รู้จักกับส่วนประกอบต่างๆ ของ Software-Defined Infrastructure สร้าง Data Center ที่ยืดหยุ่นด้วย Software

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เทรนด์เทคโนโลยีทางด้าน Data Center ถือว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก ด้วยแนวคิดใหม่ๆ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นแทบจะทุกวันเพื่อมาตอบโจทย์รูปแบบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด และ Software-Defined Infrastructure หรือ SDI นี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งแนวโน้มที่มาแรงมากสำหรับการทำ IT Transformation ภายในองค์กร ดังนั้นบทความนี้เราจึงจะมาทำความรู้จักเบื้องต้นกับ SDI กันนั่นเองครับ

 

ทำไมการใช้ Hardware เป็นหลักสำหรับใช้งานภายใน Data Center จึงไม่เพียงพออีกต่อไป?

 

 

ด้วยแนวโน้มของการทำ Digital Transformation (DX) ที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม การทำนายล่วงหน้าว่าระบบ IT จะเติบโตไปเป็นอย่างไร, ปรับเปลี่ยนไปลักษณะไหน หรือต้องรองรับอะไรบ้างนั้นกลายเป็นโจทย์ที่ยากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการเลือกลงทุนกับ Hardware ที่ทำหน้าที่เฉพาะ และเพิ่มขยายได้ยากเพราะต้องรอสั่งของ, ติดตั้ง และ Integrate ระบบเข้าด้วยกันนั้นก็มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นคอขวดที่ทำให้นวัตกรรมต่างๆ ขององค์กรไม่สามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็วเท่าที่ควร รวมถึงในอนาคตหากต้องมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่ใช้งาน Hardware เฉพาะทางต่างๆ ที่เคยลงทุนมาก็อาจไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการนั้นๆ ได้อีกต่อไป องค์กรจึงต้องมองหาทางเลือกที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นนั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ แนวทางการใช้ Server Hardware มาเป็นระบบพื้นฐานหลัก แล้วติดตั้ง Software ต่างๆ เพื่อให้ Server ที่มีอยู่สามารถรองรับงานต่างๆ ได้ตามต้องการ และเพิ่มขยายได้อย่างง่ายดายโดยไม่ติดข้อจำกัดด้านการต้องรอสั่ง Hardware เฉพาะทางมาใช้งานนั้นจึงกลายเป็นแนวทางที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ และแนวทางนี้ก็ถูกเรียกรวมๆ ว่า Software-Defined Infrastructure หรือ SDI นั่นเอง

 

SUSE Software-Defined Infrastructure โครงสร้างพื้นฐานสำหรับระบบ Data Center ที่เปิดกว้างและยืดหยุ่น

SUSE ในฐานะของผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Linux สำหรับการใช้งานในระดับองค์กร และเทคโนโลยี Software ต่างๆ เพื่อให้องค์กรสามารถเติบโตและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง จึงได้ทำการพัฒนาโซลูชันทางด้าน SDI ขึ้นมาเพื่อให้เหล่าองค์กรสามารถใช้ Software เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักภายใน Data Center และรองรับการเกิดขึ้ันของนวัตกรรมใหม่ๆ และการเปลี่ยนแปลงทิศทางต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง โดยมั่นใจได้ว่าระบบทั้งหมดจะสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี และมี Security ครอบคลุมเพื่อปกป้องระบบและข้อมูลสำคัญของธุรกิจเอาไว้ได้ พร้อมเครื่องมือช่วยเหลือในการบริหารจัดการแและดูแลรักษาระบบที่ครบถ้วน พร้อมใช้งานได้ในระยะยาว

ระบบ SDI นี้จะเป็นรากฐานสำหรับให้องค์กรนำไปต่อยอดสร้างบริการใหม่ๆ ได้ เช่น ระบบสำหรับรองรับเทคโนโลยี Container ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในการทำ DevOps หรือเทคโนโลยีฝั่ง Platform as a Service (PaaS) เพื่อรองรับ Application ใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SUSE Software-Defined Infrastructure ได้ทันทีที่ https://www.suse.com/solutions/software-defined-infrastructure/

