Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

สรุปงานสัมมนา Exploring Digital Transformation by Stream 2019 เมื่อธุรกิจไทยต้องเตรียมใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กโทรนิกส์อย่างเต็มตัว

ที่ผ่านมา ทีมงาน TechTalkThai มีโอกาสได้ไปร่วมงานสัมมนา Exploring Digital Transformation by Stream 2019 ซึ่งทาง Stream I.T. Consulting ได้นำเสนอเรื่องราวของการนำ e-Tax Invoice และ e-Receipt ให้กับผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินและบัญชีกว่า 200 คน เพื่อให้ธุรกิจไทยได้เตรียมความพร้อมในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการกับภาษีและใบเสร็จต่างๆ ที่เกิดขึ้นในธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงขอนำสรุปประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจให้ผู้อ่านทุกท่านได้อ่านกันดังนี้ครับ

Stream I.T. Consulting ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมใหม่สำหรับตอบโจทย์ธุรกิจองค์กรไทย และ e-Tax Invoice และ e-Receipt ก็เป็นหนึ่งในนวัตกรรมหลักในปัจจุบัน

Credit: Stream I.T. Consulting

งานสัมมนาครั้งนี้เริ่มต้นโดยคุณพงษ์ศักดิ์ หนุนชู Senior Executive Vice President แห่ง Stream I.T. Consulting ได้ออกมาเล่าถึงทิศทางธุรกิจของ Stream ที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากจากปีก่อนๆ จากแนวโน้มของการทำ Digital Transformation ที่เกิดขึ้น ทำให้ทีมงาน Stream I.T. Consulting เองต้องขยายจำนวนพนักงานจนปัจจุบันนี้มีพนักงานเกือบ 300 คน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าธุรกิจองค์กรทั่วไทย

ในแง่มุมของการนำเสนอโซลูชันด้านทาง IT สู่ธุรกิจองค์กรนั้น ทาง Stream I.T. Consulting เองก็ต้องปรับตัวให้โซลูชันที่นำเสนอนี้สอดคล้องไปกับแนวโน้มของธุรกิจไทยเช่นกัน โดยจุดเด่นของ Stream นั้นก็ยังคงเป็นองค์ความรู้ด้านกระบวนการทางธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ และการนำเทคโนโลยีเข้าไปสอดผสานเพื่อปรับปรุงให้กระบวนการการทำงานนั้นมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นและลดต้นทุนการดำเนินงานลง รวมถึงการมีความเชี่ยวชาญในแง่มุมต่างๆ ด้านธุรกิจการเงิน ซึ่งสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ในธุรกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี

คุณพงษ์ศักดิ์ยังได้เน้นย้ำถึงประเด็นหนึ่งซึ่งก็คือ Digital Security ที่ธุรกิจทุกขนาดในทุกอุตสาหกรรมต้องหันมาทำความเข้าใจและให้ความสำคัญกันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากการที่เทคโนโลยีต่างๆ นั้นได้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในทุกกระบวนการของธุรกิจและนวัตกรรมต่างๆ ที่ใช้ในการแข่งขัน ดังนั้นประเด็นของความมั่นคงปลอดภัยจึงไม่อาจละเลยได้อีกต่อไป เพราะความผิดพลาดเพียงครั้งเดียวนั้นอาจส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อธุรกิจจนไม่สามารถแก้ไขได้ ซึ่ง Stream เองก็ไม่ต้องการที่จะให้ธุรกิจไทยต้องประสบกับเหตุการณ์ลักษณะนั้นเลย

คุณพงษ์ศักดิ์ได้ทิ้งท้ายด้วยการเล่าถึงที่มาของงานสัมมนาในครั้งนี้ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้กับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับระบบงานทางด้านบัญชีและการเงิน ที่ต้องทำระบบใบกำกับภาษีอิเล็กโทรนิกส์ เพื่อให้กระบวนการต่างๆ เป็นไปอย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด เนื้อหาต่างๆ ในสัมมนาครั้งนี้จึงเน้นเรื่องของการแบ่งปันความรู้และข้อมูลเชิงกฎหมายเป็นหลักนั่นเอง และได้เชิญคุณรัตนา เลิศภิรมย์ลักษณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อกฎหมาย e-Tax Invoice และ e-Receipt มาให้ความรู้โดยตรงในงานสัมมนาครั้งนี้กันอย่างเข้มข้นทีเดียว

e-Tax Invoice และ e-Receipt คืออะไร?

