Black Hat Asia 2023

Business Intelligence กับ Advanced Analytics ต่างกันอย่างไร ?

คำว่า Analytics เรียกได้ว่าเป็น Field ที่กว้าง และมี Field ย่อยๆเป็นจำนวนมาก จึงเป็นเรื่องยากที่จะมานั่งไล่ลำดับความหมายของแต่ละ Field แต่ถ้าอธิบายเป็นภาพรวมแล้ว Analytics จะหมายถึง การใช้ทักษะ เทคโนโลยี แอพพลิเคชัน และการปฏิบัติ สำหรับสำรวจค้นคว้าและวิเคราะห์ข้อมูลซ้ำไปซ้ำมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ถึงข้อมูลธุรกิจเชิงลึก และช่วยผลักดันให้เกิดแผนงานทางธุรกิจที่มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง ซึ่ง Analytics ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 อย่าง คือ Business Intelligence และ Advanced Analytics

ttt_Business_Man_Stading_Against_Blackboard-Sergey_Nivens
Credit: Sergey Nivens/ShutterStock

ส่ิงที่หลายคนมักมองข้าม คือ ทั้ง 2 อย่างนี้ใช้ตอบโจทย์ที่แตกต่างกัน

Business Intelligence – กระบวนการดั้งเดิมที่เน้นโฟกัสการใช้กลุ่มของเมทริกซ์บางอย่างเพื่อชี้วัดประสิทธิภาพของสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต และนำผลลัพธ์ที่ได้ไปเป็นแนวทางในการวางแผนธุรกิจ Business Intelligence ประกอบด้วย Querying, Reporitng, OLAP (Online Analytical Processing) และสามารถใช้ตอบคำถามที่ถามว่า “เกิดอะไรขึ้น”, “จำนวนเท่าไหร่” และ “บ่อยแค่ไหน”

Advanced Analytics – ต่อยอดจาก Business Intelligence โดยเป็นกระบวนการที่ใช้เทคนิคการสร้างโมเดลอันแยบยล เพื่อทำนายหรือคาดการณ์เหตุการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หรือใช้ค้นหารูปแบบบางอย่างที่ทั่วไปแล้วไม่สามารถระบุได้ Advanced Analytics สามารถตอบคำถาม เช่น “ทำไมสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น”, “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าแนวโน้มยังเป็นแบบนี้ต่อไป”, “ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น” และ “ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้คืออะไร”

bi_adv_analytics_comparison

สำหรับผู้ที่สนใจการเปรียบเทียบ Business Intelligence และ Advanced Analytics ในรายละเอียดเชิงลึก สามารถดาวน์โหดล White Paper ของ Rapidminer ได้ที่ https://rapidminer.com/resource/introduction-advanced-analytics/


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

พลิกมุมคิดการจัดการคลาวด์ไอทีอย่างสมาร์ตฉบับวีเอ็มแวร์ [Guest Post]

แม้คลาวด์จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการพาองค์กรก้าวข้ามวิกฤตไปสู่การสร้างสรรค์โมเดลธุรกิจหรือกลยุทธ์การแข่งขันใหม่ ด้วยคุณลักษณะที่คล่องตัว (Agility) ในการปรับความต้องการใช้งานโดยอัตโนมัติ (Auto-Scaling) ได้ด้วยตัวเอง (Self-Services) ทว่าหลายองค์กรซึ่งเลือกปฏิวัติระบบธุรกิจขึ้นสู่คลาวด์กลับประสบปัญหาการจัดการทรัพยากรที่ยิบย่อยบนคลาวด์ไม่ไหว แถมหัวจะปวดกับภัยคุกคามที่ยุ่งยากในการป้องกัน ด้วยเหตุนี้ ความคาดหวังต่อไอทีคลาวด์ยุคถัดไป คือ การปรับแต่งแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มคลาวด์ไอทีให้ทันสมัยตรงต่อความต้องการทางธุรกิจ ภายใต้ระบบการรักษาความปลอดภัยแบบองค์รวมที่แข็งแกร่ง ทั่วถึง และเป็นอัตโนมัติกว่าเดิม

AIS Business เดินหน้าปี 2023 พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัลของทุกองค์กรไทย พลิกโฉมธุรกิจให้ “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน”

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาอาจถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความยากลำบากสำหรับทุกองค์กรธุรกิจ มีเรื่องราวมากมายที่เกิดขึ้นทั้งเรื่องของสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ความไม่แน่นอนในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ จนกระทบมาถึงเรื่องเงินเฟ้อและเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ที่อาจจะเกิดขึ้นทั่วโลกในปีนี้ ทุกองค์กรธุรกิจจึงจำเป็นจะต้องเร่งปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังเป็นไปในอนาคตอันใกล้ AIS Business ในฐานะ Digital Service …