เคยต้องพบกับระบบ WAN อย่างในอดีต
5. Policy-based Traffic Redirection จัดการ Traffic ที่มีความสำคัญสูงได้อย่างครอบคลุม
อีกหนึ่งความสามารถของ NTT SD-WAN Platform นี้ก็คือการจัด Priority ให้กับการเชื่อมต่อแต่ละรูปแบบด้วยการทำ QoS ด้วยหลากหลายเทคนิค ทำให้ผู้ดูแลระบบเครือข่ายสามารถรับประกันได้เสมอว่า Application สำคัญสำหรับทำงานที่อาจจะอยู่ภายใน Data Center ขององค์กรหรืออยู่บน Cloud นั้น จะได้รับ Priority ที่สูงกว่า Traffic ที่ไม่จำเป็นต่อการทำงาน อย่างเช่นการรับชมภาพยนตร์ออนไลน์ได้
6. Application Firewall & NAT ควบคุมทุกการเชื่อมต่อ ตอบโจทย์ Compliance ได้
ความสามารถสุดท้ายที่จะกล่าวถึงนี้ก็คือการให้บริการ Application Firewall เพื่อควบคุมการเข้าใช้งาน Application ต่างๆ ของผู้ใช้งานได้ และการจัดการกับ NAT เพื่อตอบโจทย์บาง Application ที่องค์กรมีการใช้งานอยู่ได้ ดังนั้นถึงแม้ SD-WAN จะมีความเป็นอัตโนมัติสูง แต่ NTT SD-WAN Platform เองก็ยังเปิดช่องให้เหล่าธุรกิจองค์กรสามารถปรับแต่งเชิงลึกเพื่อให้ระบบ IT หรือ Application เดิมๆ ที่มีอยู่นั้นยังคงใช้งานได้อยู่ด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ภายในโซลูชัน NTT SD-WAN Platform นี้จะมีส่วนประกอบสำคัญๆ ที่องค์กรต้องสนใจด้วยกัน 3 ส่วน ได้แก่
- NTT SD-WAN Device อุปกรณ์สำหรับติดตั้งที่สาขาต่างๆ ขององค์กรเพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกันอย่างอัตโนมัติ และจัดการกับ Traffic ในสาขานั้นๆ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพ, ความทนทาน และความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งสามารถเลือกใช้ Hardware รุ่นต่างๆ ที่รองรับประสิทธิภาพหรือมี Port สำหรับเชื่อมต่อแตกต่างกันออกไปได้
- NTT SD-WAN Orchestrator ระบบบริหารจัดการ SD-WAN ทั้งหมดจากศูนย์กลาง ทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษา, การปรับแต่งการใช้งาน และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบ SD-WAN
- NTT SD-WAN Gateway ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อระบบ SD-WAN และ Link เชื่อมต่อ Internet ที่ทีมงาน NTT Communications คอยดูแลรักษาและบริหารจัดการได้แบบ Managed Services ซึ่งองค์กรจะต้องใช้ Link นี้อย่างน้อย 1 Link ในการเชื่อมต่อ SD-WAN โดย Link อื่นๆ อาจเป็นของผู้ให้บริการรายอื่นๆ ได้
ส่วนองค์กรใดที่ต้องการเชื่อมต่อ Data Center ของตนเองเข้ามายังระบบ SD-WAN เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการและเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว NTT SD-WAN Platform นี้ก็มีระบบ Cloud VPN Connect เพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายภายใน Data Center ของตนเองเข้ามาสู่ SD-WAN ได้ผ่านทาง VPN
แต่ถ้าหากองค์กรใดๆ มีการใช้งานบริการ Cloud ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น SaaS หรือ IaaS ก็ตาม NTT SD-WAN Platform ก็สามารถเชื่อมต่อไปยังบริการ Cloud เหล่านั้นได้ด้วยบริการ Cloud Gateway Service ที่มีให้พร้อมใช้งาน
สนใจโซลูชัน SD-WAN ติดต่อทีมงาน NTT Communications ได้โดยตรง
สำหรับผู้ที่สนใจในโซลูชัน SD-WAN สามารถติดต่อทีมงาน NTT Communications เพื่อขอคำปรึกษาหรือใบเสนอราคาได้ทันทีที่ nttct-marketing-gl@ap.ntt.com