กลายเป็นงานสัมมนาใหญ่ที่ผู้ใช้และผู้ที่สนใจในเทคโนโลยีของ SAP พลาดไปไม่ได้เสียแล้วกับงาน SAP Solutions Summit ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และในปี 2018 นี้ SAP ก็มาพร้อมกับแนวคิดในการสร้าง Intelligent Enterprise ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยภายในงาน SAP ได้อธิบายถึงแนวคิดและแนะนำโซลูชันที่จะนำองค์กรไปสู่เป้าหมายแห่งความชาญฉลาดนี้อย่างครอบคลุม ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น ติดตามอ่านกันได้ที่บทความนี้
ทำไมต้อง Intelligent Enterprise?
ธุรกิจในปัจจุบันนั้นประสบกับความท้าทายอันเกิดจากเทคโนโลยีในหลายด้าน ในด้านหนึ่ง เทคโนโลยีได้เข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค ขับเร่งความต้องการของพวกเขาให้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วไม่สิ้นสุด และในอีกด้านหนึ่ง เทคโนโลยีก็ได้กลายมาเป็นอาวุธสำคัญของธุรกิจทั้งเก่าและใหม่ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์รูปแบบธุรกิจรูปแบบใหม่ๆที่ไม่เคยมีมาก่อน
“การเปลี่ยนแปลงไม่เคยเกิดขึ้นเร็วขนาดนี้มาก่อน แต่ก็จะไม่ช้าขนาดนี้อีกต่อไปแล้ว”
ปัจจัยรอบด้านเหล่านี้กดดันให้ธุรกิจต้องปรับตัวเองให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็วและชาญฉลาด และในขณะเดียวกันก็ปรับขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดซึ่งคู่แข่งเก่งขึ้น และสร้างความปั่นป่วน (Disrupt) ได้มากขึ้น ถ้าไม่ทำลายแบบแผนเดิมๆของตัวเอง คู่แข่งก็จะเข้ามาทำลายคุณ คำกล่าวนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่คำขู่อีกต่อไป
ท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้ ธุรกิจจึงต้องการตัวช่วยที่จะทำให้ธุรกิจสามารถทำงานได้อย่างชาญฉลาดขึ้น ตอบสนองต่อปัจจัยรอบตัวได้เร็วขึ้น และลดความเสี่ยงและข้อผิดพลาดให้น้อยลง โดย SAP เรียกธุรกิจที่ดำเนินการด้วยคุณลักษณะเช่นนี้ว่า Intelligent Enterprise
ทำอย่างไรถึงจะได้เป็น Intelligent Enterprise
การก้าวเข้าสู่การเป็น Intelligent Enterprise นั้นหมายถึงการแปลงทรัพยากรข้อมูลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อประสิทธิภาพขององค์กร ซึ่งการทำเช่นนี้อาจรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยี เช่น Automation เข้ามาเพิ่ม”พลัง”ให้กับการทำงานของสมาชิกภายในองค์กร การออกแบบกระบวนการซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ฉับไว หรือการสร้างสรรค์วิธีการหารายได้ใหม่ๆแก่ธุรกิจด้วยนวัตกรรม จะเห็นได้ว่า ขั้นตอนเหล่านี้นั้นคาบเกี่ยวมีปฏิสัมพันธ์กับทั้งตัวธุรกิจเอง สมาชิกภายในองค์กร และลูกค้าของธุรกิจ ซึ่งนับว่าเป็นสโคปที่กว้าง และชวนให้หลงทางในการเริ่มต้นเอาง่ายๆ
SAP จึงนำเสนอ Framework สำหรับ Intelligent Enterprise ที่จะช่วยให้ธุรกิจปรับตัวอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งโครงสร้างทางเทคโนโลยีภายในองค์กรออกเป็น 3 เลเยอร์หลัก ได้แก่
- Intelligent Suite ซึ่งประกอบไปด้วยชุดแอปพลิเคชันซึ่งทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพและความเร็วให้กับขั้นตอนต่างๆของธุรกิจ เช่น โซลูชันบริหารการผลิตและ Supply Chain หรือแกนหลักดิจิทัลขององค์กรอย่าง ERP ซึ่ง SAP นั้นมีแอปพลิเคชันพร้อมรองรับอุตสาหกรรมกว่า 25 ประเภทด้วยกัน
- Intelligent Technologies ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ถูกดึงไปใช้ในการแอปพลิเคชันที่ได้กล่าวไป เช่น เทคโนโลยี AI, Machine Learning, หรือ IoT จาก SAP Leonardo ซึ่งเข้าไปแฝงตัวอยู่ในโซลูชันต่างๆของ SAP และช่วยให้ขั้นตอนการดำเนินงานฉลาด และทรงประสิทธิภาพอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