Credit: Stream I.T. Consulting

ถึงแม้แนวคิดของ e-Tax Invoice และ e-Receipt นี้จะมีมาได้ระยะใหญ่แล้ว แต่หลายๆ คนนั้นก็ยังไม่รู้จักเพราะยังถือว่าเป็นเรื่องไกลตัว อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนี้ทางภาครัฐเองก็ได้เริ่มสนับสนุนให้ธุรกิจไทยเริ่มหันเข้าสู่ระบบ Digital กันมากขึ้นแล้ว และก็เริ่มมีธุรกิจไทยที่ใช้งาน e-Tax Invoice และ e-Receipt จริงในการดำเนินงานแต่ละวันแล้ว ดังนั้น e-Tax Invoice และ e-Receipt ก็คงไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวอีกต่อไป

กล่าวโดยสรุปแล้ว e-Tax Invoice และ e-Receipt ก็คือการเปลี่ยนเอกสารใบกำกับภาษีให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มตัว โดยมีกระบวนการในการนำส่งข้อมูลไปยังกรมสรรพากร, รูปแบบของเอกสาร และข้อบังคับต่างๆ ที่ชัดเจนตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งหากธุรกิจใดต้องการเริ่มต้นสร้าง e-Tax Invoice และ e-Receipt ก็จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกรมสรรพากรก่อน

เอกสาร e-Tax Invoice และ e-Receipt นี้สามารถใช้งานได้จริงแล้ว โดยถึงแม้ธุรกิจของเราจะยังไม่ได้ไปเดินเรื่องใดๆ กับกรมสรรพากรก็ตาม แต่หากมีธุรกิจใดทำการส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องมาให้ เราก็ต้องเริ่มต้นทำการจัดเก็บเอกสารตามระเบียบข้อบังคับแล้ว

ธุรกิจไทย ทำ e-Tax Invoice และ e-Receipt แล้วได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง?

Credit: Stream I.T. Consulting

สำหรับประโยชน์หลักๆ ที่เห็นได้ชัดนั้นก็คือการลดเอกสารกระดาษและขั้นตอนที่วุ่นวายซึ่งเต็มไปด้วยค่าใช้จ่ายลงไปหลายขั้นตอนมาก ทำให้การนำส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องนี้เกิดขึ้นในรูปแบบ Digital ทั้งหมด ซึ่งสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่เคยต้องออกเอกสารเหล่านี้จำนวนมากในแต่ละวันนั้น ก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในภาพรวมลงไปได้มากทีเดียวทั้งค่าใช้จ่ายในการสร้าง, การส่ง และการเก็บรักษาเอกสาร ในขณะที่ธุรกิจออนไลน์นั้นก็สามารถปรับตัวเองไปสู่การเป็น Paperless อย่างเต็มตัวได้อย่างไม่ยากเย็น ทำให้ทุกๆ ธุรกิจก้าวสู่การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจรได้

นอกจากนี้ ด้วยการที่เอกสารอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีข้อบังคับต่างๆ มากมาย ซึ่งถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ การเปลี่ยนมาใช้ e-Tax Invoice และ e-Receipt นี้จึงสามารถช่วยลดโอกาสในการทำทุจริตในธุรกิจต่างๆ ลงได้ พร้อมทั้งยังมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือและนำไปใช้พิสูจน์ในทางกฎหมายซึ่งสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วด้วย

