[PR] ไขข้อสงสัยสำหรับบริการ PaaS

ดย คุณฉิน ยิง ลุง Chin Ying Loong ) รองประธานกรรมการฝ่าย Oracle Fusion Middleware

Oracle ASEAN และ SAGE

เทคโนโลยีคลาวด์ได้สร้างแนวความคิดทางธุรกิจที่น่าตื่นเต้นจำนวนมหาศาลสำหรับธุรกิจเริ่มต้น บริษัทขนาดกลาง และองค์กรขนาดใหญ่ ไม่มีอะไรที่จะน่าตื่นเต้นไปมากกว่าการที่องค์กรได้ใช้รูปแบบของเทคโนโลยีที่สร้างสรรค์และล้ำหน้าเพื่อสร้างรูปแบบธุรกิจและประสบการณ์ลูกค้าที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ พึงระลึกกันไว้เสมอว่าการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่ยากลำบากของลูกค้าในเศรษฐกิจดิจิทัลกำลังดึงดูดให้องค์กรทั้งหลายนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้

Credit: ShutterStock.com
Credit: ShutterStock.com

ประโยชน์ทางธุรกิจของการประมวลผลแบบคลาวด์ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี แต่ผมเชื่อมั่นว่าบรรดาผู้จัดการด้านไอทีและธุรกิจยังมีเกิดความสับสนไม่น้อยเกี่ยวกับรูปแบบที่แตกต่างของการประมวลผลแบบคลาวด์ ได้แก่ Software-as-a-Service ( SaaS ), Platform-as-a-Service ( PaaS ) และ Infrastructure-as-a-service ( IaaS ) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับบริษัทที่จะต้องทำความเข้าใจวิธีของรูปแบบทั้งสามจะตอบสนองความต้องการอันหลากหลายของบริษัทด้านไอที เพื่อที่จะสามารถนำรูปแบบเหล่านั้นไปใช้งานได้อย่างเต็มที่สำหรับธุรกิจผ่านองค์ประกอบด้านไอทีที่สำคัญทั้งหมด เช่น ซอฟแวร์ ระบบที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง/ฐานข้อมูล/เครื่องมือสำหรับบูรณาการหรือฮาร์ดแวร์

Software as a Service คือซอฟต์แวร์บนระบบคลาวด์ และเป็นรูปแบบแรกสุดของเทคโนโลยีการประมวลผลแบบคลาวด์อันเป็นที่รู้จักและมีการนำมาปรับใช้ ในปัจจุบันแอพพลิเคชันทางธุรกิจจำนวนมากสามารถใช้งานได้บนระบบคลาวด์ในรูปแบบจ่ายตามการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนทรัพยากรขององค์กรหรือการบริหารทรัพยกรมนุษย์ การบริหารประสบการณ์ลูกค้า/การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน หรือการบริหารผลการดำเนินงานขององค์กร หรือแอพพลิเคชันเฉพาะด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ ( FSI/โทรคมนาคม/การเงิน ฯลฯ ) จากการใช้งานแอพพลิเคชันบนระบบคลาวด์ ผู้ใช้งานด้านธุรกิจและแผนกไอทีไม่จำเป็นต้องติดตั้ง ทำการบำรุงรักษา หรืออัปเกรดโปรแกรมเหล่านี้สำหรับอุปกรณ์และผู้ใช้จำนวนหลายพัน ซอฟแวร์ดังกล่าวช่วยประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายจากการจัดสรรทางไอที

Platform as a Service เป็นซอฟต์แวร์บนระบบคลาวด์สำหรับระบบที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง เครื่องมือบูรณาการ และฐานข้อมูล PaaS มอบการเข้าถึงช่วงการบริการในวงกว้างแก่ผู้บริโภคตั้งแต่ระบบที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางไปจนถึงฐานข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห์หน่วยความจำ อุปกรณ์เคลื่อนที่ บิ๊กดาต้า ขั้นตอน และการจัดการเอกสาร ฯลฯ เพื่อทำให้สามารถรวบรวมแอพพลิเคชันที่ได้รับการปรับแต่งด้วยความสามารถอันหลากหลาย เช่นเดียวกับรูปแบบ “as a service” อื่น ๆ PaaS ช่วยลดทั้งค่าใช้จ่ายและความซับซ้อนในการใช้งาน ความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการซื้อ การบูรณาการ และการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และเทคโนโลยีแพลตฟอร์มเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ PaaS ข้อดีที่ไปไกลเกินกว่าค่าใช้จ่ายที่ลดลงคือ PaaS ได้ลดการพัฒนาของแอพพลิเคชันและเวลาในการนำมาปรับใช้ ซึ่งทำให้ PaaS กลายเป็นกลุ่มที่เติบโตเร็วที่สุดในการประมวลผลคลาวด์ในปัจจุบัน

Infrastructure as a Service เป็นรูปแบบของระบบคลาวด์ที่ให้บริการด้านการจัดเก็บข้อมูลและเครือข่ายบนระบบคลาวด์ด้วยพื้นฐานการติดตามแบบสมาชิก IaaS จะมอบทางเลือกเพื่อเข้าถึงความสามารถในการคำนวณในรูปแบบการเชื่อมต่อของระบบปฏิบัติงาน การจัดเก็บข้อมูล และเครือข่ายผ่านพอร์ทัลแบบเว็บแก่องค์กร ซึ่งจะให้บริการในฐานะคอนโซลการจัดการเชิงปฏิบัติการ ผู้ให้บริการจะเป็นเจ้าของและบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน และทำการติดตั้งในศูนย์ข้อมูลโดยทั่วไป โครงสร้างพื้นฐานจะทำการประเมินตามความต้องการซึ่งทำให้แนวคิดเป็นที่ดึงดูดสำหรับธุรกิจที่กำลังเติบโตและยังไม่เติบโตเต็มที่ เนื่องจากไม่ต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีด้วยตนเอง

PaaS และ IaaS

มีความสับสนระหว่าง Iaas และ PaaS อยู่บ่อยครั้งและองค์กรส่วนมากไม่เข้าใจว่ารูปแบบทั้งสองนี้มีไว้สำหรับความต้องการที่แตกต่างกันไปในองค์กรด้านไอที IaaS เกี่ยวกับการช่วยทำให้เข้าถึงฮาร์ดแวร์ เช่น พลังในการคำนวณ เซิร์ฟเวอร์ บริการเครือข่าย และการจัดเก็บข้อมูลในฐานะการบริการที่จ่ายตามการใช้งาน

PaaS คือแพลตฟอร์มที่ติดตั้งบนชั้นด้านบนของฮาร์ดแวร์นี้ และผู้จัดจำหน่ายชั้นนำในตลาดก็คือออราเคิล อิทธิพลของ PaaS เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในด้านการพัฒนา การนำไปปรับใช้ การบริหารจัดการ และการขยายแอพพลิเคชัน SaaS ทีมพัฒนาแอพพลิเคชันสามารถใช้สถาปัตยกรรม สิ่งที่เป็นประโยชน์ และผลิตภัณฑ์ เช่น IDEs หรือ Integrated Development Environments และจากนั้นนำแอพไปปรับใช้งานภายในองค์กรหรือคลาวด์แบบสาธารณะ การนำแนวคิดทางธุรกิจใหม่ ๆ และการสร้างแอพพลิเคชันเพื่อรองรับแอพพลิเคชันดังกล่าวสามารถทำสำเร็จได้รวดเร็วยิ่งขึ้นพร้อมกับความเสี่ยงที่ลดน้อยลงไปจากการใช้ PaaS