- Digital Platform ซึ่งก็คือฐานรากของโซลูชันดิจิทัลและเทคโนโลยีต่างๆขององค์กรนั่นเอง ในที่นี้ประกอบไปด้วยระบบบริหารจัดการข้อมูล SAP HANA Data Management Suite ที่จะเข้ามาเป็น Data Platform ซึ่งช่วยในเรื่องของการจัดเก็บ การเชื่อมต่อรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ การกำหนดแบบแผน และการทำ Data Governance และรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กร และแพลตฟอร์มคลาวด์ของ SAP สำหรับโครงสร้างอื่นๆ
SAP เชื่อว่า 3 เลเยอร์ของเทคโนโลยีนี้จะช่วยชี้นำให้ธุรกิจเดินทางในเส้นทางสายดิจิทัลได้อย่างมีแบบแผน ซึ่งจะนำธุรกิจไปสู่เป้าหมายที่ธุรกิจต่างก็ใฝ่หาในปัจจุบันอันมีเช่น การมีโมเดลธุรกิจใหม่ การสร้างประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีให้กับลูกค้า การตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงแบบ real-time การเพิ่ม Productivity ในการทำงาน และการช่วยให้สมาชิกภายในองค์กรสามารถทำงานได้อย่างชาญฉลาดขึ้น เป็นต้น
ธุรกิจนั้นสามารถแบ่งแยกย่อยออกเป็นหลายฝ่ายหลายเนื้อหางานได้ก็จริง แต่ท้ายที่สุดแล้ว ส่วนเล็กๆเหล่านั้นก็ย่อมต้องทำงานเพื่อเป้าหมายเดียวกันในระบบขนาดใหญ่ที่เรียกว่าองค์กร โจทย์ของยุคดิจิทัลคือการพัฒนาให้ส่วนเล็กๆเหล่านั้นสามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น และในขณะเดียวกัน ก็ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นตั้งแต่ต้นจนจบเช่นกัน และสำหรับ SAP คำตอบของพวกเขาได้สะท้อนออกมาใน Framework สำหรับ Intelligent Enterprise ชิ้นนี้
เซสชั่นอื่นๆในงาน SAP Solutions Summit 2018
เปิดประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับลูกค้าของธุรกิจด้วย SAP C/4HANA
Customer Experience (CX) นั้นเป็นแนวคิดที่เพิ่งมีมาไม่นานนัก ทว่าได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญต่อกลยุทธ์ธุรกิจสมัยใหม่ ทำอย่างไรธุรกิจจึงจะสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่มาใช้เพื่อสร้างแคมเปญการตลาด แนวทางการขาย บริหารความสัมพันธ์ และให้บริการกับลูกค้าในวิธีที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยขั้นตอนการดำเนินงานที่เชื่อมถึงกันอย่างไร้รอยต่อ กลุ่มผลิตภัณฑ์ SAP C/4HANA อาจเป็นคำตอบของความท้าทายนี้
SAP C/4HANA เป็นชื่อเรียกของกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างประสบการณ์ที่เหนือกว่า เร็วกว่า และมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าให้กับทุกขั้นตอนที่องค์กรจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการตลาด การขายผ่านช่องทางต่างๆ การดำเนินงานของพนักงานขาย การให้บริการลูกค้า และการจัดเก็บข้อมูลลูกค้าให้ปลอดภัยภายใต้มาตรฐานโลก โดยทั้งหมดทำงานอยู่บนระบบคลาวด์ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี In-Memory ของ SAP HANA ที่ช่วยให้ทุกขั้นตอน ทุกการวิเคราะห์ เป็นไปได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที
SAP C/4HANA นั้นเปิดโอกาสให้ธุรกิจเข้าเลือกใช้และปรับแต่งให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงานขององค์กรอย่างเต็มที่ ช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลง และมอบประสบการณ์ที่เปี่ยมไปด้วยความเข้าใจในลูกค้าอย่างแท้จริง
HR Transformation & Journey
ผู้ร่วมงานในองค์กรในปัจจุบันนั้นมีความหลากหลายซับซ้อนมากขึ้น องค์กรจึงต้องการโซลูชันที่ยืดหยุ่นและครอบคลุมทุกการใช้งานในขั้นตอนทรัพยากรบุคคล โดย SAP มี SAP SuccessFactors เป็นกลุ่มบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์แบบครบวงจร ที่จะช่วยองค์กรตั้งแต่ขั้นตอนการรับสมัครงาน เข้างาน จัดการผลตอบแทน ไปจนถึงการเปิดอบรมเพิ่มทักษะใหม่ๆ โดยทั้งระบบมีการใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลและ AI เข้ามาร่วม เพื่อเปิดให้ธุรกิจสามารถมองเห็นภาพรวมของ Workforce และวางกลยุทธ์งานบุคคลได้ดียิ่งขึ้น
สำหรับในส่วนของพนักงาน SAP SuccessFactors มีการให้บริการแบบ Self-Service ซึ่งช่วยให้พนักงานสามารถดำเนินขั้นตอนพื้นฐานอย่างการลางานได้ด้วยตัวเอง แต่ที่เหนือไปกว่านั้น คือการทำตัวเสมือนแพลตฟอร์มที่เปิดให้พนักงานเข้าถึงข้อมูลของพนักงานรายอื่นๆได้ตามที่ได้รับอนุญาต เช่น ผู้จัดการฝ่ายสามารถเรียกดูข้อมูลและผลสัมฤทธิ์ของสมาชิกภายในทีมได้และนำมาประกอบการวางแผนการดำเนินงานของทีมต่อไปได้
