Gartner เผย 10 กลยุทธ์การลงทุนด้านเทคโนโลยีสำหรับหน่วยงานรัฐ

Gartner ได้ทำการสำรวจแผนการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีจากหน่วยงานรัฐทั่วโลก เพื่อให้ CIO และ IT Leaders สามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนทางด้าน IT Roadmap ในอนาคตได้ง่ายขึ้น โดยในปี 2015 นี้คาดว่าการลงทุนทางด้าน IT ของหน่วยงานรัฐทั่วโลกจะหดตัวลง 1.8% จาก 439,000 ล้านเหรียญดอลาร์สหรัฐ เหลือ 431,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ แต่จะเติบโตกลับมาเป็น 475,500 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2019

โดยทาง Gartner ได้นำเสนอ 10 กลยุทธ์การลงทุนด้านเทคโนโลยีสำหรับหน่วยงานรัฐทั่วโลก ซึ่งทาง TechTalkThai ก็ขอมาสรุปต่อให้ผู้อ่านได้อ่านกันดังนี้

1. ที่ทำงานแบบ Digital

เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรัฐทุกคนจะต้องทำงานด้วยระบบ Digital เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ หรือเจ้าหน้าที่บริหารสูงสุดก็ตาม โดย CIO และหัวหน้าฝ่าย IT จะต้องรับหน้าที่เป็นผู้นำในการสร้างรูปแบบการทำงานที่เปิดรับต่อ Social และ Mobile โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญต่างๆ และทำการตัดสินใจต่างๆ โดยมีข้อมูลประกอบได้เสมอ

2. การเข้าถึงประชาชนได้จากหลายช่องทาง

การเข้าถึงประชาชนได้ทั้งแง่ของการเปิดช่องทางให้ประชาชนติดต่อเข้ามาได้จากหลากหลายช่องทาง และการสื่อสารกลับไปยังประชาชนแต่ละคนได้ในหลากหลายช่องทางเช่นกันถือเป็นโจทย์สำคัญ ทั้งนี้่ผู้วางนโยบายและ CIO จะต้องเริ่มทำการออกแบบบริการต่างๆ ของหน่วยงานใหม่ให้เหมาะสม โดยมีการผสานเครื่องมือทางการตลาดแบบเดิมๆ เข้ากับเครื่องมือทางการตลาดแบบใหม่ด้วย

3. เปิดเผยทุกข้อมูลให้นำไปใช้งานต่อได้

ข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะได้ และ Web API สำหรับเรียกใช้ข้อมูลต่างๆ จากหน่วยงานภาครัฐกำลังเติบโตและมีความหลากหลายเพิ่มขึ้นทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ซึ่งถึงแม้ในตอนนี้จะยังไม่ได้มีการนำไปใช้งานมากนัก แต่ Gartner ก็เชื่อว่าอาจต้องใช้เวลาเป็นสิบปีหรือมากกว่าในการที่จะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้ถึงขีดสูงสุด

อย่างไรก็ดี ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้หลายๆ หน่วยงานเริ่มประสบปัญหาทางด้านการบีบหรือลดค่าใช้จ่ายสำหรับโครกงการ Open Data ลง และกลายเป็นความท้าทายของหน่วยงานเหล่านั้นไป ด้วยสาเหตุว่าข้อมูลเหล่านั้นยังไม่สามารถสร้างคุณค่าที่จับต้องได้ให้แก่รัฐบาล รวมถึงยังไม่มีวิธีชี้วัดคุณค่าเหล่านั้นออกมาเป็นตัวเลข แต่ Gartner ก็ทำนายว่าในปี 2018 จะมี 30% ของโครงการในหน่วยงานรัฐที่เปิดเผยข้อมูลทุกอย่างในโครงการเป็น Open Data

4. ID อิเล็กทรอนิคสำหรับประชาชน

เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถทำการ Login และเข้าถึงทุกบริการของภาครัฐในแบบออนไลน์ได้ ทางภาครัฐก็จะต้องมีระบบฐานข้อมูลสำหรับการยืนยันตัวตนกลางสำหรับประชาชน ให้สามารถเข้าใช้งานบริการต่างๆ ได้ด้วย Username และ Password เดียวกันได้อย่างปลอดภัย โดยต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐกับภาคธุรกิจในการผลักดันบริการนี้ให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย, ใช้งานได้ง่าย และปลอดภัย รวมถึงยังต้องมีความเป็นส่วนตัวสูง ผ่านบริการที่ควบคุมโดยภาครัฐเอง หรือใช้บริการ ID as a Service ของภาคเอกชนก็ตาม

5. การทำ Analytics ที่ปลายทาง

ระบบวิเคราะห์จะถูกฝังลงไปในบริการต่างๆ บนโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถแนะนำข้อมูลต่างๆ หรือทำนายแนวโน้มหรือเหตุการณ์ต่างๆ ให้กับผู้ใช้งานได้โดยตรง เพื่อให้ประสบการณ์การใช้บริการต่างๆ ของภาครัฐเป็นไปได้อย่างดียิ่งขึ้น โดยระบบ Analytics นี้จะถูกฝังรวมไปกับกระบวนการทำงานหรือ Application เลย และคอยรวบรวมข้อมูลของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาเพื่อนำมาวิเคราะห์และสร้างประโยชน์ให้กับผู้ใช้งาน

6. สามารถทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น

ในการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ทุกวันนี้ การประสานงานข้ามหน่วยงานกันถือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐจึงต้องปรับตัวให้สามารถเชื่อมต่อการทำงานเข้ากับหน่วยงานอื่นๆ เท่าที่จำเป็นได้ตามต้องการอย่างเป็นมาตรฐาน รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้โดยไม่ขึ้นกับ Application และแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย

7. ระบบหน่วยงานรัฐแบบ Digital

ระบบกลางสำหรับบริการต่างๆ ที่ประชาชนเข้าถึงได้โดยไม่ต้องไปค้นหาว่าต้องติดต่ออะไรที่หน่วยงานไหน ซึ่งตอนนี้เทคโนโลยีนี้กำลังเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาด้วยแนวคิด Smart City จากผู้ผลิตรายต่างๆ ที่จะควบรวมเอาทั้งเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะมาช่วยเสริมการบริการภาครัฐให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น ควบคู่กับ Internet of Things ซึ่งต่างก็ยังต้องแก้ไขปัญหาเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างส่วนประกอบต่างๆ ภายในระบบอยู่

8. Internet of Things

สำหรับหน่วยงานภาครัฐ Internet of Things จะเป็นหัวใจหลักในการวางกลยุทธ์ถัดๆ ไปในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการประยุกต์ใช้กับประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อม, การตรวจสอบโครงสร้างของสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ, การโต้ตอบเหตุฉุกเฉิน, การติดตาม Supply Chain, การจัดการสินทรัพย์, การจัดการการบิน หรือความปลอดภัยในการสัญจรก็ตาม ทั้งนี้รัฐบาลต้องเริ่มประเมินแผนการในอนาคต, ประเมินจำนวนของ Sensor ต่างๆ ที่ต้องใช้ และปรับปรุงเครือข่ายทั่วประเทศให้รองรับกับความต้องการได้

9. Web-Scale IT

ระบบ IT ขนาดใหญ่ที่มีความสามารถเทียบเท่าบริการ Cloud จะช่วยให้ภาครัฐสามารถปรับปรุงระบบ IT ให้มีความคุ้มค่าขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นอิสระในการเพิ่มขยายระบบด้วย Open Source ร่วมกับ Hardware ที่ราคาคุ้มค่าที่สุด และลดบทบาทของผู้ผลิต Hardware และผู้ขายสินค้าและบริการ IT ลงไปจากวงจรได้

10. Hybrid Cloud (and IT)

ผู้ดูแลระบบของภาครัฐจะต้องมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ Hybrid Cloud ได้ และมุมมองที่มีต่อทีมงานผู้ดูแลระบบเหล่านี้จะต้องมีการปรับเปลี่ยนจากเดิมที่เป็น Service Provider ที่จัดการทุกอย่าง กลายเป็น Service Broker หรือผู้จัดการของแต่ละบริการผ่านระบบ Cloud ไปแทน

 

สำหรับการนำมาปรับใช้ในประเทศไทย สิบข้อนี้ก็อาจจะยังไม่ตรงนัก แต่ก็พอดูเป็นแนวทางเพื่อศึกษากันได้บ้างครับ

ที่มา: http://www.gartner.com/newsroom/id/3069117


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

HPE พลิกโฉมการจัดการวงจรข้อมูลด้วย HPE Alletra ที่มาพร้อมบริการไฟล์ บล็อก และการป้องกันข้อมูลรูปแบบใหม่ [Guest Post]

” การบริการข้อมูลรูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นบน HPE Alletra Storage MP ได้มอบประสบการณ์ Cloud experience อันชาญฉลาดและมาพร้อมพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่ใหญ่ขึ้นพร้อมประสิทธิภาพสูงและการปกป้องข้อมูลแบบไฮบริดจาก HPE GreenLake” กรุงเทพฯ ประเทศไทย 26 …

[Black Hat Asia 2023] ทำลายห่วงโซ่: มุมมองของคนวงในเกี่ยวกับช่องโหว่ของห่วงโซ่อุปทานซอฟต์แวร์

ยินดีต้อนรับสู่มุมมองของคนวงในเกี่ยวกับช่องโหว่ของห่วงโซ่อุปทานซอฟต์แวร์ หัวข้อนี้ถูกนำเสนอโดยนักวิจัยด้านความปลอดภัยชื่อ Yakir Kadkoda และ Ilay Goldman จาก Aqua Security ซึ่งมีประสบการณ์มากมายในงานด้าน Red Team พวกเขาให้ข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าเกี่ยวกับช่องโหว่ที่แฝงตัวอยู่ในช่วงการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่เผยถึงความเสี่ยงที่องค์กรต้องเผชิญในการรักษาความปลอดภัยของห่วงโซ่อุปทานซอฟต์แวร์