สำหรับธุรกิจที่ต้องมีการ Audit ทางด้านบัญชีและการเงิน การนำ e-Tax Invoice และ e-Receipt นี้จะช่วยให้ขั้นตอนการ Audit เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายยิ่งขึ้นด้วยเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบชัดเจน และเชื่อถือได้ว่าไม่มีการถูกเปลี่ยนแปลงข้อมูลด้วยความสามารถในการตรวจสอบย้อนหลังได้

e-Tax Invoice และ e-Receipt นี้ยังถือเป็นหนึ่งในโครงการที่ส่งเสริมและสนับสนุนนโยบาย Thailand 4.0 และ National e-Payment ด้วย ดังนั้นทางภาครัฐเองก็ต้องเริ่มขยับตัวหันมาใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น และท้ายที่สุดแล้วภาคเอกชนก็จะหลีกเลี่ยงการใช้งานไม่ได้หากต้องการแข่งขันกับธุรกิจอื่นๆ ในอุตสาหกรรมที่เริ่มลดต้นทุนด้วยการนำ e-Tax Invoice & e-Receipt ไปใช้งานแล้ว

ตัวอย่างขั้นตอนการรับส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

Credit: Stream I.T. Consulting

เพื่อให้เห็นภาพการใช้งาน e-Tax Invoice และ e-Receipt กันมากขึ้น ในงานสัมมนาครั้งนี้จึงได้หยิบยกตัวอย่างของการรับส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เอาไว้ดังนี้

ผู้ขายสินค้าหรือบริการ ในฐานะของผู้ออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หลังจากที่ได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าแล้วก็จะต้องทำการสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีรูปแบบตามที่กฎหมายกำหนด พร้อมมีการเซ็นต์ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ พร้อมทั้งมีการจัดเก็บ การส่งเอกสารไปยังผู้รับ การส่งข้อมูลไปยังกรมสรรพากร และการเก็บรักษาในระยะยาวตามแนวทางที่กฎหมายกำหนด

เมื่อเอกสารถูกส่งออกไปยังผู้รับซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือบริการแล้ว ก็จะต้องมีการรับและตรวจสอบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ แล้วทำการเก็บรักษาเอาไว้ตามแนวทางที่กฎหมายกำหนด

จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วภาพรวมของการรับส่งเอกสารเหล่านี้ก็ยังคงเหมือนกับการใช้กระดาษอยู่ เพียงแต่การกำหนดรูปแบบของเอกสาร การบังคับใช้กระบวนการต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และการเก็บรักษาเอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้นที่ถูกเพิ่มเข้ามา

4 ช่องทางการนำส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แก่กรมสรรพากร

สำหรับการนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีและใบรับอิเล็กทรอนิกส์แก่กรมสรรพากรนี้ จะแบ่งออกเป็น 4 ช่องทางหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่

  1. Host to Host เชื่อมต่อระบบของเราเข้ากับระบบของกรมสรรพากรโดยตรง เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีเอกสารอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมหาศาล
  2. Service Provider ส่งข้อมูลผ่านผู้ให้บริการหรือตัวกลางที่ได้รับสิทธิ์จากกรมสรรพากร ซึ่งก็คือผู้ให้บริการระบบที่เกี่ยวข้องกับ e-Tax Invoice และ e-Receipt นั่นเอง ซึ่งธุรกิจต่างๆ สามารถตรวจสอบว่าใครเป็น Service Provider บ้างผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
  3. Upload File ทำการอัปโหลดข้อมูลส่งให้กรมสรรพากรด้วยตนเอง
  4. Email สำหรับธุรกิจที่มียอดขายไม่เกิน 30 ล้านบาท สามารถนำส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทาง Email ได้ โดยจะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมในการดำเนินการ

แนวทางการในการนำส่งข้อมูลที่หลากหลายนี้ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อให้ธุรกิจต่างๆ นั้นสามารถเลือกใช้ช่องทางที่เหมาะสมกับตนเองได้ เพื่อให้ท้ายที่สุดแล้วระบบ e-Tax Invoice และ e-Receipt นี้จะได้กลายเป็นแนวทางที่ใช้งานได้ง่าย ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อธุรกิจใดๆ ในการเข้ามาร่วมระบบนี้

