CDIC 2023

สรุปความรู้พื้นฐานสำหรับ 802.11ac Enterprise Wi-Fi จากงาน Cisco Night Academy #1 Innovations Start with Mobility

พอดีทีมงาน TechTalkThai ก็ได้มีโอกาสไปร่วมฟัง Cisco Night Academy ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ Innovations Start with Mobility มา ก็ขอสรุปเอาไว้คร่าวๆ สำหรับผู้อ่านก่อนดังนี้นะครับ

cisco_aironet_wlc_wireless_promotion_banner

แนวโน้มที่น่าสนใจของเทคโนโลยี Wi-Fi ทั่วโลก

  • ในปี 2020 การใช้ Mobile Computing จะเติบโตอย่างรวดเร็วถึง 10 เท่าเทียบกับในปัจจุบัน และ Traffic ของ Wi-Fi จะแซงความเร็ว Wired LAN ไปถึง 21%
  • ในปี 2019 จำนวนอุปกรณ์ Mobile Device ที่ใช้งานทั่วโลกจะมีถึง 5,200 ล้านอุปกรณ์ โดยภูมิภาค APAC จะเติบโตรวดเร็วที่สุดที่การใช้งานมากถึง 2,800 ล้านอุปกรณ์
  • เทคโนโลยีที่จะทำให้มีการใช้งาน Traffic มากขึ้นก็คือ Video, Mobile Application และ BYOD

 

พื้นฐานเทคโนโลยี RF

สัญญาณ Wi-Fi ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ใช้คลื่นความถี่วิทยุที่ 2.4GHz และ 5GHz ในลักษณะของ Sine Wave ที่ต่างกันที่ความยาวและความถี่ของคลื่น โดยช่วงคลื่นความถี่ 2.4GHz และ 5GHz นี้เป็นกลุ่มคลื่นที่ Unlicensed ที่สามารถใช้งานได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องขออนุญาต โดยในไทยนี้ย่านความถี่ 5GHz อาจจะมีบางช่วงที่ทับกับ RADAR บ้าง ซึ่งในการเลือกใช้งานช่วงคลื่นความถี่พวกนี้ก็ต้องทำความเข้าใจให้ดี เพื่อที่จะได้ไม่ไปใช้คลื่นความถี่ที่ทับกันนั่นเอง

 

การออกแบบ Wi-Fi เบื้องต้น

ในแง่ของกฎหมาย ประเทศไทยสามารถใช้งานย่านความถี่ที่ 2.4GHz ได้ที่ Channel 1-11 ส่วนย่านความถี่ 5GHz นั้นก็สามารถใช้ได้ครบทุกย่านความถี่ โดยมีข้อควรระวังคือเรื่องกำลังส่งที่มีข้อกฎหมายกำหนดแตกต่างกันไปตามแต่ละย่านของ Channel

การติดตั้ง Wireless Access Point จำนวนหลายชุดเพื่อให้บริการ Wi-Fi ที่ดีนั้นควรจะเลือกใช้ Channel ที่ไม่ทับกัน สำหรับย่าน 2.4GHz ในไทยควรใช้ 3 Channel ที่ไม่ทับกันได้แก่ Channel 1, 6, 11 แต่ในบางประเทศจะสามารถใช้ Channel 14 เพิ่มได้ด้วยทำให้ออกแบบ Wi-Fi ได้ง่ายกว่า เพราะมีมากถึง 4 Channel ที่ไม่ทับกัน ส่วนสำหรับ 5GHz นั้นก็จะมี Channel ให้ใช้ได้อิสระกว่ามากที่ไม่ทับกัน ก็จะทำให้การออกแบบ Wi-Fi ด้วยย่านความถี่ 5GHz สามารถทำได้ง่ายกว่ามาก

ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ได้มีการปรับเปลี่ยนในมาตรฐาน IEEE ทำให้ย่านความถี่ 5GHz มี 37 Channel ทำให้สามารถ Bonding กันได้มากขึ้น และใช้ 802.11ac ได้หลาย Channel ขึ้น โดยเมื่อทำ Bonding กันที่ 80MHz จะรองรับได้ถึง 9 Channel และเมื่อทำ Bonding กันที่ 160MHz ก็จะรองรับได้ถึง 4 Channel

