DGA มุ่งยกระดับแพลตฟอร์มให้บริการประชาชนในทุกหน่วยงานภาครัฐ

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาได้มีงานสัมมนาของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหรือ DGA โดยตั้งเป้ามุ่งเน้นพัฒนาแพลตฟอร์มในการให้บริการประชาชนผ่านระบบดิจิทัล ทั้งนี้ได้วางนโยบาย สร้าง-เชื่อม-เปิด ซึ่งตั้งเป้าทำให้สำเร็จภายใน 3 ปีต่อจากนี้

ดร. สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการฯ DGA (ซ้าย) และ ดร. อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ประธานบอร์ดบริหาร DGA (ขวา)

ลำดับแรกเริ่มจากการเปิดตัว 2 ผู้บริหารใหม่ของ DGA ได้แก่ ดร. อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม นั่งแท่นประธานบอร์ดบริหารคนใหม่และ ดร. สุพจน์ เธียรวุฒิ เป็นผู้อำนวยการฯ ทั้งนี้ ดร. สุพจน์ได้ตั้งเป้าหมายว่าภายใน 3 ปีจากนี้ DGA จะเป็นตัวกลางเพื่อประสานงานให้หน่วยงานภาครัฐได้ยกระดับการให้บริการภาคประชาชนบนระบบดิจิทัลเพื่อแก้ปัญหาเดิมๆ ที่ทุกคนเคยมองว่าการให้บริการของภาครัฐนั้นช้าเพราะเอกสารเยอะและขั้นตอนยุ่งยาก โดยกล่าวว่า “เทคโนโลยีได้ Disrupt ภาคเอกชนเรียบร้อยแล้ว ทำให้เกิดการปรับตัวอย่างรวดเร็ว หากเอกชนไปเร็วแต่รัฐไม่ขยับตัว รัฐก็คืออุปสรรคในการพัฒนา นอกจากนี้ยังทำให้เอกชนไม่อยากมาลงทุนด้วยเพราะขั้นตอนยุ่งยาก

ด้วยเหตุนี้เองทาง DGA จึงได้วางกลยุทธ์ สร้าง-เชื่อม-เปิด ซึ่งอธิบายได้ว่า

  • สร้าง – สร้างแพลตฟอร์มสำหรับให้บริการประชาชน โดยสิ่งที่รัฐบาลได้ริเริ่มไปแล้วเช่น ปูพรมด้วย Digital ID ที่ทำให้ประชาชนมีตัวตนบนดิจิทัล, การลงนามทางอิเล็กทรอนิกส์, Electronic License, E-payment ซึ่งแพลตฟอร์มดิจิทัลจะช่วยให้รัฐบาลสามารถให้บริการประชาชนได้รวดเร็ว ตรวจสอบติดตามได้ นอกจากนี้เองยังได้ตั้งเป้าในการให้บริการดิจิทัลเพิ่มเติมซึ่งจำแนกได้ใน 3 กลุ่มคือ ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และชาวต่างชาติ (เช่นการต่อวีซ่า)
  • เชื่อม – ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐต่างมีข้อมูลและแพลตฟอร์มเป็นของตัวเองอยู่แล้ว แต่ปัญหาคือทำอย่างไรถึงจะเชื่อมต่อบูรณาการข้อมูลเหล่านั้นเข้าหากันได้ ซึ่งทำให้ลดขั้นตอนซ้ำซ้อนในการให้บริการ และทำให้รัฐบาลเชื่อมข้อมูลทุกอย่างเข้าหากันที่จะมีผลต่อการใช้ประกอบการตัดสินใจในกลยุทธ์ต่างๆ
  • เปิด – จะมีการเปิดเผยข้อมูลของรัฐบาลให้ภาคเอกชน Startup หรือผู้สนใจเข้ามาดึงข้อมูล (ที่ได้รับอนุญาต) นำไปต่อยอดเป็นแอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์มที่เกิดประโยชน์ต่อไปในวงกว้าง

อย่างไรก็ตามปัจจุบัน DGA ได้ศึกษากรอบความเป็นไปได้โดยตั้งเป้าว่าจะทำสำเร็จให้ได้ภายใน 3 ปี โดยเได้เรียกประชุม มอบหมายหน้าที่ในหน่วยงานต่างๆ ให้ไปศึกษาข้อมูลและวางแนวทางนำแพลตฟอร์มที่จะนำมาเชื่อมต่อกัน ซึ่งทั้งหมดจะต้องอยู่บนพื้นฐานของ Data Governance, Privacy ให้สอดคล้องกับกฎหมาย และมี Security ที่เชื่อถือได้ด้วย

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

HTTP/3 คืออะไร ?

HTTP/3 คือ Hypertext Transfer Protocol (HTTP) เวอร์ชันที่ 3 อันเป็นเวอร์ชันหลักของโปรโตคอลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลบนโลก World Wide Web หรือโลกอินเทอร์เน็ตที่ใช้งานกันอยู่ โดยเป็นเวอร์ชันที่อัปเกรดต่อยอดเพื่อเพิ่มประสบการณ์ผู้ใช้งานมากขึ้น ทั้งเรื่องความเร็ว …

เริ่มนับถอยหลัง เตรียมพบกับ SISTAM 2024 งานประชุมและงานแสดงเทคโนโลยีเพื่อภาคธุรกิจชั้นนำ ที่จะช่วยกำหนดทิศทางอนาคตด้านความปลอดภัยและเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม

SISTAM 2024 งานประชุมและงานแสดงเทคโนโลยีเพื่อภาคธุรกิจชั้นนำที่ภาคอุตสาหกรรมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 26 และ 27 กันยายน 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค งาน SISTAM (Smart Industrial …