Digital Transformation (DX) คือ การปฏิรูปธุรกิจจากการใช้ฐานข้อมูลต่างๆ ซึ่งแม้ว่าการปฏิรูปธุรกิจดังกล่าวจะฟังดูเป็นเรื่องเข้าใจยาก แต่ถ้ากล่าวอย่างง่าย ๆ ก็คือ การให้บริการลูกค้ารูปแบบใหม่ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยการแปลงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน ประสบการณ์ และสัญชาตญาณที่สั่งสมมาในที่ทำงานให้กลายเป็นฐานข้อมูล จากนั้นก็นำมาผสานเข้ากับเทคโนโลยี เช่น บริษัทคูโบต้า ผู้ให้บริการเครื่องจักรเกษตรกรรมได้เปิดบริการ “KUBOTA DIAGNOSTIC” ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการซ่อมเครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้าง
แอปพลิเคชันดังกล่าว ช่วยลดจำนวนชั่วโมงการหยุดเครื่องจักรที่ชำรุด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการประเมินการชำรุด ด้วยวิธีการผนวกข้อมูลการชำรุดที่ผ่านมาเข้ากับระบบ AR นอกจากนี้ยังมีกรณีตัวอย่างการใช้ ระบบ DX มากมายบนโลกอินเทอร์เน็ต แต่ยังมองข้ามวัตถุประสงค์ของการรวบรวมข้อมูลในที่ทำงานว่ารวบรวมข้อมูลไปเพื่ออะไร และเอาไปใช้ทำอะไร ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีองค์กรจำนวนมากทุ่มเทให้กับการรวบรวมข้อมูล แต่ไม่ได้คิดต่อว่าจะนำข้อมูลไปใช้ต่ออย่างไร เมื่อรวบรวมข้อมูลเสร็จก็หมดเวลาไปกับการคิดว่าจะนำเอาข้อมูลขนาดมหึมาแบบนั้นไปใช้ทำอะไรต่อ สุดท้ายก็จบด้วยการที่ต้องจ้างบริษัทที่ปรึกษา และต้องจ่ายเงินจำนวนมหาศาล นอกจากนี้ยังมีอีกหลายกรณีที่ต้องล้มเลิกไปเมื่อเห็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่าย รวมถึงระยะเวลาที่ใช้
ด้วยเหตุนี้ Digital Transformation จึงไม่ใช่แค่การแปลงให้เป็นดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังต้องตระหนักถึงการ Transformation ของงานและตระหนักถึงการรวบรวมข้อมูลด้วยว่า ต้องรวบรวมข้อมูลใดบ้าง มีวัตถุประสงค์อะไรในการรวบรวมข้อมูล จากนั้นนำเอาไปใช้ประโยชน์อย่างไร ซึ่งทั้งหมดจำเป็นต้องเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับหน่วยงาน และต้องมีวัฒนธรรมการประยุกต์ใช้ข้อมูลทั่วทั้งในบริษัทเป็นประจำ ถ้าไม่ใช้ข้อมูลเป็นประจำจะทำให้ตัดสินใจได้ยากว่าอะไรคือข้อมูลที่จำเป็น ในทางกลับกันหากเราใช้ข้อมูลเป็นประจำ เราก็จะได้สิ่งแวดล้อมการทำงานโดยที่สมาชิกในพื้นที่ทำงานรู้จักข้อมูล และตัวงานเป็นอย่างดีที่สุด ดังนั้นการส่งเสริมการประยุกต์ใช้ข้อมูลของพวกเขาเหล่านั้น จึงเป็นหนทางของการทำ Transformation ให้เป็นรูปร่างมากขึ้น
แต่ทว่ายังมีอุปสรรคอุปสรรคอื่น ๆ ของการทำ Transformation ในที่ทำงานอีก ซึ่งมีดังต่อไปนี้
-
อุปสรรคทางธุรกิจ : ข้อมูลถูกแบ่งตามสายงานและนำมาใช้ได้ยาก
ตามปกติแล้วจะมีการแบ่งส่วนระบบงาน ดังนั้นข้อมูลก็จะกระจัดกระจายไปในแต่ละงานด้วยเช่นกัน ดังนั้นในการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์ จึงมักมีการมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบในแต่ละหน่วยงานทำ นอกจากนี้ หลังจากมอบหมายงานแล้ว ยังมีอุปสรรคที่ไม่สามารถควบคุมข้อมูลจากส่วนกลางได้เกิดขึ้นอีกมากมาย เช่น กว่าจะได้เป็นรายงานก็ใช้เวลาหลายวัน แต่ข้อมูลที่ได้รับกลับไม่มีเนื้อหาที่ต้องการอยู่ในนั้น กว่าจะได้เป็นรายงานพร้อมส่งได้ ต้องนำมาปรับแต่งก่อน เป็นต้น ดังนั้นในการขจัดปัญหาดังกล่าว สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่การสร้างระบบให้ได้ข้อมูลจำเป็นมาในช่วงเวลาที่ต้องใช้นั่นเอง
-
อุปสรรคทางทรัพยากรบุคคล : ไม่มีบุคลากรคอยวิเคราะห์ข้อมูล จึงไม่รู้ว่าต้องดูข้อมูลส่วนใด
