Black Hat Asia 2023

กระจาย Enterprise แอปพลิเคชันอย่างรวดเร็วปลอดภัยด้วย Google Play

Google ได้พัฒนา Managed Google Play ที่เป็นฟีเจอร์เดิมซึ่งทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถซื้อขายและกำหนดลิสต์ของแอปพลิเคชันเพื่ออนุญาตใช้งานภายในกลุ่มทีมงานได้ โดยเพิ่มความสามารถให้รองรับการบริหารจัดการแอปพลิเคชันที่เขียนขึ้นเองภายในองค์กรได้

credit : google blog

ฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ดูแลระบบติดตั้งแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นเองได้ มีข้อดีดังนี้

เผยแพร่แอปพลิเคชันได้ง่าย

โดยเวอร์ชันอัปเดตของ Managed Google Play นี้นักพัฒนาแอปพลิเคชันสามารถเผยแพร่แอปพลิเคชันส่วนตัวไปยังองค์กรได้โดยไม่ต้องตั้งค่าผู้ดูแลให้ยุ่งยาก แต่ยังเปิดโอกาสให้นักพัฒนาจาก Third-party เช่น บริษัทตัวแทนสามารถบริหารจัดการแอปพลิเคชันที่ตนพัฒนาขึ้นไปยังผู้ใช้งาน โดยสามารถดูคู่มือช่วยเหลือเพิ่มเติมได้ที่นี่ นอกจากนี้ Google ยังได้ให้ API เพื่อช่วยตัดปัญหาที่ผู้ดูแลต้องเข้าไปหน้า Google Play Console ทุกครั้งที่จะเผยแพร่แอปพลิเคชัน โดยไปใช้ Enterprise mobility management Console (EMM) หรือ Intergrate Development Environment (IDE) แทนได้

 มีการตรวจเช็คความมั่นคงปลอดภัย

แอปพลิเคชันใดก็ตามที่ถูกอัปโหลดไปยัง Google Play จะถูกสแกนหาช่องโหว่ด้านความมั่นคงปลอดภัย ซึ่ง Google Play Protect สามารถสแกนได้กว่า 5 แสนแอปพลิเคชันต่อวัน ผลที่ได้คือจะช่วยบอกถึงการเขียนโค้ดแย่หรือใช้วิธีการเก่า รวมถึงช่องโหว่ของ SDK ที่มาจาก Third-party นั่นทำช่วยตรวจสอบแอปพลิเคชันก่อนถูกเผยแพร่ออกไปเพื่อช่วยให้ผู้ใช้วางใจได้ในด้านความมั่นคงปลอดภัยของแอปพลิเคชันที่ถูกเขียนขึ้นภายในองค์กรเอง

สามารถใช้งานได้ยืดหยุ่นกับองค์กรใหญ่

เนื่องจากแอปพลิเคชันที่ถูกเขียนขึ้นมาสามารถกำหนดเป้าหมายได้ถึง 20 Tenant ดังนั้นฟีเจอร์นี้ยังเหมาะสำหรับการใช้งานในองค์กรมีการแบ่งตามภูมิภาค หรือการใช้งานที่ต้องการสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับทดสอบไว้ก่อนปล่อยออกใช้งานจริง เมื่อทดสอบเสร็จก็สามารถเผยแพร่แอปพลิเคชันไปยังสภาพแวดล้อมอื่นได้ตามความต้องการ

หากผู้ใช้คนไหนมีความสนใจสามารถติดตามขั้นตอนในการเริ่มใช้งานได้ที่นี่

ที่มา : https://www.blog.google/products/android-enterprise/safely-and-quickly-distribute-private-enterprise-apps-google-play/?utm_source=feedburner&utm_medium=feed&utm_campaign=Feed


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

พบ ‘HinataBot’ บอทเน็ตที่อาจสร้างการโจมตี DDoS ขนาด 3.3 Tbps ได้

พบมัลแวร์บอตเน็ตใหม่ HinataBot มุ่งเป้าโจมตี Realtek SDK, Huawei Router และ Hadoop YARN Server เพื่อรวมการโจมตีที่อาจสร้าง Distributed Denial of …

HPE เข้าซื้อกิจการ OpsRamp ผู้พัฒนาระบบ Infrastucture Monitoring

Hewlett Packard Enterprise Co. ประกาศเข้าซื้อกิจการ OpsRamp Inc. บริษัทสตาร์ทอัพผู้พัฒนาระบบ Infrastucture Monitoring