 

แนะนำมาตรฐาน 802.11ac

ในเวลานี้มาตรฐาน 802.11ac ที่ใช้งานกันอยู่จะมีด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ 802.11ac Wave 1 ที่มีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีในการใช้งานทั้งฝั่ง Wireless Access Point และฝั่งของ Client ในขณะที่มาตรฐาน 802.11ac Wave 2 จะมีประสิทธิภาพและความสามารถมากกว่า รวมถึงมีข้อกำหนดที่เพิ่มขยายไปถึง Physical Interface บน Wireless Access Point ที่จะต้องให้บริการได้โดยไม่เกิดคอขวดที่ Uplink ด้วย

802.11ac Wave 1 นั้นมีความเร็วสูงสุดตามสเป็คที่ 1.3Gbps แต่จากผลการทดสอบในการใช้งนจริงนั้น สามารถไปถึงความเร็วสูงสุดได้ที่ 910Mbps ในปัจจุบัน รวมถึงเสาอากาศของเครื่อง Client เองก็อาจจะรับความเร็วได้ไม่ถึงระดับนั้น ดังนั้นองค์กรที่ต้องการอัพเกรดไปใช้ 802.11ac Wave 1 ก็ยังคงใช้ Uplink ของ Wireless Access Point ที่ความเร็ว 1Gbps ได้อย่างเพียงพอ โดยเครื่อง Client เองก็มี Chipset ที่รองรับความเร็วของ 802.11ac Wave 1 ได้แล้ว

แต่สำหรับ 802.11ac Wave 2 ที่สามารถทำได้ถึง 4 Spatial Stream นั้น จะมีความเร็วสูงสุดถึง 1.73Gbps – 3.5Gbps ได้เลยทีเดียว ซึ่งถ้าหากในอนาคตมีการออก Chipset ที่รองรับ 8 Spatial Stream ได้ก็จะรองรับความเร็วสูงสุดได้ถึง 6.9Gbps โดยจากการทดสอบสัญญาณที่มีความเร็วตามสเป็คที่ 2.6Gbps ในการใช้งานจริงจะมีความเร็วที่ 1.69Gbps ทำให้ในกรณีของ 802.11ac Wave 2 นี้ การอัพเกรด Uplink ของ Access Point และ Campus Network ให้เพียงพอต่อความเร็วระดับนี้ก็จะกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นขึ้นมา

 

802.11ac Wave 1 Single User (SU) MIMO vs. 802.11ac Wave 2 Multiple User (MU) MIMO

มาตรฐาน 802.11ac Wave 1 จะทำการเชื่อมต่อและรับส่งข้อมูลกับเครื่องลูกข่ายด้วยเทคนิค SU-MIMO โดยจะทำการคุยทีละคนคล้ายๆ กับ Hub สลับกันไปเรื่อยๆ ในขณะที่มาตรฐาน 802.11ac Wave 2 MU-MIMO นั้น Access Point จะทำการ Broadcast ก่อน แล้วให้ Client ตอบกลับมาทีละคน แล้ว Access Point ค่อย Stream ข้อมูลกลับออกไปให้ทุกคนพร้อมๆ กัน เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ 802.11ac Wave 2 ทำงานได้เร็วกว่า

แต่ใน 802.11ac Wave 2 ถ้ามี Client เครื่องหนึ่งที่เชื่อมต่ออยู่เป็น 802.11n หรือ 802.11ac Wave 1 ก็ตาม Access Point จะทำ SU-MIMO กับเฉพาะเครื่องเหล่านั้นไปก่อน แล้วค่อยไปทำ MU-MIMO กับเครื่องที่เหลือที่รองรับ 802.11ac Wave 2

 