 

องค์ประกอบพื้นฐานของ Software-Defined Infrastructure

SUSE นั้นได้ระบุส่วนประกอบต่างๆ ของระบบ SDI เอาไว้ดังนี้

 

Credit: SUSE

 

  • Physical Infrastructure: ระบบ Hardware ต่างๆ สำหรับใช้ติดตั้งและบริหารจัดการด้วย Software ประกอบไปด้วย Server, Switch และ Storage
  • Operating System: ระบบปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ, มีความมั่นคงปลอดภัย และบริหารจัดการได้จากศูนย์กลาง เพื่อใช้ติดตั้งบน Server ทั้งหมดในระบบ ก่อนที่จะทำการติดตั้ง Software เพื่อทำหน้าที่ต่างๆ ลงไป โดยทาง SUSE ก็ได้นำเสนอ SUSE Linux Enterprise Server มาให้ใช้งานสำหรับกรณีนี้
  • Compute: ระบบ Hypervisor สำหรับสร้าง Virtual Machine และ Container ขึ้นมารองรับการประมวลผล
  • Storage: ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายตัว เพื่อทำหน้าที่ให้บริการข้อมูลสำหรับ VM, Container และ Application ต่างๆ ภายในระบบ โดยทาง SUSE ก็ได้นำเสนอ SUSE Enterprise Storage มารองรับกรณีนี้
  • Networking: ระบบเครือข่ายสำหรับเชื่อมต่อ Compute, Storage และบริการต่างๆ ทั้งหมดเข้าด้วยกัน ให้สามารถควบคุมได้ง่าย และเพิ่มขยายได้ตามการเพิ่มขยายระบบต่างๆ เข้าไป โดยทาง SUSE ก็มีโซลูชันทั้งสำหรับ SDN เพื่อรองรับความต้องการทั่วๆ ไปใน Data Center และ NFV สำหรับตอบโจทย์ธุรกิจกลุ่ม Service Provider เป็นหลัก
  • Private Cloud / IaaS: ระบบเพื่อรองรับการเปลี่ยนทรัพยากรที่มีอยู่ภายใน Data Center ให้สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติและรองรับการเรียกใช้งานแบบ Self-Service จากเหล่าผู้ใช้งานได้โดยตรง ซึ่งทาง SUSE ก็มีเทคโนโลยี SUSE OpenStack Cloud สำหรับตอบโจทย์นี้
  • Public Cloud: เพื่อตอบโจทย์ภาพของ Hybrid Cloud ที่องค์กรสามารถใช้ทรัพยากรในส่วนของ Private Cloud ของตนเองร่วมกับบริการ Public Cloud ได้ โครงการ SUSE Cloud Service Provider Program จึงถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานเทคโนโลยีของ SUSE ได้บนทั้ง AWS, Microsoft Azure และ Google Cloud Platform (GCP) ได้เป็นอย่างดี

ระบบทั้งหมดนี้สามารถถูกควบคุม, บริหารจัดการ และตรวจสอบการทำงานได้ผ่าน SUSE Manager และ SUSE OpenStack Cloud Monitoring แบบศูนย์กลาง เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลรักษาระบบให้สามารถทำงานได้อย่างทนทาน มีประสิทธิภาพ และมั่นคงปลอดภัย

 

เริ่มต้นก้าวสู่การทำ Software-Defined Infrastructure ด้วยการทดลองใช้ Software-Defined Storage ฟรี 60 วันจาก SUSE