ประเด็นด้านเทคโนโลยีที่ธุรกิจต้องรู้จักให้ดีก่อนเริ่มทำ

ภายในระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ e-Tax Invoice และ e-Receipt นี้มีข้อกำหนดมากมายที่ระบุถึงประเด็นทางด้านเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์, การใช้ Digital Signature และ Certification Authority, การบังคับใช้ USB Token หรือ Hardware Security Module (HSM) ไปจนถึงการออกแบบระบบและกระบวนการให้มีความมั่นคงปลอดภัยสูงและน่าเชื่อถือได้ทั้งในส่วนของ Hardware และ Software ซึ่งภาคธุรกิจนั้นจะต้องศึกษาและจัดการระบบรวมถึงจัดเตรียมเอกสารให้ดีในประเด็นนี้

ข้อบังคับเหล่านี้เองอาจกลายเป็นโอกาสดีที่จะทำให้หลายๆ ธุรกิจได้หันมาให้ความสำคัญกับการวางระบบและกระบวนการการทำงานต่างๆ ในฝ่าย IT ให้เป็นมาตรฐานมากยิ่งขึ้นและมีความมั่นคงปลอดภัยสูงขึ้น ดังนั้นหากธุรกิจองค์กรใดที่เคยละเลยประเด็นเหล่านี้มาก่อนก็คงไม่อาจมองข้ามไปได้อีกแล้วหากต้องการใช้งาน e-Tax Invoice และ e-Receipt ในอนาคต

ประเด็นด้านกฎหมายมีข้อบังคับและรายละเอียดมากมาย ต้องศึกษาให้ดีก่อนทำ

กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ e-Tax Invoice และ e-Receipt นี้ถือว่ามีไม่น้อยทีเดียว ดังนั้นการมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายภาษีมาช่วยนั้นก็ถือเป็นสิ่งที่จำเป็น ในขณะที่กฎหมายหรือข้อบังคับบางประการนั้นก็ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางด้าน IT และ Security เข้ามาช่วยอธิบายและปรับปรุงระบบภายในให้สอดคล้อง ดังนั้น การมีทีมงานที่วางใจให้เป็นที่ปรึกษาและช่วยดูแลในประเด็นด้านข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องจึงถือว่าสำคัญมาก

อย่างไรก็ดี การเริ่มต้นทำ e-Tax Invoice และ e-Receipt นี้สามารถเริ่มทำแค่เฉพาะบางส่วนก่อนได้ และยังสามารถทำควบคู่กับระบบเดิมที่ใช้เอกสารกระดาษแบบเดิมต่อไปได้ด้วย เพียงแต่ว่าหากเอกสารนั้นถูกสร้างขึ้นมาในระบบใด หากมีการแก้ไขหรือยกเลิกก็ต้องไปทำในระบบนั้นๆ เท่านั้น ดังนั้นการเริ่มต้นทำ e-Tax Invoice และ e-Receipt ในส่วนเล็กๆ ก่อนที่จะขยายไปสู่ทุกภาคส่วนของธุรกิจนั้นก็ถือเป็นอีกแนวทางที่น่าสนใจ เพื่อให้ทีมงานนั้นมีความคุ้นเคยกับกระบวนการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เสียก่อน

ทั้งนี้ทางภาครัฐเองก็มีการออกมาตรการส่งเสริมให้ธุรกิจเอกชนหันมาใช้ e-Tax Invoice และ e-Receipt กันมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการติดตามสิทธิประโยชน์เหล่านี้อย่างต่อเนื่องก็อาจช่วยให้การตัดสินใจเริ่มต้นทำ e-Tax Invoice และ e-Receipt นั้นคุ้มค่าเร็วยิ่งขึ้น และมีแรงจูงใจให้กับภาคธุรกิจมากขึ้นด้วย

TaxOne บริการ Cloud สำหรับจัดการภาษีธุรกิจครบวงจร ตอบโจทย์ข้อกฎหมายและความต้องการของกรมสรรพากรได้ครบถ้วน

