สรุปงานสัมมนา VMware : Sexy WAN Network by VMware SD-WAN

ปัจจุบันระบบไอทีได้ถูกเปลี่ยนจากรูปแบบของการรวมศูนย์สู่การประมวลผลในหลายแห่ง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการใช้งาน Hybrid และ Multi-cloud รวมถึงบริการ SaaS และการเปลี่ยนโฉมการพัฒนาแอปพลิเคชันสู่ microservices ด้วยเหตุนี้เองระบบการเชื่อมต่อไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ระหว่าง End User กับดาต้าเซ็นเตอร์อีกต่อไป ซึ่ง SD-WAN คือเทคโนโลยีอันทรงพลังที่จะช่วยให้องค์กรสามารถขจัดปัญหาความหลากหลายทางเทคโนโลยี ด้วยเหตุนี้เอง VMware จึงได้จัดสัมมนาออนไลน์ขึ้นเพื่อให้ความรู้ว่า SD-WAN จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้นได้อย่างไร โดยทางทีมงาน TechTalkthai ได้รวบรวมสาระสำคัญมาให้ทุกท่านได้ติดตามกันครับ

เมื่อการเชื่อมต่อแบบเดิมไม่ตอบโจทย์

ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อนที่เทคโนโลยี SD-WAN จะถือกำเนิดขึ้น ลองจินตนาการดูว่าหากเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดเช่นนี้ การให้บริการขององค์กรจะเป็นอย่างไร เชื่อแน่ว่าทีมงานไอทีคงต้องใช้เวลาหลายวันเพื่อตั้งค่า VPN ระหว่างสาขาของท่าน พร้อมกับติดตั้ง Agent บนเครื่องผู้ใช้ เพื่อที่จะสามารถทำ Policy และบังคับการใช้งานทุกอย่างให้ถูกควบคุมจากศูนย์กลางเท่านั้นเพื่อความปลอดภัย

ในขณะที่ยังคงจะไม่สามารถรวมการใช้ประโยชน์จาก Fttx, 4G/5G, Mpls หรือ Lease Line เข้าด้วยกันได้ ทำให้ต้องใช้โซลูชันหลายตัวเข้ามาติดตามการทำงานตามจุดต่างๆ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วทีมไอทีก็คงจมดิ่งไปกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น และการเปลี่ยนแปลงบางอย่างจะทำได้ล่าช้าด้วย สวนทางกับนโยบายทางธุรกิจคงไม่สามารถรับการเปลี่ยนแปลงอันเชื่องช้านี้ได้

ด้วยเหตุนี้เองเทคโนโลยีของ Software-defined WAN หรือ SD-WAN จึงถือกำเนิดขึ้น ซึ่งเป็นการใช้ซอฟต์แวร์เข้ามาบริหารจัดการอุปกรณ์ โดยไอเดียคือมีการแยกเลเยอร์ควบคุมกับส่วนข้อมูลออกจากกัน ซึ่งหลายปีมานี้ VMware ได้พัฒนาเทคโนโลยีนี้มาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งได้รับการยกย่องจาก Gartner ว่าเป็นผู้นำในตลาดนี้อย่างแท้จริงหลายปีซ้อน แต่เพราะเหตุใดเทคโนโลยี SD-WAN จาก VMware จึงเขามาช่วยองค์กรได้อย่างมั่นใจ เราขอนำทุกท่านเข้ามาติดตามกันครับ

ประโยชน์ของ SD-WAN

ยกตัวอย่างง่ายๆ เพื่อให้เห็นภาพประโยชน์เบื้องต้นจาก VMware SD-WAN องค์กรอาจจะมีการใช้ลิงก์ผ่าน MPLS และ Broadband หรืออื่นๆ แต่เมื่อมีการตรวจพบว่า ลิงก์มีปัญหาทำให้ข้อมูลติดขัด SD-WAN จาก VMware จะสามารถ Duplicate ข้อมูลจากส่วนที่มีปัญหาย้ายสู่เส้นทางอื่นต่อไป แต่ในกรณีที่ลิงก์ขาดไประบบจะทำการ Re-route ทราฟิคมายังลิงก์ใหม่ทันที ดังนั้นองค์กรจึงสามารถบูรณาการการเชื่อมในหลายรูปแบบเข้ามาใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด ตอบโจทย์เรื่องค่าใช้จ่ายและประสิทธิภาพให้ธุรกิจยังดำเนินไปอย่างไม่มีสะดุด

