Black Hat Asia 2023

[Guest Post] ICS ชี้ในสถานการณ์โควิด 19 ธุรกิจจะต้องปรับตัว ขับเคลื่อนด้วยโซลูชันดิจิทัล ทั้งวางแผนการผลิต บริหารวัตถุดิบ ขนส่งสินค้า และบริหารการขาย

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท อินโนเวชั่น คอนซัลท์ติ้ง เซอร์วิส จำกัด หรือ ICS ผู้ให้บริการที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญโซลูชัน ERP และ Digital Technology & Innovation จาก SAP มีประสบการณ์การเป็นที่ปรึกษายาวนานกว่า 17 ปี ได้เปิดเผยว่าในปี 2564 ธุรกิจของไทยต้องเผชิญกับปัญหาที่ท้าทาย โดยเฉพาะจากสถานการณ์โควิด 19  รอบใหม่ ทำให้หลายอุตสาหกรรมและองค์กรต่างๆ ถูก Disrupt อย่างรุนแรงทำให้ทุกองค์กรต้องปรับแผนงานซึ่งเป็นผลกระทบจากการจำกัดสถานที่ในการเข้าทำงาน พนักงานที่ขาดหายไปจากเหตุสุดวิสัย การขาดแคลนวัตถุดิบ และอื่นๆ ดังนั้นการหาเทคโนโลยี นวัตกรรม รวมถึงโซลูชันดิจิทัล เข้ามาช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้แก่องค์กร สามารถปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทาย ท่ามกลางวิกฤตที่รุนแรงซึ่งคาดว่าจะยังคงอยู่ไปอีกอย่างน้อย 2-3 ปี

 

โดยปี 2564 นี้ เพื่อให้ธุรกิจสามารถรับมือกับการแข่งขันและวิกฤตใหม่ๆ องค์กรควรจะประยุกต์ใช้โซลูชันดิจิทัลด้านการบริหารจัดการต่างๆ ประกอบด้วย

  • ระบบบริหารทรัพยากรขององค์กร Enterprise Resource Planning หรือ ERP ที่ครอบคลุมระบบงานด้านต่างๆ ตั้งแต่การผลิต การจัดหาทรัพยากร การขาย ระบบบัญชี การบริหารคลังสินค้า เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันแบบ Real Time อัพเดทข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ซึ่งจะทำให้สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ได้ทุกมิติเพื่อใช้ในการตัดสินใจที่แม่นยำ ตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้รวดเร็ว
  • ระบบวางแผน และบริหารจัดการด้าน Supply Chain, Integrated Business Planning หรือ IBP เพื่อช่วยบริหารจัดการด้าน Supply Planning บริหารจัดการสต็อกสินค้า การพยากรณ์การขาย เพื่อให้ระบบซัพพลายเชนต่างๆสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยความคล่องตัว ช่วยลดเวลาการผลิต และตอบความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด ทันท่วงทีและแม่นยำมากยิ่งขึ้น
  • การนำเทคโนโลยีอัตโนมัติอย่างระบบ RPA (Robotic Process Automation) เข้ามาสร้างกระบวนการทำงานอัตโนมัติ เพิ่มความรวดเร็วในกระบวนการทำงานที่ต้องทำซ้ำๆ เพื่อช่วยรวบรวม เชื่อมโยง และส่งต่อข้อมูลไปสู่ระบบต่างๆ เพิ่มความรวดเร็ว และลดความผิดพลาดในการทำงาน
  • การนำโซลูชันเพื่ออุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Manufacturing Solution) ที่ขับเคลื่อนด้วยแพลตฟอร์มสำหรับอุตสาหกรรมยุคดิจิทัลจาก Savigent ผสานเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) และระบบปฏิบัติการในกระบวนการผลิต (Manufacturing Execution System : MES) เข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการควบคุม บริหารจัดการด้านการผลิตให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

ช่วยเหลือผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค

โดยจากสถานการณ์โควิดรอบแรกที่ผ่านมา ทำให้ผู้ผลิตสินค้าต้องปรับตัวในด้านการวางแผน Demand & Supply ที่มีความผันผวนอย่างรุนแรง ซึ่งทาง ICS ได้เข้าไปช่วยวางระบบให้ลูกค้าในกลุ่มผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคในการปรับกระบวนการผลิตสินค้า เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านความสะอาด ให้ได้ตามความต้องการของตลาดอย่างทันท่วงที โดยอาศัยข้อมูลการวิเคราะห์และตัดสินใจ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ต้องการความรวดเร็ว แม่นยำ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันที  ซึ่งได้ทำให้บริษัทฯ พลิกวิกฤติเป็นโอกาส สามารถสร้างรายได้ให้องค์กรได้มากขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน โดยการนำเอาโซลูชัน SAP Integrated Business Planning หรือ IBP เข้ามาช่วยบริหารจัดการด้าน supply chain และ SAP S/4 HANA  เข้ามาช่วยวิเคราะห์ทั้งระบบตั้งแต่การวางแผนผลิตสินค้า การบริหารวัตถุดิบ ขนส่ง สต็อคสินค้า และระบบการขาย โดยเฉพาะช่วงวิกฤตที่วัตถุดิบมีจำนวนจำกัด การขนส่งสินค้าใช้เวลาที่ไม่แน่นอน ทำให้การดำเนินงานไม่สะดุด มีการวางแผนรองรับปัญหาเฉพาะหน้า ใช้ระบบข้อมูลวิเคราะห์แบบ Real time ปรับสินค้าให้ตรงตามความต้องการของตลาดได้ทันที  