802.11ac Wave 2 รองรับ 4 Spatial Stream

หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ 802.11ac Wave 2 มีความเร็วเหนือกว่า 802.11ac Wave 1 ก็คือการรองรับ Spatial Stream ได้มากถึง 4 Spatial Stream นั่นเอง โดยแนวคิดคร่าวๆ ของการทำ Spatial Stream ก็คือการส่งข้อมูลแบบ Concurrent แยกไปให้เครื่องลูกข่ายรับและทำการประกอบข้อมูลเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ทำให้ในแต่ละช่วงเวลาสามารถรับส่งข้อมูลได้มากขึ้น แต่ในเทคโนโลยีปัจจุบันนี้ Chipset ของฝั่งเครื่องลูกข่ายก็ยังรองรับได้ไม่มากถึง 4 Spatial Stream อยู่ดี

 

เกร็ดเสริมสำหรับการออกแบบ Wi-Fi

  • สำหรับการออกแบบ SSID แนะนำว่าให้ใช้เพียง 4-5 SSID เท่านั้นเพื่อให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด ถึงแม้อุปกรณ์จะให้บริการได้มากถึง 32 SSID ก็ตาม
  • ระยะทางก็มีผลต่อประสิทธิภาพของ 802.11ac เช่นเดิม เดินห่างออกไปก็มีผลต่อประสิทธิภาพแน่นอน
  • 3 เทคโนโลยีที่ทำให้ประสิทธิภาพของ Wi-Fi ดีขึ้นนั้นได้แก่ Maximal Ratio Combine (MRC), Transmit Beam Forming (TBF), และ Spatial Multiplexing (SM) แต่โดยส่วนใหญ่พวกนี้ก็ตั้ง Auto อยู่แล้วจึงได้ใช้กันเป็นปกติ
  • การออกแบบให้ Wi-Fi มีการทำ HA นั้น ก็ควรจะเชื่อมต่อ Network Interface ใน Access Point แต่ละตัวที่อยู่ใกล้กัน ขึ้นไปยัง Switch จำนวน 2 ชุดที่ Stack กันแบบบไขว้กัน เพื่อที่ว่าถ้าหาก Switch ตัวไหนหยุดทำงานไป จะได้ยังคงเหลือ Wi-Fi บางส่วนที่ยังคงให้บริการได้

 

การมาของมาตรฐาน NBASE-T

การมาของ 802.11ac Wave 2 ทำให้ความเร็ว 1Gbps บน Switch ไม่เพียงพออีกต่อไป โดย LAN จะเข้ามาเติมเต็มควมต้องการทางด้าน Bandwidth ที่สูงขึ้นนี้ของ 802.11ac ได้ด้วยมาตรฐาน NBASE-T ที่เป็น Multigigabit Ethernet ซึ่งจะทำให้สายแลน Cat 5e ความเร็ว 1Gbps สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วที่ 1/2.5/5Gbps ได้เลย และจะกลายเป็นมาตรฐานที่ผู้ผลิตทุกรายรองรับในอนาคต ทำให้องค์กรสามารถใช้งาน 802.11ac Wave 2 Access Point ได้ โดยไม่ต้องเดินสาย LAN ใหม่ทั้งองค์กร

แต่อย่างที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้น ปัจจุบันนี้ 802.11ac Wave 1 ที่ให้ความเร็วสูงสุดจากกาทดสอบที่ประมาณ 910Mbps ก็ยังไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ NBASE-T แต่การลงทุน Multigigabit รอไว้สำหรับการมาของ 802.11ac Wave 2 ในอนาคต ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรศึกษาไว้เป็นทางเลือกในการลงทุนระยะยาวตั้งแต่ตอนนี้กันได้แล้ว

 

คำแนะนำในการวางแผนอัพเกรด Wi-Fi ไปใช้ 802.11ac

ในช่วงแรกนี้ การเลือกใช้ 802.11ac Wave 1 ไปก่อนก็จะทำให้องค์กรยังไม่ต้องลงทุนอัพเกรดระบบ LAN เพิ่ม และในอนาคตถ้าอัพเกรดระบบ LAN ให้มีความเร็วเพียงพอและรองรับมาตรฐาน NBASE-T ได้แล้ว ค่อยเริ่มใช้งาน 802.11ac Wave 2 ก็เป็นทางเลือกที่คุ้มค่าในเวลานี้

