เราทราบกันที่แล้วว่า Wi-Fi 6 คือความคืบหน้าล่าสุดในขณะนี้ แต่ในยามที่การใช้งานและผู้คนเปลี่ยนไปมาก นอกจากมาตรฐานหลักแล้ว Wi-Fi Alliance ก็ได้พยายามขยายขีดความสามารถของโซลูชันให้รองรับกรณีการใช้งานในโลกความเป็นจริง

หากพูดถึงมาตรฐานของ 802.11 ก็คงต้องยกให้ IEEE แต่หากพูดถึงชื่อของ Wi-Fi Alliance หมายถึงกลุ่มทางอุตสาหกรรมซึ่งมีหน้าที่ผลักดันฟีเจอร์ใหม่สู่ตลาดให้อุปกรณ์แต่ละค่ายทำงานร่วมกันได้ภายใต้โปรแกรม Wi-Fi Certified แต่รู้หรือไม่ว่า Certified เหล่านี้ยังมีส่วนย่อยเพื่อตอบโจทย์การใช้งานจริงที่ต่างกันออกไปเช่น
- Wi-Fi Certified Halow – พูดถึงการส่งสัญญาณได้ในระยะไกลและใช้พลังงานต่ำ หากอุปกรณ์ได้รับ Certified ตัวนี้ก็จะสามารถตอบโจทย์เรื่อง IoT ต่างๆได้ เช่น อาจจะส่งสัญญาณได้ระดับกิโลเมตร ด้วยความเร็วที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยและทะลุทะลวง
- Wi-Fi Certified Optimized Connectivity – เพิ่มประสิทธิภาพเรื่องการเคลื่อนย้าย(Roaming) ระหว่าง Wi-Fi และ Cellular
- Wi-Fi Certified QoS Management – เพิ่มประสิทธิภาพเรื่องการให้บริการอย่างมีคุณภาพ
- Wi-Fi Certified Data Elements – ช่วยผู้ให้บริการและผู้ดูแลเครือข่ายสามารถจัดการเครือข่ายที่ซับซ้อนได้ดีขึ้น
- Wi-Fi Certified EasyMesh – ตอบโจทย์จำนวนอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นมากภายในบ้าน ให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย อัจฉริยะและทรงประสิทธิภาพ
- Wi-Fi Certified Easy Connect – ลดความซับซ้อนให้กับการคอนฟิคเครือข่าย เช่น ไม่ต้องมี UI เพียงแค่สแกน QR Code, ใช้ NFC tag หรือดาวน์โหลดข้อมูลอุปกรณ์จากคลาวด์สร้างการเชื่อมต่อแบบไร้สัมผัส (Zero Touch) ประโยชน์ข้อหนึ่งของอุปกรณ์ที่ได้ Certified นี้ก็คือไม่ต้อง enroll ใหม่เมื่อเปลี่ยน AP ตัวใหม่เป็นต้น
และนี่คือแนวโน้มความสามารถใหม่ๆที่ถูกผลักดันออกมาให้อุปกรณ์รองรับกับ Use Case ต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความจริง นอกเหนือจากความสามารถหลักของ Wi-Fi 6 อย่าง OFDMA ที่ช่วยให้ส่งข้อมูลในช่วงคลื่นที่ต่างกันรองรับข้อมูลหลายขนาด หรือ Target Wake time (TWT) ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน
ที่มา : https://www.networkcomputing.com/networking/wi-fi-6-2022-trends-not-your-grandfathers-wi-fi