 

ช่วยเหลือธุรกิจแปรรูปและสินค้าการเกษตร

การผลิตสินค้าแปรรูปและสินค้าด้านการเกษตร เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์อย่างมาก เพราะพืชผลการเกษตรแต่ละชนิดมีข้อมูลรายละเอียดต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง หรือทางภาคปศุสัตว์ ซึ่งทาง ICS ก็ได้เข้าไปช่วยลูกค้ากลุ่มนี้วางระบบได้ตั้งแต่ต้นน้ำของผู้ปลูก การวางระบบจัดการลงทะเบียนเกษตรกร วางแผนเก็บเกี่ยว คัดสรรเกรดของผลผลิต การนำผลผลิตเข้าโรงงาน รวมจนถึงการแปรรูป และนำสินค้าเข้าสู่ตลาด ซึ่งผู้บริโภคหรือผู้ซื้อปลายทางจะสามารถเช็คข้อมูลย้อนหลังได้

โดย ICS เป็นบริษัทฯ ที่มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาในการขึ้นระบบ และนำเทคโนโลยีและโซลูชันที่ตอบโจทย์ในแต่ละธุรกิจ ด้วยการนำความเชี่ยวชาญในระบบ SAP S/4 HANA, SAP Integrated Business Planning, SAP iRPA Robotic Process Automation Robotic และ Savigent Platform เข้ามาช่วยแก้ไขในจุดอ่อนและอุปสรรคของธุรกิจ นอกจากนี้จากประสบการณ์ในธุรกิจที่ ICS ได้เคยวางระบบให้กับหลากหลายประเภทธุรกิจ จึงทำให้สามารถนำมาเป็นตัวชี้วัดให้กับลูกค้า เพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพในระยะเวลาอันสั้น และลดการลงทุนได้อีกด้วย

ซึ่งที่ผ่านมา ICS ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทฯ ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งในกลุ่มธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าเกษตร สินค้าแปรรูปอาหารสัตว์ปีก สัตว์น้ำ กลุ่มผู้ผลิตสินค้า consumer product และกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจเหล็กและอื่นๆ

โดยบริษัทฯ ที่สนใจขอคำปรึกษาด้าน Digital supply planning, Robotic Process Automation, Smart Manufacturing Solution และ SAP S/4 HANA สามารถติดต่อมาที่บริษัท อินโนเวชั่น คอนซัลท์ติ้ง เซอร์วิส จำกัด โทรศัพท์ 02-1293382 ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

 


About Maylada

Check Also

พลิกมุมคิดการจัดการคลาวด์ไอทีอย่างสมาร์ตฉบับวีเอ็มแวร์ [Guest Post]

แม้คลาวด์จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการพาองค์กรก้าวข้ามวิกฤตไปสู่การสร้างสรรค์โมเดลธุรกิจหรือกลยุทธ์การแข่งขันใหม่ ด้วยคุณลักษณะที่คล่องตัว (Agility) ในการปรับความต้องการใช้งานโดยอัตโนมัติ (Auto-Scaling) ได้ด้วยตัวเอง (Self-Services) ทว่าหลายองค์กรซึ่งเลือกปฏิวัติระบบธุรกิจขึ้นสู่คลาวด์กลับประสบปัญหาการจัดการทรัพยากรที่ยิบย่อยบนคลาวด์ไม่ไหว แถมหัวจะปวดกับภัยคุกคามที่ยุ่งยากในการป้องกัน ด้วยเหตุนี้ ความคาดหวังต่อไอทีคลาวด์ยุคถัดไป คือ การปรับแต่งแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มคลาวด์ไอทีให้ทันสมัยตรงต่อความต้องการทางธุรกิจ ภายใต้ระบบการรักษาความปลอดภัยแบบองค์รวมที่แข็งแกร่ง ทั่วถึง และเป็นอัตโนมัติกว่าเดิม

เสริมแกร่งความมั่นคงปลอดภัยในที่ทำงานด้วยบริการไอทีฉลาดล้ำกว่าเคย

บทความโดย คุณธเนศ อังคศิริสรรพ ผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคอินโดจีน เลอโนโว ด้วยรูปแบบการทำงานแบบไฮบริดและยืดหยุ่นในองค์กรหลายแห่ง บริษัทหลายแห่งต่างกำลังพยายามตอบสนองต่อความคาดหวังและลำดับความสำคัญของพนักงาน ฝั่งทีมไอทีเองก็ต้องรักษามาตรฐานการให้บริการจากทางไกลในระดับสูงเพื่อสนับสนุนให้พนักงานยังคงสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง การทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น บริษัทจะต้องสร้างระบบไอทีที่แข็งแกร่งทนทานยิ่งขึ้นพร้อมกับคงไว้ซึ่งแนวทางใหม่ในการทำงาน  อย่างไรก็ตาม ความท้าทายคือ สภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริดในทุกวันนี้ทำให้การจัดการจากระยะไกลนั้นซับซ้อนยุ่งยาก ระบบการจัดการทรัพยากรรุ่นเก่ายิ่งทำให้ผู้ดูแลระบบไอทีจัดการงานและภัยคุกคามเชิงรุกได้ยากกว่าเดิม …