อีกหนึ่งโซลูชันที่น่าสนใจสำหรับการบริหารบุคคลในองค์กรสมัยใหม่ คือ SAP Fieldglass โซลูชัน Cloud-based ที่จะช่วยองค์กรทั้งจัดหาและจัดการการทำงานร่วมกับบุคลากรภายนอก เช่น Outsourcer หรือ Freelancer ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการทำงานในรูปแบบนี้อาจเข้ามามีบทบาทมากในเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มเข้าสู่รูปแบบ Gig Economy มากขึ้นในปัจจุบัน
เพิ่มประสิทธิซื้อขายแบบ Business-to-Business ด้วย SAP Ariba ที่มาพร้อมเครือข่าย B2B ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม SAP Ariba นั้นจะเข้ามาช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินการซื้อขายในรูปแบบ B2B ที่มีขั้นตอนที่ซับซ้อนและปัจจัยหลากหลายเข้ามาเกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้น และฉลาดยิ่งขึ้น ทั้งในขั้นตอนของการจัดซื้อ การจัดหา และการจัดการ Financial Supply Chain ของการซื้อขาย ครอบคลุมขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบอย่างเรียบง่ายและมีประสิทธิภาพ
SAP Ariba มีเครือข่ายธุรกิจ B2B ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่รวบรวมสินค้าและบริการกว่า 195 ประเภทจากธุรกิจมากกว่า 3.4 ล้านรายในระบบ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อได้เลือกหาสินค้าและบริการที่ถูกใจ และติดต่อประสานงานกับผู้ขายได้โดยง่าย SAP Ariba ใช้เทคโนโลยี Automation เข้ามาจัดการลดความซับซ้อนของขั้นตอนการดำเนินการ และใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลเข้ามาช่วยบริหารความสัมพันธ์กับธุรกิจคู่ค้า ผลลัพธ์ที่ได้คือระบบที่เปิดกว้าง มีตัวเลือกจำนวนมหาศาล มีขั้นตอนที่ง่าย ฉลาดและเป็นระบบที่จะช่วยให้ธุรกิจซื้อขายในรูปแบบ B2B และสานสัมพันธ์กับบริษัทอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Ariba Network นั้นเปิดกว้างกับธุรกิจทุกประเภท และมีขั้นตอนการลงทะเบียนเข้าร่วมเครือข่ายที่มีซับซ้อน หากท่านใดสนใจเข้าร่วมในเครือข่าย B2B ที่ใหญ่ที่สุดในโลกนี้ สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ariba.com/support/supplier-support/onboarding
จัดการกับค่าใช้จ่ายทุกที่ ทุกเวลา ด้วย SAP Concur
การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายนั้นเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนของธุรกิจที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้ามาอยู่ในรูปแบบดิจิทัล เพราะนอกจากจะช่วยให้องค์กรสามารถเห็นถึงภาพรวมและวางกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยเพิ่มความโปร่งใสให้กับการใช้จ่ายแต่ละครั้งอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทาง หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆก็ตาม
SAP Concur Expense ช่วยให้สมาชิกภายในองค์กรรายงานการใช้จ่ายได้อย่างเป็นระบบ ด้วยแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับระบบหลักขององค์กร พนักงานสามารถจดบันทึกและแนบหลักฐานการใช้จ่ายแต่ละครั้งได้ทันที ในขณะเดียวกันองค์กรก็สามารถกำหนดนโยบายการใช้จ่ายลงในระบบได้อย่างเหมาะสม และดำเนินคำร้องการขอเบิกเงินจากพนักงานได้เร็วยิ่งขึ้น
ในส่วนของการเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ SAP Concur ก็มีโซลูชัน SAP Concur Travel ที่ถูกออกแบบมาเพื่อจัดการกับค่าใช้จ่ายในรูปแบบนี้โดยเฉพาะ พนักงานในองค์กรสามารถจัดการจองที่พัก ตั๋วเดินทาง และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จากผู้ให้บริการที่พักและการเดินทางชั้นนำของโลกที่เข้าร่วมในเครือข่าย Concur Travel ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ซึ่งเชื่อมต่อโดยตรงเข้ากับระบบขององค์กรเช่นกัน