สำหรับก้าวแรกที่เหล่าองค์กรต่างๆ สามารถเริ่มต้นได้ก่อนในการก้าวไปสู่การเป็น SDI ในอนาคตนั้น ก็คือการเริ่มทดลองใช้ระบบ SUSE Enterprise Storage เพื่อสร้าง Distributed Storage ขึ้นมาใช้งานภายในองค์กร ให้สามารถรองรับได้ทั้งการทำหน้าที่เป็น Block Storage, File Storage และ Object Storage ที่เพิ่มขยายได้ทั้งแบบ Scale-up และ Scale-out โดยใช้เพียงแค่ Server Hardware เท่านั้น

 

Credit: SUSE

 

SUSE Enterprise Storage นี้ใช้เทคโนโลยีจากโครงการ Open Source ที่ชื่อว่า Ceph ซึ่งเป็น Software-defined Storage (SDS) ที่มีความสามารถครบถ้วน รองรับการเพิ่มขยายตั้งแต่หลัก Terabyte ไปจนถึง Petabyte ตอบโจทย์ Data Center ขนาดใหญ่หรือ Big Data ได้โดยมีไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายการลงทุนด้าน Hardware และสามารถเชื่อมต่อให้บริการข้อมูลกับระบบปฏิบัติการต่างๆ หรือ Hypervisor ค่ายต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย ทำให้สามารถให้บริการระบบ Storage ให้กับทั้งระบบแบบ Physical และ Virtual ได้พร้อมๆ กัน

นอกจากนี้เพื่อให้ธุรกิจองค์กรสามารถเลือกใช้งาน SUSE Enterprise Storage ได้อย่างมั่นใจ ทาง SUSE จึงได้นำเทคโนโลยีไปตรวจสอบและผ่านการรรับรองจากทั้ง Veritas NetBackup, Commvault, HPE Data Protector และ iTernity เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถทำงานร่วมกับโซลูชันการสำรองข้อมูลได้เป็นอย่างดี รวมถึงยังสามารถรองรับการทำหน้าที่เป็น Production Storage ให้กับระบบหลากหลายทั้ง CCTV, Video Streaming, X-Rays, การประมวลผลทางธรณีวิทยา, การวิจัยทางด้านจีโนม, การออกแบบทางด้านวิศวกรรม และอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึงยังสามารถทำงานร่วมกับบริการ Cloud STo

ผู้ที่สนใจสามารถทำการลงทะเบียนเพื่อโหลด SUSE Enterprise Storage มาทดลองใช้งานได้ฟรีๆ ถึง 60 วันที่ https://www.suse.com/products/suse-enterprise-storage/download/

 

ติดต่อตัวแทนจำหน่ายของ SUSE เพื่อขอคำปรึกษาได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจใช้งานระบบปฏิบัติการ SUSE Linux Enterprise Server ภายในองค์กร สามารถติดต่อตัวแทนจำหน่ายของ SUSE ได้ทันที ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1) Netsolutions

  • Name: Kraileark Chanupprakarn
  • Role: Senior Channel Sales Manager
  • Email: kraileark@nsesb.co.th
  • Mobile: 0815785454

2) Ingram Micro

3) SiS Distribution (Thailand) PCL

และสำหรับผู้ที่ต้องการติดต่อทีมงาน SUSE โดยตรง สามารถติดต่อได้ทันทีที่ AseanSales@suse.com

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Google เพิ่ม Gemini ใช้งานได้บนแพ็กเกจ Workspace เริ่มใช้งานได้แล้ววันนี้

หลังจาก Google ได้มีบริการ Gemini for Google Workspace เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานซึ่งมีผู้ใช้มากกว่า 1 แสนรายแล้ว ล่าสุด Google ได้ประกาศให้แชทบอท AI หรือ …

SAP แก้ไขช่องโหว่ร้ายแรงใน NetWeaver Application Server

SAP ออกแพตช์ความปลอดภัยประจำเดือนมกราคม 2025 แก้ไขช่องโหว่ร้ายแรง 2 รายการใน NetWeaver ที่อาจถูกใช้ยกระดับสิทธิ์และเข้าถึงข้อมูล พร้อมอัปเดตแก้ไขช่องโหว่อีก 12 รายการในผลิตภัณฑ์อื่นๆ