เพื่อให้การเริ่มต้นใช้งาน e-Tax Invoice และ e-Receipt เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายที่สุด ทางทีมงานของ Stream I.T. Consulting จึงได้ทำการพัฒนาบริการ Cloud ในรูปแบบ Software-as-a-Service หรือ SaaS ภายใต้ชื่อบริการ TaxOne ขึ้นมา เพื่อให้ธุรกิจต่างๆ ได้นำไปใช้งานและเชื่อมต่อกับระบบ Application ภายในธุรกิจของตนเองได้ทันที พร้อมมีบริการเสริมต่างๆ เพื่อช่วยจัดการด้านเอกสารและกระบวนการที่จำเป็นตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร ถือเป็นระบบแรกที่ได้จัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เข้าระบบของกรมสรรพากรเป็นรายแรกในประเทศไทยภายใต้ระเบียบนี้

Credit: Stream I.T. Consulting

ความสามารถของ TaxOne นี้ครอบคลุมประเด็นหลักๆ ในการทำ e-Tax Invoice และ e-Receipt พร้อมทั้งยังเสริมเทคโนโลยีและบริการอื่นๆ เข้าไปเพื่อให้ Workflow ของการจัดการเอกสารเหล่านี้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น ดังนี้

  • รองรับการสร้างเอกสาร Digital, การส่งมอบเอกสาร Digital และการเก็บรักษาตามข้อบังคับของกรมสรรพากร
  • บริการให้คำปรึกษาและแนะนำขั้นตอนการเดินเรื่องเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์กับทางกรมสรรพากร
  • บริการให้คำปรึกษาและจัดวาง Workflow ด้านการจัดการเอกสารบัญชีและการเงิน
  • มีระบบสำหรับทำหน้าที่เป็น Software จัดการงานด้านบัญชีและเอกสารการเงินต่างๆ ได้
  • บริการจัดการข้อมูลให้อยู่ในรูปของ XML และ PDF A-3 ซึ่งรองรับการลงลายมือชื่อ Digital ได้
  • บริการระบบ Enterprise Content Management (ECM) เพื่อจัดเก็บเอกสาร Digital ย้อนหลังได้ถึง 5 ปี หรือยาวนานกว่า ตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร
  • บริการพัฒนาระบบเพื่อเชื่อมต่อกับ ERP, CRM, E-Commerce ที่ใช้งานอยู่เดิม เพื่อเชื่อมระบบจาก SAP, Oracle, Microsoft หรือผู้พัฒนาเทคโนโลยีรายอื่นๆ ให้เชื่อมต่อกับการทำ e-Tax Invoice และ e-Receipt ได้เต็มตัว
  • มีบริการระบบ HSM และ USB Token ให้พร้อมใช้งาน
  • มีระบบ Dashboard สำหรับแสดงผลข้อมูลและแสดงรายงานแบบ Real-time เพื่อติดตามการทำงานได้อย่างง่ายดาย
  • มีระบบ Tax Searching System ซึ่งเป็นระบบการจัดการความรู้ทางกฎหมายด้านภาษี ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถตัดสินใจในประเด็นต่างๆ ได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้นด้วยข้อมูลอ้างอิงทางด้านกฎหมายที่ชัดเจน

เบื้องหลังของ TaxOne นี้มีการใช้งานเทคโนโลยีชั้นนำจาก IBM เป็นหลัก เพื่อให้ภาคธุรกิจองค์กรทุกขนาดนั้นมั่นใจได้ถึงความมั่นคงปลอดภัยและความทนทานของระบบว่าระบบสำคัญของธุรกิจนี้จะทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันอย่างไม่มีปัญหา และไม่ต้องกังวลกับความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัย ด้วยการใช้เทคโนโลยีในระดับเดียวกับที่สถาบันการเงินทั่วโลกใช้งาน รวมถึงยังมีการนำระบบ TaxOne ไปตรวจสอบจนผ่านการรับรองตามมาตรฐาน ISO9001:2015, ISO27001, PMO, ITIL ด้วย