ทั้งนี้ถ้าหากมีการใช้ 802.11ac Wave 1 แล้ว ที่ Controller ก็ควรทำ LAG เพื่อเพิ่มขนาด Uplink สำหรับระบบ Wi-Fi ที่ Tunnel ข้อมูลมาที่ Controller ได้เลย ส่วน Switch ที่เชื่อมต่อกับแต่ละส่วนของระบบเครือข่ายของ Wi-Fi นั้นก็ควรจะทำ L4 Load Balancing เผื่อไว้ด้วยเพื่อเพิ่ม Bandwidth ให้เพียงพอต่อการใช้งาน

นอกจากนี้ในระบบ Wi-Fi นั้นก็ควรทำ Application Control ไว้ด้วย เพื่อให้ประสิทธิภาพของระบบเครือข่ายโดยรวมในองค์กรดีขึ้น และเป็นการประหยัด Performance ของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยต่างๆ ในองค์กรลงได้

 

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม Enterprise Access Point ต่างจาก Access Point ทั่วๆ ไปอย่างไร

ในแง่ของ Hardware Access Point ระดับ Enterprise นั้น จะถูกออกแบบโดยแยกหน่วยความจำโดยเฉพาะสำหรับให้บริการแต่ละย่านความถี่ที่ 2.4GHz, 5GHz และ Management แยกขาดจากกัน สำหรับทำ Cache บนแต่ละ Radio เพื่อเพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่อ และต้องมีการออกแบบระบบ Packet Scheduler โดยเฉพาะเพื่อให้รองรับผู้ใช้งานได้เยอะขึ้นอีกด้วย

 

Promotion สินค้าราคาพิเศษจาก Cisco หมดเขต 30 ตุลาคม 2015

สำหรับผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ของ Cisco นั้น สามารถตรวจสอบโปรโมชั่นจากทาง Cisco Thailand ทั้ง Switch, Router, Wireless AP, Firewall, Server และ Video Conference ได้ทันทีที่ https://www.techtalkthai.com/cisco-enterprise-it-promotion-until-2015-10-30/ โดยโปรโมชั่นนี้จะหมดเขตในวันที่ 30 ตุลาคม 2015


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

[โปรพิเศษรอบ Early Bird] คอร์สเรียน ‘Incident Response’ จาก Sosecure เรียนออนไลน์ เน้นลงมือจริง 3 วันเต็ม

Incident Response เป็นหนึ่งในหัวข้อหลักของแผนการที่ทุกองค์กรควรมือ คำถามคือทุกวันนี้องค์กรหรือบริษัทที่ท่านมีส่วนรวมมีแผนรับมือเหล่านี้ได้ดีเพียงใด ครอบคลุมความเสี่ยงและเคยผ่านสถานการณ์จริงมาได้ดีแค่ไหน ซึ่งหากปฏิบัติตามแผนได้ดีก็อาจจะช่วยลดผลกระทบของความเสียหายได้อย่างมีนัยสำคัญ ด้วยเหตุนี้เองจึงอยากขอเชิญชวนผู้สนใจทุกท่านมาเพิ่มพูนความรู้ในคอร์สสุดพิเศษจาก Sosecure โดยเนื้อหาจะกล่าวถึง Framework, Incident Response และ Incident Handling …

[โปรพิเศษรอบ Early Bird] คอร์สเรียน ‘Threat Hunting’ จาก Sosecure เรียนออนไลน์ เน้นลงมือจริง 3 วันเต็ม

การต่อกรกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นฝ่ายตั้งรับเท่านั้น และหากทำได้ดีเราก็สามารถลงมือตอบสนองก่อนเกิดเหตุได้เช่นกัน ยิ่งทำได้เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี ซึ่งทีม Threat Hunting มีบทบาทอย่างมากในการทำงานร่วมกับระบบ SoC ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลภัยคุกคามจากทั่วทุกมุมโลกมาช่วยตรวจจับการโจมตีที่เกิดขึ้นได้  คำถามคือแล้วในงานเหล่านี้ควรมีทักษะเกี่ยวข้องในด้านไหนบ้าง Sosecure ขอชวนผู้สนใจในสายงานด้าน Cybersecurity ที่ต้องการรู้ลึก ทำได้จริง …