หากจะพูดถึงประโยชน์ของ SD-WAN แล้ว สามารถสรุปเป็นประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้

  • Bring Your Own Bandwidth – รองรับลิงก์ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็น Wire หรือ Wireless เช่น fttx, adsl, mpls, private link, LTE และอื่นๆ ก็สามารถนำมาใช่ร่วมกันได้
  • Monitoring & Report – ไม่เพียงแต่จะสามารรองรับลิงก์ประเภทต่างๆ ได้แต่เรายังสามารถติดตาม Latency หรือประสิทธิภาพทำงาน รวมถึงทำรายงานในทราฟฟิคก็แต่ละลิงก์ได้เช่น แอปพลิเคชันใดมีการใช้งานเท่าไหร่ในแต่ละสาขา
  • Cloud Management – การบริการจัดการโซลูชันสามารถทำได้ผ่านคลาวด์ นั่นหมายความว่าไอทีเข้ามาจัดการได้จะทุกที่ ซึ่งด้วยหน้าบริหารจัดการแบบ GUI ทำให้ไอทีทำงานได้ง่ายและสบายกว่าการไปใช้หน้าจอสีดำเหมือนในอดีตแน่นอน 
  • Dynamic Load Sharing – การที่สามารถตรวจจับ Speed ของลิงก์ได้อัตโนมัติ และทำงาน Forward ทราฟฟิคตาม Packet ให้สามารถใช้ลิงก์ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
  • Brownout Detection & Remediation – สามารตรวจจับการความล้มเหลวหรือผิดพลาดในการเชื่อมต่อแต่ละประเภท พร้อมกับมีอัลกอริทึมแก้ไขปัญหาอย่างอัตโนมัติ
  • Link Performance Remediation – สามารถทำ Forward Error Correction และ Jitter Buffering ได้
  • Application Awareness – เข้าใจทราฟฟิคระดับแอปพลิเคชันและสามารถทำ QoS Class ได้ตามความสำคัญของแอปพลิเคชัน 
  • Business Policy Routing – ทำการ Routing ทราฟฟิคได้ตามแอปพลิเคชัน จากเดิมที่พิจารณาจากไอพีปลายทางเพียงอย่างเดียว

เจาะลึกโซลูชัน VMware SD-WAN

การเชื่อมต่อเครือข่ายในอดีตเร้าเตอร์จะทำหน้าที่ทุกอย่างตั้งแต่การเลือกเส้นทางและจัดส่งข้อมูล ในขณะที่คอนเซปต์ของ Software-defined จะมีการแยกการปฏิบัติงานออกเป็น Control Plane และ Data Plan ซึ่ง VMware SD-WAN ได้แบ่งองค์ประกอบของโซลูชันไว้ตามภาพประกอบด้านบนดังนี้

1.) SD-WAN Edge – อุปกรณ์ปลายทางซึ่งตั้งอยู่ที่ฝั่งของผู้ใช้งาน ทำหน้าที่คล้ายกับเราเตอร์ในอดีตเพียงแต่ว่า ภาระหน้าที่ของ Edge จะจัดดูแลแค่การส่งข้อมูลเท่านั้น 

2.) SD-WAN Orchestrator – หน้าจอการบริหารจัดการตั้งอยู่บนคลาวด์ ผู้ใช้งานจึงสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ซึ่งมีหน้าที่เป็นหัวสมองการตัดสินใจเพื่อสั่งให้ Edge ทำงานด้วย

3.) SD-WAN Gateway with Controller – ส่วนนี้ถูกบริหารจัดการโดย VMware เอง ซึ่งจะเก็บค่า Policy อยู่ในคลาวด์ของ VMware เพื่อส่งค่าคอนฟิคไปสู่อุปกรณ์ซึ่ง VMware ได้จัดตั้ง Edge กว่า 2,700 แห่งขึ้นทั่วโลก ให้ผู้ใช้งานได้รับประสิทธิภาพอย่างยอดเยี่ยม