Credit: Stream I.T. Consulting

ปัจจุบันนี้เริ่มมีธุรกิจไทยบางส่วนใช้งาน TaxOne เพื่อสร้างเอกสาร Digital มากถึงหลายล้านชุดต่อวันแล้ว ซึ่งผลลัพธ์นั้นก็คือการทำให้ธุรกิจมีความเป็น Paperless มากขึ้น ลดต้นทุนการจัดการกับเอกสารทางด้านการเงินและบัญชีลงไปได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งการที่มีข้อมูลเหล่านี้เก็บไว้ในรูปแบบ Digital พร้อมใช้งาน ก็ทำให้การนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อยอดหรือทำระบบสืบค้นข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกในแง่มุมต่างๆ เป็นไปได้อย่างง่ายดาย ส่งผลให้ในภาพรวมนั้นธุรกิจประหยัดค่าใช้จ่ายลง และเกิดความคล่องตัวในการทำงานเชิงรุกมากยิ่งขึ้น

ทีมงาน Stream I.T. Consulting ได้ให้ความเห็นว่าความท้าทายของโครงการ e-Tax Invoice และ e-Receipt นี้ก็คือการที่แต่ละธุรกิจองค์กรนั้นมีกระบวนการในการทำงานที่แตกต่างกันและมีการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นการเริ่มต้นใช้ e-Tax Invoice และ e-Receipt นั้นก้าวแรกก็คือการเข้าไปจัดการปรับกระบวนการและวิธีการทำงานภายในธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการทางกฎหมายเสียก่อน ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องที่ใหญ่ยิ่งกว่าประเด็นทางด้านเทคโนโลยีเสียอีก แต่ทีมงาน TaxOne ของ Stream I.T. Consulting ก็พร้อมที่จะเข้าไปช่วยธุรกิจองค์กรต่างๆ ให้ผ่านพ้นขั้นตอนเหล่านี้ได้อยู่แล้ว

ผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเเกี่ยวกับ TaxOne สามารถศึกษาข้อมูลได้ทันทีที่ https://www.streamtaxone.com รวมถึงสามารถติดตามข่าวสารต่างๆ หรือสอบถามข้อมูลผ่านช่องทาง Social Media ได้ที่ https://www.facebook.com/streamtaxone/

ติดต่อทีมงาน Stream I.T. Consulting ได้ทันที

ผู้ที่สนใจและอยากสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นทางด้าน e-Tax Invoice และ e-Receipt ในแง่มุมต่างๆ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบ TaxOne สามารถติดต่อทีมงาน Stream I.T. Consulting ได้ที่อีเมล marketing@stream.co.th หรือ โทร. 0-2679-2233 รวมถึงสามารถติดตามข่าวสารผ่านทางเว็บไซต์ http://www.stream.co.th และ Facebook fan page: https://www.facebook.com/Streamitconsulting เพื่อขอรายละเอียดหรือสอบถามเกี่ยวกับการทำบัญชีและภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Cisco ปิดดีลเข้าซื้อ Splunk มูลค่า 1 ล้านล้านบาท

หลังจากผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มข้นจนได้รับอนุมัติเรียบร้อย ล่าสุดทาง Cisco ได้ประกาศถึงความสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการของ Splunk ที่มูลค่า 28,000 ล้านเหรียญหรือราวๆ 1 ล้านล้านบาทอย่างเป็นทางการแล้ว

เผย Microsoft Office 2024 จะยังคงมี License แบบถาวร เตรียมปล่อย Preview เดือนหน้า เปิดตัวทางการปีนี้

Microsoft ได้ออกมาประกาศว่า Microsoft Office 2024 จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปีนี้ โดยมี Preview มาในเดือนหน้า และจะมาในรูปแบบ Perpetual ใช้งานได้แบบไม่ต้อง Subscribe พร้อมทั้งยังมีรุ่น Long-Term Service ยาวนานถึง 5 ปีด้วย