PaaS รูปแบบคลาวด์ที่เติบโตเร็วที่สุด

การ์ทเนอร์คาดการณ์ไว้ว่าตลาด PaaS จะมีมูลค่าสูงถึง 1.8 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2015 และจะมีรายได้ทั่วโลกถึง 2.9 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2016 องค์กรทั้งหลายกำลังมองหาบริการด้านแพลตฟอร์มที่ปล่อยให้สร้างและนำแอพพลิเคชันมาปรับใช้ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยความสามารถที่จะรวบรวมข้อมูลและขั้นตอนระหว่างระบบคลาวด์และระบบภายในองค์กรพร้อมกับลดความยุ่งยากลง องค์กรต่าง ๆ มีความกระตือรือร้นที่จะมีแอพพลิเคชันทางธุรกิจที่คล่องตัวมากขึ้น และมีความสามารถที่จะผสมผสานความสามารถทางอุปกรณ์เคลื่อนที่ การวิเคราะห์ และด้านโซเชียลชนิดใหม่เข้าด้วยกัน

จะเกิดประสิทธิภาพและความสามารถมากยิ่งขึ้นหากมีการสร้างความสามารถเหล่านี้ใน PaaS ดังนั้นก็จะสามารถนำไปใช้งานและแบ่งปันโดยแอพพลิเคชันจำนวนมากได้ คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่คือตัวอย่างที่ดีเยี่ยม การรองรับการทำงานภายนอกหรือที่ต่าง ๆ ต้องมีการตระเตรียมอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ แพลตฟอร์มการพัฒนา และมาตรฐาน การมีแพลตฟอร์ม PaaS เพื่อจัดการแพลตฟอร์มและอุปกรณ์เคลื่อนที่จำนวนมากจะลดความยุ่งยากด้านไอทีซึ่งสอดคล้องกับการบูรณาการ ความปลอดภัย และความสามารถเชิงปฏิบัติการ ในบางกรณี เป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้นที่จะเคลื่อนย้ายแอพพลิเคชันทางธุรกิจของคุณไปยังระบบคลาวด์ที่คุณสามารถใช้ประโยชน์จากมุมมองด้านอุปกรณ์เคลื่อนที่ โซเชียล และการร่วมมือกันของแพลตฟอร์ม PaaS กว่าการสร้างบริการแอพพลิเคชันใหม่เหล่านี้จากการทำเองมาตั้งแต่ต้น

ขณะที่เราเคลื่อนตัวไปยังเศรษฐกิจดิจิทัล การบริการ PaaS จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นสำหรับธุรกิจเพื่อสร้างความมั่นใจแก่การเข้าถึงตลาดที่เร็วขึ้นและการมีส่วนร่วมที่ดีขึ้นพร้อมกับพนักงานและผู้บริโภค PaaS กำลังกลายเป็นทางเลือกที่นิยมอย่างสูงสำหรับธุรกิจที่กำลังมองหาโซลูชันที่คล่องตัวมากขึ้นสำหรับการพัฒนา การทดสอบ และการนำแอพพลิเคชันตามความต้องการของลูกค้าไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Google เปิดพรีวิว Jules ผู้ช่วย AI Agent เขียนโค้ดแก้บั๊กให้อัตโนมัติ

หนึ่งในการต่อยอดจาก Gemini 2.0 ที่ Google เปิดตัวออกมาล่าสุด คือ Jules หรือ AI Agent ที่จะสนับสนุนการทำงานของนักพัฒนาระบบให้สามารถช่วยเขียนโค้ด แก้ไขบั๊กได้อัตโนมัติ

Google จับมือ 2 บริษัทพลังงานสะอาด สร้าง “Power-First” AI Data Center

พลังงานคือปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างและให้บริการ Data Center สำหรับ AI ซึ่ง Google ได้ชี้ให้เห็นว่าระบบกริดไฟฟ้านั้นอาจจะไม่สามารถส่งมอบพลังงานได้เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ จึงได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ 2 บริษัทพลังงานสะอาด เพื่อหนุนแนวทางใหม่ “Power-First” เพื่อให้บริการ …