ทรัพยากรบุคคลที่ว่านี้ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์การข้อมูล แต่เป็นผู้ที่เคยวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ใช้ในที่ทำงาน โดยพื้นฐานการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย “การเปรียบเทียบ” “การดูโครงสร้าง” “การดูการเปลี่ยนแปลง” บุคคลทั่วไปก็ทำได้เช่นกัน กรณีที่จำเป็นต้องใช้นักวิทยาศาสตร์การข้อมูล คือ เฉพาะตอนที่วิเคราะห์ข้อมูลขนาดมหึมาเท่านั้น สำหรับการงานทั่วไปแล้ว บุคคลธรรมดาเหล่านั้นจะเป็นผู้กุมข้อกำหนดโดยมีผู้ใช้ในที่ทำงานเป็นศูนย์กลาง อุปสรรคข้อนี้จะเชื่อมโยงกับอุปสรรคทางวัฒนธรรมในข้อถัดไป แต่อุปสรรคนี้หลัก ๆ จะเชื่อมโยงกับการ Transformation ในการสร้างสิ่งแวดล้อมอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในที่ทำงาน เพื่อให้วิเคราะห์ข้อมูลได้ง่าย และปั้นคนเอาไว้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลได้
-
อุปสรรคทางวัฒนธรรม : วัฒนธรรมที่ไม่ประยุกต์ใช้ข้อมูล
ถือเป็นเรื่องยากสำหรับสร้างความชัดเจนเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่ปกติไม่มีการประยุกต์ใช้ข้อมูล ต้องบอกว่าไม่ใช่ไม่ประยุกต์ใช้ข้อมูล แต่ส่วนมากไม่สามารถประยุกต์ใช้ข้อมูลได้ เนื่องมาจากปัญหาของระบบ (ในข้อ 1.อุปสรรคทางธุรกิจ) ในสภาวะแบบนั้น แม้จะพยายามเล่าประสบการณ์ในอดีต และสัญชาตญาณด้วยคำพูด ก็อาจถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้นได้ยาก งานที่ต้องพึ่งพาคนก็จะเพิ่มมากขึ้นอีก ดังนั้นสิ่งสำคัญจึงอยู่ที่การสำรองประสบการณ์และสัญชาตญาณในรูปแบบของข้อมูล และสร้างรูปแบบที่ถ่ายทอดง่าย เมื่อทำดังนี้แล้ว การถ่ายทอดประสบการณ์และสัญชาตญาณที่สั่งสมมาไปสู่คุณสมบัติของพื้นที่การทำงาน ก็จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพพื้นที่ทำงานทั่วทั้งบริษัทได้ นอกจากนี้วัฒนธรรมที่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลดังกล่าวยังสามารถเชื่อมโยงไปยังระบบ DX ได้อีกด้วย สำหรับกรณีการจ้างนักวิเคราะห์จากข้างนอกเพื่อมาวิเคราะห์ข้อมูล หากบุคคลเหล่านั้นไม่เข้าใจพื้นที่การทำงานจริง ก็จะไม่สามารถใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์ได้อยู่ดี แต่เมื่อนักวิเคราะห์กับผู้ใช้งานเป็นคนเดียวกัน ก็จะได้ผลลัพธ์ในทางที่ดีกว่า ดังนั้นสิ่งสำคัญจึงอยู่ที่การตั้งเป้าหมาย เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล และการสร้างวัฒนธรรมการใช้ข้อมูลที่ใคร ๆ ก็ใช้ได้ง่าย
ระบบ Dr.Sum ที่เราได้พัฒนาขึ้น จะช่วยเชื่อมโยงคนกับข้อมูลเข้าด้วยกัน และจะทำลายอุปสรรค 3 อย่างในข้างต้น ถือเป็นระบบ Total BI Solution อันดับหนึ่งในส่วนแบ่งตลาดของญี่ปุ่น โดยระบบ Dr.Sum มี User interface ที่ปรับเข้ากับสภาพงาน สามารถสัมผัสได้โดยตรง และมีฟังก์ชันต่าง ๆ เพื่อเป็นศูนย์กลางการควบคุมข้อมูลอันหลากหลายที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เป็นการใช้ฐานข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลอันเป็นเทคโนโลยีหลักของระบบ ขณะเดียวกันไม่ว่าใครก็สามารถใช้งานได้ ช่วยทำให้เกิดการประยุกต์ใช้ข้อมูลขององค์กร ช่วยสนับสนุนการใช้ข้อมูลทั่วทั้งบริษัท ตั้งแต่ Input ไปยัง Output ตั้งแต่ระดับผู้ใช้ทั่วไป นักวิเคราะห์ ไปจนถึงระดับบริหารจัดการ เป็นต้น
การสร้างสิ่งแวดล้อมให้ใช้ข้อมูลได้ง่าย เป็นหน้าที่ของ Dr.Sum ขณะนี้มีผู้ใช้งานจำนวนมากกำลังพยายามทำ Digital Transformation และมุ่งสร้างวัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลจาก Dr.Sum
ต่อจากนี้ เราขอแนะนำฟังก์ชันที่ทำหน้าที่สนับสนุนงานต่างๆ ในการรวบรวมข้อมูลในที่ทำงาน ซึ่งฟังก์ชันนี้ถือเป็นจุดเด่นของระบบ Dr.Sum เลยก็ว่าได้
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://drsum.asia/th/