
MU-MIMO : (Multi-User, Multi-Input, Multi-Output) ตรงตามตัว ในช่วงเวลาเดียวกัน สามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งาน รองรับการรับและการส่งสัญญาณได้มากกว่าหนึ่ง ซึ่งก่อนจะมาเป็นเทคโนโลยี MU-MIMO นั้น อุปกรณ์เราเตอร์จะทำการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ปลายทางได้ครั้งละ 1 ตัว เท่านั้น โดยเมื่อมีอุปกรณ์เข้ามาเชื่อมต่อมากกว่า 1 ตัว เราเตอร์จะใช้วิธีการรับส่งสัญญาณสลับไปมาอย่างรวดเร็วทีละตัว ข้อจำกัด คือ เราเตอร์ไม่สามารถทำการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้พร้อมกันทีละหลายตัวไม่ได้ ซึ่งเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า SU-MIMO (Single-User, Multi-Input, Multi-Output) เมื่อวิวัฒนาการมีการพัฒนาขนาดของข้อมูลใหญ่ขึ้น ทำให้รูปแบบการรับและส่งข้อมูลต้องเสียเวลาในการจัดการให้อุปกรณ์ปลายแต่ละตัวมากขึ้นกว่าเดิม จึงทำให้เกิดการรอคอยที่ให้เกิดอาการหน่วงขึ้น
เทคโนโลยี MU-MIMO จะช่วยเสริมความเสถียรภาพให้ระดับความเร็วในการเชื่อมต่อสัญญาณไร้สายบน Wi-Fi 6 และ Wi-Fi 6E ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อมีจำนวนเพิ่มขึ้นของจำนวนอุปกรณ์ปลายทางที่เข้ามาทำการเชื่อมต่อเราเตอร์ตัวเดียวกัน และจะได้เห็นเทคโนโลยี MU-MIMO 8×8 บน Wi-Fi 6 ที่จะทำให้เราเตอร์สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ปลายทางพร้อมกันในช่วงเวลาเดียวกันได้สูงสุดถึง 8 เครื่อง ซึ่งมากกว่า Wi-Fi 5 ที่รองรับสูงสุดอยู่ที่ MU-MIMO 4×4
“802.11 a/b/g/n/ac/ax เป็นมาตรฐานของการทำงานบนระบบเครือข่ายไร้สาย Wi-Fi ที่มีความเร็ว และคลื่นความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน และเพื่อให้มีความชัดเจนขึ้น จึงมีการกำกับป้ายชื่อให้กับ Wi-Fi ใหม่ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นว่ากำลังใช้งานอยู่บนมาตรฐานของ Wi-Fi ใดอยู่ ตัวอย่างเช่น Wi-Fi 5, Wi-Fi 6 เป็นต้น”
- มาตรฐาน IEEE 802.11b คือ Wi-Fi 1
- มาตรฐาน IEEE 802.11a คือ Wi-Fi 2
- มาตรฐาน IEEE 802.11g คือ Wi-Fi 3
- มาตรฐาน IEEE 802.11n คือ Wi-Fi 4
- มาตรฐาน IEEE 802.11ac คือ Wi-Fi 5
- มาตรฐาน IEEE 802.11ax คือ Wi-Fi 6
Wi-Fi 6 มาตรฐาน 802.11ax ใหม่ล่าสุดที่อัปเกรดให้การเชื่อมต่อไร้สายมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น เพื่อตอบสนองความเร็วในการเชื่อมต่อทั้งข้อมูลและผู้ใช้งานในจำนวนที่มากขึ้นได้ มีความเร็วสูงสุดที่ 9.6 Gbps โดย Wi-Fi 6 รองรับการรับส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์ปลายทางหลายๆ ตัว ภายในเวลาเดียวกันด้วยเทคโนโลยี MU-MIMO และยังรองรับเทคโนโลยี OFDMA (Orthogonal Frequency Division Multiple Access) ช่วยให้มีการแบ่งช่องย่อยของคลื่นสัญญาณได้มากขึ้น ทำให้สามารถนำส่งข้อมูลไปให้กับอุปกรณ์ปลายทางหลายๆ เครื่องในช่วงเวลาเดียวกันได้ ส่งผลดีให้อุปกรณ์ปลายทางสามารถเข้าถึงคลื่นความถี่ที่เราเตอร์ปล่อยออกมาได้รวดเร็วขึ้น
Wi-Fi 6E ทำงานบนย่านความถี่ 6 GHz ซึ่งจะมีความกว้างของช่องสัญญาณมากกว่า Wi-Fi 5 และ 6 ที่ทำงานบนย่านความถี่ 2.4 และ 5 GHz เหมือนเป็นการสร้างทางด่วนพิเศษเพิ่มขึ้นให้อุปกรณ์เราเตอร์มีคลื่นความถี่หลากหลายขึ้นกว่าเดิม อุปกรณ์ปลายทางรุ่นไหนที่รองรับ Wi-Fi 6E เช่นเดียวกับเราเตอร์ ก็จะได้รับสิทธิ์ให้วิ่งขึ้นบนย่านความถี่ 6 GHz ได้เลย ไม่ต้องมาเบียดแทรกความแออัดบนย่านความถี่เดิมที่มีอยู่
- อุปกรณ์เราเตอร์ที่รองรับ Wi-Fi 6 ใช้งานบนย่าความถี่ 2.4 และ 5 GHz
- อุปกรณ์เราเตอร์ที่รองรับ Wi-Fi 6 ใช้งานบนย่าความถี่ 2.4, 5 GHz และ 6 GHz
“อันที่จริงแล้ว เทคโนโลยี MU-MIMO ไม่ได้ช่วยเสริมพลังการส่งสัญญาณไร้สายบน Wi-Fi 6 และ 6E ให้มีความเร็วและแรงมากกว่าเดิม แต่ MU-MIMO มีบทบาทที่สำคัญในการรักษาความเสียรภาพของความเร็วไม่ให้ลดลง เมื่อมีจำนวนอุปกรณ์ปลายทางเข้ามาทำการเชื่อมต่อเพิ่มขึ้น”
ข้อจำกัดของเทคโนโลยี MU-MIMO จะให้ความสำคัญกับเรื่องคุณสมบัติของอุปกรณ์สื่อสารปลายทางที่เข้ามาเชื่อมต่อสัญญาณไร้สายบน Wi-Fi 6 และ 6E โดยจะต้องรองรับคุณสมบัติ MU-MIMO ด้วยเช่นกับอุปกรณ์เราเตอร์ที่มีหน้าที่ปล่อยสัญญาณไร้สาย จึงจะสามารถได้รับประสิทธิภาพการเชื่อมต่อไร้สายที่แท้จริงได้
“เทคโนโลยีที่สูงกว่าบนเราเตอร์ จะไม่สามารถยกระดับและอัพเกรดประสิทธิภาพอุปกรณ์สื่อสารปลายทางที่มีเทคโนโลยีต่ำกว่าได้”
ที่มา : What is MU-MIMO, and why is it essential for Wi-Fi 6 and 6E? | Network World