7 แนวโน้มทางด้าน Enterprise Networking ประจำปี 2018 จาก Interop

ในงานวิจัยของ Interop ITX ซึ่งเป็นการสำรวจทางด้าน IT Infrastructure จากเหล่าผู้นำทางด้าน IT ภายในองค์กรกว่า 150 คน ได้ทำการนำเสนอ 7 ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับแนวโน้มของระบบ Network ภายในองค์กรประจำปี 2018 เอาไว้ดังนี้

Credit: ShutterStock.com

 

1. การลงทุนด้าน Network ในองค์กรจะมีปริมาณมากขึ้น

55% ของผู้ตอบแบบสอบถามนั้นคาดว่าองค์กรของตนจะมีการลงทุนทางด้าน Network มากขึ้นทั้งในส่วนของ Wireless และ WAN อย่างไรก็ดียังมีผู้ตอบแบบสอบถาม 38% ที่เชื่อว่าปริมาณการลงทุนด้านระบบเครือข่ายจะไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

 

2. Network Security เป็นแนวโน้มที่จะมาแรง

ผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 60% ระบุว่าการปรับปรุงด้าน Security ภายในองค์กรนั้นติดอันดับ 3 โครงการที่มีความสำคัญสูงสุด เนื่องจากการโจมตีนั้นมีความซับซ้อนสูงขึ้น และระบบ Cloud หรือ Virtualization เองก็ได้รับความนิยมมากขึ้น ดังนั้นการปรับปรุงระบบ Security ให้ตอบรับต่อความเปลี่ยนแปลงนี้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และ Firewall หรือระบบ Access Control แบบเดิมๆ ก็ไม่เพียงพออีกต่อไป

 

3. ได้เวลาเพิ่ม Bandwidth ให้กับระบบ Network แล้ว

การเพิ่ม Bandwidth ให้กับระบบเครือข่ายกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ในอนาคต โดยจากรายงาน Cisco Visual Networking Index นั้น IP Network ในสหรัฐอเมริกาจะมีปริมาณมากถึง 2.6 Exabyte ต่อวันภายในปี 2021 เติบโตจาก 1 Exabyte ต่อวันในปี 2016 เป็นอย่างมาก และระบบเครือข่ายเองก็ต้องการใช้งานวิดีโอมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย

 

4. องค์กรให้ความสนใจกับ SDN เยอะ แต่ยังไม่ได้เริ่มใช้งานจริง

ถึงแม้ Software Defined Networking (SDN) และ Network Functions Virtualization (NFV) จะเป็นประเด็นร้อนแรงมาหลายปีแล้ว แต่ปริมาณผู้ตอบแบบสอบถามเพียงแค่ 11% เท่านั้นที่ให้ความสำคัญกับโครงการกลุ่มนี้ใน 3 อันดับแรก โดย 20% กล่าวว่ากำลังศึกษาเทคโนโลยีนี้อยู่, 8% กำลังทดสอบใช้งาน, 5% กำลังวางแผนใช้งานในระบบปิดหรือชั่วคราว, 4% ได้ทดลองใช้งานในระบบปิดหรือชั่วคราวแล้ว โดยมีเพียง 6% เท่านั้นที่ได้ใช้งานจริงแล้ว

อย่างไรก็ดี การให้ความสนใจเป็นอย่างมากจากเหล่าธุรกิจองค์กรนี้ ก็ถือเป็นทิศทางที่ดีสำหรับ SDN และ NFV ไม่น้อย

 

5. องค์กรยังไม่เปิดรับต่อเทรนด์ของ Open Networking

ถึงแม้ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา Facebook จะพยายามนำเทรนด์ Open Networking ด้วยการแยก White-box Switch ออกมาจาก Software เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและเกิดทางเลือกในการใช้งานระบบเครือข่ายภายใน Data Center ได้มากขึ้น แต่ 63% ของเหล่าผู้ตอบแบบสอบถามนั้นก็ไม่มีแผนที่จะใช้งาน White-box Switch แต่อย่างใด และ 51% ก็ไม่มีแผนที่จะใช้ Open Source Network Operating System ด้วย แต่ 34% ของผู้ตอบแบบสอบถามนั้นก็สนใจในประเด็นการลดค่าใช้จ่ายของ Open Source Network Operating System ได้ และ 22% นั้นเชื่อว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะมาแก้ไขปัญหา Vendor Lock-in ได้

 

6. WAN ที่มีอยู่ไม่เพียงพออีกต่อไป แต่ SD-WAN ก็ยังไม่ใช่คำตอบ

การเพิ่ม WAN Bandwidth นั้นกลายเป็นประเด็นสำคัญต่อหลายๆ องค์กรแล้ว โดย 69% ของผู้ตอบแบบสอบถามนั้นต้องการเพิ่ม Bandwidth ให้กับ WAN ของตน อย่างไรก็ดี มีผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 25% เท่านั้นที่จะนำ SD-WAN มาใช้ในอนาคต, 8% เท่านั้นที่ใช้งาน SD-WAN อยู่ และมีมากถึง 42% ที่ไม่มีแผนจะใช้ SD-WAN เลย

 

7. การอัปเกรด WLAN นั้นจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลากหลายแง่มุม

Wireless LAN นับวันจะยิ่งมีความสำคัญกับองค์กรมากขึ้นเรื่อยๆ และในการสำรวจครั้งนี้ เหล่าผู้ตอบแบบสอบถามก็มีแผนที่จะอัปเกรด Wireless Access Point 47%. อัปเกรด Wireless/Mobile Security 39%, อัปเกรด Mobile Device 36%, อัปเกรด Security/Surveillance 34%, อัปเกรด WLAN Management 25% และอัปเกรด Wireless Switch 21% ท่ามกลางตลาดที่กำลังเติบโตอยู่ตลอดเวลา

 

ก็ถือเป็นการทำนายแนวโน้มในอีกมุมหนึ่งที่ไม่ได้นำเสนอเทคโนโลยีที่แปลกใหม่หรือหวือหวา แต่ว่าติดตามการนำไปใช้งานและแนวโน้มที่เกิดขึ้นจริงในอุตสาหกรรมครับ ถึงกลุ่มที่สำรวจจะขนาดเล็กไปหน่อย แต่ก็พอนำมาใช้เสริมมุมมองใหม่ๆ ได้บ้างเหมือนกัน

 

ที่มา: https://www.networkcomputing.com/networking/7-enterprise-networking-trends-2018/1081393934

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Synology เผย 4 โซลูชัน สำหรับองค์กรในงาน Synology Solution Day 2024

ในงาน Synology Solution Day 2024 ได้มีการประกาศอัปเดตความสามารถใหม่หลายรายการ โดยเนื้อหาแบ่งออกเป็นหัวข้อหลัก 4 เรื่องคือ NAS Storage, Security, Collaboration & Performance …

Geographic Information System (GIS) คืออะไร ?

Geographic Information System หรือ GIS คือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่มีการจดบันทึกจัดเก็บและตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งของพื้นผิวโลกในที่ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจในข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ที่สนใจได้มากยิ่งขึ้น