เปิดตัว Cisco 6300 Series Embedded Services Access Point ผสานพลัง IoT Edge สู่ AP

Cisco ได้ออกมาประกาศเปิดตัว Cisco 6300 Series Embedded Services Access Point หรือ ESW6300 ซึ่งเป็น Embedded Access Point รุ่นแรกจาก Cisco สำหรับงาน Smart City และการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะในฐานะของ IoT Edge โดยมีความสามารถที่น่าสนใจดังนี้

Credit: Cisco
  • ให้บริการเครือข่าย Wi-Fi ด้วยมาตรฐาน 802.11ac Wave 2
  • มี PoE 3 ช่อง, SFP 1 ช่อง และ USB 1 ช่อง รองรับการเชื่อมต่อได้อย่างยืดหยุ่น
  • ไม่มี Enclosure หุ้มเพื่อเน้นความสามารถในการระบายอากาศ มี Operating Temperature อยู่ที่ -40 – 85 องศาเซลเซียส
  • ทนทานถึงระดับ Class I Division 1 ติดตั้งได้ในสถานที่ที่ AP ปกติไม่รองรับ
  • รองรับ Cisco IOx Container ภายในตัว สามารถติดตั้ง IoT Application ได้ที่ Edge เพื่อประมวลผลได้ทันที
  • มีความสามารถด้าน Security เบื้องต้นในตัว ปกป้องระบบเครือข่ายและอุปกรณ์ IoT ที่ทำการเชื่อมต่ออยู่ได้
  • รองรับการทำ Mesh Networking ได้

ผู้ที่สนใจสามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.cisco.com/c/en/us/products/wireless/6300-series-embedded-services-access-points/index.html

ที่มา: https://blogs.cisco.com/internet-of-things/announcing-cisco-embedded-wireless-anywhere


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เปิดตัว Panduit TX6A Vari-Matrix HD สาย Cat 6A UTP ขนาดเล็กที่สุดในโลก รองรับ 1-10GbE และ PoE++ ป้องกันสัญญาณรบกวนได้เหนือกว่ามาตรฐาน

ในปี 2023 นี้ถือเป็นปีที่น่าสนใจสำหรับวงการสายสัญญาณเครือข่าย เพราะผู้ผลิตทุกรายต่างเร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาแข่งขันกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็วของ Ethernet ที่เพิ่มขึ้น, การรองรับอุปกรณ์ IoT ให้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไปจนถึงการตอบรับต่อประเด็นด้านความยั่งยืนหรือ Sustainability

ผลกระทบจากควอนตัมต่อระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ประเทศไทยต้องเร่งเดินหน้าแผนรับมือ [Press Release]

การคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing)  การแข่งขันด้านเทคโนโลยีการคำนวณแบบใหม่ที่กำลังร้อนแรง และเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงไทยก็เกาะติดกระแสอย่างใกล้ชิด แต่นักวิจัยและนักเทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์กำลังกังวลกับข้อดีข้อเสียของการคำนวณเชิงควอนตัม แม้ประโยชน์จะมีมากมาย ตั้งแต่เรื่องแมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยทางการแพทย์ ไปจนถึงวิทยาการรหัสลับและระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ แต่เทคโนโลยีเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงและช่องโหว่ใหม่โดยเฉพาะความสามารถในทะลุทะลวงการเข้ารหัสยุคใหม่ซึ่งถือเป็นรากฐานของอินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และอีคอมเมิร์ซ ที่เชื่อมผสานสังคมของเราเข้าด้วยกัน