ในส่วนของ WAN Edge ทาง VMware ได้นำเสนออุปกรณ์ที่สามารถรองรับกับธุรกิจได้ทุกขนาดตั้งแต่เล็ก กลางไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ อาทิเช่น Edge 510 และ 610 หรือ Virtualize (vEdge) สำหรับองค์กรขนาดเล็กด้วยการเชื่อมต่อเครือข่ายที่ระดับไม่เกิน 1 Gbps แต่สำหรับองค์กรที่ใหญ่กว่านั้น ตั้งแต่อินเทอร์เน็ตระดับ 1 Gbps หรือสูงกว่า ทาง VMware ก็มี Appliance รุ่น Edge 620 ไปจนถึง Edge 3xxx ให้บริการด้วยเช่นกัน และทุกรุ่นรองรับการเชื่อมต่อได้หลายรูปแบบทั้ง LTE, Wire หรือ Wireless

ข้อดีของ VMware SD-WAN ที่ผู้ใช้สามารถสัมผัสได้ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มต้นคือ ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องคอนฟฟิคมากมายขอเพียงแต่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ดังนั้นในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ไอทีก็สามารถเริ่มต้นได้ ไม่เพียงเท่านั้นด้วยความที่ VMware เป็น Platform สำหรับแอปพลิเคชันต่างๆ ให้องค์กรมาอย่างยาวนาน ทำให้โซลูชัน VMware SD-WAN มีความเข้าใจทราฟฟิคได้กว่า 3,000 แอปพลิเคชัน ในด้านของ QoS หากเป็นเราเตอร์แบบเดิมผู้ใช้งานอาจถูกจำกัดการทำ QoS จาก ISP แต่หากเป็น VMware SD-WAN ผู้ใช้งานจะสามารถกำหนด QoS Class ได้อย่างยืดหยุ่นกว่า ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงข้อดีส่วนหนึ่งของโซลูชัน SD-WAN จาก VMware เท่านั้น

ก้าวต่อไปกับ SASE

SASE หรือ Secure Access Service Edge คือการที่รวบรวมโซลูชันระหว่าง Network และ Security ไปให้บริหารไว้บนคลาวด์นั่นเอง จุดประสงค์ก็เพื่อลดความยุ่งยากในการประกอบเอาฟังก์ชันต่างๆจากหลายผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ยังต้องพิจารณาการเข้าถึงได้จากตัวตน (Identity) ของปลายทางได้ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นสาขา ดาต้าเซ็นเตอร์และอุปกรณ์ผู้ใช้ปลายทาง

VMware นั้นมีโซลูชันซึ่งเป็นองค์ประกอบเหล่าดังกล่าวอยู่ในมืออยู่แล้ว ทั้ง SD-WAN ที่ดูแลในเรื่องของการเชื่อมต่อได้จากทุกแห่ง หรือจะเป็นการบริหารจัดการอุปกรณ์ปลายทางด้วย Workspace ONE และดูแลตัวตนด้วย Workspace ONE Identity ในการเชื่อมต่อจากดาต้าเซ็นเตอร์ VMware ยังได้นำเสนอโซลูชัน NSX ที่นำเสนอความสามารถของ Network และ Intrinsic Security เข้ามาอย่างครบครัน ด้วยเหตุนี้เองจึงกล่าวได้ว่าลูกค้าของ VMware จะสามารถก้าวต่อไปสู่ยุคใหม่กับ SASE ที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้านี้


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Google เปิดตัว Secure AI Framework แนวทางการสร้าง AI อย่างปลอดภัย

Google เปิดตัว Secure AI Framework ช่วยแนะนำแนวทางการสร้าง AI อย่างปลอดภัย

Cisco เปิดตัวบริการ Multicloud Defenese

Cisco ได้ประกาศเปิดตัวบริการใหม่ Cisco Multicloud Defense ช่วยสร้างนโยบายรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับระบบ MultiCloud รองรับผู้ให้บริการ Public Cloud หลายราย