SD-WAN ถือเป็นเทคโนโลยีประจำธุรกิจองค์กรทั่วโลกไปแล้วในฐานะของเทคโนโลยีที่ช่วยให้การบริหารจัดการและการดูแลรักษาด้านการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ง่ายดาย และมั่นคงปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รวมถึงตอบรับต่อวิสัยทัศน์ของการใช้ Cloud ได้เป็นอย่างดี และ VMware ก็พร้อมตอบโจทย์เหล่านี้ได้ด้วยโซลูชัน VMware SD-WAN by VeloCloud
SD-WAN คืออะไร?
โจทย์หลักที่ทำให้ SD-WAN ถูกพัฒนาขึ้นมาในวงการ IT นั้น ก็คือประเด็นเรื่องของความซับซ้อนที่เคยมีอยู่ในเทคโนโลยี WAN แบบเดิมและการเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสาขา รวมถึงความต้องของของภาคธุรกิจที่ต้องการมีระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมต่อไปยังบริการ Cloud และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ SD-WAN จึงถูกพัฒนาขึ้นมาให้มีความสามารถดังต่อไปนี้
- สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีโครงข่ายใดๆ ก็ได้ที่ต้องการ และสามารถใช้งานโครงข่ายหลากหลายรูปแบบร่วมกันได้
- สามารถบริหารจัดการประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อเครือข่ายได้แบบอัตโนมัติ เพื่อให้ผู้ใช้งานมีประสบการณ์ที่ดี
- บริหารจัดการจากศูนย์กลางได้ผ่าน Cloud เพื่อรองรับการจัดการโครงข่ายในหลายสาขาร่วมกันได้
- ต้องมี Application Awareness เพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพของเครือข่ายสำหรับแต่ละ Application ได้
- สามารถทำ Dynamic Load Sharing เลือกใช้ลิงค์ตามประสิทธิภาพในแต่ละช่วงเวลา
- ทำ Business Policy Routing ได้ เพื่อควบคุมเส้นทางการรับส่งข้อมูลของแต่ละ Application
- ตรวจสอบเหตุการณ์ Brownout บนลิงค์ได้ และจัดการให้การรับส่งข้อมูลยังคงเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการเชื่อมต่อและออกรายงานได้
การมาของ SD-WAN นี้ทำให้การเชื่อมต่อเครือข่ายเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย รวมถึงสามารถควบคุมประเด็นด้านประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อเครือข่ายในแต่ละสาขาได้จากศูนย์กลาง และติดตามแก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว ซึ่งก็ทำให้ SD-WAN ถูกใช้งานในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสาขา, การเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อเครือข่ายไปยัง Cloud, การรองรับ Edge Computing และอื่นๆ อีกมากมาย
จุดเด่นของ VMware SD-WAN by VeloCloud
VMware นั้นได้เข้าซื้อกิจการของ VeloCloud มาและนำมาต่อยอดเป็นโซลูชัน SD-WAN ของตนเอง โดย VMware SD-WAN by VeloCloud นี้เป็นผู้นำของตลาด SD-WAN และถูกรับเลือกให้เป็น Leader ใน Gartner’s Magic Quadrant มาอย่างต่อเนื่อง ด้วยจุดเด่นด้านความง่ายในการใช้งาน, ความสามารถในการควบคุมคุณภาพของการเชื่อมต่อเครือข่ายสำหรับแต่ละ Application, การรองรับในการก้าวไปสู่ Hybrid Cloud สำหรับธุรกิจองค์กร และความสามารถด้าน Security ที่มีมาให้พร้อมใช้งาน
ภายในโซลูชันของ VMware SD-WAN นี้จะมีส่วนประกอบหลักๆ ด้วยกัน 3 ส่วน ได้แก่
- Orchestrator ระบบบริหารจัดการจากศูนย์กลางผ่าน Cloud
- Gateway ส่วนเชื่อมต่อเครือข่ายจาก Edge เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายในสาขาอื่นๆ หรือบริการ Cloud อื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Edge อุปกรณ์ปลายทางสำหรับติดตั้งในสาขาขององค์กร เพื่อส่งข้อมูลทราฟฟิกไปยัง Edge อื่นหรือ Gateway และส่งต่อไปยังปลายทางที่ต้องการ
ในภาพปลายทางนั้น VMware SD-WAN จะช่วยให้แต่ละสาขาของธุรกิจองค์กรสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้อย่างง่ายดาย โดยการสร้างการเชื่อมต่อระหว่าง Edge ภายในองค์กรไปยัง Edge หรือ Gateway และจาก Gateway ที่มีการเชื่อมต่อกันเองไปยัง Edge อื่นๆ และบริการ Cloud ต่างๆ ทำให้สามารถตรวจสอบและควบคุมคุณภาพการรับส่งข้อมูลด้วยลิงค์ต่างๆ ได้ตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง
หากจะมองให้เข้าใจง่ายขึ้นนั้น VMware SD-WAN Edge ก็คืออุปกรณ์ที่จะมาทำงานทดแทน Router เดิมซึ่งเคยเป็นหัวใจสำคัญในการเชื่อมต่อเครือข่ายไปยัง Internet ภายนอกหรือสาขาอื่นๆ ของธุรกิจองค์กรนั่นเอง
สำหรับการใช้งานจริง VMware แนะนำให้ใช้ VMware SD-WAN ในรูปแบบของ Cloud เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน แต่สำหรับธุรกิจองค์กรที่ต้องการใช้งานแบบ On-Premises นั้นก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ต้องมีการออกแบบระบบอย่างเข้มงวดเพื่อให้ระบบ SD-WAN นั้นมีประสิทธิภาพที่เพียงพอเหมาะสมต่อการใช้งาน และมีระบบบริหารจัดการจากศูนย์กลางที่ทำงานได้อย่างมั่นใจ
VMware SD-WAN นี้มีการติดตั้ง Orchestrator ทั่วโลกให้ใช้งานได้มากกว่า 60 ระบบ พร้อม Gateway ให้พร้อมใช้งานได้มากกว่า 2,000 แห่ง โดยมีความมั่นคงทนทานถึงระดับ 99.99% ด้วยการทำงานภายใน Data Center ที่ได้รับมาตรฐาน SSAE16 Type II ทำให้ธุรกิจองค์กรสามารถมั่นใจได้ว่าระบบจะไม่ล่มง่ายๆ และมีความมั่นคงปลอดภัยที่สูงเพียงพอต่อการใช้งาน
การใช้งาน VMware SD-WAN นี้ถือว่าง่ายมาก โดยระบบไม่มีการใช้ CLI ในการบริหารจัดการเลย ทุกอย่างสามารถทำได้ผ่าน GUI ทั้งหมด และติดตั้งใช้งานได้แบบ Zero Touch ส่วนการจัดการด้านประสิทธิภาพนั้นก็เป็นไปแทบจะอัตโนมัติทั้งหมด ไม่ต้องมีการตั้งค่าที่ซับซ้อนแต่อย่างใด
จุดเด่นที่ทำให้ VMware SD-WAN มีประสิทธิภาพที่สูงนั้นก็คือการทำ Per Packet Forwarding ซึ่งทำให้การปรับเส้นทางในการใช้ลิงค์รับส่งข้อมูลที่มีประสิทธิภาพดีกว่านั้นเกิดขึ้นในระดับ Packet ในขณะที่เทคโนโลยีอื่นอาจเลือกทำ Per Flow Forwarding แทน รวมถึงมีการติดตามประสิทธิภาพของลิงค์ทั้งในเชิงของ Latency, Jitter และ Packet Loss อย่างครบถ้วน ทำให้มั่นใจได้ว่า VMware SD-WAN จะเลือกใช้ลิงค์ที่ดีที่สุดในการสื่อสารรับส่งข้อมูลจริงๆ
ส่วนการใช้บริการ Cloud อย่าง Office 365 นั้น VMware SD-WAN ที่มี Gateway จำนวนมากก็ทำให้ธุรกิจองค์กรมีทางเลือกในการเชื่อมต่อเครือข่ายไปยังบริการ Cloud ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดได้มากขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อเครือข่ายไปยังบริการ Cloud นี้เป็นไปได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจากการทดสอบของ VMware นั้นก็พบว่าแนวทางนี้ทำให้ Throughput เฉลี่ยในการเชื่อมต่อใช้งาน Cloud นั้นสูงกว่าการไม่ใช้งาน SD-WAN ถึง 10 เท่าเลยทีเดียว
ผู้ดูแลระบบ IT สามารถตรวจสอบการทำงานของ WAN ทั้งหมดและการเชื่อมต่อใช้งานเครือข่ายในแต่ละสาขาได้จากศูนย์กลางทั้งหมดโดยไม่ต้องซื้อระบบ Monitoring แยกแต่อย่างใด และสามารถตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกในแต่ละสาขาได้อย่างง่ายดาย พร้อมรายงานแนวโน้มการใช้เครือข่ายในแต่ละสาขาเพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมการใช้งานจริงของผู้ใช้งานที่แตกต่างกันออกไปได้
ด้านความมั่นคงปลอดภัย VMware SD-WAN สามารถทำ End-to-End Segmentation หรือการแบ่ง VRF ภายในองค์กรได้เพื่อแยกเครือข่ายส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกันออกจากกันได้สูงสุด 16 Segmentation และมี Stateful Firewall ที่รองรับได้ถึงระดับ Application ให้พร้อมใช้งานได้ในตัว รวมถึงยังสามารถ Integrate ทำงานร่วมกับโซลูชันด้าน Security จากผู้ผลิตรายอื่นๆ ได้
การเลือกใช้งาน VMware SD-WAN Edge สามารถทำได้ 3 รูปแบบ คือการใช้ VMware SD-WAN Edge ตามปกติไม่ว่าจะเป็นแบบ Appliance หรือ Software, การเลือกใช้ VMware SD-WAN Edge Services Platform ที่จะมีพื้นที่เหลือสำหรับติดตั้ง VNF จาก 3rd Party อย่างเช่น Palo Alto Networks/Checkpoint/Fortinet ได้ และการใช้ VMware SD-WAN VNF
รับชม Webinar ย้อนหลัง
ผู้ที่สนใจสามารถรับชม Webinar ย้อนหลังพร้อม Demo ฉบับเต็มได้ที่ https://VMware.zoom.us/rec/share/2Z1rDprsyElLedbw0x6CS4NiGovreaa81CNIqfBZmEaF9w39eF-q-Iu7HOiA75G5